https://www.floodlightled.net/article/8/%E0%B8%88%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%9B%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%95%E0%B9%84%E0%B8%A5%E0%B8%97%E0%B9%8C-led%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B8%81-%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89
หลอดLED หรือหลอดประหยัดไฟพบว่า หลอด LED จะปล่อยไอปรอทที่สามารถกระจายตัวในอากาศได้สูงถึง 20 เท่า ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อร่างกายเช่น อาการปวดหัว หน้ามืด ตาลาย เหนื่อยเมื่อยล้า ชัก ไม่มีสมาธิ และเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง ซึ่งสารเคมีที่มีผลกระทบต่อร่างกายมีดังนี้
1. สารก่อมะเร็ง ที่พบในหลอดLEDมีหลายประเภท เช่น
ฟีนอล (phenol) – ผลึกสีขาวที่ได้จากน้ำมันดิน มีฤทธิ์กรดอ่อน มักใช้ในอุตสาหกรรมเคมีหลายประเภท เช่น ยา น้ำยาทำความสะอาด ยากำจัดศัตรูพืช สีย้อม หากได้รับสารฟีนอลเป็นเวลานานร่างกายจะมีอาการต่างๆตามมา เช่น ท้องร่วง เบื่ออาหาร ตับวาย และอาจเป็นผลทำให้เกิดโรคมะเร็งได้
แนฟทาลิน (Naphthalene) – สารประกอบสีขาวที่ได้จากกระบวนการกลั่นน้ำมันดิน มีกลิ่นฉุน ระเหิดได้ ใช้ทำลูกเหม็นและเป็นสารตั้งต้นในอุตสาหกรรมเคมี เช่น สี กระดาษสำเนา หากสูดดมเข้าไปเป็นจำนวนมากจะเกิดการระคายเคืองต่อตา และผิวหนัง
สไตริน (Styrene) – สารไฮโดรคาร์บอนไม่อิ่มตัวที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม เป็นสารตั้งต้นใช้ทำกล่องโฟม หากรับเข้าจะทำให้ชักและเสียชีวิตได้
สารเหล่านี้หากร่างกายรับเข้าไปเป็นจำนวนมากและเป็นเวลานานอาจทำให้เกิดการสะสมและเป็นสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็ง
2. รังสี UV โดยปกติหลอดประหยัดไฟจะปล่อยรังสี 2 ประเภท คือ รังสี UVB และ UVC ซึ่งเป็นอันตรายต่อผิวหนังและสายตา รังสีเหล่านี้จะไปรบกวนระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ส่งผลให้ผิวหนังชะลอการสังเคราะห์วิตามินดี ซึ่งหากได้รับรังสียูวีเป็นจำนวนมากอาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดมะเร็งผิวหนังได้
3. 3. สารปรอท มีพิษร้ายแรงต่อระบบประสาท โดยเฉพาะกับเด็กและคนท้อง พิษจะเข้าไปทำลายสมอง ระบบประสาท ตับ ไต และยังทำให้หลอดเลือดหัวใจ ระบบภูมิคุ้มกัน และระบบสืบพันธุ์มีปัญหา ส่งผลให้ผู้ใช้มีความเครียด ปวดหัว ตัวสั่น นอนไม่หลับ ความจำเสื่อม และหากได้รับในปริมาณมากอาจทำให้เป็นอัลไซเมอร์ได้
มันเป็นความจริงหรือเปล่าคะ
!!เขาบอกว่าหลอด LED อันตรายมากค่ะมีทั้ง ปรอท มีสารพิษ มีรังสี อันตราย ใกล้เคียงยูเรเนี่ยม ในนั้น อาจจะทำให้ถึงชีวิตได้
หลอดLED หรือหลอดประหยัดไฟพบว่า หลอด LED จะปล่อยไอปรอทที่สามารถกระจายตัวในอากาศได้สูงถึง 20 เท่า ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อร่างกายเช่น อาการปวดหัว หน้ามืด ตาลาย เหนื่อยเมื่อยล้า ชัก ไม่มีสมาธิ และเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง ซึ่งสารเคมีที่มีผลกระทบต่อร่างกายมีดังนี้
1. สารก่อมะเร็ง ที่พบในหลอดLEDมีหลายประเภท เช่น
ฟีนอล (phenol) – ผลึกสีขาวที่ได้จากน้ำมันดิน มีฤทธิ์กรดอ่อน มักใช้ในอุตสาหกรรมเคมีหลายประเภท เช่น ยา น้ำยาทำความสะอาด ยากำจัดศัตรูพืช สีย้อม หากได้รับสารฟีนอลเป็นเวลานานร่างกายจะมีอาการต่างๆตามมา เช่น ท้องร่วง เบื่ออาหาร ตับวาย และอาจเป็นผลทำให้เกิดโรคมะเร็งได้
แนฟทาลิน (Naphthalene) – สารประกอบสีขาวที่ได้จากกระบวนการกลั่นน้ำมันดิน มีกลิ่นฉุน ระเหิดได้ ใช้ทำลูกเหม็นและเป็นสารตั้งต้นในอุตสาหกรรมเคมี เช่น สี กระดาษสำเนา หากสูดดมเข้าไปเป็นจำนวนมากจะเกิดการระคายเคืองต่อตา และผิวหนัง
สไตริน (Styrene) – สารไฮโดรคาร์บอนไม่อิ่มตัวที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม เป็นสารตั้งต้นใช้ทำกล่องโฟม หากรับเข้าจะทำให้ชักและเสียชีวิตได้
สารเหล่านี้หากร่างกายรับเข้าไปเป็นจำนวนมากและเป็นเวลานานอาจทำให้เกิดการสะสมและเป็นสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็ง
2. รังสี UV โดยปกติหลอดประหยัดไฟจะปล่อยรังสี 2 ประเภท คือ รังสี UVB และ UVC ซึ่งเป็นอันตรายต่อผิวหนังและสายตา รังสีเหล่านี้จะไปรบกวนระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ส่งผลให้ผิวหนังชะลอการสังเคราะห์วิตามินดี ซึ่งหากได้รับรังสียูวีเป็นจำนวนมากอาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดมะเร็งผิวหนังได้
3. 3. สารปรอท มีพิษร้ายแรงต่อระบบประสาท โดยเฉพาะกับเด็กและคนท้อง พิษจะเข้าไปทำลายสมอง ระบบประสาท ตับ ไต และยังทำให้หลอดเลือดหัวใจ ระบบภูมิคุ้มกัน และระบบสืบพันธุ์มีปัญหา ส่งผลให้ผู้ใช้มีความเครียด ปวดหัว ตัวสั่น นอนไม่หลับ ความจำเสื่อม และหากได้รับในปริมาณมากอาจทำให้เป็นอัลไซเมอร์ได้
มันเป็นความจริงหรือเปล่าคะ