เม่นบราซิล (Prehensilis Coendou)
เม่นบราซิล (Prehensilis Coendou) มีถิ่นฐานบ้านเกิดอยู่ในป่าเขตร้อนแถบบราซิล อาร์เจนตินา โบลิเวีย และ ตรินิแดดฯ และบางส่วนทางตอนเหนือสุดของประเทศ อาร์เจนตินา ชอบใช้ชีวิตอยู่บนต้นไม้ จนหลายคนตั้ง ฉายามันว่า "เม่นต้นไม้" และ "เม่นลิง"
"หนามแหลม" มีลักษณะ จมูก ปาก จะมีเนื้อมาก มี ฟันแหลมคม สำหรับขบเคี้ยวอาหารและใช้เป็นอาวุธสำหรับต่อสู้ป้องกันตัวในบางครั้ง ดวงตากลมโตสีดำ ใบหูขนาดเล็ก รับฟังเสียงรอบข้างได้ดี ทั่วทั้ง ร่างกายปกคลุมด้วยหนามสั้นหนา ปลายหนามด้านบนสีขาวหรือสีเหลืองเข้มผสม ส่วนโคนหนามซึ่งติดกับผิวหนังเป็นสีเทา
ขาคู่หน้า ยาวกว่าคู่หลังเล็กน้อย แต่ละข้างมี 4 นิ้ว และเล็บที่แหลมคมสำหรับแกะเปลือกไม้และขุดรากพืชบางชนิด กิ่งไม้ขนาดเล็กรวมทั้งผลไม้สด "เปิบ" เป็นอาหาร ส่วนหางของมันค่อนข้างแข็งแรงจะใช้จับกิ่งก้านขณะเคลื่อนไหว
เม่นต้นไม้ มีนิสัยค่อนข้างเก็บตัว (ขี้อาย) ชอบใช้ชีวิตแบบ "ฉายเดี่ยว" ออกหากินในช่วงเวลาค่ำคืน ส่วนกลางวันจะพักผ่อนหลับนอนอยู่ตามโพรงไม้ บางครั้งอาจพบพวกมันอยู่ตามโพรงดินที่ขุดลึกไป 6-10 เมตร กระทั่งโตเต็มที่ขนาดลำตัวมีความยาว 300-600 มิลลิเมตร และหางจะมีความยาวเกือบเท่าขนาดลำตัวหรือยาวเพิ่มอีก 330-485 มิลลิเมตร น้ำหนักตัวเฉลี่ย 2-5 กิโลกรัม เริ่มมีอาการขี้เหงาพร้อมทั้งเหล่หาคู่ชีวิต ตกลูกครอกละ 1 ตัวเท่านั้น เม่นแรกเกิดถูกปกคลุมด้วยเส้นขนสีแดงและหนามเล็กๆที่แข็งเร็วหลังเกิด
เมื่อใดที่มีภัยมาถึงมันจะส่งเสียงซึ่งบางคนบอกว่าคล้ายเสียงคนร้องไห้ พร้อมกับม้วนตัวเป็นลูกกลมๆ พร้อมกับใช้หางมัดตัวเองไว้แน่นซึ่งคงจะคล้ายตัวนิ่มในบ้านเรา....
Cr.
https://www.thairath.co.th/content/116179 โดย เพ็ญพิชญา เตียว
ขอบคุณภาพจาก
https://sites.google.com/site/sakonwan507/home/coendou
เมียร์แคต (Meerkat)
เมียร์แคตเป็นสัตว์มีขนาดลำตัวเล็ก น้ำหนักประมาณ 1 กิโลกรัม (2 ปอนด์) และสูงประมาณ 50 เซนติเมตร (20 นิ้ว) จัดอยู่ในวงศ์พังพอน มีถิ่นอาศัยอยู่ในทะเลทรายคาลาฮารีทางตอนใต้ของทวีปแอฟริกา เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีขนสั้นสีน้ำตาล อายุไขเฉลี่ยของเมียร์แคทอยู่ที่ 12-14 ปี
อาหารโปรดของเมียร์แคตคือแมลงที่อยู่ในพื้นดิน ธรรมชาติเลยออกแบบมาให้เมียร์แคตมีกรงเล็บที่แหลมคมเพื่อใช้ในการขุดดิน พวกมันมีสัมผัสการรับกลิ่นที่ไวมาก เลยรู้ว่ามีแมลงอยู่ตรงไหน เมียร์แคตยังกินพวกสัตว์มีพิษได้อีกหลายหลายชนิดทั้งงู แมงป่อง และตะขาบ
นอกจากจมูกไวและเมียร์แคตยังหูไวด้วย เนื่องด้วยเป็นสัตว์ตัวเล็กป้องกันตัวเองไม่ค่อยได้ ธรรมชาติเลยให้ประสาทสัมผัสพิเศษทางหูมา เพื่อระแวดระวังตัวเองได้รวดเร็ว เมียร์แคตสามารถได้ยินเสียงในรัศมีรอบตัวที่ 50 เมตร เมื่อมีภัยมา มันจะหนีลงรูที่เป็นที่อยู่อาศัยของมัน
แต่อย่างไรก็ตามในปัจจุบันเมียร์แคตก็มีให้เห็นหลายต่อหลายแห่งทั่วโลก และในสวนธรรมชาติและวัฒนธรรมอิโนะกะชิระ (ส่วนสวนสัตว์) ย่านคิจิโจจิ ประเทศญี่ปุ่น ก็มีเมียร์แคตตัวน้อยน่ารักอาศัยอยู่ด้วย
เมื่อไม่นานมานี้ ผู้ใช้ทวิตเตอร์ชื่อว่า @mamekoro51 ได้แบ่งปันภาพเมียร์แคตตัวหนึ่งที่แสดงท่าทีเขินอาย และผลุบๆโผล่อยู่ริมกำแพง เหมือนกับว่ามันก็อยากจะมาเล่นกับเขาแต่ก็ยังแอบหวั่นใจอยู่เล็กๆ
โพสต์ดังกล่าวมีคนกดไลค์มากกว่า 3 แสนคน และรีทวิตมากกว่า 1 แสนครั้ง ถือว่าเยอะมากจริงๆ ซึงแน่นอนว่าชชาวเนตหลายคนก็ตกหลุมรักเจ้าเมียร์แคตตัวน้อย และยังบอกอีกว่าอยากจะไปหามันถึงสวนสัตว์อิโนะกะชิระเลยทีเดียว
ที่มา : Mamekoro51
Cr.
https://dog-vs-cat.com/meerkat-hide-and-seek-inokashira-7-1-2020 by Kaitoon
Cr.
https://www.beartai.com/lifestyle/what-the-pet/346940 By suchaya Kesjamras
นางอาย (Slow loris)
ชื่อ “loris” เป็นคำมาจากภาษาดัชท์ “loeris” หมายถึง ตัวตลกในละครสัตว์ (clown) ชื่อนี้ได้มาจากหน้าตาบ้องแบ๊วและท่าทางที่ดูงุ่มง่ามของมัน ตัวกลมป้อม หางสั้น ตากลมโต
แม้ว่าจะเป็นสัตว์ในกลุ่มเดียวกับพวกลิง แต่นางอายนั้นเป็นสัตว์หากินเวลากลางคืน กลางวันมักหลบซ่อนตัว และด้วยความที่ดวงตากลมโต ช่วยในการมองเห็นเพื่อดำรงชีวิตในตอนกลางคืน แสงจ้าตอนกลางวัน ย่อมไม่เป็นผลดีกับดวงตา ‘บิ๊กอาย’ ของมัน มันจึงซุกหน้าลงกับทรวงอก แล้วกอดแขนทั้งสองข้างอ้อมหัวไว้จนมิด ท่าทางที่เราเห็นกันจนเป็น ‘แบรนด์เนม’ ของสัตว์ชนิดนี้ นำพาไปสู่เรื่องเล่าราวนิยายหรือความเชื่อต่างๆ นานา
เริ่มกันที่บ้านเรา คนไทยเชื่อว่า เหตุที่มันเอาหน้าซุกหน้าอก เป็น “นางอาย” อยู่อย่างนั้น เพราะมันขี้อาย ส่วนชาวแขกในแถบมลายูเชื่อกันว่า มันเป็นสัตว์ที่กลัวผี ถึงกับมีนิยายโบราณของบ้านเขาเล่ากันว่า สัตว์ชนิดนี้ไม่ค่อยจะมีความสุข เพราะทุกครั้งที่มันลืมตาขึ้นมาก็มักจะเห็นผี จึงต้องคอยซุกหน้าอยู่อย่างนั้น แต่มีอีกหลายความเชื่อที่ส่งผลต่อการอยู่รอดของเผ่าพันธุ์ลิงลมในโลกของเรา เช่น ชาวสิงหลในอินเดียและศรีลังกาในอดีตมีความเชื่อว่า น้ำมันจากดวงตาใสโตของมันทำยาเสน่ห์ได้
นอกจากนี้ แขกมลายูบางพวกยังใช้กระดูกและขนของนางอายหรือน้ำมันจากดวงตามาเข้าเครื่องยา มีข้อความกล่าวไว้ว่า “ขนที่หนานุ่มของลิงลมใช้ในการห้ามเลือดได้ผลเป็นอย่างดี” ความเชื่อที่คนเราสร้างเรื่องชวนเชื่อขึ้นมาเอง ทว่ามันกลับส่งผลให้สัตว์ป่าน่ารักชนิดนี้ กำลังถูกคุกคามอย่างสาหัส
เอกสารอ้างอิง
บุญส่ง เลขะกุล. 2537. ธรรมชาตินานาสัตว์ 1. พิมพ์ครั้งที่ 2 สำนักพิมพ์สารคดี กรุงเทพฯ. 352 หน้า
วัชระ สงวนสมบัติ. 2547. นางอาย, น. 303-315. ใน วัชระ สงวนสมบัติ, โดม ประทุมทอง, สมชัย เสริมสินเจริญชัยกุล และอรุณ ร้อยศรี, บรรณาธิการ. Life on earth. บริษัท สำนักพิมพ์กรีนแมคพาย จำกัด
สีฟ้า ละออง. 2552. การจำแนกลิงลมหรือนางอายในประเทศไทย. หน้า 179-183. ใน ผลงานวิจัยและรายงานความก้าวหน้างานวิจัย ประจำปี พ.ศ. 2551. กลุ่มงานวิจัยสัตว์ป่า สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กรุงเทพฯ.
Cr.
http://www.siamensis.org/article/36522 เขียนโดย forest72
ปลากระเบนนก “สัตว์ขี้อาย”
“ปลากระเบนนก” หรือปลากระเบนเนื้อดำ มีอีกชื่อว่าปลากระเบนจุดขาวหรือบางคนเรียกว่าปลากระเบนค้างคาว เป็นปลากระดูกอ่อนในวงศ์ Myliobatidae อาศัยอยู่ในทะเล ส่วนใหญ่หากินตามพื้นท้องน้ำที่เป็นโคลนและบริเวณปากแม่น้ำ อาหารที่กินจะเป็นจำพวกหอยและสัตว์จำพวกกุ้งปู โดยใช้ฟันลักษณะพิเศษบดเปลือกของเหยื่อให้แตก
ลักษณะของปลากกระเบนนก เป็นปลาทะเลประเภทปลาหน้าดิน มีครีบแผ่กว้าง แผ่ออกคล้ายปีกนก มีส่วนหางยื่นยาวเรียวเหมือนแส้ โคนหางมีหนามแหลมยื่นออกไป 1-3 อัน มีจุดเล็กสีขาวกระจายทั่วทั้งตัว มีความยาวประมาณ 80-150 เซนติเมตร ปลากระเบนนกเป็นปลาที่ว่ายน้ำเก่ง และมันยังสามารถถลาขึ้นจากผิวน้ำได้สูงหลายเมตร
"ลักษณะลำตัวเป็นทรงขนมเปียกปูนมีจุดสีขาวกระจายทั่วไปบนหลัง ส่วนหางยาวมากเมื่อเทียบกับลำตัว ที่โคนหางมีเงี่ยง 2- 6 อัน ปลากระเบนนกเป็นปลาที่ออกลูกเป็นไข่แต่ไข่จะฟักในท้องแม่ก่อนจะคลอดออกมาเป็นตัวปลาเลย"
ศัพท์วิชาการเรียกกลุ่มนี้ว่า ovoviviparous จะออกลูกครั้งละ 1-6 ตัว ขนาดโตเต็มที่ลำตัวมีความยาวประมาณ 1.5 เมตร ถิ่นที่อยู่อาศัยพบทั้งในมหาสมุทรแปซิฟิกมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุรแอตแลนติค ตั้งแต่ฮาวาย อ่าวเม็กซิโก ชายฝั่งทะเลของแอฟริกาตะวันตก ชายฝั่งทะเลของสหรัฐอเมริกา และโอเชียเนียซึ่งศัตรูในธรรมชาติของปลากระเบนนก คือ ฉลามเสือ ฉลามหัวค้อน และฉลามอื่นๆ
ข้อมูลทั่วไประบุว่าปลากระเบนชนิดนี้จะเป็นสัตว์ขี้อาย ไม่ทำร้ายคน ชอบว่ายบริเวณผิวน้ำ แต่หากถูกรบกวน ถูกไล่ล่า ตกลูกหรือต้องการสลัดกาฝาก หรือปาราสิตที่ติดอยู่บริเวณใต้ปีก มันจะโผทะยานขึ้นจากผิวน้ำ จึงได้รับฉายาว่า “จานบินแห่งท้องทะเล” และความอันตรายของปลากระเบนนกจะอยู่ที่เงี่ยงพิษตรงปลายหางของมัน มีความอันตรายถึงชีวิต
ที่มา / ภาพ : อินเทอร์เน็ต , เฟซบุ๊ก Thon Thamrongnawasawat
Cr.
https://www.pptvhd36.com/news/ประเด็นร้อน/99313 โดย PPTV Online
“อาร์ดวูล์ฟ” สัตว์โลกน่ารัก
เคยได้ยินสัตว์ที่มีชื่อว่า “อาร์ดวูล์ฟ” บ้างไหม ฟังดูเหมือนเป็นชื่อของสัตว์ในเทพนิยาย แต่มันคือสัตว์ที่มีตัวตนอยู่จริงบนโลกของเรา มันเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมรูปร่างคล้ายสุนัขป่า ที่อยู่ในสกุลเดียวกันกับ “ไฮยีน่า” แต่มันไม่ได้เป็นสัตว์นักล่า และมีชีวิตอยู่ได้ด้วยการกินสัตว์ตัวเล็กๆ อย่างเช่นปลวก
มันจึงถูกตั้งชื่อให้คล้ายกับตัว “อาร์ดวาร์ก” ที่กินปลวกเป็นอาหารเหมือนกัน
อาร์ด (aard) เป็นคำที่มาจากคำในภาษาดัตช์ (aarde) แปลว่าพื้นโลก เจ้าอาร์ดวูล์ฟมีถิ่นฐานอยู่บริเวณตะวันออกและตอนใต้ของทวีปแอฟริกา
นอกจากจะกินปลวกที่อาศัยอยู่ในดินแล้ว เจ้าอาร์ดวูล์ฟก็ยังอาศัยอยู่ในโพรงใต้ดินเช่นกัน พวกมันเป็นสัตว์ที่ขี้อาย น่ารัก และมักจะออกหากินในเวลากลางคืน ขนาดตัวของพวกมันนั้นพอๆ กับหมาป่า จึงได้ชื่อพ่วงท้ายว่าวูล์ฟ
และอีกเรื่องที่น่าสนใจก็คือ อาร์ดวูล์ฟเป็นสัตว์รักเดียวใจเดียว และจะมีคู่ตัวเดียวตลอดชีวิตของพวกมัน
Cr.
http://www.meekhao.com/animals/cutest-animal-aardwolf-meekhao โดย เพจหมีขาวมีข่าวมาเล่าให้ฟัง
แพนด้าแดง (Red panda, Shining cat)
แพนด้าแดงมีรูปร่างหน้าตาคล้ายแรคคูนและกระรอกรวมกัน หัวมีขนาดใหญ่ จมูกแหลม ขาสั้นคล้ายหมี ขนตามลำตัวมีหลากหลาย มีทั้งสีน้ำตาลเข้ม น้ำตาลเหลืองและน้ำตาลแดง ขนบริเวณลำคอยาวและนุ่มฟู หางเป็นพวงยาวคล้ายกับหางของกระรอก มีลายปล้องสีน้ำตาลแดงสลับขาว
เป็นสัตว์ที่ขี้อาย จะเริ่มออกหากินเมื่อเวลาใกล้ค่ำ และหากินตัวเดียว ปีนต้นไม้เก่ง แหล่งอาศัยจะอยู่ในป่าไผ่ ป่าสน ที่ระดับความสูง 2,200-4,800 เมตร ใช้เวลาส่วนใหญ่พักผ่อน อาบแดด และแต่งขนบนกิ่งไม้ เมื่ออากาศหนาวมันจะขดตัวซ่อนส่วนหัวและขา เมื่ออากาศอุ่นขึ้น มันจะนอนเหยียดลำตัวพาดกับกิ่งไม้
แพนด้าแดงจะแต่งขนเมื่อ ตื่นนอน หรือกินอาหาร ขั้นตอนการแต่งขนประกอบด้วย การเหยียดตัว เลียขน และล้างหน้าด้วยฝ่ามือและฝ่าเท้า ที่อาศัยเพื่อพักผ่อนหรือออกลูกจะเป็นโพรงไม้ คาคบไม้ หรือถ้ำหิน แพนด้าแดงเป็นสัตว์ที่มีอาณาเขต โดยมันจะทำเครื่องหมายด้วยกลิ่นฉี่ และสารที่หลั่งออกมาจากต่อมที่ก้น โดยมันจะถู หรือป้ายตามกิ่งไม้ ศัตรูในธรรมชาติ คือ เสือดาวหิมะ หมาไม้
สมัยก่อนมนุษย์จะล่าแพนด้าแดงเพื่อเอาขนหางมาทำเป็นพู่หมวก และจับมาขายให้กับสวนสัตว์ต่างประเทศ แต่ปัจจุบันมีการรณรงค์ห้ามล่าแพนด้าแดงแล้ว
มีถิ่นอาศัย บริเวณเทือกเขาหิมาลัย และตามภูเขาสูงของประเทศเนปาล อินเดีย ภูฐาน จีน ลาว และพม่า อาหารหลัก คือ ใบไผ่ นอกจากนี้ก็กินลูกสน รากไม้ ลูกไม้ เห็ด บางครั้งกินไข่นก และลูกนก แพนด้าแดง ใช้เวลา 13 ชั่วโมงในหนึ่งวัน เพื่อหาใบไผ่กิน
ที่ผ่านมาเราเคยนำแพนด้าแดงมาไว้ที่สวนสัตว์ดุสิตและนำมาทดลองเลี้ยงที่สวนสัตว์เชียงใหม่มาแล้ว
อ้างอิง:
http://www.moohin.com/animals/mammals-96.shtml
Cr.
http://www.thaigoodview.com/node/148210 โดย stn38464
Cr. ภาพ
https://dog-vs-cat.com/little-red-panda-hands-up-8-10-2019
บรรดาสัตว์โลกขี้อายที่น่าเอ็นดู
เม่นบราซิล (Prehensilis Coendou) มีถิ่นฐานบ้านเกิดอยู่ในป่าเขตร้อนแถบบราซิล อาร์เจนตินา โบลิเวีย และ ตรินิแดดฯ และบางส่วนทางตอนเหนือสุดของประเทศ อาร์เจนตินา ชอบใช้ชีวิตอยู่บนต้นไม้ จนหลายคนตั้ง ฉายามันว่า "เม่นต้นไม้" และ "เม่นลิง"
"หนามแหลม" มีลักษณะ จมูก ปาก จะมีเนื้อมาก มี ฟันแหลมคม สำหรับขบเคี้ยวอาหารและใช้เป็นอาวุธสำหรับต่อสู้ป้องกันตัวในบางครั้ง ดวงตากลมโตสีดำ ใบหูขนาดเล็ก รับฟังเสียงรอบข้างได้ดี ทั่วทั้ง ร่างกายปกคลุมด้วยหนามสั้นหนา ปลายหนามด้านบนสีขาวหรือสีเหลืองเข้มผสม ส่วนโคนหนามซึ่งติดกับผิวหนังเป็นสีเทา
ขาคู่หน้า ยาวกว่าคู่หลังเล็กน้อย แต่ละข้างมี 4 นิ้ว และเล็บที่แหลมคมสำหรับแกะเปลือกไม้และขุดรากพืชบางชนิด กิ่งไม้ขนาดเล็กรวมทั้งผลไม้สด "เปิบ" เป็นอาหาร ส่วนหางของมันค่อนข้างแข็งแรงจะใช้จับกิ่งก้านขณะเคลื่อนไหว
เม่นต้นไม้ มีนิสัยค่อนข้างเก็บตัว (ขี้อาย) ชอบใช้ชีวิตแบบ "ฉายเดี่ยว" ออกหากินในช่วงเวลาค่ำคืน ส่วนกลางวันจะพักผ่อนหลับนอนอยู่ตามโพรงไม้ บางครั้งอาจพบพวกมันอยู่ตามโพรงดินที่ขุดลึกไป 6-10 เมตร กระทั่งโตเต็มที่ขนาดลำตัวมีความยาว 300-600 มิลลิเมตร และหางจะมีความยาวเกือบเท่าขนาดลำตัวหรือยาวเพิ่มอีก 330-485 มิลลิเมตร น้ำหนักตัวเฉลี่ย 2-5 กิโลกรัม เริ่มมีอาการขี้เหงาพร้อมทั้งเหล่หาคู่ชีวิต ตกลูกครอกละ 1 ตัวเท่านั้น เม่นแรกเกิดถูกปกคลุมด้วยเส้นขนสีแดงและหนามเล็กๆที่แข็งเร็วหลังเกิด
เมื่อใดที่มีภัยมาถึงมันจะส่งเสียงซึ่งบางคนบอกว่าคล้ายเสียงคนร้องไห้ พร้อมกับม้วนตัวเป็นลูกกลมๆ พร้อมกับใช้หางมัดตัวเองไว้แน่นซึ่งคงจะคล้ายตัวนิ่มในบ้านเรา....
Cr.https://www.thairath.co.th/content/116179 โดย เพ็ญพิชญา เตียว
ขอบคุณภาพจาก https://sites.google.com/site/sakonwan507/home/coendou
เมียร์แคต (Meerkat)
เมียร์แคตเป็นสัตว์มีขนาดลำตัวเล็ก น้ำหนักประมาณ 1 กิโลกรัม (2 ปอนด์) และสูงประมาณ 50 เซนติเมตร (20 นิ้ว) จัดอยู่ในวงศ์พังพอน มีถิ่นอาศัยอยู่ในทะเลทรายคาลาฮารีทางตอนใต้ของทวีปแอฟริกา เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีขนสั้นสีน้ำตาล อายุไขเฉลี่ยของเมียร์แคทอยู่ที่ 12-14 ปี
อาหารโปรดของเมียร์แคตคือแมลงที่อยู่ในพื้นดิน ธรรมชาติเลยออกแบบมาให้เมียร์แคตมีกรงเล็บที่แหลมคมเพื่อใช้ในการขุดดิน พวกมันมีสัมผัสการรับกลิ่นที่ไวมาก เลยรู้ว่ามีแมลงอยู่ตรงไหน เมียร์แคตยังกินพวกสัตว์มีพิษได้อีกหลายหลายชนิดทั้งงู แมงป่อง และตะขาบ
นอกจากจมูกไวและเมียร์แคตยังหูไวด้วย เนื่องด้วยเป็นสัตว์ตัวเล็กป้องกันตัวเองไม่ค่อยได้ ธรรมชาติเลยให้ประสาทสัมผัสพิเศษทางหูมา เพื่อระแวดระวังตัวเองได้รวดเร็ว เมียร์แคตสามารถได้ยินเสียงในรัศมีรอบตัวที่ 50 เมตร เมื่อมีภัยมา มันจะหนีลงรูที่เป็นที่อยู่อาศัยของมัน
แต่อย่างไรก็ตามในปัจจุบันเมียร์แคตก็มีให้เห็นหลายต่อหลายแห่งทั่วโลก และในสวนธรรมชาติและวัฒนธรรมอิโนะกะชิระ (ส่วนสวนสัตว์) ย่านคิจิโจจิ ประเทศญี่ปุ่น ก็มีเมียร์แคตตัวน้อยน่ารักอาศัยอยู่ด้วย
เมื่อไม่นานมานี้ ผู้ใช้ทวิตเตอร์ชื่อว่า @mamekoro51 ได้แบ่งปันภาพเมียร์แคตตัวหนึ่งที่แสดงท่าทีเขินอาย และผลุบๆโผล่อยู่ริมกำแพง เหมือนกับว่ามันก็อยากจะมาเล่นกับเขาแต่ก็ยังแอบหวั่นใจอยู่เล็กๆ
โพสต์ดังกล่าวมีคนกดไลค์มากกว่า 3 แสนคน และรีทวิตมากกว่า 1 แสนครั้ง ถือว่าเยอะมากจริงๆ ซึงแน่นอนว่าชชาวเนตหลายคนก็ตกหลุมรักเจ้าเมียร์แคตตัวน้อย และยังบอกอีกว่าอยากจะไปหามันถึงสวนสัตว์อิโนะกะชิระเลยทีเดียว
ที่มา : Mamekoro51
Cr.https://dog-vs-cat.com/meerkat-hide-and-seek-inokashira-7-1-2020 by Kaitoon
Cr.https://www.beartai.com/lifestyle/what-the-pet/346940 By suchaya Kesjamras
นางอาย (Slow loris)
ชื่อ “loris” เป็นคำมาจากภาษาดัชท์ “loeris” หมายถึง ตัวตลกในละครสัตว์ (clown) ชื่อนี้ได้มาจากหน้าตาบ้องแบ๊วและท่าทางที่ดูงุ่มง่ามของมัน ตัวกลมป้อม หางสั้น ตากลมโต
แม้ว่าจะเป็นสัตว์ในกลุ่มเดียวกับพวกลิง แต่นางอายนั้นเป็นสัตว์หากินเวลากลางคืน กลางวันมักหลบซ่อนตัว และด้วยความที่ดวงตากลมโต ช่วยในการมองเห็นเพื่อดำรงชีวิตในตอนกลางคืน แสงจ้าตอนกลางวัน ย่อมไม่เป็นผลดีกับดวงตา ‘บิ๊กอาย’ ของมัน มันจึงซุกหน้าลงกับทรวงอก แล้วกอดแขนทั้งสองข้างอ้อมหัวไว้จนมิด ท่าทางที่เราเห็นกันจนเป็น ‘แบรนด์เนม’ ของสัตว์ชนิดนี้ นำพาไปสู่เรื่องเล่าราวนิยายหรือความเชื่อต่างๆ นานา
เริ่มกันที่บ้านเรา คนไทยเชื่อว่า เหตุที่มันเอาหน้าซุกหน้าอก เป็น “นางอาย” อยู่อย่างนั้น เพราะมันขี้อาย ส่วนชาวแขกในแถบมลายูเชื่อกันว่า มันเป็นสัตว์ที่กลัวผี ถึงกับมีนิยายโบราณของบ้านเขาเล่ากันว่า สัตว์ชนิดนี้ไม่ค่อยจะมีความสุข เพราะทุกครั้งที่มันลืมตาขึ้นมาก็มักจะเห็นผี จึงต้องคอยซุกหน้าอยู่อย่างนั้น แต่มีอีกหลายความเชื่อที่ส่งผลต่อการอยู่รอดของเผ่าพันธุ์ลิงลมในโลกของเรา เช่น ชาวสิงหลในอินเดียและศรีลังกาในอดีตมีความเชื่อว่า น้ำมันจากดวงตาใสโตของมันทำยาเสน่ห์ได้
นอกจากนี้ แขกมลายูบางพวกยังใช้กระดูกและขนของนางอายหรือน้ำมันจากดวงตามาเข้าเครื่องยา มีข้อความกล่าวไว้ว่า “ขนที่หนานุ่มของลิงลมใช้ในการห้ามเลือดได้ผลเป็นอย่างดี” ความเชื่อที่คนเราสร้างเรื่องชวนเชื่อขึ้นมาเอง ทว่ามันกลับส่งผลให้สัตว์ป่าน่ารักชนิดนี้ กำลังถูกคุกคามอย่างสาหัส
เอกสารอ้างอิง
บุญส่ง เลขะกุล. 2537. ธรรมชาตินานาสัตว์ 1. พิมพ์ครั้งที่ 2 สำนักพิมพ์สารคดี กรุงเทพฯ. 352 หน้า
วัชระ สงวนสมบัติ. 2547. นางอาย, น. 303-315. ใน วัชระ สงวนสมบัติ, โดม ประทุมทอง, สมชัย เสริมสินเจริญชัยกุล และอรุณ ร้อยศรี, บรรณาธิการ. Life on earth. บริษัท สำนักพิมพ์กรีนแมคพาย จำกัด
สีฟ้า ละออง. 2552. การจำแนกลิงลมหรือนางอายในประเทศไทย. หน้า 179-183. ใน ผลงานวิจัยและรายงานความก้าวหน้างานวิจัย ประจำปี พ.ศ. 2551. กลุ่มงานวิจัยสัตว์ป่า สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กรุงเทพฯ.
Cr.http://www.siamensis.org/article/36522 เขียนโดย forest72
ปลากระเบนนก “สัตว์ขี้อาย”
“ปลากระเบนนก” หรือปลากระเบนเนื้อดำ มีอีกชื่อว่าปลากระเบนจุดขาวหรือบางคนเรียกว่าปลากระเบนค้างคาว เป็นปลากระดูกอ่อนในวงศ์ Myliobatidae อาศัยอยู่ในทะเล ส่วนใหญ่หากินตามพื้นท้องน้ำที่เป็นโคลนและบริเวณปากแม่น้ำ อาหารที่กินจะเป็นจำพวกหอยและสัตว์จำพวกกุ้งปู โดยใช้ฟันลักษณะพิเศษบดเปลือกของเหยื่อให้แตก
ลักษณะของปลากกระเบนนก เป็นปลาทะเลประเภทปลาหน้าดิน มีครีบแผ่กว้าง แผ่ออกคล้ายปีกนก มีส่วนหางยื่นยาวเรียวเหมือนแส้ โคนหางมีหนามแหลมยื่นออกไป 1-3 อัน มีจุดเล็กสีขาวกระจายทั่วทั้งตัว มีความยาวประมาณ 80-150 เซนติเมตร ปลากระเบนนกเป็นปลาที่ว่ายน้ำเก่ง และมันยังสามารถถลาขึ้นจากผิวน้ำได้สูงหลายเมตร
"ลักษณะลำตัวเป็นทรงขนมเปียกปูนมีจุดสีขาวกระจายทั่วไปบนหลัง ส่วนหางยาวมากเมื่อเทียบกับลำตัว ที่โคนหางมีเงี่ยง 2- 6 อัน ปลากระเบนนกเป็นปลาที่ออกลูกเป็นไข่แต่ไข่จะฟักในท้องแม่ก่อนจะคลอดออกมาเป็นตัวปลาเลย"
ศัพท์วิชาการเรียกกลุ่มนี้ว่า ovoviviparous จะออกลูกครั้งละ 1-6 ตัว ขนาดโตเต็มที่ลำตัวมีความยาวประมาณ 1.5 เมตร ถิ่นที่อยู่อาศัยพบทั้งในมหาสมุทรแปซิฟิกมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุรแอตแลนติค ตั้งแต่ฮาวาย อ่าวเม็กซิโก ชายฝั่งทะเลของแอฟริกาตะวันตก ชายฝั่งทะเลของสหรัฐอเมริกา และโอเชียเนียซึ่งศัตรูในธรรมชาติของปลากระเบนนก คือ ฉลามเสือ ฉลามหัวค้อน และฉลามอื่นๆ
ข้อมูลทั่วไประบุว่าปลากระเบนชนิดนี้จะเป็นสัตว์ขี้อาย ไม่ทำร้ายคน ชอบว่ายบริเวณผิวน้ำ แต่หากถูกรบกวน ถูกไล่ล่า ตกลูกหรือต้องการสลัดกาฝาก หรือปาราสิตที่ติดอยู่บริเวณใต้ปีก มันจะโผทะยานขึ้นจากผิวน้ำ จึงได้รับฉายาว่า “จานบินแห่งท้องทะเล” และความอันตรายของปลากระเบนนกจะอยู่ที่เงี่ยงพิษตรงปลายหางของมัน มีความอันตรายถึงชีวิต
ที่มา / ภาพ : อินเทอร์เน็ต , เฟซบุ๊ก Thon Thamrongnawasawat
Cr.https://www.pptvhd36.com/news/ประเด็นร้อน/99313 โดย PPTV Online
“อาร์ดวูล์ฟ” สัตว์โลกน่ารัก
เคยได้ยินสัตว์ที่มีชื่อว่า “อาร์ดวูล์ฟ” บ้างไหม ฟังดูเหมือนเป็นชื่อของสัตว์ในเทพนิยาย แต่มันคือสัตว์ที่มีตัวตนอยู่จริงบนโลกของเรา มันเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมรูปร่างคล้ายสุนัขป่า ที่อยู่ในสกุลเดียวกันกับ “ไฮยีน่า” แต่มันไม่ได้เป็นสัตว์นักล่า และมีชีวิตอยู่ได้ด้วยการกินสัตว์ตัวเล็กๆ อย่างเช่นปลวก
มันจึงถูกตั้งชื่อให้คล้ายกับตัว “อาร์ดวาร์ก” ที่กินปลวกเป็นอาหารเหมือนกัน
อาร์ด (aard) เป็นคำที่มาจากคำในภาษาดัตช์ (aarde) แปลว่าพื้นโลก เจ้าอาร์ดวูล์ฟมีถิ่นฐานอยู่บริเวณตะวันออกและตอนใต้ของทวีปแอฟริกา
นอกจากจะกินปลวกที่อาศัยอยู่ในดินแล้ว เจ้าอาร์ดวูล์ฟก็ยังอาศัยอยู่ในโพรงใต้ดินเช่นกัน พวกมันเป็นสัตว์ที่ขี้อาย น่ารัก และมักจะออกหากินในเวลากลางคืน ขนาดตัวของพวกมันนั้นพอๆ กับหมาป่า จึงได้ชื่อพ่วงท้ายว่าวูล์ฟ
และอีกเรื่องที่น่าสนใจก็คือ อาร์ดวูล์ฟเป็นสัตว์รักเดียวใจเดียว และจะมีคู่ตัวเดียวตลอดชีวิตของพวกมัน
Cr.http://www.meekhao.com/animals/cutest-animal-aardwolf-meekhao โดย เพจหมีขาวมีข่าวมาเล่าให้ฟัง
แพนด้าแดง (Red panda, Shining cat)
แพนด้าแดงมีรูปร่างหน้าตาคล้ายแรคคูนและกระรอกรวมกัน หัวมีขนาดใหญ่ จมูกแหลม ขาสั้นคล้ายหมี ขนตามลำตัวมีหลากหลาย มีทั้งสีน้ำตาลเข้ม น้ำตาลเหลืองและน้ำตาลแดง ขนบริเวณลำคอยาวและนุ่มฟู หางเป็นพวงยาวคล้ายกับหางของกระรอก มีลายปล้องสีน้ำตาลแดงสลับขาว
เป็นสัตว์ที่ขี้อาย จะเริ่มออกหากินเมื่อเวลาใกล้ค่ำ และหากินตัวเดียว ปีนต้นไม้เก่ง แหล่งอาศัยจะอยู่ในป่าไผ่ ป่าสน ที่ระดับความสูง 2,200-4,800 เมตร ใช้เวลาส่วนใหญ่พักผ่อน อาบแดด และแต่งขนบนกิ่งไม้ เมื่ออากาศหนาวมันจะขดตัวซ่อนส่วนหัวและขา เมื่ออากาศอุ่นขึ้น มันจะนอนเหยียดลำตัวพาดกับกิ่งไม้
แพนด้าแดงจะแต่งขนเมื่อ ตื่นนอน หรือกินอาหาร ขั้นตอนการแต่งขนประกอบด้วย การเหยียดตัว เลียขน และล้างหน้าด้วยฝ่ามือและฝ่าเท้า ที่อาศัยเพื่อพักผ่อนหรือออกลูกจะเป็นโพรงไม้ คาคบไม้ หรือถ้ำหิน แพนด้าแดงเป็นสัตว์ที่มีอาณาเขต โดยมันจะทำเครื่องหมายด้วยกลิ่นฉี่ และสารที่หลั่งออกมาจากต่อมที่ก้น โดยมันจะถู หรือป้ายตามกิ่งไม้ ศัตรูในธรรมชาติ คือ เสือดาวหิมะ หมาไม้
สมัยก่อนมนุษย์จะล่าแพนด้าแดงเพื่อเอาขนหางมาทำเป็นพู่หมวก และจับมาขายให้กับสวนสัตว์ต่างประเทศ แต่ปัจจุบันมีการรณรงค์ห้ามล่าแพนด้าแดงแล้ว
มีถิ่นอาศัย บริเวณเทือกเขาหิมาลัย และตามภูเขาสูงของประเทศเนปาล อินเดีย ภูฐาน จีน ลาว และพม่า อาหารหลัก คือ ใบไผ่ นอกจากนี้ก็กินลูกสน รากไม้ ลูกไม้ เห็ด บางครั้งกินไข่นก และลูกนก แพนด้าแดง ใช้เวลา 13 ชั่วโมงในหนึ่งวัน เพื่อหาใบไผ่กิน
ที่ผ่านมาเราเคยนำแพนด้าแดงมาไว้ที่สวนสัตว์ดุสิตและนำมาทดลองเลี้ยงที่สวนสัตว์เชียงใหม่มาแล้ว
อ้างอิง: http://www.moohin.com/animals/mammals-96.shtml
Cr.http://www.thaigoodview.com/node/148210 โดย stn38464
Cr. ภาพ https://dog-vs-cat.com/little-red-panda-hands-up-8-10-2019