เรื่องเด็กๆ ที่จะไม่เด็กอีกต่อไป
เริ่มตั้งแต่ตั้งครรภ์ อย่างช้าประมาณเดือนที่ 3 จะต้องไปฝากครรภ์
ถ้าเป็นโรงพยาบาลของรัฐ ก็จะถูกหน่อย โรงพยาบาลเอกชนราคาก็สูงกว่า อย่างน้อยเกือบเท่าตัว
การฝากครรภ์ จะต้องมียาบำรุง มีค่าตรวจรักษา ค่าอัลตร้าซาวน์ หากคุณแม่มีโรคแทรกซ้อน ก็จะต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มอีก
สำหรับค่าใช้จ่ายแต่ละครั้ง คิดราคากลางๆ เฉลี่ย 2000 บาท/ครั้ง
ถ้าระหว่างตั้งครรภ์ ไปพบแพทย์ 10 ครั้ง คิดเป็นเงินเท่ากับ 20,000 บาท
ค่าใช้จ่ายคุณแม่ส่วนอื่นๆที่ไม่นำมาคิดรวมอีก เช่น เสื้อผ้า อาหาร การเดินทาง ที่จะต้องเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา
เมื่อถึงวันคลอดแล้ว ค่าใช้จ่ายการคลอดส่วนนี้ จะเป็นก้อนใหญ่ที่สุด
จะถูกหรือแพง ตามมาตรฐาน สามารถเลือกได้ตั้งแต่ 50,000-150,000 บาท
ระยะเวลา 9 เดือน ตั้งแต่ ตั้งครรภ์จนถึงคลอดบุตร เฉลี่ย คิดเป็นเงินเท่ากับ 120,000 บาท
ระยะเวลาต่อจากนี้แหละ คือของจริง ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายต่อเนื่องยาวนานที่สุด
เมื่อถึงเวลาพาคุณลูกกลับบ้าน คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ก็ต้องมีข้าวของ เครื่องใช้ สำหรับเด็กอ่อน ไม่ว่าจะเป็น เตียง เสื้อผ้า ของเล่น และอื่นๆ ที่เป็นของใช้ถาวร ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายก้อนหนึ่ง โดยเราไม่นำมารวมด้วย
หลังคลอด มาตรฐานโรงพยาบาลทั่วไป จะมีโปรแกรมฉีดวัคซีน ตั้งแต่แรกเกิด ไปจนถึง 3 ขวบปี
คิดเลขกลมๆ ค่ายาวัคซีนเด็ก ปีละ 10,000 บาท ระยะเวลา 3 ปี รวม 30,000 บาท
ของใช้สิ้นเปลืองสำหรับเด็กอ่อน ในยุคปัจจุบันที่ค่อนข้างจำเป็น คือ ผ้าอ้อมสำเร็จรูป
อย่างถูกตัวละ 6 บาท วันละ 3 ตัว เท่ากับ 18 บาท ปีละ 6,570 บาท ถ้าใช้ 3 ปี เท่ากับ 19,710 บาท
ถ้าอยากประหยัดส่วนนี้มากเท่าไร ต้องพยายามสอนให้เด็กขับถ่ายที่ห้องน้ำให้เร็วเท่านั้น
เด็กเกิดมาทุกคนต้องกินนม หากกินนมแม่ก็จะลดภาระค่านมไปได้มาก แต่ก็จะมีค่าใช้จ่ายส่วนเครื่องไม้เครื่องมือของคุณแม่เพิ่มมาอีก
หากเด็กกินนมวันละ 3 กล่อง กล่องละ 10 บาท วันละ 30 บาท คิดเป็นเงิน 10,000 บาท/ปี
ถ้าอย่างน้อยเด็กดื่มนมระยะเวลา 10 ปี จะเท่ากับเงิน 100,000 บาท
ค่าใช้จ่ายที่ไม่เกี่ยวข้องกับโรงเรียน คิดอย่างคร่าว เท่ากับ 150,000 บาท (30000+19710+100000)
ค่าใช้จ่ายก้อนใหญ่อีกเรื่องหนึ่ง คือ ค่าเบี้ยประกัน หากคุณพ่อคุณแม่ทำประกันให้ อย่างถูกปีละ 25,000 บาท ตั้งแต่ 1 ขวบ จนเรียนจบมัธยมปลาย เท่ากับประมาณ 400,000 บาท
ค่าเล่าเรียน คือค่าใช้จ่ายก้อนโตที่สุด ซึ่งค่าเทอมมีทั้งแบบสุดโต่ง ตั้งแต่เรียนฟรี หรือ เทอมหลายแสนบาท
แต่สำหรับมาตรฐานส่วนมากแล้ว ราคาเฉลี่ยคร่าวๆ คิดที่เทอมละ 40,000 บาท (รวมทุกอย่างแล้วทั้งค่ารถ ค่าอาหาร ค่าหนังสือ ค่าเสื้อผ้า ค่าขนม) คิดเป็นปีละ 80,000 บาท
ตั้งแต่ 3 ขวบ - 17 ปี (อนุบาล 1 ถึงมัธยม 6) จะเป็นเงินค่าเทอม จำนวน 1,200,000 บาท
ยังไม่รวมค่าเรียนเสริมพิเศษ ที่คุณพ่อคุณแม่สมัยใหม่ มักจะพาลูกๆไปเรียนกันแต่แต่เริ่มเดินได้ จนเข้าโรงเรียน เมื่อเข้าสูวัยที่ต้องสอบแข่งขัน ยิ่งเรียนหนัก ค่าเรียนพิเศษยิ่งเพิ่มขึ้น มากกว่าค่าเทอมของโรงเรียนด้วยซ้ำไป
สรุปค่าใช้จ่ายทางตรง สำหรับการเลี้ยงดู 1 คน ในระดับคุณภาพชีวิตมาตรฐานทั่วไป
จะใช้เงินประมาณ 1,870,000 บาท
จริงๆแล้ว ปัจจัยที่ทำให้คนสมัยใหม่ไม่อยากมีลูกนั้น มีอีกมากมาย แต่ก็ปฏิเสธได้ยากว่า เรื่องการเงินเป็นปัจจัยแรกๆ ที่มักถูกนำมาอ้างอยู่เสมอ
จำนวนเงินขั้นต้นที่สูงเกือบ 2 ล้านบาท ในการเลี้ยงเด็ก 1 คนให้เติบโตจนพอที่จะดูแลตัวเองได้นั้น เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้สังคมสมัยใหม่ ซึ่งนอกจากต้องทำงานหนักแล้ว ยังมีภาระค่าใช้จ่ายสูง จึงไม่นิยมมีลูกมากเหมือนในอดีต หรือไม่มีลูกเลย
เรื่องนี้คงจะเป็นเรื่องเล็กๆ ภายในของหลายครอบครัว แต่เมื่อมาอยู่รวมตัวกันเป็นสังคมแล้ว มันจะกลายเป็นปัญหาความมั่นของชาติทันที
คิดดูง่ายๆอย่างนี้ว่า ประชาชนทำงาน รัฐเก็บภาษีได้ ใช้เงินจุนเจือสังคม แต่ต่อไปหากไม่มีประชาชนทำงาน รัฐเก็บภาษีไมไ่ด้ ก็จะไม่มีเงินจุนเจือสังคม
ภาระและปัญหาก็จะตกอยู่กับคนที่มีความเปราะบางก่อน แต่สุดท้ายจะเป็นปัญหาของทุกคน
พอเห็นปัญหาอย่างนี้ แล้วเราควรจะทำอย่างไรกันดี
ช่วงปี 1970s ประเทศสิงคโปร์ใช้นโยบาย Two-child policy เพื่อจำกัดจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นอย่างมากในยุคหลังสงครามโลก ที่เรียกกันว่า Baby Boomers
นอกจากการโปรโมตแคมเปญ ด้วยสโลแกนต่างๆ เช่น 'Small families, Brighter future'. 'The more you have, the less they get'.
ครอบครัวไหนที่มีลูกเกิน 2 คน จะถูกจำกัดหรือลงโทษด้วยมาตรการต่างๆ เช่น ไม่มีการลดหย่อนภาษีบุตรคนที่ 3, ค่าคลอดบุตรจะต้องเสียแพงขึ้น, ไม่ให้สิทธิคุณแม่ลูก 3 เช่น ไม่ได้เงินเดือนระหว่างคลอด ไม่มีเงินชดเชยให้, จำกัดสิทธิในด้านมาตรการที่อยู่อาศัยที่ออกโดยรัฐ เป็นต้น
เพราะฉะนั้น สิ่งที่ทำได้ คือ ทำตรงข้ามกับเขาทุกอย่าง 'The more you have, the more you get'.
- เพิ่มสิทธิการลดหย่อนภาษีคุณพ่อ-คุณแม่ แบบขั้นบันได
- ลดค่าใช้จ่ายค่าคลอดบุตรเป็นขั้นบันได (ปัจจุบันยิ่งมีบุตรมาก ค่าใช้จ่ายยิ่งเพิ่ม เพราะโรงพยาบาลปรับอัตราค่าคลอดขึ้นทุกปี)
- เพิ่มสิทธิประโยชน์คุณแม่แบบขั้นบันได จูงใจให้มีลูกอย่างน้อย 2 คน
- เพิ่มเงินชดเชยแบบขั้นบันได ให้สอดคล้องกับค่าใช้จ่ายพื้นฐานในปัจจุบัน
- และหากรัฐมีมาตรการต่างๆ ควรจะให้สิทธิ์กับครอบครัวที่มีลูกจำนวนมากก่อน
สิงคโปร์เอง ยังต้องเปลี่ยนนโยบาย เพิ่มจำนวนประชากร ในอีก 15 ปีถัดมา ด้วยคำขวัญ 'Have three, or more if you can afford it'
ปัจจุบัน สิงคโปร์ใช้นโยบาย Baby Bonus scheme เพราะเขาเห็นความสำคัญ อยากให้คนรุ่นใหม่มีลูกกันมากขึ้น
แต่ไม่ใช่คิดมีลูกอย่างเดียว แต่ต้องส่งเสริมให้เป็นเด็กที่มีคุณภาพของสังคมด้วย
- เด็กที่เกิดจะทยอยได้ Cash Gift ตั้งแต่แรกเกิด จนอายุครบ 18 เดือน
- เด็กที่เกิดจะได้เงินฝากธนาคารโดยอัตโนมัติ 3000 เหรียญ เข้าบัญชี CDA
- ทุกๆ 1 เหรียญที่คุณพ่อคุณแม่ ฝากเงินเข้าบัญชี CDA รัฐจะสมทบเพิ่มอีกเท่าตัว จนกว่าจะอายุครบ 12 ปี โดยจำกัดไว้ที่ 3000 เหรียญ (สำหรับลูกคนที่1-2) 9000 เหรียญ (สำหรับลูกคนที่ 3-4) และ 15000 เหรียญ (สำหรับลูกคนที่ 5)
เงินในบัญชีนี้ (CDA - Child Development Account) จะใช้ได้สำหรับพัฒนาคุณภาพเด็ก กับร้านค้าหรือสถาบันที่ลงทะเบียนเท่านั้น
เช่น ใช้เพื่อจ่ายค่าเทอม ค่าเรียนพิเศษ ค่าหมอ ค่ายา ค่าประกันสุขภาพ เป็นต้น
และสามารถแบ่งให้พี่น้องใช้ได้ด้วย
แต่... จะเอาไปซื้อเกมส์ ซื้อของเล่น ของใช้ส่วนตัว ไม่ได้แน่นอน เขาดักทางไว้หมดแล้ว
เป็นหนึ่งตัวอย่างจากประเทศ ที่ยอมรับกันว่า มีความก้าวหน้าที่สุดในภูมิภาค ASEAN
ที่สำคัญ ต้องจูงใจพอ ให้คนที่พร้อมต้องท้อง และ ท้องต้องพร้อม
มีลูก 1 คน ใช้เงินเท่าไร..??
เริ่มตั้งแต่ตั้งครรภ์ อย่างช้าประมาณเดือนที่ 3 จะต้องไปฝากครรภ์
ถ้าเป็นโรงพยาบาลของรัฐ ก็จะถูกหน่อย โรงพยาบาลเอกชนราคาก็สูงกว่า อย่างน้อยเกือบเท่าตัว
การฝากครรภ์ จะต้องมียาบำรุง มีค่าตรวจรักษา ค่าอัลตร้าซาวน์ หากคุณแม่มีโรคแทรกซ้อน ก็จะต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มอีก
สำหรับค่าใช้จ่ายแต่ละครั้ง คิดราคากลางๆ เฉลี่ย 2000 บาท/ครั้ง
ถ้าระหว่างตั้งครรภ์ ไปพบแพทย์ 10 ครั้ง คิดเป็นเงินเท่ากับ 20,000 บาท
ค่าใช้จ่ายคุณแม่ส่วนอื่นๆที่ไม่นำมาคิดรวมอีก เช่น เสื้อผ้า อาหาร การเดินทาง ที่จะต้องเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา
เมื่อถึงวันคลอดแล้ว ค่าใช้จ่ายการคลอดส่วนนี้ จะเป็นก้อนใหญ่ที่สุด
จะถูกหรือแพง ตามมาตรฐาน สามารถเลือกได้ตั้งแต่ 50,000-150,000 บาท
ระยะเวลา 9 เดือน ตั้งแต่ ตั้งครรภ์จนถึงคลอดบุตร เฉลี่ย คิดเป็นเงินเท่ากับ 120,000 บาท
ระยะเวลาต่อจากนี้แหละ คือของจริง ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายต่อเนื่องยาวนานที่สุด
เมื่อถึงเวลาพาคุณลูกกลับบ้าน คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ก็ต้องมีข้าวของ เครื่องใช้ สำหรับเด็กอ่อน ไม่ว่าจะเป็น เตียง เสื้อผ้า ของเล่น และอื่นๆ ที่เป็นของใช้ถาวร ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายก้อนหนึ่ง โดยเราไม่นำมารวมด้วย
หลังคลอด มาตรฐานโรงพยาบาลทั่วไป จะมีโปรแกรมฉีดวัคซีน ตั้งแต่แรกเกิด ไปจนถึง 3 ขวบปี
คิดเลขกลมๆ ค่ายาวัคซีนเด็ก ปีละ 10,000 บาท ระยะเวลา 3 ปี รวม 30,000 บาท
ของใช้สิ้นเปลืองสำหรับเด็กอ่อน ในยุคปัจจุบันที่ค่อนข้างจำเป็น คือ ผ้าอ้อมสำเร็จรูป
อย่างถูกตัวละ 6 บาท วันละ 3 ตัว เท่ากับ 18 บาท ปีละ 6,570 บาท ถ้าใช้ 3 ปี เท่ากับ 19,710 บาท
ถ้าอยากประหยัดส่วนนี้มากเท่าไร ต้องพยายามสอนให้เด็กขับถ่ายที่ห้องน้ำให้เร็วเท่านั้น
เด็กเกิดมาทุกคนต้องกินนม หากกินนมแม่ก็จะลดภาระค่านมไปได้มาก แต่ก็จะมีค่าใช้จ่ายส่วนเครื่องไม้เครื่องมือของคุณแม่เพิ่มมาอีก
หากเด็กกินนมวันละ 3 กล่อง กล่องละ 10 บาท วันละ 30 บาท คิดเป็นเงิน 10,000 บาท/ปี
ถ้าอย่างน้อยเด็กดื่มนมระยะเวลา 10 ปี จะเท่ากับเงิน 100,000 บาท
ค่าใช้จ่ายที่ไม่เกี่ยวข้องกับโรงเรียน คิดอย่างคร่าว เท่ากับ 150,000 บาท (30000+19710+100000)
ค่าใช้จ่ายก้อนใหญ่อีกเรื่องหนึ่ง คือ ค่าเบี้ยประกัน หากคุณพ่อคุณแม่ทำประกันให้ อย่างถูกปีละ 25,000 บาท ตั้งแต่ 1 ขวบ จนเรียนจบมัธยมปลาย เท่ากับประมาณ 400,000 บาท
ค่าเล่าเรียน คือค่าใช้จ่ายก้อนโตที่สุด ซึ่งค่าเทอมมีทั้งแบบสุดโต่ง ตั้งแต่เรียนฟรี หรือ เทอมหลายแสนบาท
แต่สำหรับมาตรฐานส่วนมากแล้ว ราคาเฉลี่ยคร่าวๆ คิดที่เทอมละ 40,000 บาท (รวมทุกอย่างแล้วทั้งค่ารถ ค่าอาหาร ค่าหนังสือ ค่าเสื้อผ้า ค่าขนม) คิดเป็นปีละ 80,000 บาท
ตั้งแต่ 3 ขวบ - 17 ปี (อนุบาล 1 ถึงมัธยม 6) จะเป็นเงินค่าเทอม จำนวน 1,200,000 บาท
ยังไม่รวมค่าเรียนเสริมพิเศษ ที่คุณพ่อคุณแม่สมัยใหม่ มักจะพาลูกๆไปเรียนกันแต่แต่เริ่มเดินได้ จนเข้าโรงเรียน เมื่อเข้าสูวัยที่ต้องสอบแข่งขัน ยิ่งเรียนหนัก ค่าเรียนพิเศษยิ่งเพิ่มขึ้น มากกว่าค่าเทอมของโรงเรียนด้วยซ้ำไป
สรุปค่าใช้จ่ายทางตรง สำหรับการเลี้ยงดู 1 คน ในระดับคุณภาพชีวิตมาตรฐานทั่วไป
จะใช้เงินประมาณ 1,870,000 บาท
จริงๆแล้ว ปัจจัยที่ทำให้คนสมัยใหม่ไม่อยากมีลูกนั้น มีอีกมากมาย แต่ก็ปฏิเสธได้ยากว่า เรื่องการเงินเป็นปัจจัยแรกๆ ที่มักถูกนำมาอ้างอยู่เสมอ
จำนวนเงินขั้นต้นที่สูงเกือบ 2 ล้านบาท ในการเลี้ยงเด็ก 1 คนให้เติบโตจนพอที่จะดูแลตัวเองได้นั้น เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้สังคมสมัยใหม่ ซึ่งนอกจากต้องทำงานหนักแล้ว ยังมีภาระค่าใช้จ่ายสูง จึงไม่นิยมมีลูกมากเหมือนในอดีต หรือไม่มีลูกเลย
เรื่องนี้คงจะเป็นเรื่องเล็กๆ ภายในของหลายครอบครัว แต่เมื่อมาอยู่รวมตัวกันเป็นสังคมแล้ว มันจะกลายเป็นปัญหาความมั่นของชาติทันที
คิดดูง่ายๆอย่างนี้ว่า ประชาชนทำงาน รัฐเก็บภาษีได้ ใช้เงินจุนเจือสังคม แต่ต่อไปหากไม่มีประชาชนทำงาน รัฐเก็บภาษีไมไ่ด้ ก็จะไม่มีเงินจุนเจือสังคม
ภาระและปัญหาก็จะตกอยู่กับคนที่มีความเปราะบางก่อน แต่สุดท้ายจะเป็นปัญหาของทุกคน
พอเห็นปัญหาอย่างนี้ แล้วเราควรจะทำอย่างไรกันดี
ช่วงปี 1970s ประเทศสิงคโปร์ใช้นโยบาย Two-child policy เพื่อจำกัดจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นอย่างมากในยุคหลังสงครามโลก ที่เรียกกันว่า Baby Boomers
นอกจากการโปรโมตแคมเปญ ด้วยสโลแกนต่างๆ เช่น 'Small families, Brighter future'. 'The more you have, the less they get'.
ครอบครัวไหนที่มีลูกเกิน 2 คน จะถูกจำกัดหรือลงโทษด้วยมาตรการต่างๆ เช่น ไม่มีการลดหย่อนภาษีบุตรคนที่ 3, ค่าคลอดบุตรจะต้องเสียแพงขึ้น, ไม่ให้สิทธิคุณแม่ลูก 3 เช่น ไม่ได้เงินเดือนระหว่างคลอด ไม่มีเงินชดเชยให้, จำกัดสิทธิในด้านมาตรการที่อยู่อาศัยที่ออกโดยรัฐ เป็นต้น
เพราะฉะนั้น สิ่งที่ทำได้ คือ ทำตรงข้ามกับเขาทุกอย่าง 'The more you have, the more you get'.
- เพิ่มสิทธิการลดหย่อนภาษีคุณพ่อ-คุณแม่ แบบขั้นบันได
- ลดค่าใช้จ่ายค่าคลอดบุตรเป็นขั้นบันได (ปัจจุบันยิ่งมีบุตรมาก ค่าใช้จ่ายยิ่งเพิ่ม เพราะโรงพยาบาลปรับอัตราค่าคลอดขึ้นทุกปี)
- เพิ่มสิทธิประโยชน์คุณแม่แบบขั้นบันได จูงใจให้มีลูกอย่างน้อย 2 คน
- เพิ่มเงินชดเชยแบบขั้นบันได ให้สอดคล้องกับค่าใช้จ่ายพื้นฐานในปัจจุบัน
- และหากรัฐมีมาตรการต่างๆ ควรจะให้สิทธิ์กับครอบครัวที่มีลูกจำนวนมากก่อน
สิงคโปร์เอง ยังต้องเปลี่ยนนโยบาย เพิ่มจำนวนประชากร ในอีก 15 ปีถัดมา ด้วยคำขวัญ 'Have three, or more if you can afford it'
ปัจจุบัน สิงคโปร์ใช้นโยบาย Baby Bonus scheme เพราะเขาเห็นความสำคัญ อยากให้คนรุ่นใหม่มีลูกกันมากขึ้น
แต่ไม่ใช่คิดมีลูกอย่างเดียว แต่ต้องส่งเสริมให้เป็นเด็กที่มีคุณภาพของสังคมด้วย
- เด็กที่เกิดจะทยอยได้ Cash Gift ตั้งแต่แรกเกิด จนอายุครบ 18 เดือน
- เด็กที่เกิดจะได้เงินฝากธนาคารโดยอัตโนมัติ 3000 เหรียญ เข้าบัญชี CDA
- ทุกๆ 1 เหรียญที่คุณพ่อคุณแม่ ฝากเงินเข้าบัญชี CDA รัฐจะสมทบเพิ่มอีกเท่าตัว จนกว่าจะอายุครบ 12 ปี โดยจำกัดไว้ที่ 3000 เหรียญ (สำหรับลูกคนที่1-2) 9000 เหรียญ (สำหรับลูกคนที่ 3-4) และ 15000 เหรียญ (สำหรับลูกคนที่ 5)
เงินในบัญชีนี้ (CDA - Child Development Account) จะใช้ได้สำหรับพัฒนาคุณภาพเด็ก กับร้านค้าหรือสถาบันที่ลงทะเบียนเท่านั้น
เช่น ใช้เพื่อจ่ายค่าเทอม ค่าเรียนพิเศษ ค่าหมอ ค่ายา ค่าประกันสุขภาพ เป็นต้น
และสามารถแบ่งให้พี่น้องใช้ได้ด้วย
แต่... จะเอาไปซื้อเกมส์ ซื้อของเล่น ของใช้ส่วนตัว ไม่ได้แน่นอน เขาดักทางไว้หมดแล้ว
เป็นหนึ่งตัวอย่างจากประเทศ ที่ยอมรับกันว่า มีความก้าวหน้าที่สุดในภูมิภาค ASEAN
ที่สำคัญ ต้องจูงใจพอ ให้คนที่พร้อมต้องท้อง และ ท้องต้องพร้อม