คดีผู้บริโภคจะยืดหยุ่นกว่าคดีแพ่งทั่วไปมากไหมครับ

มีข้อพิพาทกับองค์กรนึงครับ เรื่องราวค่อนข้างยาวและซับซ้อนมากครับ แต่สรุปให้สั้นสุดๆ ได้ประมาณนี้ครับ

คือ ผมไปทำธุรกรรมกับองค์กรนึง สุดท้ายแล้วได้รับผลประโยชน์ต่ำกว่าที่ พนง.โฆษณาไว้  (เงินหายไป 5 หลักต้นๆ)
โดย พนง.ขององค์กรที่ว่านี้ เป็นคนโฆษณาขายผม เป็นคนทำธุรกรรมให้ผม แต่ปัจจุบัน พนง.คนนี้ลาออกจากองค์กรนี้ไปแล้ว

ผมร้องเรียนไปที่องค์กรนี้
องค์กรบอกว่า พนง.ลาออกไปแล้ว จึงไม่สามารถสอบสวนได้ว่าที่ผมบอกหนะเป็นเรื่องจริงไหม

ผมจึงไปร้องเรียนหน่วยงานรัฐ จนท.รัฐแนะนำผมว่า ให้ผมฟ้องเป็นคดีผู้บริโภค มี จนท.ศาลให้ความช่วยเหลือ และผมไม่ต้องจ้างทนายก็ฟ้องได้ (ถ้าจ้างทนายก็ไม่คุ้มครับเพราะค่าทนายอาจแพงกว่า)
ผมก็ไปฟ้องศาลผู้บริโภคแล้ว จนท.ศาลเป็นคนเขียนคำฟ้องให้ และฟ้องให้ผมเรียบร้อย (เป็นช่วงไกล่เกลี่ยครับ ยังไม่ได้ระบุวันขึ้นศาล)

หลังจากฟ้องศาลผู้บริโภคแล้ว ผมเอาใบคำฟ้องไปให้ จนท.รัฐช่วยดู เค้าทักผมว่า ผมฟ้ององค์กร แต่ไม่ได้ฟ้อง พนง.ไปด้วย (พนง.คนที่โฆษณาขายผม  เป็นคนทำธุรกรรมให้ผม )

ดังนั้นวันที่ผมขึ้นศาล จะมีทนายขององค์กรที่ผมฟ้องมา แต่จะไม่มี พนง.คนดังกล่าวมา
จนท. บอกผมว่า ประเด็นสำคัญของคดี คือ ในเมื่อพนักงานคนดังกล่าวที่เป็นต้นเหตุของข้อพิพาทไม่มีชื่อในคำฟ้อง ดังนั้น พนง.คนดังกล่าวจะไม่มาในวันขึ้นศาล แล้วศาลจะถามใคร
สุดท้ายแล้วอาจส่งผลทำให้ผมเสียเปรียบ อาจแพ้คดี

แต่ จนท.รัฐก็ทิ้งท้ายกับผมไว้ว่า ที่เค้าแนะนำก็เป็นเพียงความเห็นส่วนตัวของเขา เขาไม่ใช่ศาล ผิดถูกต้องให้ศาลตัดสิน
และให้ผมลองปรึกษาผู้รู้ทางด้านกฎหมายดูอีกที 

รบกวนปรึกษาครับ
- มันจะเป็นแบบที่ จนท.รัฐบอกผมไหมครับ ว่าผมจะเสียเปรียบเพราะ ไม่ได้ใส่ชื่อ พนง.คนดังกล่าวไปในคำฟ้องด้วย
- คดีผู้บริโภคจะยืดหยุ่นกว่าคดีแพ่งทั่วไปมากไหมครับ
- มีที่ไหนให้คำปรึกษาบ้างครับ สภาทนายความ ตรงหลักสี่ใช่ไหมครับ

ขอบคุณครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่