"สรยุทธ" มาถึงศาลฯ ฟังคำพิพากษาฎีกา คดีโกงค่าโฆษณา อสมท
ไทยรัฐออนไลน์21 ม.ค. 2563 09:29 น.
สรยุทธ สุทัศนะจินดา ถึงศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง เพื่อฟังคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีโกงค่าโฆษณา อสมท
โดยมี โน้ต อุดม น้องไบร์ท ไก่ ภาษิต นายประวิทย์ และ แดง ธัญญา เดินทางมาร่วมให้กำลังใจ
เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 21 มกราคม 2563 นายสรยุทธ สุทัศนะจินดา กรรมการผู้จัดการบริษัทไร่ส้ม เดินทางถึงศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง เพื่อนัดฟังคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีโกงค่าโฆษณา อสมท โดยศาลนัดฟังคำพิพากษาในเวลา 10.00 น. วันนี้
https://www.thairath.co.th/news/crime/1752416
ย้อนไป 22 ปี มีพรรคการเมืองถูกยุบไปแล้วเท่าไหร่?
17:55 | 20 มกราคม 2563 |
เปิดสถิติยุบพรรคการเมืองในรอบ 22 ปี ยุบไปแล้ว 109 พรรค 39 พรรค เกิดจากหาสมาชิก และสาขาพรรคไม่ครบ 34 พรรค เกิดจาก ไม่ส่งรายงานการดำเนินการ-การใช้จ่ายเงิน 8 พรรคล้มล้างระบอบการปกครอง 5 พรรค ไปรวมกับพรรคอื่น
วันนี้ (21 ม.ค.2563) ผู้สื่อข่าวไทยพีบีเอสออนไลน์รายงานว่า นับตั้งแต่มีรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 จนถึงรัฐธรรมนูญ 2560 มีความพยายามจะทำให้พรรคการเมืองมีความเข้มแข็ง ควบคู่กับการให้เสรีภาพแก่ประชาชนในการจัดตั้งพรรคการเมือง โดยกำหนดไว้ทั้งในรัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง ให้ผู้ที่จัดตั้งพรรคการเมืองต้องดำเนินการตามบทบัญญัติต่าง ๆ และหากทำไม่ได้ก็จะมีการลงโทษในหลายระดับ
หนึ่งในบทลงโทษที่ส่งผลกระทบต่อพรรคการเมืองอย่างยิ่ง คือ การกำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งเพิ่งจัดตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ทำหน้าที่วินิจฉัยเพื่อ “เพิกถอนหรือยุบเลิก” พรรคการเมือง
“
ตลอด 22 ปีที่ผ่านมา (2540-2562) มีพรรคการเมืองถูกยุบพรรคไปแล้ว 109 พรรค”
โดยแบ่งออกเป็นการยุบพรรคตามบทบัญญัติของกฎหมายในแต่ละช่วง
ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 จำนวน 92 พรรค
ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2550 จำนวน 16 พรรค
ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2560 จำนวน 1 พรรค
พรรคการเมืองที่ถูกยุบตามพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 จำนวน 92 พรรค
แยกตามปีที่มีการยุบพรรค
พ.ศ. 2541 ยุบ 1 พรรค
พ.ศ. 2542 ยุบ 4 พรรค
พ.ศ. 2543 ยุบ 4 พรรค
พ.ศ. 2544 ยุบ 18 พรรค
พ.ศ. 2545 ยุบ 19 พรรค
พ.ศ. 2546 ยุบ 10 พรรค
พ.ศ. 2547 ยุบ 11 พรรค
พ.ศ. 2548 ยุบ 10 พรรค
พ.ศ. 2549 ยุบ 4 พรรค
พ.ศ. 2550 ยุบ 11 พรรค
ยุบพรรคมีตั้งแต่ทำผิดกฎหมาย ข้อบังคับ กกต.
สำหรับเหตุแห่งการยุบพรรค
- มีพรรคการเมือง 39 พรรค ที่ถูกยุบพรรคตามมาตรา 39 ของ พ.ร.บ.พรรคการเมือง คือ ไม่สามารถหาสมาชิกพรรคได้ 5,000 คนขึ้นไป และต้องเป็นสมาชิกที่อยู่ในแต่ละภาคและจังหวัดตามที่ กกต.กำหนด มีสาขาพรรคภาคละอย่างน้อย 1 สาขา ภายใน 180 วัน นับแต่วันที่จัดตั้งพรรคการเมือง
- มีพรรคการเมือง 12 พรรค ที่ถูกยุบตามมาตรา 62 ของพ.ร.บ.พรรคการเมือง
ไม่จัดทำรายงานการใช้จ่ายเงินสนับสนุนของพรรคการเมืองในรอบปีให้ถูกต้อง ยื่นต่อ กกต.ภายในเดือนมีนาคมของปีถัดไป
- มีพรรคการเมือง 9 พรรค ที่ถูกยุบพรรคตามมาตรา 35 ของพ.ร.บ.พรรคการเมือง
หัวหน้าพรรคไม่จัดทำรายงานการดำเนินกิจการของพรรคในรอบปี และแจ้งต่อ กกต.ภายในเดือนมีนาคมของทุกปี
- มีพรรคการเมือง 5 พรรคที่ถูกยุบไปรวมกับพรรคการเมืองอื่น (มาตรา 65 วรรค 3) ได้แก่
พรรคมวลชน ไปรวมกับ พรรคความหวังใหม่ (2541)
พรรคเสรีธรรม ไปรวมกับ พรรคไทยรักไทย (2544)
พรรคความหวังใหม่ ไปรวมกับ พรรคไทยรักไทย (2545)
พรรคชาติพัฒนา ไปรวมกับ พรรคไทยรักไทย (2547)
พรรคต้นตระกูลไทย ไปรวมกับ พรรคชาติไทย ( 2548)
- มีพรรคการเมือง 1 พรรค คือพรรคไทยรักไทย ถูกยุบเพราะกระทำการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการที่ไม่เป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
กรณีจ้างพรรคการเมืองขนาดเล็กให้ส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้ง เพื่อหลีกเลี่ยงเกณฑ์ต้องได้คะแนนเสียง ร้อยละ 20 ขอองผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งในเขตที่มีผู้สมัครคนเดียว
- มีพรรคการเมือง 3 พรรค ที่ถูกยุบเพราะกระทำการอันอาจเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข คือ 3 พรรคเล็กที่ส่งผู้สมัครสนับสนุนพรรคไทยรักไทย ในเขตที่มีผู้สมัครคนเดียว ได้แก่ พรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า พรรคพัฒนาชาติไทย และพรรคแผ่นดินไทย
พ.ร.บ.พรรคการเมืองปี 2550 ยุบอีก 16 พรรค
พรรคการเมืองที่ถูกยุบตามพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2550 จำนวน 16 พรรค
1.แยกตามปีที่มีการยุบพรรค (2550-2560)
พ.ศ. 2551 ยุบ 3 พรรค
พ.ศ. 2553 ยุบ 3 พรรค
พ.ศ. 2555 ยุบ 2 พรรค
พ.ศ. 2556 ยุบ 2 พรรค
พ.ศ. 2557 ยุบ 2 พรรค
พ.ศ. 2558 ยุบ 1 พรรค
พ.ศ. 2559 ยุบ 2 พรรค
พ.ศ. 2560 ยุบ 1 พรรค
2.แยกตามเหตุแห่งการยุบพรรค
- มีพรรคการเมือง 7 พรรค ที่ถูกยุบพรรค เนื่องจากหัวหน้าพรรคไม่จัดทำรายงานการดำเนินการการประจำปีตามรอบปฏิทิน
- มีพรรคการเมือง 6 พรรค ที่ถูกยุบพรรคเนื่องจากไม่จัดทำรายงานการใช้จ่ายเงินสนับสนุนของพรรคการเมือง
- มีพรรคการเมือง 3 พรรคที่ถูกยุบ (2551) เนื่องจาก การกระทำล้มล้างการปกรครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้แก่ พรรคพลังประชาชน พรรคชาติไทย พรรคมัชฌิมาธิปไตย
กรณีกรรมการบริหารพรรคทุจริตเลือกตั้ง แจกใบแดง และเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง
นายยงยุทธ ติยะไพรัช รองหัวหน้าพรรคพลังประชาชน ส.ส.แบบสัดส่วน
นายมณเฑียร สงฆ์ประชา ผู้สมัครรับเลือกตั้งและรองเลขาธิการพรรคชาติไทย
นายสุนทร วิลาวัลย์ ผู้สมัครรับเลือกตั้งและรองหัวหน้าพรรคมัชฌิมาธิปไตย
พรรคการเมืองที่ถูกยุบตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 จำนวน 1 พรรค
คำวินิจฉัยที่ 3/2562 ยุบพรรคไทยรักษาชาติ มีการการะทำที่อาจจะเป็นปฏิปักษ์กับการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (ตามมาตรา 92) กรณีการเสนอชื่อบุคคลให้สภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี (ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี)
https://news.thaipbs.or.th/content/288138
วันนี้มีคดีใหญ่2คดี ยุบพรรคส้ม กับ คดีไร่ส้ม(สรยุทธข่าว3) จะสะเทือนเศรษฐกิจ และการลงทุนอะไรไหมหลังจากนั้น?
ไทยรัฐออนไลน์21 ม.ค. 2563 09:29 น.
สรยุทธ สุทัศนะจินดา ถึงศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง เพื่อฟังคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีโกงค่าโฆษณา อสมท
โดยมี โน้ต อุดม น้องไบร์ท ไก่ ภาษิต นายประวิทย์ และ แดง ธัญญา เดินทางมาร่วมให้กำลังใจ
เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 21 มกราคม 2563 นายสรยุทธ สุทัศนะจินดา กรรมการผู้จัดการบริษัทไร่ส้ม เดินทางถึงศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง เพื่อนัดฟังคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีโกงค่าโฆษณา อสมท โดยศาลนัดฟังคำพิพากษาในเวลา 10.00 น. วันนี้
https://www.thairath.co.th/news/crime/1752416
ย้อนไป 22 ปี มีพรรคการเมืองถูกยุบไปแล้วเท่าไหร่?
17:55 | 20 มกราคม 2563 |
เปิดสถิติยุบพรรคการเมืองในรอบ 22 ปี ยุบไปแล้ว 109 พรรค 39 พรรค เกิดจากหาสมาชิก และสาขาพรรคไม่ครบ 34 พรรค เกิดจาก ไม่ส่งรายงานการดำเนินการ-การใช้จ่ายเงิน 8 พรรคล้มล้างระบอบการปกครอง 5 พรรค ไปรวมกับพรรคอื่น
วันนี้ (21 ม.ค.2563) ผู้สื่อข่าวไทยพีบีเอสออนไลน์รายงานว่า นับตั้งแต่มีรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 จนถึงรัฐธรรมนูญ 2560 มีความพยายามจะทำให้พรรคการเมืองมีความเข้มแข็ง ควบคู่กับการให้เสรีภาพแก่ประชาชนในการจัดตั้งพรรคการเมือง โดยกำหนดไว้ทั้งในรัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง ให้ผู้ที่จัดตั้งพรรคการเมืองต้องดำเนินการตามบทบัญญัติต่าง ๆ และหากทำไม่ได้ก็จะมีการลงโทษในหลายระดับ
หนึ่งในบทลงโทษที่ส่งผลกระทบต่อพรรคการเมืองอย่างยิ่ง คือ การกำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งเพิ่งจัดตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ทำหน้าที่วินิจฉัยเพื่อ “เพิกถอนหรือยุบเลิก” พรรคการเมือง
“
ตลอด 22 ปีที่ผ่านมา (2540-2562) มีพรรคการเมืองถูกยุบพรรคไปแล้ว 109 พรรค”
โดยแบ่งออกเป็นการยุบพรรคตามบทบัญญัติของกฎหมายในแต่ละช่วง
ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 จำนวน 92 พรรค
ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2550 จำนวน 16 พรรค
ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2560 จำนวน 1 พรรค
พรรคการเมืองที่ถูกยุบตามพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 จำนวน 92 พรรค
แยกตามปีที่มีการยุบพรรค
พ.ศ. 2541 ยุบ 1 พรรค
พ.ศ. 2542 ยุบ 4 พรรค
พ.ศ. 2543 ยุบ 4 พรรค
พ.ศ. 2544 ยุบ 18 พรรค
พ.ศ. 2545 ยุบ 19 พรรค
พ.ศ. 2546 ยุบ 10 พรรค
พ.ศ. 2547 ยุบ 11 พรรค
พ.ศ. 2548 ยุบ 10 พรรค
พ.ศ. 2549 ยุบ 4 พรรค
พ.ศ. 2550 ยุบ 11 พรรค
ยุบพรรคมีตั้งแต่ทำผิดกฎหมาย ข้อบังคับ กกต.
สำหรับเหตุแห่งการยุบพรรค
- มีพรรคการเมือง 39 พรรค ที่ถูกยุบพรรคตามมาตรา 39 ของ พ.ร.บ.พรรคการเมือง คือ ไม่สามารถหาสมาชิกพรรคได้ 5,000 คนขึ้นไป และต้องเป็นสมาชิกที่อยู่ในแต่ละภาคและจังหวัดตามที่ กกต.กำหนด มีสาขาพรรคภาคละอย่างน้อย 1 สาขา ภายใน 180 วัน นับแต่วันที่จัดตั้งพรรคการเมือง
- มีพรรคการเมือง 12 พรรค ที่ถูกยุบตามมาตรา 62 ของพ.ร.บ.พรรคการเมือง
ไม่จัดทำรายงานการใช้จ่ายเงินสนับสนุนของพรรคการเมืองในรอบปีให้ถูกต้อง ยื่นต่อ กกต.ภายในเดือนมีนาคมของปีถัดไป
- มีพรรคการเมือง 9 พรรค ที่ถูกยุบพรรคตามมาตรา 35 ของพ.ร.บ.พรรคการเมือง
หัวหน้าพรรคไม่จัดทำรายงานการดำเนินกิจการของพรรคในรอบปี และแจ้งต่อ กกต.ภายในเดือนมีนาคมของทุกปี
- มีพรรคการเมือง 5 พรรคที่ถูกยุบไปรวมกับพรรคการเมืองอื่น (มาตรา 65 วรรค 3) ได้แก่
พรรคมวลชน ไปรวมกับ พรรคความหวังใหม่ (2541)
พรรคเสรีธรรม ไปรวมกับ พรรคไทยรักไทย (2544)
พรรคความหวังใหม่ ไปรวมกับ พรรคไทยรักไทย (2545)
พรรคชาติพัฒนา ไปรวมกับ พรรคไทยรักไทย (2547)
พรรคต้นตระกูลไทย ไปรวมกับ พรรคชาติไทย ( 2548)
- มีพรรคการเมือง 1 พรรค คือพรรคไทยรักไทย ถูกยุบเพราะกระทำการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการที่ไม่เป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
กรณีจ้างพรรคการเมืองขนาดเล็กให้ส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้ง เพื่อหลีกเลี่ยงเกณฑ์ต้องได้คะแนนเสียง ร้อยละ 20 ขอองผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งในเขตที่มีผู้สมัครคนเดียว
- มีพรรคการเมือง 3 พรรค ที่ถูกยุบเพราะกระทำการอันอาจเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข คือ 3 พรรคเล็กที่ส่งผู้สมัครสนับสนุนพรรคไทยรักไทย ในเขตที่มีผู้สมัครคนเดียว ได้แก่ พรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า พรรคพัฒนาชาติไทย และพรรคแผ่นดินไทย
พ.ร.บ.พรรคการเมืองปี 2550 ยุบอีก 16 พรรค
พรรคการเมืองที่ถูกยุบตามพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2550 จำนวน 16 พรรค
1.แยกตามปีที่มีการยุบพรรค (2550-2560)
พ.ศ. 2551 ยุบ 3 พรรค
พ.ศ. 2553 ยุบ 3 พรรค
พ.ศ. 2555 ยุบ 2 พรรค
พ.ศ. 2556 ยุบ 2 พรรค
พ.ศ. 2557 ยุบ 2 พรรค
พ.ศ. 2558 ยุบ 1 พรรค
พ.ศ. 2559 ยุบ 2 พรรค
พ.ศ. 2560 ยุบ 1 พรรค
2.แยกตามเหตุแห่งการยุบพรรค
- มีพรรคการเมือง 7 พรรค ที่ถูกยุบพรรค เนื่องจากหัวหน้าพรรคไม่จัดทำรายงานการดำเนินการการประจำปีตามรอบปฏิทิน
- มีพรรคการเมือง 6 พรรค ที่ถูกยุบพรรคเนื่องจากไม่จัดทำรายงานการใช้จ่ายเงินสนับสนุนของพรรคการเมือง
- มีพรรคการเมือง 3 พรรคที่ถูกยุบ (2551) เนื่องจาก การกระทำล้มล้างการปกรครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้แก่ พรรคพลังประชาชน พรรคชาติไทย พรรคมัชฌิมาธิปไตย
กรณีกรรมการบริหารพรรคทุจริตเลือกตั้ง แจกใบแดง และเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง
นายยงยุทธ ติยะไพรัช รองหัวหน้าพรรคพลังประชาชน ส.ส.แบบสัดส่วน
นายมณเฑียร สงฆ์ประชา ผู้สมัครรับเลือกตั้งและรองเลขาธิการพรรคชาติไทย
นายสุนทร วิลาวัลย์ ผู้สมัครรับเลือกตั้งและรองหัวหน้าพรรคมัชฌิมาธิปไตย
พรรคการเมืองที่ถูกยุบตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 จำนวน 1 พรรค
คำวินิจฉัยที่ 3/2562 ยุบพรรคไทยรักษาชาติ มีการการะทำที่อาจจะเป็นปฏิปักษ์กับการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (ตามมาตรา 92) กรณีการเสนอชื่อบุคคลให้สภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี (ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี) https://news.thaipbs.or.th/content/288138