1) ถ้าจะดันค่าเงินไปถึง 35 บาทต่อดอลลาร์ ก็คงหนีไม่พ้นแบงก์ชาติ ต้องออกมาตั้งโต๊ะขายบาท ซื้อดอลลาร์มหาศาล ย้ำว่า มหาศาล... เพราะในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา แบงก์ชาติซื้อไปถึง 85,000 ล้านดอลลาร์ วันนี้บาทก็ยังอยู่แถว 30 แล้วถ้าจะให้ถึง 35 บาทต่อดอลลาร์ จะต้องซื้อดอลลาร์อีกเท่าไรถึงจะเอาอยู่ ... เหตุการณ์ต่างประเทศมีแต่จะเสี่ยงเพิ่มขึ้น ยิ่งซื้อเงินตราต่างประเทศเพิ่มขึ้นเยอะๆ ใช่ว่าจะดีเสมอไป
2) เงินสำรองตอนนี้ถูกมองว่าเพียงพอที่จะเป็นกันชนให้เศรษฐกิจไทย คนไทยและเทศเลยคิดกันไปเองว่าเราเป็นที่หลบภัย Safe Haven ไม่ว่าใครตีกัน ยิงกัน เอาเงินพักไว้ที่ไทยอุ่นใจดี ..... แล้วถ้าแบงก์ชาติยังซื้อดอลลาร์เพิ่มอีก เวลาโลกผันผวนที่ไหน นักลงทุนต่างชาติก็จะยิ่งหันมามองไทย เอาเงินมาฝากที่พี่ไทยอุ่นใจแน่นอน คราวนี้ได้เป็นไทยเข้ม (บาท) แข็งขึ้นเรื่อยๆ ... สุดท้ายแบงก์ชาติก็จะดูแลค่าเงินบาทได้ยากขึ้นเรื่อยๆ อย่าลืมว่าตลาดเงินไทยเล็กนิดเดียวเทียบกับเงินลงทุนที่หมุนอยู่ทั่วโลก
3) คงไม่มีประเทศไหนยอมให้ไทยแทรกแซงค่าเงินไปจนถึง 35 บาทต่อดอลลาร์ จนสวนทางกับปัจจัยพื้นฐาน เขาจะรุมหาว่าเราปั่นค่าเงินเพื่อให้ได้เปรียบทางการค้า ประเทศที่เคยเป็นมิตร ก็อาจเป็นศัตรู มองว่าเราเอาเปรียบลดค่าเงินช่วยการส่งออก คราวนี้ร่วมกันแบน แอนตี้สินค้าไทย ลำบากกว่าเก่าแน่นอน ... ภายใต้โลกที่เต็มไปด้วยสงครามการค้า ทางการจะทำอะไรก็คงต้องเหลียวซ้ายแลขวาบ้าง ไม่งั้นต้องกุมขมับแน่
4) การแทรกแซงค่าเงินแบบสุดโต่ง ทำได้ไม่นานหรอก ถ้าแบงก์ชาติดันบาทไปถึง 35 แป๊บเดียวบาทก็จะกลับมาแข็งอีก ... ทำไมเป็นอย่างนั้นเหรอ เพราะนักลงทุนไทยและเทศจะแห่กันมาขายดอลลาร์ ซื้อบาท เพราะขาย 1 ดอลลาร์ได้เงินบาทตั้ง 35 บาท... ถ้าแห่ซื้อบาทเยอะๆ แบงก์ชาติก็จะสู้ให้บาทอ่อนต่อไปไม่ไหว ต้องปล่อยให้บาทแข็งตามที่ควรจะเป็น นักลงทุน ผู้ส่งออก แค่นั่งนิ่งๆ รอขายบาทคืน ซื้อดอลลาร์กลับมา เหมือนบาทเป็นของตาย ฟันกำไรแบบเห็นๆ เหลือไว้เพียงบาทที่แข็งต่อ ... เท่ากับแบงก์ชาติขุดหลุมให้ตัวเอง ขุดหลุมให้เศรษฐกิจไทย
ที่ร่ายมายาวไม่ได้แปลว่าค่าเงินบาทตอนนี้ดีแล้ว เพราะแบงก์ชาติเองก็ออกมายอมรับว่าบาทแข็งมากไป แต่การบริหารจัดการค่าเงินเป็นเรื่องละเอียดอ่อน มีข้อจำกัดมาก กูรูที่ชอบวิจารณ์ ไม่เข้าใจข้อจำกัด กลไกตลาดอัตราแลกเปลี่ยน บอกให้แบงก์ชาติแทรกแซงมากๆ ให้ถึง 35 บาท อาจฟังดูดี แต่ก็เหมือนพูดว่าปีนี้แล้งจัด ต้องเร่งกันทำให้ฝนตก ต้องถามว่าจะทำยังไง ทำได้จริงเปล่า
จขกท ก็คงต้องจ่ายค่าน้ำมันค่าไฟที่แพงขึ้นไปตามระเบียบ แล้วเครื่องจักรที่นำเข้ามาลงทุนจะแพงขึ้นอีกแค่ไหน ในแต่ละวันตั้งแต่ตื่นนอน เราใช้สินค้านำเข้ามากแค่ไหน ถามใจเธอดู...
จะเกิดอะไรขึ้นถ้าแบงก์ชาติบ้าจี้ดันเงินบาทไปที่ 35 บาทต่อดอลลาร์ตามที่กูรูบางคนแนะนำ
2) เงินสำรองตอนนี้ถูกมองว่าเพียงพอที่จะเป็นกันชนให้เศรษฐกิจไทย คนไทยและเทศเลยคิดกันไปเองว่าเราเป็นที่หลบภัย Safe Haven ไม่ว่าใครตีกัน ยิงกัน เอาเงินพักไว้ที่ไทยอุ่นใจดี ..... แล้วถ้าแบงก์ชาติยังซื้อดอลลาร์เพิ่มอีก เวลาโลกผันผวนที่ไหน นักลงทุนต่างชาติก็จะยิ่งหันมามองไทย เอาเงินมาฝากที่พี่ไทยอุ่นใจแน่นอน คราวนี้ได้เป็นไทยเข้ม (บาท) แข็งขึ้นเรื่อยๆ ... สุดท้ายแบงก์ชาติก็จะดูแลค่าเงินบาทได้ยากขึ้นเรื่อยๆ อย่าลืมว่าตลาดเงินไทยเล็กนิดเดียวเทียบกับเงินลงทุนที่หมุนอยู่ทั่วโลก
3) คงไม่มีประเทศไหนยอมให้ไทยแทรกแซงค่าเงินไปจนถึง 35 บาทต่อดอลลาร์ จนสวนทางกับปัจจัยพื้นฐาน เขาจะรุมหาว่าเราปั่นค่าเงินเพื่อให้ได้เปรียบทางการค้า ประเทศที่เคยเป็นมิตร ก็อาจเป็นศัตรู มองว่าเราเอาเปรียบลดค่าเงินช่วยการส่งออก คราวนี้ร่วมกันแบน แอนตี้สินค้าไทย ลำบากกว่าเก่าแน่นอน ... ภายใต้โลกที่เต็มไปด้วยสงครามการค้า ทางการจะทำอะไรก็คงต้องเหลียวซ้ายแลขวาบ้าง ไม่งั้นต้องกุมขมับแน่
4) การแทรกแซงค่าเงินแบบสุดโต่ง ทำได้ไม่นานหรอก ถ้าแบงก์ชาติดันบาทไปถึง 35 แป๊บเดียวบาทก็จะกลับมาแข็งอีก ... ทำไมเป็นอย่างนั้นเหรอ เพราะนักลงทุนไทยและเทศจะแห่กันมาขายดอลลาร์ ซื้อบาท เพราะขาย 1 ดอลลาร์ได้เงินบาทตั้ง 35 บาท... ถ้าแห่ซื้อบาทเยอะๆ แบงก์ชาติก็จะสู้ให้บาทอ่อนต่อไปไม่ไหว ต้องปล่อยให้บาทแข็งตามที่ควรจะเป็น นักลงทุน ผู้ส่งออก แค่นั่งนิ่งๆ รอขายบาทคืน ซื้อดอลลาร์กลับมา เหมือนบาทเป็นของตาย ฟันกำไรแบบเห็นๆ เหลือไว้เพียงบาทที่แข็งต่อ ... เท่ากับแบงก์ชาติขุดหลุมให้ตัวเอง ขุดหลุมให้เศรษฐกิจไทย
ที่ร่ายมายาวไม่ได้แปลว่าค่าเงินบาทตอนนี้ดีแล้ว เพราะแบงก์ชาติเองก็ออกมายอมรับว่าบาทแข็งมากไป แต่การบริหารจัดการค่าเงินเป็นเรื่องละเอียดอ่อน มีข้อจำกัดมาก กูรูที่ชอบวิจารณ์ ไม่เข้าใจข้อจำกัด กลไกตลาดอัตราแลกเปลี่ยน บอกให้แบงก์ชาติแทรกแซงมากๆ ให้ถึง 35 บาท อาจฟังดูดี แต่ก็เหมือนพูดว่าปีนี้แล้งจัด ต้องเร่งกันทำให้ฝนตก ต้องถามว่าจะทำยังไง ทำได้จริงเปล่า
จขกท ก็คงต้องจ่ายค่าน้ำมันค่าไฟที่แพงขึ้นไปตามระเบียบ แล้วเครื่องจักรที่นำเข้ามาลงทุนจะแพงขึ้นอีกแค่ไหน ในแต่ละวันตั้งแต่ตื่นนอน เราใช้สินค้านำเข้ามากแค่ไหน ถามใจเธอดู...