“
ติดดอย” คำแสลงหูของนักเล่นหุ้นที่มักจะพูดกัน
เวลาที่ซื้อหุ้นมาในราคาที่สูงหรือราคาแพงมาก เสมือนขึ้นไปอยู่บนยอดดอย
ทำให้นึกถึงผลการประมูลอู่ตะเภา ที่ทำเอาฝ่ายการเงินที่คำนวณตัวเลขต้องคิดหนัก เมื่อเกิดอาการปืนลั่นยื่นราคาสูงกว่าคู่แข่งกว่า 2 แสนล้าน เพราะเมื่อสิ้นเสียงระฆัง ปรากฏว่ากลุ่มบีบีเอส เป็นผู้เสนอผลตอบแทนที่สูงสุด ประมาณ 3 แสนล้านบาท รองลงมาเป็นกลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัท ธนโฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร เสนอกว่า 1 แสนล้านบาท และสุดท้ายคือกลุ่มแกรนด์ที่ตามมาเป็นที่สาม ซึ่งมีผลการวิเคราะห์น่าสนใจ 6 ประเด็น ดังนี้
• ประเด็นที่ 1: ทำเงินหล่นไปสองแสนล้าน
- ในขณะที่คนที่ไม่ใช่เจ้าของเงินออกมาเฮเสียงดังกับชัยชนะของกลุ่มกิจการร่วมค้าบีบีเอส แต่คนต้องจ่ายกุมขมับ คำนวณตัวเลขยังไง ให้จ่ายแพงกว่าคู่แข่งสองแสนล้าน ซึ่งกลุ่มบีบีเอส ประกอบด้วย บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน), บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BA ของนายแพทย์ ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ และบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) โดยเสนอราคาสูงสุดอยู่ที่ 305,555 ล้านบาท ซึ่งเปรียบเทียบกันแล้วพบว่าราคาที่เสนอนั้นทิ้งห่างกลุ่มกิจการค้าร่วม บริษัท ธนโฮลดิ้งฯ (ซีพี) ซึ่งอยู่อันดับที่สองคิดเป็นเม็ดเงินกว่า 2 แสนล้านบาท ทำให้คำถามและความกดดันตกไปอยู่กับทีมงานการเงินที่ทำตัวเลขเสนอราคา เพราะหากเพียงบีบีเอส เสนอตัวเลข 1.2 แสนล้าน จะประหยัดเงินไปทันทีเกือบสองแสนล้าน และที่สำคัญ ตัวเลขนี้เป็นมูลค่าปัจจุบัน แต่ตัวเลขที่ต้องจ่ายจริงหากนับรวมกัน 50 ปีของกลุ่มบีบีเอส สูงถึง 1.1 ล้านล้าน ทำให้คนที่ต้องจ่ายจริงๆ นั้น คงไม่ค่อยดีใจกับตัวเลขที่เขียนไปซักเท่าไหร่
• ประเด็นที่ 2: เช็คตัวเลขกันวุ่นว่าบีบีเอสใส่ค่าอะไรผิดหรือไม่?
- ทำไมเลขเสนอราคาโดดไปถึง 6 เท่า ของราคาที่รัฐขอมา และสูงกว่าคู่แข่ง ถึง 300% มีตัวแปรอะไรผิดหรือไม่? แล้วถ้าคำนวณผิด หากทำไม่ได้จริง ขอแก้ไขตัวเลขทีหลังกับคณะกรรมการได้หรือไม่? ทำเอากรรมการคัดเลือกต้องหยิบเครื่องคิดเลขมาช่วยคำนวณ และขอเวลายังไม่กล้าประกาศผล
• ประเด็นที่ 3: ยุทธศาสตร์ฟันแล้วทิ้ง
- ทำได้ยากในยุคอีอีซี เพราะมีการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบมากมาย ต่างจากงานประมูลงานรัฐในอดีตทำให้กรรมการคัดเลือก ไม่ได้เลือกตัวเลขที่สูงสุดอย่างเดียว แต่ต้องมาตรวจสอบสมมุติฐาน สังเกตได้จากข่าวของคณะกรรมการคัดเลือกที่เน้นว่า ต้องพิจารณาตรวจสอบรายละเอียดข้อเสนอด้านราคา เช่นสมมุติฐานและการประมาณการด้านการเงิน ว่าทำได้จริงหรือไม่ จะไม่ซ้ำรอย JAS ที่เสนอราคาสูงแล้วทิ้งภายหลัง
• ประเด็นที่ 4: หากทำไม่ได้ บริษัทเจ๊งไป ผู้ถือหุ้นไม่ต้องรับผิดชอบ
- ซึ่งไม่รู้ว่านี่คือช่องโหว่ของเงื่อนไขหรือไม่ เพราะการประมูลอู่ตะเภาในครั้งนี้มีเพียงเงินประกันบอนด์ (Bid Bond) เท่านั้น และบริษัทที่มาประมูลเป็นบริษัทตั้งใหม่ หากทำไปแล้ว เรือล่มปากอ่าว
บริษัทไปไม่รอด ก็แค่ยึดเงินบอนด์ แต่ผู้ถือหุ้นไม่ต้องค้ำประกัน สาวไปไม่ถึงผู้ถือหุ้นได้ ทำให้ประเด็นนี้เป็นความเสี่ยงของคณะกรรมการที่ต้องรับไปเต็มๆ ผ่านไปหลายสิบปี ตายไปแล้ว ยังต้องขุดมารับโทษ ว่าอนุมัติไปได้อย่างไร รู้ทั้งรู้ว่าจะมีปัญหาในอนาคต
• ประเด็นที่ 5: ธนาคารไม่กล้าปล่อยกู้
- เพราะตัวเลข IRR ติดลบ ซึ่งกรณีนี้คำนวณไม่ยากว่าจะสำเร็จหรือไม่ หากจำตัวเลข 59,000 ล้านบาทได้ เลขนี้เป็นตัวเลขที่รัฐคำนวณจากการประมาณการผู้โดยสาร จากบริษัทที่ปรึกษาระดับโลก และมี IRR ของโครงการอยู่ที่ต่ำกว่า 5% ซึ่งก็ต้องถือว่าต่ำมากแล้ว เทียบกับการนำเงินไปลงทุนอย่างอื่น แต่เมื่อเกิดกรณีปืนลั่น เสนอส่วนแบ่งให้รัฐมากถึง 3 แสนล้านนั้น ทำให้ IRR นั้นติดลบ นั่นคือทำไปก็ขาดทุนไปตลอด 50 ปี จะมีธนาคารใดกล้าปล่อยแหล่งเงินกู้ และสิ่งนี้คือประเด็นที่ยากที่สุด
• ประเด็นที่ 6: กลับตัวก็ไม่ได้ ให้เดินต่อไปก็ไปไม่ถึง
- ถ้าจะให้กลืนเลือดเดินหน้า ก็เจอปัญหาแหล่งเงินกู้ กับอัตราผลตอบแทนติดลบ แต่จะให้ถอยหลังก็เสี่ยงแบล็คลิสต์ เพราะทำตัวเลขไม่สะท้อนความเป็นจริง ถึงแม้นเทียบกับท่าอากาศยานที่กำไรที่สุดในโลก ยังไม่สามารถแบ่งส่วนแบ่งให้รัฐได้สูงเท่านี้
คำถามตัวใหญ่ๆ ??? ... งานนี้ก็คือ ...
จะมีรันเวย์ไหนบ้างให้ผู้ชนะร่อนลง !!!
หรือ ... ทุกขลาภครั้งนี้ จำเป็นต้องยิ้มสู้แบบหน้าชื่นอกตรม!! ... กันไป
เจาะลึก 6 ประเด็นหุ้นกลุ่ม ‘บีบีเอส’ อาจจะติดดอยเพราะอู่ตะเภา 3 แสนล้าน หวั่น IRR ติดลบ หาแหล่งเงินกู้ยาก!
ทำให้นึกถึงผลการประมูลอู่ตะเภา ที่ทำเอาฝ่ายการเงินที่คำนวณตัวเลขต้องคิดหนัก เมื่อเกิดอาการปืนลั่นยื่นราคาสูงกว่าคู่แข่งกว่า 2 แสนล้าน เพราะเมื่อสิ้นเสียงระฆัง ปรากฏว่ากลุ่มบีบีเอส เป็นผู้เสนอผลตอบแทนที่สูงสุด ประมาณ 3 แสนล้านบาท รองลงมาเป็นกลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัท ธนโฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร เสนอกว่า 1 แสนล้านบาท และสุดท้ายคือกลุ่มแกรนด์ที่ตามมาเป็นที่สาม ซึ่งมีผลการวิเคราะห์น่าสนใจ 6 ประเด็น ดังนี้
• ประเด็นที่ 1: ทำเงินหล่นไปสองแสนล้าน
- ในขณะที่คนที่ไม่ใช่เจ้าของเงินออกมาเฮเสียงดังกับชัยชนะของกลุ่มกิจการร่วมค้าบีบีเอส แต่คนต้องจ่ายกุมขมับ คำนวณตัวเลขยังไง ให้จ่ายแพงกว่าคู่แข่งสองแสนล้าน ซึ่งกลุ่มบีบีเอส ประกอบด้วย บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน), บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BA ของนายแพทย์ ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ และบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) โดยเสนอราคาสูงสุดอยู่ที่ 305,555 ล้านบาท ซึ่งเปรียบเทียบกันแล้วพบว่าราคาที่เสนอนั้นทิ้งห่างกลุ่มกิจการค้าร่วม บริษัท ธนโฮลดิ้งฯ (ซีพี) ซึ่งอยู่อันดับที่สองคิดเป็นเม็ดเงินกว่า 2 แสนล้านบาท ทำให้คำถามและความกดดันตกไปอยู่กับทีมงานการเงินที่ทำตัวเลขเสนอราคา เพราะหากเพียงบีบีเอส เสนอตัวเลข 1.2 แสนล้าน จะประหยัดเงินไปทันทีเกือบสองแสนล้าน และที่สำคัญ ตัวเลขนี้เป็นมูลค่าปัจจุบัน แต่ตัวเลขที่ต้องจ่ายจริงหากนับรวมกัน 50 ปีของกลุ่มบีบีเอส สูงถึง 1.1 ล้านล้าน ทำให้คนที่ต้องจ่ายจริงๆ นั้น คงไม่ค่อยดีใจกับตัวเลขที่เขียนไปซักเท่าไหร่
• ประเด็นที่ 2: เช็คตัวเลขกันวุ่นว่าบีบีเอสใส่ค่าอะไรผิดหรือไม่?
- ทำไมเลขเสนอราคาโดดไปถึง 6 เท่า ของราคาที่รัฐขอมา และสูงกว่าคู่แข่ง ถึง 300% มีตัวแปรอะไรผิดหรือไม่? แล้วถ้าคำนวณผิด หากทำไม่ได้จริง ขอแก้ไขตัวเลขทีหลังกับคณะกรรมการได้หรือไม่? ทำเอากรรมการคัดเลือกต้องหยิบเครื่องคิดเลขมาช่วยคำนวณ และขอเวลายังไม่กล้าประกาศผล
• ประเด็นที่ 3: ยุทธศาสตร์ฟันแล้วทิ้ง
- ทำได้ยากในยุคอีอีซี เพราะมีการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบมากมาย ต่างจากงานประมูลงานรัฐในอดีตทำให้กรรมการคัดเลือก ไม่ได้เลือกตัวเลขที่สูงสุดอย่างเดียว แต่ต้องมาตรวจสอบสมมุติฐาน สังเกตได้จากข่าวของคณะกรรมการคัดเลือกที่เน้นว่า ต้องพิจารณาตรวจสอบรายละเอียดข้อเสนอด้านราคา เช่นสมมุติฐานและการประมาณการด้านการเงิน ว่าทำได้จริงหรือไม่ จะไม่ซ้ำรอย JAS ที่เสนอราคาสูงแล้วทิ้งภายหลัง
• ประเด็นที่ 4: หากทำไม่ได้ บริษัทเจ๊งไป ผู้ถือหุ้นไม่ต้องรับผิดชอบ
- ซึ่งไม่รู้ว่านี่คือช่องโหว่ของเงื่อนไขหรือไม่ เพราะการประมูลอู่ตะเภาในครั้งนี้มีเพียงเงินประกันบอนด์ (Bid Bond) เท่านั้น และบริษัทที่มาประมูลเป็นบริษัทตั้งใหม่ หากทำไปแล้ว เรือล่มปากอ่าว บริษัทไปไม่รอด ก็แค่ยึดเงินบอนด์ แต่ผู้ถือหุ้นไม่ต้องค้ำประกัน สาวไปไม่ถึงผู้ถือหุ้นได้ ทำให้ประเด็นนี้เป็นความเสี่ยงของคณะกรรมการที่ต้องรับไปเต็มๆ ผ่านไปหลายสิบปี ตายไปแล้ว ยังต้องขุดมารับโทษ ว่าอนุมัติไปได้อย่างไร รู้ทั้งรู้ว่าจะมีปัญหาในอนาคต
• ประเด็นที่ 5: ธนาคารไม่กล้าปล่อยกู้
- เพราะตัวเลข IRR ติดลบ ซึ่งกรณีนี้คำนวณไม่ยากว่าจะสำเร็จหรือไม่ หากจำตัวเลข 59,000 ล้านบาทได้ เลขนี้เป็นตัวเลขที่รัฐคำนวณจากการประมาณการผู้โดยสาร จากบริษัทที่ปรึกษาระดับโลก และมี IRR ของโครงการอยู่ที่ต่ำกว่า 5% ซึ่งก็ต้องถือว่าต่ำมากแล้ว เทียบกับการนำเงินไปลงทุนอย่างอื่น แต่เมื่อเกิดกรณีปืนลั่น เสนอส่วนแบ่งให้รัฐมากถึง 3 แสนล้านนั้น ทำให้ IRR นั้นติดลบ นั่นคือทำไปก็ขาดทุนไปตลอด 50 ปี จะมีธนาคารใดกล้าปล่อยแหล่งเงินกู้ และสิ่งนี้คือประเด็นที่ยากที่สุด
• ประเด็นที่ 6: กลับตัวก็ไม่ได้ ให้เดินต่อไปก็ไปไม่ถึง
- ถ้าจะให้กลืนเลือดเดินหน้า ก็เจอปัญหาแหล่งเงินกู้ กับอัตราผลตอบแทนติดลบ แต่จะให้ถอยหลังก็เสี่ยงแบล็คลิสต์ เพราะทำตัวเลขไม่สะท้อนความเป็นจริง ถึงแม้นเทียบกับท่าอากาศยานที่กำไรที่สุดในโลก ยังไม่สามารถแบ่งส่วนแบ่งให้รัฐได้สูงเท่านี้