" ... เราพูดแล้ว เราเตือนแล้ว แต่ไม่ปรับตัว เราจะทิ้งไว้ข้างหลังแล้ว ... "
หนึ่งในวลีเด็ดของคุณสุทธิชัย หยุ่น ที่ผมจำได้ขึ้นใจหลังจากที่ได้มีโอกาสไปร่วมไปรับฟัง "ก้าวต่อไป Digital Disruption ประเทศไทย EP.2" ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 14 ม.ค. 2563 ที่ True Digital Park
คลื่นมีการขยับเขยื้อนอยู่ตลอดเวลา เมื่อคลื่นลูกใหม่มาก็ย่อมจะต้องไล่คลื่นลูกเก่าหายไป แต่หลายคนนั้นยังไม่ตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลง จนกว่าจะต้องเกิดความตระหนก ความเปลี่ยนแปลงถึงจะเกิดขึ้นได้
เหมือนกับ
"ทฤษฎีการต้มกบ - The Boiled Frog Theory" ที่ได้ทำการทดลองนำกบมาใส่ในหม้อน้ำสองแบบ หม้อแรกเป็นหม้อน้ำที่ร้อนจัด และหม้อที่สองเป็นหม้อน้ำแบบอุ่นๆ สบายๆ และทำให้น้ำค่อยๆ อุ่นขึ้นจนเดือด แล้วกบตัวไหนจะตายก่อน?
ผลปรากฎคือกบที่ใส่ในหม้อน้ำที่ร้อนจัดนั้นรอดชีวิตเพราะมันรีบกระโดดออกมาในทันทีหลังสัมผัสน้ำเดือดด้วยสัญชาติญานของการเอาตัวรอด แต่กบที่อยู่ในน้ำอุ่นจะรู้สึกสบายและตายใจกับอุณภูมิแม้ว่าน้ำจะค่อยๆ อุ่นขึ้นก็ไม่ยอมกระโดดออกมา ยังคงอยู่ในหม้อน้ำจนกระทั่งน้ำเดือด ปรากฎว่ากบตัวนั้นตายคาหม้อเพราะไม่สามารถกระโดดหนีได้ทัน
ซึ่งทฤษฎีนี้เรียกได้ว่าถูกยกเป็นทฤษฎีตัวอย่างที่สามารถสะท้อนให้เห็นถึงกระแสของความเปลี่ยนแปลงของ Digital Disruption ได้ชัดเจนเช่นกัน
Linear & Exponential มีความแตกต่างกันอย่างมากมายมหาศาล ซึ่งในยุคที่ผ่านมาเป็นยุคที่เป็น Linear Thinking แต่ในปัจจุบัน เรากำลังใช้ชีวิตอยู่ในยุค Internet Century ใช้วิธีการคิดแบบ exponential ทำให้เกิดความแตกต่างกันมาก เช่นเดียวกันกับเทคโนโลยีที่ถูกพัฒนาแบบ exponential จนทำให้สามารถก้าวกระโดดได้อย่างมหาศาล
จะเห็นได้ชัดกับบริษัทในยุคที่แล้ว กับบริษัทในยุคปัจจุบัน ยกตัวอย่างที่เห็นได้อย่างชัดเจน
หากใครจำกันได้กับการที่ต้องไปร้านเช่าวีดีโอ เพื่อนำม้วนวีดีโอมาดูที่บ้านกับร้านที่ชื่อว่า BlockBuster ที่เคยเป็นร้านเช่าวีดีโออันดับ 1 ในอเมริกา ที่มีมาขยายสาขาในประเทศไทยเพียงไม่กี่ปีก็สูญหายไปจนหมด เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนมาก ที่ถูกบริษัทเกิดใหม่อย่าง NetFlix สามารถมีมูลค่าเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ ส่วนอีกบริษัทต้องล้มละลายไปในที่สุด
อยู่ที่ว่า เรา "จะเลือกยิงตัวเองที่เท้า ก่อนที่จะมีคนอื่นมายิงที่หัว"
แต่ก็มีตัวอย่างของบริษัทที่ทำกลับกันกับตัวอย่างด้านบน ที่เลือกที่จะยิงตัวเองที่เท้าก่อน อย่างบริษัท Amazon ที่เริ่มใช้ Kindle ที่ถือว่าเป็น Paper Book Killer ออกมาดิสรัปชั่นการอ่านหนังสือแบบเดิมๆ ที่เป็นเล่ม ที่ตัวเองเป็นเจ้าตลาดอยู่แล้ว
หลายคนในตอนนั้นต่างคิดกันว่า "เจฟฟ์ เบโซส" เจ้าของ Amazon นั้น บ้าไปแล้ว!!!
แต่มาในวันนี้ คงไม่มีใครคิดว่าบ้าอีกต่อไป เพราะเมื่อปี 2560 จนถึงปัจจุบัน เจฟฟ์ เบโซส เป็นมหาเศรษฐีที่รวยที่สุดในโลกไปแล้ว
คนที่สามารถมองเห็นโอกาสได้ก่อน และเข้าไปคว้าโอกาสนั้นไว้ แม้มันจะไม่สามารถยืนยันได้ว่าจะสำเร็จได้หรือไม่ แต่ก็ดีกว่าที่จะปล่อยผ่านไป แล้วเข้าไปเป็นลูกไล่ทีหลัง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ผมว่าก็เหมือนกับเจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์ แห่งเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ที่สามารถรั้งตำแหน่งมหาเศรษฐีอันดับ 1 ของประเทศไทยได้เกือบทุกปี
ก็เพราะ มีแนวคิดหลายๆ ข้อ ที่เป็นตัวจุดประกายให้ประสบความสำเร็จได้เช่นกัน
หากเราสามารถนำจุดเด่นเหล่านั้นมาปรับใช้กับตัวเอง
สำหรับใครที่อยากจะติดตามแนวคิดดีๆ พร้อมที่จะก้าวต่อไป เพื่อไม่ให้ถูก Digital Disruption ไป ก็สามารถมาร่วมติดตามคลิปเพิ่มเติมได้ที่ Youtube : Sutichai Live ได้ที่
https://www.youtube.com/channel/UCxT3t-i3nX4uAbvXEsyWmsA
อันนี้เป็นคลิปของคราวที่แล้ว หากใครต้องการฟังครับ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ก้าวต่อไป Digital Disruption ประเทศไทย ตอน1 : Suthichai live 09/12/2562
ก้าวต่อไป Digital Disruption ประเทศไทย ตอน2 : Suthichai live 09/12/2562
ก้าวต่อไป Digital Disruption ประเทศไทย ตอน3 : Suthichai live 10/12/2562
ก้าวต่อไป Digital Disruption ประเทศไทย ตอน4 : Suthichai live 10/12/2562
ตระหนัก แต่ไม่ตระหนก กับ Digital Disruption ที่ True Digital Park
เหมือนกับ "ทฤษฎีการต้มกบ - The Boiled Frog Theory" ที่ได้ทำการทดลองนำกบมาใส่ในหม้อน้ำสองแบบ หม้อแรกเป็นหม้อน้ำที่ร้อนจัด และหม้อที่สองเป็นหม้อน้ำแบบอุ่นๆ สบายๆ และทำให้น้ำค่อยๆ อุ่นขึ้นจนเดือด แล้วกบตัวไหนจะตายก่อน?
ผลปรากฎคือกบที่ใส่ในหม้อน้ำที่ร้อนจัดนั้นรอดชีวิตเพราะมันรีบกระโดดออกมาในทันทีหลังสัมผัสน้ำเดือดด้วยสัญชาติญานของการเอาตัวรอด แต่กบที่อยู่ในน้ำอุ่นจะรู้สึกสบายและตายใจกับอุณภูมิแม้ว่าน้ำจะค่อยๆ อุ่นขึ้นก็ไม่ยอมกระโดดออกมา ยังคงอยู่ในหม้อน้ำจนกระทั่งน้ำเดือด ปรากฎว่ากบตัวนั้นตายคาหม้อเพราะไม่สามารถกระโดดหนีได้ทัน
ซึ่งทฤษฎีนี้เรียกได้ว่าถูกยกเป็นทฤษฎีตัวอย่างที่สามารถสะท้อนให้เห็นถึงกระแสของความเปลี่ยนแปลงของ Digital Disruption ได้ชัดเจนเช่นกัน
Linear & Exponential มีความแตกต่างกันอย่างมากมายมหาศาล ซึ่งในยุคที่ผ่านมาเป็นยุคที่เป็น Linear Thinking แต่ในปัจจุบัน เรากำลังใช้ชีวิตอยู่ในยุค Internet Century ใช้วิธีการคิดแบบ exponential ทำให้เกิดความแตกต่างกันมาก เช่นเดียวกันกับเทคโนโลยีที่ถูกพัฒนาแบบ exponential จนทำให้สามารถก้าวกระโดดได้อย่างมหาศาล
จะเห็นได้ชัดกับบริษัทในยุคที่แล้ว กับบริษัทในยุคปัจจุบัน ยกตัวอย่างที่เห็นได้อย่างชัดเจน
หากใครจำกันได้กับการที่ต้องไปร้านเช่าวีดีโอ เพื่อนำม้วนวีดีโอมาดูที่บ้านกับร้านที่ชื่อว่า BlockBuster ที่เคยเป็นร้านเช่าวีดีโออันดับ 1 ในอเมริกา ที่มีมาขยายสาขาในประเทศไทยเพียงไม่กี่ปีก็สูญหายไปจนหมด เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนมาก ที่ถูกบริษัทเกิดใหม่อย่าง NetFlix สามารถมีมูลค่าเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ ส่วนอีกบริษัทต้องล้มละลายไปในที่สุด
แต่มาในวันนี้ คงไม่มีใครคิดว่าบ้าอีกต่อไป เพราะเมื่อปี 2560 จนถึงปัจจุบัน เจฟฟ์ เบโซส เป็นมหาเศรษฐีที่รวยที่สุดในโลกไปแล้ว
คนที่สามารถมองเห็นโอกาสได้ก่อน และเข้าไปคว้าโอกาสนั้นไว้ แม้มันจะไม่สามารถยืนยันได้ว่าจะสำเร็จได้หรือไม่ แต่ก็ดีกว่าที่จะปล่อยผ่านไป แล้วเข้าไปเป็นลูกไล่ทีหลัง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
สำหรับใครที่อยากจะติดตามแนวคิดดีๆ พร้อมที่จะก้าวต่อไป เพื่อไม่ให้ถูก Digital Disruption ไป ก็สามารถมาร่วมติดตามคลิปเพิ่มเติมได้ที่ Youtube : Sutichai Live ได้ที่ https://www.youtube.com/channel/UCxT3t-i3nX4uAbvXEsyWmsA
อันนี้เป็นคลิปของคราวที่แล้ว หากใครต้องการฟังครับ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้