คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 4
จขกท. ต้องนำเฉพาะ “ผลประโยชน์เงินสะสมของตัวเอง” ที่ได้มา 6-7 พันบาท ไปรวมกับเงินได้ทั้งปี เพื่อยื่นแบบ ภ.ง.ด. 91/90 โดยนำไปยื่นในช่องเดียวกับ เงินเดือนและโบนัส หรือช่อง “มาตรา 40(1) เงินได้จากการจ้างแรงงาน เช่น เงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง บำนาญโบนัส”
กรณีนี้ จขกท. ยังไม่ออกจากงาน จึงไม่สามารถยื่นแบบใบแนบได้ แม้ว่าอายุงานเกิน 5 ปีก็ตาม ส่วนเงินสบทบและผลประโยชน์ของนายจ้าง ถ้าไม่ได้ก็ไม่ต้องต้องยื่นครับ
การนำเงิน PVD ออกครั้งนี้ นอกจากจะเสียภาษีเพิ่มแล้ว ยังทำให้พลาดเงินสมทบจากนายจ้างด้วย ซึ่งอายุงาน 9 ปี ผมว่าไม่ใช่จำนวนน้อยๆ เลย... ในอนาคตหากมีความจำเป็นต้องใช้เงินขึ้นมาและไม่ใช่จำนวนเงินที่เยอะเกินไปหรือใช้แค่ช่วงสั้นๆ บัตรเครดิต/บัตรกดเงินสด อาจจะพอตอบโจทย์ได้ แต่ทางที่ดีที่สุด ผมว่า จขกท. ควรมีเงินเก็บในเงินฝาก เผื่อกรณีฉุกเฉินแบบนี้อีก สัก 6 เท่าของรายจ่ายต่อเดือนนะครับ
กรณีนี้ จขกท. ยังไม่ออกจากงาน จึงไม่สามารถยื่นแบบใบแนบได้ แม้ว่าอายุงานเกิน 5 ปีก็ตาม ส่วนเงินสบทบและผลประโยชน์ของนายจ้าง ถ้าไม่ได้ก็ไม่ต้องต้องยื่นครับ
การนำเงิน PVD ออกครั้งนี้ นอกจากจะเสียภาษีเพิ่มแล้ว ยังทำให้พลาดเงินสมทบจากนายจ้างด้วย ซึ่งอายุงาน 9 ปี ผมว่าไม่ใช่จำนวนน้อยๆ เลย... ในอนาคตหากมีความจำเป็นต้องใช้เงินขึ้นมาและไม่ใช่จำนวนเงินที่เยอะเกินไปหรือใช้แค่ช่วงสั้นๆ บัตรเครดิต/บัตรกดเงินสด อาจจะพอตอบโจทย์ได้ แต่ทางที่ดีที่สุด ผมว่า จขกท. ควรมีเงินเก็บในเงินฝาก เผื่อกรณีฉุกเฉินแบบนี้อีก สัก 6 เท่าของรายจ่ายต่อเดือนนะครับ
แสดงความคิดเห็น
ลาออกจากสำรองเลี้ยงชีพ แต่ไม่ได้ลาออกจากงาน ยื่นภาษียังไง
พร้อมกับ ผลประโยชน์ 6-7000 ไม่ได้ส่วนของนายจ้าง
ตอนยื่นต้องเอาเงินสะสม + เงินผลประโยชน์ รวมกับรายได้ทั้งปีใช่มั้ยครับ