วิธียื่นภาษี กรณีเงินได้จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ลาออกจากกองทุน)

พอดีเราได้ลาออกจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เมื่อปีที่แล้ว (2562) และต้องนำเงินก้อนนี้มายื่นภาษีของปี 2562 (ยื่นเมื่อต้นเดือนนี้) เลยขอแชร์ข้อมูลและวิธีการยื่นภาษีที่ได้จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เพื่อเป็นประโยชน์แก่เพื่อนๆที่กำลังจะยื่นภาษีช่วงต้นปีกันค่ะ

การยื่นเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด.90/91) ที่ได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กรณีลาออกจากงานแบ่งเป็น 2 กรณี ดังนี้
1. กรณียื่นรวม: อายุงานไม่ถึง 5 ปี หรืออายุตัวเองไม่เกิน 55 ปี
- ให้นำยอดรวมจากส่วนของนายจ้าง (3 เงินสมทบ+4 ผลประโยชน์) และส่วนสมาชิก (2 ผลประโยชน์) มารวมกับรายได้ (เงินเดือน/ค่าจ้าง) ยื่นรวมในมาตรา 40 (1)
* ข้อมูลยอดต่างๆ จะอยู่ในรายงานกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เมื่อสิ้นสุดสมาชิกภาพ

- และนำส่วนของสมาชิก (1 เงินสะสม) ที่จ่ายในปี 2562 (**ย้ำเฉพาะปี 2562) ไปใส่ในส่วนลดหย่อนภาษี 
ดูยอดกองทุนสำรองเลี้ยงชีพฯที่เราสะสมในปี 2562 ได้จาก 50ทวิ หรือสลิปเงินเดือน เดือนสุดท้ายของปี 2562

2. กรณียื่นแยก (ได้รับการยกเว้นภาษี): อายุงาน 5 ปีขึ้นไป หรืออายุตัวเอง 55 ปีขึ้นไป
- ให้เลือกในส่วน เงินได้ที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน (ผู้มีเงินได้) กรณีไม่นำไปรวมคำนวณภาษี

- ข้อมูลการกรอก น่าจะอยู่ในรายงานกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เมื่อสิ้นสุดสมาชิกภาพ >>พอดีไม่เคยกรอกส่วนนี้ / ขออภัยด้วยค่า

ขอขอบคุณ ข้อมูลการยื่นภาษีจากเจ้าหน้าที่สรรพากร (Call center 1161) ด้วยนะคะ

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่