ฝึกเขียนเรียนรู้เรื่องสั้นกับนักเขียนซีไรต์ ไพฑูรย์ ธัญญา หนังสือเล่มนี้ในคำนำบอกว่าเป็นหนังสือให้คำแนะนำและวิธีการ (How to) ในการเขียนเรื่องสั้น โดยถ่ายทอดมาจากประสบการณ์ที่สั่งสมมานานกว่า 40 ปี เพื่อหวังจะสานต่อให้นักเขียนหน้าใหม่ได้รู้จักกับวิธีการเขียนเรื่องสั้น รู้จักวรรณศิลป์ รู้จักวิธีคิดวิธีเขียนเรื่องสั้น ซึ่งชัดเจนว่าหนังสือเล่มนี้เหมาะสำหรับนักเขียนมือใหม่และนักอยากเขียนทุกท่าน
“สำหรับผม ไม่มีอะไรที่ดีไปกว่าการเขียนหนังสือ และหนังสือที่ผมฝันอยากจะเขียนก็คือหนังสือแนวให้ความรู้ประสบการณ์งานเขียนนั้นเอง ด้วยเหตุนี้ “ความลับของเรื่องสั้น” จึงได้กำเนิดขึ้นมา ผมใช้เวลานานเกินควรในการรวบรวมประสบการณ์การเขียน เพื่อเรียบเรียงขึ้นมาเป็นหนังสือโดยอาศัยความรู้และประสบการณ์ส่วนตัวที่มี เขียนโดยไม่อ้างอิงตำราหรือคู่มือใดๆ นอกจากสิ่งที่อยู่ในใจของตัวเองเท่านั้น”
(จาก คำนำจากนักเขียน/ไพฑูรย์ ธัญญา)
ส่วนตัวแล้วผมก็เป็นนักอยากเขียนที่ชอบอ้างตัวว่าเป็นนักเขียนมือใหม่เสมอ และลึกๆ ในใจของผมตะโกนอย่างเงียบเชียบโดยไม่มีใครได้ยินว่า “เฮ้ย .. ผมเขียนเรื่องสั้นได้นะโว้ย” แต่พอผมได้หยิบหนังสือ “ความลับของเรื่องสั้น” มาอ่านแล้ว ผมถึงรู้ตัวว่าผมไม่ได้รู้อะไรลึกซึ้งเกี่ยวกับการเขียนเรื่องสั้นเลย ผมรู้แค่ทฤษฎีการเขียน รู้แค่วิธีการเขียน แต่ไม่เคยรู้เลยว่าเรื่องสั้นที่แท้จริงมันคืออะไร? เคยมีอาจารย์ทางด้านวรรณกรรมบอกผมว่า เรื่องสั้นที่ผมเขียนไปให้ท่านอ่านนั้นเป็นแค่เรื่องเล่าธรรมดา แต่ก็คงไม่เป็นไรเพราะผมคิดว่านักเขียนก็เป็นนักเล่าเรื่องแบบธรรมดาได้เช่นกัน ซึ่งเป็นความคิดที่อ่อนด้อยอย่างสิ้นเชิง
ผมอ่านเล่มนี้แล้วก็เหมือนโดนเขกหัวไปเรื่อย ๆ เหมือนนักเรียนโง่ที่เพิ่งเข้าใจเรื่องที่คุณครูสอน ผมอ่านแล้วก็ต้องร้อง “อ๋อ ... เหรอ?” ตามไปตลอดด้วย กระจ่างชัดเพราะเนื้อหาในหนังสือบอกให้รู้ว่า “เรื่องที่เราคิดว่ารู้นั้น จริงๆ แล้วเราไม่เคยรู้มาก่อนเลย” สมแล้วที่อาจารย์ไพฑูรย์ ธัญญา ตั้งชื่อหนังสือเล่มนี้ว่า “ความลับของเรื่องสั้น” ประสบการณ์ของผู้ที่เคยเดินบนเส้นทางการเขียนเรื่องสั้นมาก่อนอย่างโชกโชนนั้น สามารถชี้แนะให้เราเห็นเส้นทางเดินไปสู่จุดหมาย ที่เราไม่เคยมองเห็นมันมาก่อนเลย ซึ่งเส้นทางลับของเรื่องสั้นประการสำคัญที่ผมค้นพบจากหนังสือเล่มนี้ก็คือ “ความคิด”
“ความคิดคืออะไร เป็นคำถามที่มีคำตอบที่หลากหลาย แต่ถ้าคุณเป็นนักเขียนเรื่องสั้น การคิดคือผลพวงของการสังเกตและการมองโลกรอบตัว ด้วยมุมมองที่ต่างไปจากการมองของคนทั่วไป ที่มักมองสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างฉาบฉวยและผ่านเลย แต่นักเขียนเรื่องสั้นจะต้องมองและสดับรับฟังโลกรอบตัว ให้มีความหมายแล้วคิดต่อไปอีก”
(จากหน้า 17)
และอีกหนึ่งเส้นทางลับของเรื่องสั้นก็คือ “การอ่าน” นักเขียนเรื่องสั้นควรจะต้องอ่านให้มากที่สุด ไม่ใช่เพียงแค่อ่านเพื่อความบันเทิงเพียงอย่างเดียว แต่นักเขียนเรื่องสั้นต้องอ่านแล้ว “ครุ่นคิด พินิจนึก” ตามไปด้วย ส่วนวิธีการครุ่นคิดและพินิจนึกนั้นจะเป็นอย่างไร อาจารย์ไพฑูรย์ ธัญญาผู้เขียนได้อธิบายไว้ในหนังสือเล่มนี้อย่างกระจ่างแล้ว เพียงแค่ท่านอ่านหนังสือเล่มนี้แล้วครุ่นคิด พินิจนึกตาม ท่านก็จะได้แปลงเปลี่ยนประสบการณ์ของผู้อื่นไปเป็นความรู้และวิธีการเฉพาะตัวของท่านเองได้
ผมเชื่ออย่างยิ่งว่าการที่จะเป็นนักเขียนที่ดีได้นั้น ตัวนักเขียนเองต้องมีความอดทนและตั้งใจอย่างที่สุด อย่างที่เคยได้ยินกันเสมอว่า “อาชีพนักเขียนนั้นไม่มีทางลัด” แต่ผมก็เชื่อว่าแม้จะไม่ไปทางลัดแต่ก็ขอเกาะเกี่ยวเลื้อยพันประสบการณ์ของผู้รู้ไปเรื่อยๆ และทำงานหนักอย่างสม่ำเสมอ ก็น่าจะประสบความสำเร็จในเส้นทางวรรณกรรมนี้ได้เช่นกัน ขอเพียงว่าอย่างเพิ่งท้อไปเสียก่อน เหมือนอย่างที่อาจารย์ไพฑูรย์ ธัญญา ได้บอกไว้ในหนังสือเล่มนี้ด้วย
ส่วนตัวแล้วผมเคยเจอกับอาจารย์ไพฑูรย์ ธัญญา 2-3 ครั้ง มีโอกาสได้แค่ยกมือไหว้ทักทายและถ่ายภาพให้ท่านเพียงเท่านั้น ผมยังไม่เคยมีโอกาสพูดคุยกันยาวๆ เกี่ยวกับเรื่องการเขียนเลย แต่เมื่อผมได้อ่านหนังสือเล่มนี้แล้ว ผมกลับมีความรู้สึกเหมือนได้นั่งฟังท่านอาจารย์ไพฑูรย์ ธัญญาพูดอยู่ตรงหน้า ท่านพูดกับผม ท่านเล่าประสบการณ์การเขียนให้ผมฟัง ส่วนตัวผมก็ฟังแล้วพยักหน้ารับคำตามไปเรื่อยๆ ซึ่งน้ำเสียงที่อาจารย์ไพฑูรย์ ธัญญาใช้เขียนหนังสือเล่มนี้ ไม่เชิงว่าจะเป็นการสอนโดยตรงหรือสอนตามทฤษฎีอย่างจริงจัง แต่เป็นน้ำเสียงของผู้ใหญ่ใจดีที่เล่าประสบการณ์ให้แก่ผู้น้อยที่ท่านเอ็นดูมากกว่า ซึ่งเนื้อหาทั้งเล่มนี้อ่านง่ายและสามารถเข้าใจได้อย่างดี ยิ่งถ้าท่านเคยมีประสบการณ์การเขียนมาบ้างแล้ว หนังสือเล่มนี้ถือว่าเป็นอาวุธลับชั้นดีที่เป็นประโยชน์แก่ท่านแน่ๆ
“เมื่อคุณอยากเขียนเรื่องสั้นสักเรื่อง คุณอย่าคิดแต่ว่าเพียงเขียนให้จบ แต่คุณต้องรู้จักวิธีแต่งองค์ทรงเครื่องให้เรื่องสั้นของคุณด้วย ... นั้นแหละคุณจะเป็นนักเขียนเรื่องสั้นที่แท้จริง”
(จากหน้า 136)
ท่านที่อยากเป็นนักเขียนเรื่องสั้นที่แท้จริง และอยากรู้วิธีการเขียนเรื่องสั้นแบบเจาะลึกเพื่อนำไปใช้ต่อได้ในทันที ขอให้ท่านไปหาหนังสือ “ความลับของเรื่องสั้น” เล่มนี้มาอ่านดู แค่อ่านจากรีวิวที่ผมเขียนนี้คงไม่เพียงพอแน่ เพราะเนื้อหาในหนังสือเล่มนี้มีมากกว่าที่ผมบรรยายไว้อีกเยอะ ผมคิดว่าอยากจะให้ท่านไปค้นพบความลับด้วยตัวของท่านเองจะดีกว่า ท่านจะได้จดจำ “ความลับของเรื่องสั้น” ได้ดีกว่าแค่อ่านจากที่ผมเขียนเท่านั้น
สำหรับหนังสือ “ความลับของเรื่องสั้น” เล่มที่อยู่ในมือของผมนี้ จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์นาคร ด้วยการสนับสนุนการพิมพ์โดยกองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม เป็นการจัดพิมพ์เพื่อการเผยแพร่ไม่วางจำหน่าย ไม่มีราคาปก ท่านไม่ต้องไปตามหาซื้อที่ร้านหนังสือ ท่านใดที่สนใจอยากจะได้ครอบครองความลับฯ ไว้กับตัว ท่านสามารถติดต่อหลังไมค์ไปที่เพจของสำนักพิมพ์นาคร เพื่อขอรับหนังสือได้ เขาขอแค่ค่าใช้จ่ายในการจัดส่ง 50 บาทเองครับ (รีบๆ นะครับ ถ้าช้าหนังสืออาจหมดก่อนได้ครับ)
ท้ายสุดนี้ผมขอขอบพระคุณอาจารย์ไพฑูรย์ ธัญญา ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ และขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่งแก่สำนักพิมพ์นาคร ที่จัดส่งหนังสือเล่มนี้มาให้ผมอ่าน และขอให้ทุกท่านที่เข้ามาอ่านเข้ามาชมกระทู้นี้ขอให้ท่านมีความสุขมากๆ ครับ
เพจ
สำนักพิมพ์นาคร


[SR] ความลับของเรื่องสั้น
“สำหรับผม ไม่มีอะไรที่ดีไปกว่าการเขียนหนังสือ และหนังสือที่ผมฝันอยากจะเขียนก็คือหนังสือแนวให้ความรู้ประสบการณ์งานเขียนนั้นเอง ด้วยเหตุนี้ “ความลับของเรื่องสั้น” จึงได้กำเนิดขึ้นมา ผมใช้เวลานานเกินควรในการรวบรวมประสบการณ์การเขียน เพื่อเรียบเรียงขึ้นมาเป็นหนังสือโดยอาศัยความรู้และประสบการณ์ส่วนตัวที่มี เขียนโดยไม่อ้างอิงตำราหรือคู่มือใดๆ นอกจากสิ่งที่อยู่ในใจของตัวเองเท่านั้น”
(จาก คำนำจากนักเขียน/ไพฑูรย์ ธัญญา)
ส่วนตัวแล้วผมก็เป็นนักอยากเขียนที่ชอบอ้างตัวว่าเป็นนักเขียนมือใหม่เสมอ และลึกๆ ในใจของผมตะโกนอย่างเงียบเชียบโดยไม่มีใครได้ยินว่า “เฮ้ย .. ผมเขียนเรื่องสั้นได้นะโว้ย” แต่พอผมได้หยิบหนังสือ “ความลับของเรื่องสั้น” มาอ่านแล้ว ผมถึงรู้ตัวว่าผมไม่ได้รู้อะไรลึกซึ้งเกี่ยวกับการเขียนเรื่องสั้นเลย ผมรู้แค่ทฤษฎีการเขียน รู้แค่วิธีการเขียน แต่ไม่เคยรู้เลยว่าเรื่องสั้นที่แท้จริงมันคืออะไร? เคยมีอาจารย์ทางด้านวรรณกรรมบอกผมว่า เรื่องสั้นที่ผมเขียนไปให้ท่านอ่านนั้นเป็นแค่เรื่องเล่าธรรมดา แต่ก็คงไม่เป็นไรเพราะผมคิดว่านักเขียนก็เป็นนักเล่าเรื่องแบบธรรมดาได้เช่นกัน ซึ่งเป็นความคิดที่อ่อนด้อยอย่างสิ้นเชิง
ผมอ่านเล่มนี้แล้วก็เหมือนโดนเขกหัวไปเรื่อย ๆ เหมือนนักเรียนโง่ที่เพิ่งเข้าใจเรื่องที่คุณครูสอน ผมอ่านแล้วก็ต้องร้อง “อ๋อ ... เหรอ?” ตามไปตลอดด้วย กระจ่างชัดเพราะเนื้อหาในหนังสือบอกให้รู้ว่า “เรื่องที่เราคิดว่ารู้นั้น จริงๆ แล้วเราไม่เคยรู้มาก่อนเลย” สมแล้วที่อาจารย์ไพฑูรย์ ธัญญา ตั้งชื่อหนังสือเล่มนี้ว่า “ความลับของเรื่องสั้น” ประสบการณ์ของผู้ที่เคยเดินบนเส้นทางการเขียนเรื่องสั้นมาก่อนอย่างโชกโชนนั้น สามารถชี้แนะให้เราเห็นเส้นทางเดินไปสู่จุดหมาย ที่เราไม่เคยมองเห็นมันมาก่อนเลย ซึ่งเส้นทางลับของเรื่องสั้นประการสำคัญที่ผมค้นพบจากหนังสือเล่มนี้ก็คือ “ความคิด”
“ความคิดคืออะไร เป็นคำถามที่มีคำตอบที่หลากหลาย แต่ถ้าคุณเป็นนักเขียนเรื่องสั้น การคิดคือผลพวงของการสังเกตและการมองโลกรอบตัว ด้วยมุมมองที่ต่างไปจากการมองของคนทั่วไป ที่มักมองสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างฉาบฉวยและผ่านเลย แต่นักเขียนเรื่องสั้นจะต้องมองและสดับรับฟังโลกรอบตัว ให้มีความหมายแล้วคิดต่อไปอีก”
(จากหน้า 17)
และอีกหนึ่งเส้นทางลับของเรื่องสั้นก็คือ “การอ่าน” นักเขียนเรื่องสั้นควรจะต้องอ่านให้มากที่สุด ไม่ใช่เพียงแค่อ่านเพื่อความบันเทิงเพียงอย่างเดียว แต่นักเขียนเรื่องสั้นต้องอ่านแล้ว “ครุ่นคิด พินิจนึก” ตามไปด้วย ส่วนวิธีการครุ่นคิดและพินิจนึกนั้นจะเป็นอย่างไร อาจารย์ไพฑูรย์ ธัญญาผู้เขียนได้อธิบายไว้ในหนังสือเล่มนี้อย่างกระจ่างแล้ว เพียงแค่ท่านอ่านหนังสือเล่มนี้แล้วครุ่นคิด พินิจนึกตาม ท่านก็จะได้แปลงเปลี่ยนประสบการณ์ของผู้อื่นไปเป็นความรู้และวิธีการเฉพาะตัวของท่านเองได้
ผมเชื่ออย่างยิ่งว่าการที่จะเป็นนักเขียนที่ดีได้นั้น ตัวนักเขียนเองต้องมีความอดทนและตั้งใจอย่างที่สุด อย่างที่เคยได้ยินกันเสมอว่า “อาชีพนักเขียนนั้นไม่มีทางลัด” แต่ผมก็เชื่อว่าแม้จะไม่ไปทางลัดแต่ก็ขอเกาะเกี่ยวเลื้อยพันประสบการณ์ของผู้รู้ไปเรื่อยๆ และทำงานหนักอย่างสม่ำเสมอ ก็น่าจะประสบความสำเร็จในเส้นทางวรรณกรรมนี้ได้เช่นกัน ขอเพียงว่าอย่างเพิ่งท้อไปเสียก่อน เหมือนอย่างที่อาจารย์ไพฑูรย์ ธัญญา ได้บอกไว้ในหนังสือเล่มนี้ด้วย
ส่วนตัวแล้วผมเคยเจอกับอาจารย์ไพฑูรย์ ธัญญา 2-3 ครั้ง มีโอกาสได้แค่ยกมือไหว้ทักทายและถ่ายภาพให้ท่านเพียงเท่านั้น ผมยังไม่เคยมีโอกาสพูดคุยกันยาวๆ เกี่ยวกับเรื่องการเขียนเลย แต่เมื่อผมได้อ่านหนังสือเล่มนี้แล้ว ผมกลับมีความรู้สึกเหมือนได้นั่งฟังท่านอาจารย์ไพฑูรย์ ธัญญาพูดอยู่ตรงหน้า ท่านพูดกับผม ท่านเล่าประสบการณ์การเขียนให้ผมฟัง ส่วนตัวผมก็ฟังแล้วพยักหน้ารับคำตามไปเรื่อยๆ ซึ่งน้ำเสียงที่อาจารย์ไพฑูรย์ ธัญญาใช้เขียนหนังสือเล่มนี้ ไม่เชิงว่าจะเป็นการสอนโดยตรงหรือสอนตามทฤษฎีอย่างจริงจัง แต่เป็นน้ำเสียงของผู้ใหญ่ใจดีที่เล่าประสบการณ์ให้แก่ผู้น้อยที่ท่านเอ็นดูมากกว่า ซึ่งเนื้อหาทั้งเล่มนี้อ่านง่ายและสามารถเข้าใจได้อย่างดี ยิ่งถ้าท่านเคยมีประสบการณ์การเขียนมาบ้างแล้ว หนังสือเล่มนี้ถือว่าเป็นอาวุธลับชั้นดีที่เป็นประโยชน์แก่ท่านแน่ๆ
“เมื่อคุณอยากเขียนเรื่องสั้นสักเรื่อง คุณอย่าคิดแต่ว่าเพียงเขียนให้จบ แต่คุณต้องรู้จักวิธีแต่งองค์ทรงเครื่องให้เรื่องสั้นของคุณด้วย ... นั้นแหละคุณจะเป็นนักเขียนเรื่องสั้นที่แท้จริง”
(จากหน้า 136)
ท่านที่อยากเป็นนักเขียนเรื่องสั้นที่แท้จริง และอยากรู้วิธีการเขียนเรื่องสั้นแบบเจาะลึกเพื่อนำไปใช้ต่อได้ในทันที ขอให้ท่านไปหาหนังสือ “ความลับของเรื่องสั้น” เล่มนี้มาอ่านดู แค่อ่านจากรีวิวที่ผมเขียนนี้คงไม่เพียงพอแน่ เพราะเนื้อหาในหนังสือเล่มนี้มีมากกว่าที่ผมบรรยายไว้อีกเยอะ ผมคิดว่าอยากจะให้ท่านไปค้นพบความลับด้วยตัวของท่านเองจะดีกว่า ท่านจะได้จดจำ “ความลับของเรื่องสั้น” ได้ดีกว่าแค่อ่านจากที่ผมเขียนเท่านั้น
สำหรับหนังสือ “ความลับของเรื่องสั้น” เล่มที่อยู่ในมือของผมนี้ จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์นาคร ด้วยการสนับสนุนการพิมพ์โดยกองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม เป็นการจัดพิมพ์เพื่อการเผยแพร่ไม่วางจำหน่าย ไม่มีราคาปก ท่านไม่ต้องไปตามหาซื้อที่ร้านหนังสือ ท่านใดที่สนใจอยากจะได้ครอบครองความลับฯ ไว้กับตัว ท่านสามารถติดต่อหลังไมค์ไปที่เพจของสำนักพิมพ์นาคร เพื่อขอรับหนังสือได้ เขาขอแค่ค่าใช้จ่ายในการจัดส่ง 50 บาทเองครับ (รีบๆ นะครับ ถ้าช้าหนังสืออาจหมดก่อนได้ครับ)
ท้ายสุดนี้ผมขอขอบพระคุณอาจารย์ไพฑูรย์ ธัญญา ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ และขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่งแก่สำนักพิมพ์นาคร ที่จัดส่งหนังสือเล่มนี้มาให้ผมอ่าน และขอให้ทุกท่านที่เข้ามาอ่านเข้ามาชมกระทู้นี้ขอให้ท่านมีความสุขมากๆ ครับ
เพจ สำนักพิมพ์นาคร
SR - Sponsored Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ SR โดยที่เจ้าของกระทู้