“วิ่งไล่ลุง – เดินเชียร์ลุง” เวลาเปลี่ยนกองเชียร์เปลี่ยน!!!
http://www.ispacethailand.org/political/20242.html
ถือเป็นกิจกรรมทางการเมืองของภาคประชาชนครั้งใหญ่ ครั้งแรก หลังจากการรัฐประหารเมื่อปี 2557 กับกิจกรรมของผู้ต่อต้าน และสนับสนุน พล.อ.
ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ผ่านกิจกรรม “
วิ่งไล่ลุง” และ “
เดินเชียร์ลุง” ซึ่งก็เป็นไปตามที่หลายฝ่ายคาดว่า มีการวิพากษ์วิจารณ์ถึงความ 2 มาตรฐานและการอำนวยความสะดวกของเจ้าหน้าที่รัฐที่แตกต่างกันอย่างชัดเจนต่อกิจกรรมทางการเมืองของทั้งสองฝ่าย
มีรายงานจาก นาง
อังคณา นีละไพจิตร อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ว่าตำรวจนั้นมีการตรวจประชาชนที่เข้าร่วมกิจกรรมวิ่งไล่ลุงอย่างเข้มงวด มีการห้ามและยึดป้ายที่มีข้อความทางการเมืองที่ไม่สุภาพ แต่ในทางกลับกันด้านผู้เข้าร่วมกิจกรรมเดินเชียร์ลุง นั้นกลับสามารถนำป้ายข้อความ และภาพตัดต่อบุคคล ที่เป็นการเหยียดหยาม ลดทอนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เข้ามาได้
เช่นเดียวกับที่กิจกรรมวิ่งไล่ลุงในต่างจังหวัดที่มีการจัดขึ้นในหลายพื้นที่ ก็การเข้ามาสอดส่องดูและและเข้มงวดกับการจัดกิจกรรมดังกล่าวของเจ้าหน้าที่รัฐอย่างออกนอกหน้า
อย่างไรก็ตามเรื่องดังกล่าวไม่ใช่เรื่องที่เหนือความคาดหมายแต่อย่างใด กับการแสดงออกอย่างสองมาตรฐานของเจ้าหน้าที่รัฐ เนื่องจากเราได้เห็นการกระทำในลักษณะนี้มายาวนานหลายปี ในช่วงที่การเมืองไทยเต็มไปด้วยความขัดแย้ง ที่ฝ่ายหนึ่งเมื่อได้อำนาจรัฐก็มักจะใช้กลไก และอำนาจรัฐต่างๆเพื่อลิดรอนสิทธิเสรีภาพของอีกฝ่ายอยู่เสมอ ในวันนี้แม้จะมีการเลือกตั้ง มีรัฐบาลที่มาจากพรรคการเมือง แต่ภายใต้ระบบรัฐธรรมนูญที่มีการเขียนในมีอำนาจซ้อนอำนาจเช่นนี้ ก็ทำให้เรื่องเหล่านี้ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง
แต่สิ่งที่น่าสนใจมากกว่าการทำงานที่มีหลายมาตรฐานของเจ้าหน้าที่รัฐ ก็คือ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งฝ่ายต่อต้าน และฝ่ายสนับสนุน พล.อ.
ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่มีความแตกต่างไปจากช่วงแรกของการชุมนุมทางการเมืองก่อนจะมีการรัฐประหารในปี 2557
กล่าวคือ ในอดีตนั้น กลุ่มประชาชนที่ให้การสนับสนุนฝ่ายประชาธิปไตย และพรรคของอดีตนายกรัฐมนตรี ดร.ทักษิณ ชินวัตร ในช่วงหลังการรัฐประหารปี 2549 ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มประชาชนที่มีฐานเสียงหลักอยู่ในพื้นที่ต่างจังหวัด แม้จะมีฐานเสียงในกรุงเทพฯและปริมณฑล แต่ก็ไม่ได้หนาแน่นัก สะท้อนได้จากผลการเลือกตั้งในช่วงดังกล่าว แตกต่างจากผู้สนับสนุนฝ่ายอนุรักษ์นิยม ที่ในยุคดังกล่าวนั้นเป็นกลุ่มคนในพื้นที่กรุงเทพฯ ชนชั้นกลาง กลุ่มวัยรุ่น ดารานักแสดง
ซึ่งลักษณะดังกล่าวก็อยู่ในบริบทของการเมืองไทยมายาวนานจนถึงการชุมนุมของกลุ่มกปปส. กับการต่อต้านรัฐบาลของ น.ส.
ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ในช่วงปี 2556-2557
แต่วันนี้สิ่งที่ได้เห็นผ่านหน้าสื่อต่างๆ นั้นมีความแตกต่างจากเดิมเป็นอย่างมาก กล่าวคือ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมวิ่งไล่ลุง นั้นเป็นกลุ่มประชาชนที่มีหลากหลาย ทั้งกลุ่มผู้สนับสนุนพรรคเพื่อไทย กลุ่มคนรุ่นใหม่ ชนชั้นกลางในเมือง รวมถึงบุคคลที่อยู่ในวงการบันเทิงก็ออกมาแสดงตัวเข้าร่วมกิจกรรมที่มากขึ้น ในขณะที่กลุ่มผู้เข้าร่วมกิจกรรมเดินเชียร์ลุงนั้น กลับกลายเป็นกลุ่มผู้ที่มีอายุเลยวัยกลางคนไปจนถึงสูงอายุเสียเป็นส่วนใหญ่
เรื่องนี้นั้นสะท้อนออกมาอีกครั้ง หลังจากผลการเลือกตั้งที่พรรคพลังประชารัฐ และพรรคประชาธิปัตย์ แพ้ในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ ให้กับพรรคการเมืองที่ไม่เอา พล.อ.
ประยุทธ์ อย่างพรรคเพื่อไทย และพรรคอนาคตใหม่ ที่สามารถชิงพื้นที่ของฝ่ายอนุรักษ์นิยมในกรุงเทพฯไปได้ เช่นเดียวกับในการเลือกตั้งที่ผ่านมา ที่หากไม่มีการเขียนรัฐธรรมนูญ กฎหมายเลือกตั้ง และการใช้อำนาจรัฐเข้ามาเกี่ยวข้อง พรรคพลังประชารัฐก็คงไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้แน่ๆ
แม้ว่าจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมวิ่งไล่ลุง และเดินเชียร์ลุง จะค่อนข้างชัดเจนว่าฝ่ายไหนมีมากกว่ากัน แต่นั่นก็คงไม่ใช่สิ่งชี้วัดว่าฝ่ายใดมีผู้สนับสนุนมากกว่าอย่างชัดเจนนัก
แต่สิ่งที่รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ และฝ่ายอนุรักษ์นิยมต้องคิดก็คือ กลุ่มผู้สนับสนุนตนเองนั้นเปลี่ยนไปแล้ว วันนี้คนรุ่นใหม่ ชนชั้นกลางในเมือง นั้นไม่ได้สนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ และฝ่ายอนุรักษ์นิยมอีกแล้ว ฐานเสียงของตนเองที่เป็นกลุ่มผู้สูงวัยนั้น ไม่สามารถเอาชนะกาลเวลาได้ เช่นเดียวกับที่ แม้จะมีรัฐธรรมนูญ แม้จะยังมีอำนาจรัฐ และกองทัพสนับสนุน แต่หากประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศไม่ยอมรับ และต้องการขับไล่ สุดท้ายรัฐบาลจะอยู่ไม่ได้
ภายใต้สถานการณ์ทางการเมืองเช่นนี้ กับปัญหาเศรษฐกิจที่รัดตัวมากขึ้นทุกวัน รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ และฝ่ายอนุรักษ์นิยม อาจจะถึงเวลาที่ต้องนับถอยหลังแล้วก็ได้!!!
Reference
https://www.bbc.com/thai/thailand-51007294
https://www.khaosod.co.th/politics/news_337434
"สมชัย" จ่อเปิดชื่อพรรคการเมืองอื่นที่กู้เงินพรุ่งนี้ ชี้ชัด 4 พรรคในอดีตก็เคยกู้เงิน
https://www.matichon.co.th/politics/news_1885099
เมื่อวันที่ 13 มกราคม นาย
สมชัย ศรีสุทธิยากร อดีตกรรมการการเลือกตั้ง ในฐานะรองประธานกรรมาธิการวิสามัญศึกษาหลักเกณฑ์และวิธีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ โพสต์ข้อความแสดงความเห็นเรื่อง พรรคการเมืองกู้เงินไม่ได้จริงหรือไม่ มีรายละเอียดดังนี้
คดีเงินกู้ ธนาธร-อนาคตใหม่ กำลังงวดเข้ามาทุกที หลายคนบอกอาจจะเร็วกว่าปกติอีก หากศาลรัฐธรรมนูญเลือกแนวทางการวินิจฉัยโดยไม่มีการไต่สวนเพิ่มเติมแบบเดียวกับคดีอิลลูมินาติที่จะมีการอ่านคำวินิจฉัยในวันที่ 21 มกราคม 2563 นี้
1. ผมพยายามเปรียบเทียบ พรป.พรรคการเมือง ฉบับปัจจุบัน 2560 และ ฉบับปี 2550 ในหมวดที่ว่าด้วยรายได้ของพรรคการเมือง ปรากฎว่า แม้จะมีหัวข้อและลักษณะการเขียนต่างกัน แต่ที่เหมือนกัน คือ ไม่มีรายการ “เงินกู้” ในหมวดรายได้
2. เมื่อเงินกู้ไม่ใช่รายได้ เงินกู้จึงมี สถานะเป็น “หนี้สิน” ที่พรรคการเมืองต้องชำระคืน และสามารถกู้จากใครก็ได้
3. ในอดีต มีพรรคการเมืองที่ กู้เงินมาใช้ในกิจการทางการเมืองหรือไม่ ผลการค้นข้อมูลย้อนหลังพบว่า จากงบการเงินของพรรคการเมืองที่ส่งให้ กกต. ประจำปี 2556 มีพรรคการเมืองหลายพรรคที่กู้ยืมเงินจากบุคคลอื่นมาใช้ในกิจกรรมทางการเมือง อาทิ
– พรรคพลังชล ระบุว่า มีเจ้าหนี้เงินยืมทดรองจ่าย
– พรรคมาตุภูมิ ระบุว่า มีเงินกู้ยืมกรรมการ
– พรรคภูมิใจไทย ระบุว่า มีเจ้าหนี้เงินกู้ระยะสั้น
– พรรคชาติไทยพัฒนา ระบุว่า มีเจ้าหนี้เงินยืมทดรอง
ซึ่งรายการส่วนใหญ่ จะกู้ยืมเงินจากคณะกรรมการบริหารพรร เพื่อนำไปใช้จ่ายในการบริหารกิจการของพรรค เช่น ค่าเช่าสำนักงาน เป็นต้น
4. หากอดีต มีพรรคที่เคยกู้เงินไม่ผิด และ กกต.ไม่เคยดำเนินการใดๆ หากเลือกที่ดำเนินการเฉพาะบางพรรคการเมือง จะถือเป็นการเลือกปฏิบัติหรือไม่
5. อาจมีคนโต้แย้งว่า นั่น กฎหมายเก่า นี่ กฎหมายใหม่ มีเจตนาการบังคับใช้ต่างกัน อยากดูไหมครับ ข้อมูลเด็ดๆว่า ในปัจจุบันมีพรรคการเมืองไหนกู้เงินบ้าง พรุ่งนี้ เฉลยครับ
https://www.facebook.com/Somchai.Srisutthiyakorn/posts/2571634806219240
JJNY : วิ่งไล่เดินเชียร์ กองเชียร์เปลี่ยน/สมชัยจ่อเปิดชื่อพรรคอื่นกู้เงินพรุ่งนี้/ณรงค์ชัยห่วงบาทแข็ง-ดบ.ตํ่า-แล้งทุบศก.
http://www.ispacethailand.org/political/20242.html
ถือเป็นกิจกรรมทางการเมืองของภาคประชาชนครั้งใหญ่ ครั้งแรก หลังจากการรัฐประหารเมื่อปี 2557 กับกิจกรรมของผู้ต่อต้าน และสนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ผ่านกิจกรรม “วิ่งไล่ลุง” และ “เดินเชียร์ลุง” ซึ่งก็เป็นไปตามที่หลายฝ่ายคาดว่า มีการวิพากษ์วิจารณ์ถึงความ 2 มาตรฐานและการอำนวยความสะดวกของเจ้าหน้าที่รัฐที่แตกต่างกันอย่างชัดเจนต่อกิจกรรมทางการเมืองของทั้งสองฝ่าย
มีรายงานจาก นางอังคณา นีละไพจิตร อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ว่าตำรวจนั้นมีการตรวจประชาชนที่เข้าร่วมกิจกรรมวิ่งไล่ลุงอย่างเข้มงวด มีการห้ามและยึดป้ายที่มีข้อความทางการเมืองที่ไม่สุภาพ แต่ในทางกลับกันด้านผู้เข้าร่วมกิจกรรมเดินเชียร์ลุง นั้นกลับสามารถนำป้ายข้อความ และภาพตัดต่อบุคคล ที่เป็นการเหยียดหยาม ลดทอนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เข้ามาได้
เช่นเดียวกับที่กิจกรรมวิ่งไล่ลุงในต่างจังหวัดที่มีการจัดขึ้นในหลายพื้นที่ ก็การเข้ามาสอดส่องดูและและเข้มงวดกับการจัดกิจกรรมดังกล่าวของเจ้าหน้าที่รัฐอย่างออกนอกหน้า
อย่างไรก็ตามเรื่องดังกล่าวไม่ใช่เรื่องที่เหนือความคาดหมายแต่อย่างใด กับการแสดงออกอย่างสองมาตรฐานของเจ้าหน้าที่รัฐ เนื่องจากเราได้เห็นการกระทำในลักษณะนี้มายาวนานหลายปี ในช่วงที่การเมืองไทยเต็มไปด้วยความขัดแย้ง ที่ฝ่ายหนึ่งเมื่อได้อำนาจรัฐก็มักจะใช้กลไก และอำนาจรัฐต่างๆเพื่อลิดรอนสิทธิเสรีภาพของอีกฝ่ายอยู่เสมอ ในวันนี้แม้จะมีการเลือกตั้ง มีรัฐบาลที่มาจากพรรคการเมือง แต่ภายใต้ระบบรัฐธรรมนูญที่มีการเขียนในมีอำนาจซ้อนอำนาจเช่นนี้ ก็ทำให้เรื่องเหล่านี้ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง
แต่สิ่งที่น่าสนใจมากกว่าการทำงานที่มีหลายมาตรฐานของเจ้าหน้าที่รัฐ ก็คือ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งฝ่ายต่อต้าน และฝ่ายสนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่มีความแตกต่างไปจากช่วงแรกของการชุมนุมทางการเมืองก่อนจะมีการรัฐประหารในปี 2557
กล่าวคือ ในอดีตนั้น กลุ่มประชาชนที่ให้การสนับสนุนฝ่ายประชาธิปไตย และพรรคของอดีตนายกรัฐมนตรี ดร.ทักษิณ ชินวัตร ในช่วงหลังการรัฐประหารปี 2549 ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มประชาชนที่มีฐานเสียงหลักอยู่ในพื้นที่ต่างจังหวัด แม้จะมีฐานเสียงในกรุงเทพฯและปริมณฑล แต่ก็ไม่ได้หนาแน่นัก สะท้อนได้จากผลการเลือกตั้งในช่วงดังกล่าว แตกต่างจากผู้สนับสนุนฝ่ายอนุรักษ์นิยม ที่ในยุคดังกล่าวนั้นเป็นกลุ่มคนในพื้นที่กรุงเทพฯ ชนชั้นกลาง กลุ่มวัยรุ่น ดารานักแสดง
ซึ่งลักษณะดังกล่าวก็อยู่ในบริบทของการเมืองไทยมายาวนานจนถึงการชุมนุมของกลุ่มกปปส. กับการต่อต้านรัฐบาลของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ในช่วงปี 2556-2557 แต่วันนี้สิ่งที่ได้เห็นผ่านหน้าสื่อต่างๆ นั้นมีความแตกต่างจากเดิมเป็นอย่างมาก กล่าวคือ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมวิ่งไล่ลุง นั้นเป็นกลุ่มประชาชนที่มีหลากหลาย ทั้งกลุ่มผู้สนับสนุนพรรคเพื่อไทย กลุ่มคนรุ่นใหม่ ชนชั้นกลางในเมือง รวมถึงบุคคลที่อยู่ในวงการบันเทิงก็ออกมาแสดงตัวเข้าร่วมกิจกรรมที่มากขึ้น ในขณะที่กลุ่มผู้เข้าร่วมกิจกรรมเดินเชียร์ลุงนั้น กลับกลายเป็นกลุ่มผู้ที่มีอายุเลยวัยกลางคนไปจนถึงสูงอายุเสียเป็นส่วนใหญ่
เรื่องนี้นั้นสะท้อนออกมาอีกครั้ง หลังจากผลการเลือกตั้งที่พรรคพลังประชารัฐ และพรรคประชาธิปัตย์ แพ้ในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ ให้กับพรรคการเมืองที่ไม่เอา พล.อ.ประยุทธ์ อย่างพรรคเพื่อไทย และพรรคอนาคตใหม่ ที่สามารถชิงพื้นที่ของฝ่ายอนุรักษ์นิยมในกรุงเทพฯไปได้ เช่นเดียวกับในการเลือกตั้งที่ผ่านมา ที่หากไม่มีการเขียนรัฐธรรมนูญ กฎหมายเลือกตั้ง และการใช้อำนาจรัฐเข้ามาเกี่ยวข้อง พรรคพลังประชารัฐก็คงไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้แน่ๆ
แม้ว่าจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมวิ่งไล่ลุง และเดินเชียร์ลุง จะค่อนข้างชัดเจนว่าฝ่ายไหนมีมากกว่ากัน แต่นั่นก็คงไม่ใช่สิ่งชี้วัดว่าฝ่ายใดมีผู้สนับสนุนมากกว่าอย่างชัดเจนนัก แต่สิ่งที่รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ และฝ่ายอนุรักษ์นิยมต้องคิดก็คือ กลุ่มผู้สนับสนุนตนเองนั้นเปลี่ยนไปแล้ว วันนี้คนรุ่นใหม่ ชนชั้นกลางในเมือง นั้นไม่ได้สนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ และฝ่ายอนุรักษ์นิยมอีกแล้ว ฐานเสียงของตนเองที่เป็นกลุ่มผู้สูงวัยนั้น ไม่สามารถเอาชนะกาลเวลาได้ เช่นเดียวกับที่ แม้จะมีรัฐธรรมนูญ แม้จะยังมีอำนาจรัฐ และกองทัพสนับสนุน แต่หากประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศไม่ยอมรับ และต้องการขับไล่ สุดท้ายรัฐบาลจะอยู่ไม่ได้
ภายใต้สถานการณ์ทางการเมืองเช่นนี้ กับปัญหาเศรษฐกิจที่รัดตัวมากขึ้นทุกวัน รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ และฝ่ายอนุรักษ์นิยม อาจจะถึงเวลาที่ต้องนับถอยหลังแล้วก็ได้!!!
Reference
https://www.bbc.com/thai/thailand-51007294
https://www.khaosod.co.th/politics/news_337434
"สมชัย" จ่อเปิดชื่อพรรคการเมืองอื่นที่กู้เงินพรุ่งนี้ ชี้ชัด 4 พรรคในอดีตก็เคยกู้เงิน
https://www.matichon.co.th/politics/news_1885099
เมื่อวันที่ 13 มกราคม นายสมชัย ศรีสุทธิยากร อดีตกรรมการการเลือกตั้ง ในฐานะรองประธานกรรมาธิการวิสามัญศึกษาหลักเกณฑ์และวิธีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ โพสต์ข้อความแสดงความเห็นเรื่อง พรรคการเมืองกู้เงินไม่ได้จริงหรือไม่ มีรายละเอียดดังนี้
คดีเงินกู้ ธนาธร-อนาคตใหม่ กำลังงวดเข้ามาทุกที หลายคนบอกอาจจะเร็วกว่าปกติอีก หากศาลรัฐธรรมนูญเลือกแนวทางการวินิจฉัยโดยไม่มีการไต่สวนเพิ่มเติมแบบเดียวกับคดีอิลลูมินาติที่จะมีการอ่านคำวินิจฉัยในวันที่ 21 มกราคม 2563 นี้
1. ผมพยายามเปรียบเทียบ พรป.พรรคการเมือง ฉบับปัจจุบัน 2560 และ ฉบับปี 2550 ในหมวดที่ว่าด้วยรายได้ของพรรคการเมือง ปรากฎว่า แม้จะมีหัวข้อและลักษณะการเขียนต่างกัน แต่ที่เหมือนกัน คือ ไม่มีรายการ “เงินกู้” ในหมวดรายได้
2. เมื่อเงินกู้ไม่ใช่รายได้ เงินกู้จึงมี สถานะเป็น “หนี้สิน” ที่พรรคการเมืองต้องชำระคืน และสามารถกู้จากใครก็ได้
3. ในอดีต มีพรรคการเมืองที่ กู้เงินมาใช้ในกิจการทางการเมืองหรือไม่ ผลการค้นข้อมูลย้อนหลังพบว่า จากงบการเงินของพรรคการเมืองที่ส่งให้ กกต. ประจำปี 2556 มีพรรคการเมืองหลายพรรคที่กู้ยืมเงินจากบุคคลอื่นมาใช้ในกิจกรรมทางการเมือง อาทิ
– พรรคพลังชล ระบุว่า มีเจ้าหนี้เงินยืมทดรองจ่าย
– พรรคมาตุภูมิ ระบุว่า มีเงินกู้ยืมกรรมการ
– พรรคภูมิใจไทย ระบุว่า มีเจ้าหนี้เงินกู้ระยะสั้น
– พรรคชาติไทยพัฒนา ระบุว่า มีเจ้าหนี้เงินยืมทดรอง
ซึ่งรายการส่วนใหญ่ จะกู้ยืมเงินจากคณะกรรมการบริหารพรร เพื่อนำไปใช้จ่ายในการบริหารกิจการของพรรค เช่น ค่าเช่าสำนักงาน เป็นต้น
4. หากอดีต มีพรรคที่เคยกู้เงินไม่ผิด และ กกต.ไม่เคยดำเนินการใดๆ หากเลือกที่ดำเนินการเฉพาะบางพรรคการเมือง จะถือเป็นการเลือกปฏิบัติหรือไม่
5. อาจมีคนโต้แย้งว่า นั่น กฎหมายเก่า นี่ กฎหมายใหม่ มีเจตนาการบังคับใช้ต่างกัน อยากดูไหมครับ ข้อมูลเด็ดๆว่า ในปัจจุบันมีพรรคการเมืองไหนกู้เงินบ้าง พรุ่งนี้ เฉลยครับ
https://www.facebook.com/Somchai.Srisutthiyakorn/posts/2571634806219240