แชร์ประสบการณ์ผ่าคลอดฉุกเฉินเพราะลูกหัวใจเต้นช้า

ย้อนไปเมื่อเดือนตุลาปี 61
เราท้องลม+ขูดมดลูก 
ประมาณเดือนธันวาปี 61
ก็มีอาการเหมือนแพ้ท้อง 
ไปตรวจก็พบว่าตั้งครรภ์
อายุครรภ์ประมาณ 2 เดือน 
.
.
.
.
ตอนท้องก็แฮปปี้ หลั่นล้า 
คิดว่าคงไม่มีอะไร TT
กะว่าท้องนี้ไม่ใช่ท้องลม 
คงไม่เป็นไรละ 
.
.
.
จนอายุครรภ์ประมาณ 20 สัปดาห์ 
คุณหมอวัดความยาวปากมดลูก 
พบว่าปากมดลูกปิดไม่สนิท 
มี Gap ...ส่งไปพบคุณหมออีกคน
เพื่อประเมินอย่างละเอียดซ้ำ 
ผลก็ออกมาว่าปกติ 
แต่แนะนำให้ตรวจซ้ำอีกที
ถ้ามีอาการผิดปกติ T.T 
.
.
.
เราก็แอบกลัวว่าท้องนี้จะคลอดก่อนกำหนดอีก
เพราะลูกคนแรกคลอดตอน 33 wk+5 
แต่ท้องแรกคลอดก่อนเพราะเราอาหารเป็นพิษค่ะ 
ช่วงนี้เราก็เขียนไดอารี่ใส่ลงในกระดาษเล็กๆ
เขียนบันทึกไว้ กว่าจะผ่านไปได้แต่ละวัน 
รู้สึกลุ้นมากเลยค่ะ 
ไม่กล้าเดินเยอะ 

.
.
.
จนปลายเดือนมิถุนา 
ตอนนั้นอายุครรภ์ 35 wk 
พบว่าเริ่มมีอาการท้องแข็ง 
นอนรพ. + ส่งตัวไปในเมือง 
เพราะมีความเสี่ยงที่จะคลอดก่อนกำหนด 
.
.
.
เรานอนรพ.อยู่ 1 สัปดาห์ 
ไม่มีอาการท้องแข็งแล้ว 
คุณหมอให้กลับบ้านได้ 
แต่ต้องทำ NST ก่อนกลับบ้าน 
ปรากฎว่างานเข้า
เพราะลูกมีหัวใจเต้นช้าเป็นช่วงๆ 
ชั่วโมงนึงมีสัก 1 ครั้งที่หัวใจเต้นช้า 
คุณหมอบอกว่ากล้บบ้านได้ 
แต่ว่าให้มาทำ NST ซ้ำวันรุ่งขึ้น 
บ้านเราอยู่ใกล้รพ. ขับรถประมาณ 15 นาที 
ตอนแรกเราขอคุณหมอนอนรพ.ต่อ 
แต่คุณหมอบอกว่า US แล้ว ปกตินะ 
นัดมาตรวจซ้ำวันรุ่งขึ้น ตอน 7 โมงเช้า 
.
.
.
วันรุ่งขึ้น คุณหมอโทรตามตอน 8 โมง 
เราหลับลืมไปเลยค่ะ
ปล.เราย้ายมาฝากท้องที่โรงเรียนแพทย์ 
คุณหมอที่โทรมาเป็นแพทย์ประจำบ้าน 
คุณหมอบอกว่าคุณแม่อย่าลืมนะคะ หมอรอยู่ 55+
.
.
.
วันนั้นเป็นวันเสาร์ค่ะ 
เสาร์ที่ 6 กค 62
จำแม่นเลยค่ะ ^^ 
ไปถึงรพ.ประมาณ 8 โมงครึ่ง 
นอนทำ NST จนเกือบ 11 โมง 
คุณหมอบอกว่าให้นอนห้องคลอด 
เพราะ NST ผิดปกติ 
เด็กมีหัวใจเต้นช้าเป็นช่วงๆ 
คุณหมอ US ดู ก็ปกติดี 
ให้นอน monitor ติด NST 24 hr 
.
.
.
ประมาณบ่ายกว่าๆ 
คุณหมอบอกว่าให้ NPO ระหว่างมื้อ 
เผื่อต้องผ่าคลอดฉุกเฉิน 
.
.
.
เวลาประมาณหกโมงเย็น 
อาจารย์มาถามอาการ+อธิบายว่า
ตอนนี้ NST ปกติดี เราก็โล่งใจ 
ถามคุณหมอว่ากินข้าวได้ไหมคะ 55+
คุณหมอบอกว่ากินได้ๆ 
.
.
.
ประมาณทุ่มกว่า 
คุณหมอบอกว่างดน้ำงดอาหารไว้เลย 
NST เริ่มมีผิดปกติอีกแล้ว
.
.
.
ลูกก็ยังดิ้นอยู่นะคะ 
เราก็หลับๆตื่นๆ 
นอนในห้องคลอด 
ปากมดลูกเราก็ไม่เปิด 
ท้องก็ไม่แข็งค่ะ 
.
.
.
ประมาณห้าทุ่ม 
คุณหมอบอกว่าอาจจะได้ผ่าคลอด 
เราก็โทรตามสามีมา 
 พอเที่ยงคืน คุณหมอบอกว่าให้สามีกลับบ้านได้ 
น่าจะปลอดภัยอยู่ 
.
.
.
เกือบตีหนึ่ง 
เราหลับอยู่ค่ะ ...คุณพยาบาลกับคุณหมอบอกว่า
ต้องผ่าคลอดเลย เพราะเด็กหัวใจเต้นช้าประมาณ 5 นาที 
ตอนนี้กลับมาเต้นปกติแล้ว
สังเกตอาการทั้งวันไม่เคยเต้นช้าขนาดนี้
รอไม่ได้แล้ว ต้องผ่าตอนนี้เลย 
.
.
.
เรารีบโทรบอกสามี 
สามีบอกว่าเพิ่งกล่อมลูกคนโตนอน 
เดี๋ยวจะรีบมาเลย 
ระหว่างนั้นเราก็เตรียมเข้า OR ค่ะ 
ใส่สาย foley  เตรียมน้ำเกลือ ฯลฯ 
ใจเต้นตึกตั่กๆ ลูกจะปลอดภัยไหม 
.
.
.
ระหว่างทางไปห้องผ่าตัด 
มีน้องหมอ เอาเครื่องมาฟังหัวใจเด็ก 
ฟังไปจนถึงห้องผ่าตัด 
คุณหมอบอกว่าถ้าหัวใจเต้นช้า 
จะผ่าคลอดแบบแนวตั้ง 
เพื่อเอาเด็กออกมาให้เร็วที่สุด 
ในใจเราก็ท่อง พุทโธ ธัมโม สังโฆ 
.
.
.
ไปถึงห้องผ่าตัด 
บล็อกหลัง 
ผ่าคลอด 
คุณหมอส่งเสียงมาบอกว่า
ลูกหนูตัวใหญ่เหมือนกันนะเนี้ยะ 55+
คุณหมอดมยาบอกว่า 
แข็งแรงดี ไม่เหมือนเด็ก pretermเลย 
เราก็โล่งใจ๊โล่งใจ โล่งใจ แบบโล่งงงง
รู้สึกแบบว่าลูกเรารอดตายละเว้ยยย 
ก็เลยถามคุณหมอว่า 
นี่ผ่าแบบแนวตั้งหรือแนวขวางคะ 
คุณหมอดมยาก็ดูให้แล้วบอกว่า 
แนวขวางนะ 
จากนั้นเราก็หลับเลยค่ะ 
ไม่ไหวแล้ว ....ง่วง 
.
.
.
ลูกคลอดวันที่ 7 เดือน 7 
เวลา 02.34 น 
น้ำหนัก 2330 กรัม 
คลอดตอน 36 wk เป๊ะเลย
ลูกคนแรกเราเป็นผู้ชาย ชื่อน้องเอเชีย
เอเชียคลอดตอน 33 wk +5 น้ำหนัก 2010 
คนนี้เป็นลูกสาว ชื่อน้องอินชอนค่ะ
ออกมาหน้ากลมๆ จิ้มลิ้มดีค่ะ 
ตัวเล็กแต่หน้ากลม 55+ 
ไม่ต้องเข้าตู้อบ หายใจดี 
แม่ดีใจจุง 
.
.
.
สรุปสาเหตุที่หัวใจเต้นช้า 
คือน่าจะมาจากน้ำคร่ำค่อนข้างน้อย 
ตัวเด็กไปทับสายสะดือค่ะ 
.
.
.
ลูกปลอดภัยก็ดีแล้วค่ะ 
ทีมรักษาดูแลเต็มที่มาก 
แต่ละชั่วโมง แต่ละนาที 
เรารู้สึกอุ่นใจมาก 
.
.
.
ท้องแรกเราคลอดเอง 
ท้องสองเราท้องลม ขูดมดลูก 
ท้องสาม ก็คือท้องนี้ เราผ่าคลอด 
.
.
.
สรุปว่าคนท้อง อะไรก็เกิดขึ้นได้ 
นี่ก็อยากมีลูกคนที่สามอยู่นะ 
ท้องสามแม่ผ่าคลอดแน่นอนค่ะ ^^ 
ตอนนี้ลูกคนโต 2 ขวบครึ่ง 
คนเล็ก 6 เดือน 
ชีวิตยุ่งขึ้นมากเลยค่ะ  แต่ก็ม่วนดี 
.
.
.
เป็นกำลังใจให้คุณแม่ทุกคนนะคะ 
ปิดท้ายด้วยรูป...สามีกับลูกน้อยค่ะ 
กำลังใจของแม่ ^^ 
ขอบคุณค่ะ 

 ด้วยรัก ...#มัมมี๊อันย่า 
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่