สีสันของจักรวาล

วัตถุในอวกาศมีสีสันอย่างในภาพถ่ายจริงหรือ 


ภาพที่เห็นนี้คือซากที่หลงเหลือจากการระเบิดของดาวในกลุ่มดาวค้างคาว(Cassiopeia) มีชื่อ เรียกสั้นๆว่า Cas A อยู่ห่างจากโลกของเราราวๆ 11,000 ปีแสง! หมายความว่าแสงต้องเดินทางเป็นเวลาหนึ่งหมื่นหนึ่งพันปีกว่าจะมาถึงโลกของเรา ดังนั้นภาพที่เราเห็นนี้จึงเป็นภาพในอดีตเมื่อหนึ่งหมื่นหนึ่งพันปีก่อน
สีสันในภาพนี้ระยิบระยับราวกับเพชรพลอยที่ลอยอยู่ในอวกาศ ทว่าความจริงอาจไม่เป็นเช่นนั้นไปเสียทั้งหมด

กล้องโทรทรรศน์สำคัญๆที่ใช้เก็บภาพต่างๆในอวกาศนั้นไม่ได้เก็บข้อมูลจากแสงที่ดวงตาเรามองเห็นเพียงอย่างเดียว แต่ยังเก็บข้อมูลจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในย่านที่ตาเรามองไม่เห็นด้วย เช่น คลื่นอินฟราเรด คลื่นวิทยุ หรือ รังสีเอ็กซ์

ภาพ Cas A ที่เราเห็นอยู่นี้เกิดจากสุดยอดกล้องโทรทัศน์ทั้งสามตัวของนาซา ได้แก่
- กล้อง Spitzer Space Telescope เก็บข้อมูลรังสีอินฟราเรดที่ตามองไม่เห็นแล้วเปลี่ยนให้มีสีแดง
-กล้อง Hubble Space Telescope เก็บแสงที่ตามองเห็นในรูปสีเหลืองส้ม
- กล้อง Chandra X-ray Observatory เก็บข้อมูลรังสีเอกซ์แล้วเปลี่ยนให้เป็นสีเขียวและสีฟ้า

นั่นแปลว่าจริงๆแล้วสีแดง สีเขียวและสีฟ้าในภาพป็นสิ่งที่ตาเปล่ามองไม่เห็น  แล้วนักดาราศาสตร์จะสร้างสีสันเหล่านี้ขึ้นมาทำไม?

คำตอบหนึ่งคือมันช่วยให้นักดาราศาสตร์เห็นธรรมชาติของวัตถุท้องฟ้านั้นได้ชัดเจนขึ้น กล่าวคือ ทำให้เห็นว่าคลื่นช่วงมีความสัมพันธ์กันอย่างไร
ภาพถ่ายที่ถูกสร้างสีสันของรังสีที่ตามองไม่เห็นเหล่านี้เรียกว่า False-color images ซึ่งมีหลากหลายรูปแบบ
ภาพบางอย่างก็เลือกใส่สีด้วยเกณฑ์ที่แตกต่างกันไป เช่น ระดับพลังงาน ความหนาแน่น ฯลฯ
ขอบคุณข้อมูลจากคุณ อาจวรงค์ ป๋องแป๋ง จันทมาศ
Cr.https://ko-kr.facebook.com/ardwarong/posts/2242784925842673

สีเฉลี่ยของจักรวาลไม่ใช่สีดำ



หลายๆ คนคงคิดว่า จักรวาลประกอบด้วยสีดำเป็นหลัก สีเฉลี่ยก็ควรจะเป็นสีดำ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ในทางวิทยาศาสตร์ไม่ได้มองว่า สีเฉลี่ยของจักรวาลเป็นสีดำแต่อย่างใด
ในปี 2001 คาร์ล กลาเซบรูค และ อิวาน บัลดรี นักดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัย จอห์นส ฮอปกินส์ ได้ทำการตรวจสอบวิเคราะห์สเปกตรัมของกาแล็คซีที่แตกต่างกันเพื่อศึกษาการก่อตัวของดวงดาว และตัดสินใจว่าสีของจักรวาลน่าจะเป็นสีขาวอมเขียวหรือเขียวอ่อน

แต่หลังจากที่ทั้งคู่ได้ทำการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับสีของแสงทั้งหมดในจักรวาล จึงพบว่าค่าสีเฉลี่ยของจักรวาลไม่ได้เป็นสีเขียวอ่อนอย่างที่พวกเขาเข้าใจ ในรายงานปี 2002 พวกเขาได้แก้ไขข้อมูลใหม่ว่า สีของมันออกแนวเป็นสีขาวเบจอ่อนๆ 

การสำรวจครั้งนี้ ได้รวมกาแล็กซี่มากกว่า 200,000 แห่ง โดยทำการวัดช่วงสเปกตรัมของแสงจากปริมาณมากสุดของจักรวาล และได้ค่า RGB ที่เป็นเลขฐานสิบหกออกมาเป็น #FFF8E7
หลังจากนั้น  คาร์ล กลาเซบรูค  อยากจะหาชื่อใหม่สำหรับสีของจักรวาลนี้ ซึ่งก็มีผู้ส่งชื่อเข้าร่วมประกวดมากมาย โดยให้บรรดานักวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องช่วยกันโหวตว่าจะเอาชื่อไหน

ผลจากการโหวตชื่อที่ได้อันดับหนึ่ง ตกเป็นชื่อ คาปูชิโน่ คอสมิโก (Cappuccino Cosmico) ที่ถูกตั้งโดย ปีเตอร์ ดรัม แต่ คาร์ล และ อิวาน 
สองผู้ค้นพบคิดว่าชื่อ คอสมิก ลาเต้ (Cosmic Latte) ที่ ปีเตอร์ ดรัม ตั้งไว้อีกชื่อเหมาะกว่า สุดท้ายชื่อสีเฉลี่ยของจักรวาลจึงตกเป็นชื่อ คอสมิก ลาเต้ 
ส่วนที่มาของชื่อนี้ ปีเตอร์ ดรัม กล่าวว่า เขาอ่านบทความของ Washington Post อยู่ในร้าน Starbucks และพบว่าสีของมันช่างเหมือนกับสีของกาแฟลาเต้ที่เขากำลังดื่มอยู่พอดี
ขอบคุณที่มา : wikipedia | เรียบเรียงโดย เพชรมายา
Cr.https://petmaya.com/color-of-universe

 

เผยภาพจักรวาลใหม่ในปี 2019


ภาพถ่ายกาแล็กซีทางช้างเผือกและกาแล็กซีอื่นๆ รวมไปถึงปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในจักรวาลที่เราได้เห็นกันมาโดยตลอดนั้น ส่วนใหญ่มาจากกล้องโทรทรรศน์ในอวกาศ จากสถานีสังเกตการณ์รังสีเอ็กซ์จันทรา ที่ส่งขึ้นไปเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 1999 ซึ่งในเดือนกรกฎาคม 2019 เป็นการครบรอบ 20 ปีในการปฏิบัติหน้าที่ สถานีสังเกตการณ์รังสีเอ็กซ์จันทราจึงส่งภาพชุดใหม่อันน่าตื่นตาของจักรวาลมาให้เราได้ดูกัน

สถานีสังเกตการณ์รังสีเอ็กซ์จันทราอยู่ในตระกูลสถานีสังเกตการณ์ Great Observatories ของนาซ่า โดยจันทราทำงานในส่วนรังสีเอ็กซ์ ในขณะที่สปิตเซอร์ (Spitzer) ตรวจจับแสงอินฟราเรด ส่วนฮับเบิล (Hubble) ตรวจจับแสงที่มองเห็นได้และแสงยูวี และคอมป์ตัน (Compton) ออกแบบมาสำหรับรังสีแกมมา
กล้องโทรทรรศน์จากสถานีสังเกตุการณ์จันทราสามารถจับภาพที่มีความละเอียดสูงมาก เราสามารถอ่านสัญลักษณ์ “หยุด” ของจราจรได้อย่างชัดเจนแม้จะอยู่ไกลถึง 12 ไมล์ โดยกล้องโทรทรรศน์นี้ และในช่วงหลายปีที่ผ่านมา จันทราได้ถ่ายภาพสำคัญๆ มากมาย เช่น ภาพ “Pillars of Creation” หรือภาพเสาอันเกิดจากแก๊สและฝุ่นระหว่างดวงดาวในเนบิวลาอินทรีซึ่งก่อขึ้นเป็นรูปเสา 

จันทราถือเป็นกล้องโทรทรรศน์เอ็กซ์เรย์ที่คมชัดที่สุดเท่าที่นาซ่าเคยสร้างมา โดย ริคคาร์โด จิอาคโคนิ (Riccardo Giacconi) เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปี 2002 และฮาร์วีย์ ทานันบาม (Harvey Tananbaum) ผู้อำนวยการคนแรกของศูนย์เอ็กซ์เรย์จันทรา เสนอให้สร้างขึ้นครั้งแรกในปี 1976
สถานีสังเกตการณ์รังสีเอกซ์จันทรา ตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่สุพรหมัณยัน จันทรเศขร นักฟิสิกส์ดาราศาสตร์ชาวอเมริกันเชื้อสายอินเดีย เจ้าของรางวัลโนเบล สาขาฟิสิกส์ในปี 1983 ผู้มีผลงานทางด้านดาราศาสตร์ทฤษฎีมากมาย ทั้งเรื่องของดาวแคระขาว ดาวนิวตรอน และหลุมดำ 
อ้างอิง
https://edition.cnn.com/2019/07/24/world/chandra-observatory-new-images-scn-trnd/index.html
https://www.cnet.com/news/nasa-releases-magnificent-new-images-of-the-milky-way/
https://phys.org/news/2019-07-chandra-x-ray-observatory-celebrates-20th.html 
ขอบคุณภาพ : NASA
Cr.https://themomentum.co/chandra-x-ray-observatory-celebrates-20th-new-images/ โดย THE MOMENTUM TEAM

ภาพจักรวาลเมื่อมองด้วยระบบเอกซเรย์ 


เมื่อล่าสุดนี้เอง ทางองค์กรชื่อดังอย่างนาซา ก็ได้ออกมาเปิดเผยมุมมองใหม่ๆ ของท้องฟ้าให้พวกเรามีโอกาสได้เห็นกันอีกครั้ง โดยในครั้งนี้พวกเราจะได้มองท้องฟ้ากันด้วยมุมมองแบบเดียวกับซูเปอร์แมนเลย
 
เพราะนี่คือภาพถ่าย ท้องฟ้าชิ้นใหม่ล่าสุดที่ถูกเปิดเผยออกมาโดยองค์กรนาซา ซึ่งถูกถ่ายเอาไว้โดยกล้องส่องดูดาวตัวพิเศษที่มีชื่อว่า Neutron Star Interior Composition Explorer หรือ NICER กล้องที่จะจับภาพของดวงดาวนิวตรอนออกมาด้วยระบบจับแสง “เอกซเรย์” ความไวสูง

ภาพที่เหมือนกับดอกไม้ไฟยามราตรีจำนวนมากนี้ แท้จริงแล้วเป็นภาพรังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าพลังงานสูงที่ถูกปล่อยออกมาจากสถานที่สำคัญในจักรวาลหลายๆ จุดไม่ว่าจะเป็น พัลซาร์ (ดาวนิวตรอนที่หมุนรอบตัวเองด้วยความเร็วสูง) หลุมดำ หรือร่องรอยของซูเปอร์โนวา

ทั้งนี้ทางนาซ่ายังได้มีการออกมาเปิดเผยอีกว่าภาพของกล้อง NICER จะมีความชัดเจนขึ้นมากขึ้นเรื่อยๆ ตามเวลาการทำงานของมัน และภาพที่มีการเปิดเผยออกมานี้ก็เป็นเพียงแค่ผลการทำงาน 22 เดือนแรกของกล้อง NICER ก็เท่านั้นด้วย  ในอนาคตเราอาจจะสามารถเห็นอวกาศในมุมมองใหม่ๆ ที่งดงามและยิ่งใหญ่มากเสียยิ่งกว่าในปัจจุบันอีกก็เป็นได้ 
ขอบคุณที่มา livescience, sciencealert และ nasa
Cr.https://www.catdumb.com/x-ray-universe-378/ By  เหมียวศรัทธา

 สีน้ำในอวกาศ


ภาพมหัศจรรย์บริเวณรอบดาวอาร์ โคโรนา ออสตราลิส (R Coronae Australis) 
 
 ดาว อาร์ โคโรนา ออสตราลิส อยู่ในบริเวณกำเนิดดาวใกล้ที่สุดและน่าประทับที่สุดแห่งหนึ่ง   ภาพนี้ถ่ายจาก WFI ที่ติดตั้งกับกล้องโทรทรรศน์ MPG/ESO ขนาด 2.2 เมตรที่หอสังเกตการณ์ลาซิลลาในชิลี   ภาพนี้เป็นการรวม 12 ภาพที่ถ่ายแยกกันผ่านฟิลเตอร์สีแดง เขียวและน้ำเงิน
 
ภาพนี้แสดงส่วนของท้องฟ้าที่กว้างราวกับดวงจันทร์วันเพ็ญ  หรือราวสี่ปีแสงที่ระยะทางของเนบิวลา  เนบิวลาอยู่ไกล 420 ปีแสงในกลุ่มดาวขนาดเล็กที่ชื่อมงกุฎใต้ (Corona Australis)  บริเวณซับซ้อนนี้ตั้งชื่อตามดาวอาร์ โคโรนา ออสตราลิสที่อยู่ใจกลางภาพ   ซึ่งเป็นดาวดวงหนึ่งจากดาวหลายดวงในบริเวณนี้  ดาวเหล่านี้เป็นดาวอายุน้อยมากที่แปรความสว่างและยังล้อมรอบด้วยก้อนกาซและฝุ่นจากที่มันเกิด
 
รังสีที่แรงกล้าออกจากดาวร้อนอายุน้อยเหล่านี้มีอันตรกิริยากับกาซที่ล้อมรอบมันและยังสะท้อนหรือคายออกมาที่ความยาวคลื่นแตกต่างกัน    ขบวนการซับซ้อนเหล่านี้กำหนดจากกายภาพของตัวกลางระหว่างดาวและคุณสมบัติของดาว ที่ทำให้เนบิวลามีสีสันงดงาม   แสงสีฟ้าในเนบิวลาที่เห็นในภาพนี้เนื่องมาจากการสะท้อนของแสงดาวจากอนุภาคฝุ่นเล็กๆ   ดาวอายุน้อยในความซับซ้อนของอาร์ โคโรนา ออสตราลิส มีมวลคล้ายกันกับดวงอาทิตย์ไม่สามารถคายรังสีเหนือม่วงมากพอที่จะทำให้ไฮโดรเจนบางส่วนเป็นไอออนได้   หมายความว่าก้อนกาซฝุ่นไม่ได้สว่างจากแสงสีแดงที่เห็นในบริเวณเกิดดาวจำนวนมาก
 
ก้อนฝุ่นมหึมาที่มีเนบิวลาสะท้อนแสงจมอยู่ตามที่แสดงในที่นี้มีรายละเอียดประทับใจ  สีลี้ลับและองค์ประกอบที่หลากหลายของก้อนฝุ่นนี้ทำให้ภาพคล้ายดังภาพวาดสุดประทับใจ  แนวมืดเด่นที่ตัดขวางภาพจากใจกลางไปยังด้านล่างซ้าย  ที่นี่แสงคายออกจากดาวที่กำลังเกิดภายในก้อนฝุ่นจะถูกฝุ่นดูดกลืน   วัตถุเหล่านี้อาจค้นพบได้จากการสังเกตการณ์ที่ความยาวช่วงคลื่นยาวขึ้น ด้วยการใช้กล้องถ่ายภาพที่รับรังสีใต้แดง
 
ตัวดาวอาร์ โคโรนา ออสตราลิสเองไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า  แต่จากกลุ่มดาวที่คล้ายเครื่องประดับเล็กๆที่มันอยู่ หาตำแหน่งได้ง่ายจากด้านมืดเพราะใกล้ชิดกับกลุ่มดาวคนยิงธนูที่ใหญ่กว่า และก้อนกาซฝุ่นที่มีดาวมากมายไปทางใจกลางดาราจักรทางช้างเผือก
Cr.https://sites.google.com/site/esocorp/rayngancakkarsangketkarn/da-wxar-khorona-xxstrali-s-si-na-ni-xwkas
ขอบคุณข้อมูลเวบไซต์
spacetelescope.org press releases
iau.org press releases
astronomy2009.org press releases
 

4 ภาพถ่ายใหม่สุดงดงาม ของโลกและอวกาศปี 2020 



เมื่อช่วงที่ผ่านมา ทีมนักวิทยาศาสตร์หลายกลุ่ม ได้มีการออกมาเปิดเผยภาพสุดงดงามทางดาราศาสตร์  4 ภาพ

ภาพแรก เป็นภาพของพระจันทร์เต็มดวง ที่กำลังลอยขึ้นอยู่ เหนืออ่าวฮัดสันที่แข็งเป็นน้ำแข็งทางตอนเหนือของแคนาดา
โดยภาพถ่ายนี้ ถูกจับภาพเอาไว้ได้แบบพอดิบพอดีโดยนักบินอวกาศบนสถานีอวกาศนานาชาติ และถูกระบุข้อมูลสั้นๆ ไว้ด้วยว่าทางตอนเหนือของพื้นที่เยือกแข็งที่เห็น ในบางกรณีก็อาจจะมองไม่เห็นดวงตะวันได้เป็นวันๆ เลย

ภาพที่สอง  ถ่ายโดยนักบินอวกาศบนสถานีอวกาศนานาชาติเช่นกัน  เป็นภาพของแสงระยิบระยับของพื้นผิวโลก ที่ราวกับสะท้อนแสงของดวงดาว  ภาพนี้ ถูกจับภาพไว้ได้ในระหว่างที่สถานีอวกาศนานาชาติกำลังลอยลำอยู่เหนือทะเลแคสเปียน ในระหว่างที่ซีกโลกกำลังตกอยู่ในความมืดมิดของช่วงเวลาราตรี

และออกไปไกลจากโลกอีกนิดหน่อย ราวๆ 25 ล้านปีแสง นาซาก็ยังสามารถจับภาพของกาแล็กซีสุดงดงามชนิดก้นหอยนามว่า “NGC 4258” มีลักษณะคล้ายกับ “ดอกไม้ไฟในอวกาศ”

และภาพสุดท้ายจากหอดูดาววิทยุดาราศาสตร์แห่งชาติสหรัฐอเมริกา เป็นภาพของกาแล็กซีวาฬ (Whale Galaxy หรือ NGC 4631) ที่อยู่ห่างจากโลกไปราวๆ 25 ล้านปีแสง โดยเป็นภาพของกาแล็กซีวาฬที่มีการปล่อยสนามแม่เหล็กออกมา ซึ่งจะเห็นได้จากเส้นบางๆ คล้ายเชือกหรือขนมีเขียวน้ำเงินในภาพ
ขอบคุณที่มา glbnews, nrao, foxnews และ nasa
Cr.https://www.catdumb.tv/4-new-astronomy-pic-378/ By  เหมียวศรัทธา


ขอขอบคุณข้อมูลทั้งหมด
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่