Rajasthan India เที่ยวราชสถาน (ตอนที่ 4)
“เมห์รันการ์” (MEHRANGARH)อยู่ห่างจากตัวเมือง 5 กิโลเมตร เห็นเด่นเป็นสง่าบนเนินเขาสูง ประมาณ 400 ฟุต เป็นป้อมปราการขนาดใหญ่ที่มีกำแพงหินหนา 68 ฟุต ความสูงบางช่วง 117 ฟุต ล้อมรอบตัววังยาวเกือบ 10 กิโลเมตร สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ประทับของมหาราชา สถานที่แห่งนี้ถือกำเนิดขึ้นมาพร้อมกับการสร้างเมือง เพราะก่อสร้างโดยมหาราชา ราโอ จอดา ป้อมนี้สร้างขึ้นด้วย หินทรายสีแดง ที่ผ่านการแกะเกลาสลักหินทรายอย่างวิจิตร
ป้อมเมห์รันการ์นี้ ภายในตกแต่งประดับประดาด้วยแก้วหลากสี แบ่งเป็นห้องหรือท้องพระโรงขนาดใหญ่อีกหลายแห่ง ห้องที่มีชื่อเสียงและจัดเป็นไฮไลท์ต้องยกให้ ห้องไข่มุก (MOTI MAHAL) ที่มีกระจกแก้วหลากสีประดับวิจิตรยิ่ง นอกจากนี้ที่เมร์รันการ์ยังมีพื้นที่สำหรับจัดแสดงเป็นพิพิธภัณฑ์ ห้องแสดงอาวุธและเครื่องรบอุปกรณ์สมัยโบราณ รวมตลอดไปจนถึงเครื่องใช้ส่วนตัวของมหาราชาจัดแสดงไว้ให้ชมอีกด้วย
ออกจาก“เมห์รันการ์” (MEHRANGARH) ไป จัยเชลเมียร์ ( Jaisalmer) ประมาณ 285 km ต้องแวะทางอาหารกลางทาง
เมืองจัยซัลแมร์ Jaisalmerเมืองที่ได้รับสมญานามว่า “นครสีทอง” ตั้งอยู่บนที่ราบสูง กลางที่ราบทะเลทรายธาร์ มีกำแพงสูงใหญ่ดูโอฬาร เป็นเมืองท่องเที่ยวที่อยู่ทางตะวันตกสุดของแคว้นราชาสถาน ในอดีตเคยเป็นเส้นทางการค้าที่ สำคัญ ระหว่างอินเดียกับตะวันออกกลาง นครแห่งนี้ก่อสร้างขึ้นจากหินทรายสีเหลืองเป็นส่วนใหญ่ เมื่อยามต้องแสงอาทิตย์อัสดงที่ไล้ลงบนพื้นผิวของหินเหล่านี้ ก็จะปรากฏให้เห็นเป็นสีทองอร่ามตา และนี่คือที่มาของสมญา “นครสีทอง”ด้วยเหตุที่ จัยซัลแมร์ เคยเป็นเส้นทางการค้าที่สำคัญ ส่งผลให้พ่อค้าวาณิชย์ในตระกูลดังๆ หลายๆคนร่ำรวยกันอย่างมหาศาล กลายเป็นอภิมหาเศรษฐี มีคฤหาสน์ที่ใหญ่โตมโหฬาร
เมืองที่ได้รับสมญานามว่า “นครสีทอง” ตั้งอยู่บนที่ราบสูง กลางที่ราบทะเลทรายธาร์ มีกำแพงสูงใหญ่ดูโอฬาร เป็นเมืองท่องเที่ยวที่อยู่ทางตะวันตกสุดของแคว้นราชาสถาน
ทะเลทรายธาร์ (ฮินดี:थर मरुस्थल, อูรดู: صحراےَ تھر; อังกฤษ: Thar Desert) หรือเรียกอีกชื่อว่า ทะเลทรายเกรตอินเดียน (อังกฤษ: Great Indian Desert) เป็นทะเลทรายขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศอินเดียและปากีสถาน มีพื้นที่มากกว่า 200,000 ตร.กม. (77,000 ตร.ไมล์) ถือเป็นพื้นที่แห้งแล้งที่ใหญ่เป็นอันดับ 9 ของโลก
ทะเลทรายล้อมรอบด้วยทิวเขาอะราวัลลีทางด้านตะวันออก แม่น้ำคงคาทางด้านตะวันตก แม่น้ำสัตเลชทางด้านเหนือ และทะเลอาหรับทางด้านใต้ แต่การเดินทางด้วยความเร็วเพียง 60-80 km/h กว่าจะถึงทะเลทรายธาร์ขี่อูฐพระอาทิตย์ก็เกือบลับขอบฟ้าแล้ว ต้องบอกว่ามันโค-ตะ-ระ หนาวเลย ..เห็นพวกชาวทะเลทรายแล้วหนาวแทนมากเลย...แต่พวกเราก็ต้องทำตามโปรแกรม เพราะไม่มีเวลาแล้ว...การขี่อูฐกับขี่ม้า ก็คล้าย ๆ กัน คือเมื่อยมาก... พรุ่งนี้ต้องเดินทางอีกไกลมากกกก....
เดินทางออกจากทะเลทรายธาร์ ไปที่พักโรงแรม ทานข้าว นอน พรุ่งนี้ไปต่ออีก ... ยังต้องเดินทางกันต่อไปอีก
วันที่ 5 ( 2 Jan,2020) Jaisalmer-Bikaner ( 330 km )
หลังจากออกจากโรงแรมก็เดินทางไปป้องจัยเชลเมอร์ อยู่ไม่ไกลจากโรงแรม ประมาณ 10 min ก็เดินทางถึง ป้อมปราการจัยแซลเมียร์ (Jaisalmer Fort) ในเมืองจัยแซลเมียร์คือป้อมปราการจัยแซลเมียร์เป็นป้อมที่มีขนาดใหญ่ซึ่งในปัจจุบันยังมีประชาชนอาศัอยอยู่ มากกว่าห้าพันครัวเรือน ป้อมนี้สร้างขึ้นโดย Bhatti Rajput rule Rawal Jaisalในปี ค.ศ. 1156 บนเขาทิตรีกูฏ โดยป้อมนี้ถือเป็นป้อมลำดับที่สอง ของรัฐราชาสถาน เป็นป้อมท่ามกลางทะเลทราย ภายในเป็นที่พักอาศัยมานับร้อยปีป้อมนี้ผานศึกสงครามมามากมายรอบๆป้อมยังมีหอรบ( Bastions)ถึง 99 หอ โดยศัตรูหลักของเมืองคือ บรรดาราชปุตของนครต่างๆ รวมถึงจักรพรรดิอัคบาร์แห่งโมกุล ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นเขยของเมืองนี้ไปในที่สุด ปัจจุบันป้อมจัยแซลเเมียร์เป็นป้อมแห่งเดียวในอิเดียที่มีผู้คนอาศัยอยู่ด้านบน ที่นี่มีบ้านเรือน วัด โรงแรม ร้านอาหาร ร้านขายสินค้า ไม่ต่างจากเมืองเมืองหนึ่ง โดยส่วนที่ต่ำจากป้อมลงมาด้านล่างก็ยังถือว่าเป็นเขตเมือง มีบรรยากาศไม่ต่างจากข้างบนเท่าไรนัก ข้างบนมีซอยซอกแซกไปมา มีทั้งวัดเชนที่สวยงามและคฤหาสถ์ของเศรษฐีในสมัยก่อนมีเสน่ห์ไม่เบาคะ ป้อมนี้เปิดให้ชมตลอด 24 ชั่วโมงมีประตูทางเข้าเป็นชั้นๆอยู่ 4 ชั้นด้วยกันคะ มีร้านขายของที่ระลึกอยู่ตลอดและที่ป้อมยังมีจุดชมวิวนครสีทองที่สวยามอีกจุดหนึ่งด้วยคะ เมื่อเราเดินมาถึงลาน Dussehra Chowk เป็นลานเอนกประสงค์ที่ในอดีตใช้เป็นจุดตั้งแถวทาร จัดงานพิธี หรือ แม้แต่ให้ชาวบ้านมาร้องทุกข์ ลานนี้ยังตั้งอยู่ตรงหน้าพระราชวัง Maharaja's Palace
ทะเลสาบกาดซิซาร์ (Gadsisar Lake) โอเอซิสขนาดมหึมาท่ามกลางทะเลที่สร้างโดยมหาราชาวาลกาดซี ราว ค.ศ.ที่ 14 ซึ่งทะเลสาบนี้เป็นแหล่งน้ำที่สำคัญของเมืองจัยแซลเมียร์ รอบๆ ทะเลสาบจะมีวัดเล็กๆ ในช่วงฤดูหนาวจะได้พบเห็นนก นานาชนิดโดยรอบทะเลสาบ รอบๆ ทะเลสาบจะมีวัดและอนุสรณ์สถานเล็กๆ สีเหลืองทองอร่าม ในอดีตด ทะเลสาบแห่งนี้เป็นแหล่งน้ำสำคัญของเมือง แต่ปัจจุบัน ใช้เป็นสถานที่จัดงานประเพณี “กานกัวร์” (Gangaur) ซึ่งจัดขึ้นในเดือน มีนาคม-เมษายน ของทุกปี โดยมีมหาราวัลของจัยแซลเมียร์เป็นผู้ทำนำพิธีด้วยตัวเอง ซึ่งประเพณีนี้ หญิงโสดจะโยนดอกไม้ลงไปในทะเลสาบและอธิษฐานขอคู่ชีวิตที่ดีๆ
เดินทางสู่บีคาร์เนอร์ รับประทานอาหารระหว่างทาง ชมเมืองบิคาร์เนอร์ และ บ้านเสนาบดี ( พ่อค้า มหาเศรษฐี ที่ร่ำรวยจากการค้า บนเส้นทางสายไหม)
เดินทางเข้าที่พัก โรงแรม
วันที่ 6 ( 3 Jan,2020) Bikaner- Shekhawati - Delhi ( 514 km )
เดินทางเข้าชมป้อมบีคาร์เนอร์ แล้วเดินทางไปมันดาวา( เมือง Shekhawati ) วันนี้เป็นอีกวันที่เดินทางไกลมากกว่าจะถึง Delhi 1.30 am ใครจะกินข้าที่ห้องอาหารได้ เรารีบขึ้นนอนพรุ่งนี้ต้องตื่น 04.00 am เดินทางไปสนามบิน 5.00 am จบทริปนี้สนุกสนานแต่เป็นการท่องเที่ยวที่ไกลมากเกินไป
ขอขอบคุณทุกท่านที่เป็นร่วมทางในทริปนี้ ทุกคนทรหดอดทนมาก ตื่นแต่มืด นอนเที่ยงคืนตีหนึ่ง หากมีโอกาสคงได้มาอีกราชสถาน แต่คงจะมาแบบช้า ๆ อาจเดินทางด้วยตนเอง
อย่างไรก็ตาม อาจมีรูปที่ผิดพลาดกับสถานที่ด้วยต้องขออภัยเป็นอย่างยิ่ง เพราะมีเหตุหลายอย่าง อาทิ โทรศัพท์ของตัวเองไม่รู้เป็นอย่างไร อากาศหนาวมากเปิดเครื่องปุ๊ปแบตหมดปั๊ป ต้องอาศัยเพื่อนตลอด ข้อจำกัดเรื่องรูปถ่ายอีก ... เพราะต้องเลือกรูปเฉพาะไม่ให้ติดคนอื่น Good Bye ...See you again...[/l
Rajasthan India เที่ยวราชสถาน (ตอนที่ 4)
“เมห์รันการ์” (MEHRANGARH)อยู่ห่างจากตัวเมือง 5 กิโลเมตร เห็นเด่นเป็นสง่าบนเนินเขาสูง ประมาณ 400 ฟุต เป็นป้อมปราการขนาดใหญ่ที่มีกำแพงหินหนา 68 ฟุต ความสูงบางช่วง 117 ฟุต ล้อมรอบตัววังยาวเกือบ 10 กิโลเมตร สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ประทับของมหาราชา สถานที่แห่งนี้ถือกำเนิดขึ้นมาพร้อมกับการสร้างเมือง เพราะก่อสร้างโดยมหาราชา ราโอ จอดา ป้อมนี้สร้างขึ้นด้วย หินทรายสีแดง ที่ผ่านการแกะเกลาสลักหินทรายอย่างวิจิตร
ป้อมเมห์รันการ์นี้ ภายในตกแต่งประดับประดาด้วยแก้วหลากสี แบ่งเป็นห้องหรือท้องพระโรงขนาดใหญ่อีกหลายแห่ง ห้องที่มีชื่อเสียงและจัดเป็นไฮไลท์ต้องยกให้ ห้องไข่มุก (MOTI MAHAL) ที่มีกระจกแก้วหลากสีประดับวิจิตรยิ่ง นอกจากนี้ที่เมร์รันการ์ยังมีพื้นที่สำหรับจัดแสดงเป็นพิพิธภัณฑ์ ห้องแสดงอาวุธและเครื่องรบอุปกรณ์สมัยโบราณ รวมตลอดไปจนถึงเครื่องใช้ส่วนตัวของมหาราชาจัดแสดงไว้ให้ชมอีกด้วย
ทะเลทรายล้อมรอบด้วยทิวเขาอะราวัลลีทางด้านตะวันออก แม่น้ำคงคาทางด้านตะวันตก แม่น้ำสัตเลชทางด้านเหนือ และทะเลอาหรับทางด้านใต้ แต่การเดินทางด้วยความเร็วเพียง 60-80 km/h กว่าจะถึงทะเลทรายธาร์ขี่อูฐพระอาทิตย์ก็เกือบลับขอบฟ้าแล้ว ต้องบอกว่ามันโค-ตะ-ระ หนาวเลย ..เห็นพวกชาวทะเลทรายแล้วหนาวแทนมากเลย...แต่พวกเราก็ต้องทำตามโปรแกรม เพราะไม่มีเวลาแล้ว...การขี่อูฐกับขี่ม้า ก็คล้าย ๆ กัน คือเมื่อยมาก... พรุ่งนี้ต้องเดินทางอีกไกลมากกกก....