ขอออกตัวก่อนนะครับ ผมไม่ได้มาสอน แต่จุดประสงค์คือแบ่งปันข้อมูลที่ผมศึกษาจดโน๊ตไว้ นานแล้ว รูปแบบใหม่ ๆ ไม่มี จะมีแต่แบบฉบับเดิม ๆ ผิดพลาดประการใด ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย ไม่ว่ากันนะครับ ท่านใดขั้นเทพแล้ว ผ่านเลยนะครับ
- คลื่นเอลเลียต ขาขึ้น (5 คลื่น ) 1 2 3 4 5 ขาลง (3 คลื่น ) a b c มักจะใช้ ฟิโบนาชี่ มาประกอบ เพื่อหาคลื่นลูกถัดไป (ฟิโบนาชี่ ตัวเลขพิศดาร 0,1,3,5,8,13,21… เอาตัวเลขติดกันบวกกันเป็นเลขต่อไป เอาตัวเลขหน้าหลังมาหารกันจะได้เลข 1.618 กับ 0.618 เอา 1 ไปลบ 0.618 จะได้เลข 0.382 )
จะยกตัวอย่างคลื่นที่เป็นแนวโน้มขึ้นอย่างเดียวนะครับ ส่วนแนวโน้มลงก็ทำตรงกันข้าม ถ้าอธิบายแนวโน้วลง มันจะงง ๆนิดนึงน่ะครับ
ขาขึ้น จากจุดเริ่มต้น C ไปคลื่นลูกที่ 1 แล้ว
คลื่นลูกที่ 2 จะปรับตัวลง 0.618 เท่า ของคลื่น 1 จะไม่ลงถึง C (จุดเริ่มต้น)
คลื่นลูกที่ 3 จะปรับตัวขึ้น 1 เท่า หรือ 1.618 เท่า ของคลื่นลูกที่ 1
คลื่นลูกที่ 4 จะปรับตัวลง 0.382 เท่า หรือ 0.618 เท่า ของคลื่นลูกที่ 3 (4 จะไม่ต่ำกว่า 2 สูงกว่า 1 ยิ่งดี)
คลื่นลูกที่ 5 จะปรับตัวขึ้น 0.618 เท่า หรือ 1 เท่า ของคลื่นลูกที่ 3 หรือ 1.618 เท่า ของ คลื่น1-3
ขาลง
คลื่น a จะปรับตัวลง เท่ากับคลื่นลูกที่ 3 แต่ไม่ต่ำกว่า คลื่นที่ 4
คลื่น b จะปรับตัวขึ้น เท่ากับ 0.618 เท่า ของคลื่น a
คลื่น c จะปรับตัวลง เท่ากับ 1.618 เท่า ของคลื่น a หรือ ต่ำกว่าคลื่น a 0.618 เท่าของความยาวคลื่น a
อธิบายคร่าว ๆ ง่าย ๆ นะครับ
คลื่นลูกที่ 1 เป็นระยะสะสมหุ้น ยังไม่มั่นใจ
คลื่นลูกที่ 2 เป็นขายขายทำกำไร
คลื่นลูกที่ 3 เป็นระยะที่นักลงทุนมีความมั่นใจเข้ามาซื้อหุ้นอย่างต่อเนื่อง มากขึ้น ๆ
คลื่นลูกที่ 4 เป็นการขายจากกำไรที่ได้ตามต้องการ
คลื่นลูกที่ 5 เป็นระยะมั่นใจมาก โลภ แย่งกันซื้อหุ้น
คลื่นลูก a เป็นการขายทำกำไรจากการการแย่งกันซื้อ นักลงทุนเริ่มรู้สึก หุ้นแพงเกินไป
คลื่นลูก b เป็นการซื้อเพื่อเก็งกำไร มีความหวัง ว่าหุ้นยังไม่จบ
คลื่นลูก c นักลงทุนขายหุ้นกันหมดแล้ว รับรู้ข่าวกันหมดแล้ว หุ้นกลับสู่กลไกลตลาด
การซื้อ-ขาย หุ้น ในแต่ละคลื่น
1 เริ่มจาก c ซื้อ 10 คงเหลือ 10
คลื่น 1 ขาย 9 เหลือ 1
2 คลื่น 2 ซื้อ 5 คงเหลือ 6 แต่ถ้าหุ้นลงต่ำกว่า 0.618 เท่า หรือ ต่ำกว่า low เดิม ให้ขายหมด
3 คลื่น 3 ซื้อ 4 คงเหลือ 10 ซื้อเมื่อสูงกว่าคลื่น 1
ขาย 7 เหลือ 3 ขายเมื่อสูงเท่ากับ คลื่น 1 1.618 เท่า (ขาย 3 เหลือ 0 เมื่อสูงกว่า คลื่น 1 1.618 เท่า)
4 คลื่น 4 ซื้อ 3 คงเหลือ 6 (เมื่อคลื่น 3 มา ลงมาคลื่น 4 0.618 เท่า แต่ถ้าต่ำกว่า คลื่น 1 ให้ขายหมด
ซื้อ 2 คงเหลือ 8 เมื่อสูงกว่า คลื่น 3
5 คลื่น 5 ผมไม่มีบันทึกไว้ ^_^
ปริมาณการซื้อ-ขาย ในแต่ละคลื่น
-คลื่น 2 วอลุ่มต้องน้อยกว่า คลื่น 1
-คลื่น 3 วอลุ่มจะมากสุด
-คลื่น 4 วอลุ่มน้อยกว่า คลื่น3 แต่มากกว่า คลื่น 2
การเริ่มต้นนับคลื่น จะทำให้เรามองเห็นแนวโน้มของหุ้นในช่วงนั้น ๆ ได้ ว่าอยู่ในแนวโน้มขึ้นหรือแนวโน้มลง เพื่อช่วยประกอบการตัดสินใจในการลงทุน
การนับคลื่น (แนวโน้มขึ้น) จะเริ่มจากจุดต่ำสุด ของช่วงที่เรานับก่อนให้เป็นจุด c แล้วเริ่มต้นเป็นคลื่นลูกที่ 1
ถ้าคลื่นเป็นแนวโน้มลง ก็ให้นับตรงกันข้ามกับขาขึ้นนะครับ แต่ทางที่ดีควรหยุดพักไปเลย หรือลงทุนให้น้อยที่สุด จนกว่าเราจะเห็นคลื่น c ที่กำลังจะเป็นคลื่น 1 ของแนวโน้มขาขึ้นครับ
“ไม่มีคำว่าแพง ถ้าหุ้นยังอยู่ในแนวโน้มขึ้น และ ไม่มีคำว่าถูก ถ้าหุ้นยังอยู่ในแนวโน้มลง”
ส่วนตัวผมจะไม่นับคลื่นครับ แต่จะมองคลื่นเป็นแนวโน้มขึ้นหรือแนวโน้มลง
มีภาพประกอบ CR.จากอีไฟแนนซ์ ผมตัดมาบางส่วน ให้ดูว่า ถ้าเห็นกราฟลักษณะนี้แล้ว จะมองอย่างไร นับคลื่นอย่างไร จะนับให้ หรือคิดไว้ในใจก็ได้ครับ
แล้วผมจะเอาภาพจริง มาเฉลยให้ดู
ป.ล. สนุก สนุก นะครับ ไม่มีใครถูก ไม่มีใครผิด หรอก อย่าว่ากันละกัน
ทฤษฎีคลื่นเอลเลียต
- คลื่นเอลเลียต ขาขึ้น (5 คลื่น ) 1 2 3 4 5 ขาลง (3 คลื่น ) a b c มักจะใช้ ฟิโบนาชี่ มาประกอบ เพื่อหาคลื่นลูกถัดไป (ฟิโบนาชี่ ตัวเลขพิศดาร 0,1,3,5,8,13,21… เอาตัวเลขติดกันบวกกันเป็นเลขต่อไป เอาตัวเลขหน้าหลังมาหารกันจะได้เลข 1.618 กับ 0.618 เอา 1 ไปลบ 0.618 จะได้เลข 0.382 )
จะยกตัวอย่างคลื่นที่เป็นแนวโน้มขึ้นอย่างเดียวนะครับ ส่วนแนวโน้มลงก็ทำตรงกันข้าม ถ้าอธิบายแนวโน้วลง มันจะงง ๆนิดนึงน่ะครับ
ขาขึ้น จากจุดเริ่มต้น C ไปคลื่นลูกที่ 1 แล้ว
คลื่นลูกที่ 2 จะปรับตัวลง 0.618 เท่า ของคลื่น 1 จะไม่ลงถึง C (จุดเริ่มต้น)
คลื่นลูกที่ 3 จะปรับตัวขึ้น 1 เท่า หรือ 1.618 เท่า ของคลื่นลูกที่ 1
คลื่นลูกที่ 4 จะปรับตัวลง 0.382 เท่า หรือ 0.618 เท่า ของคลื่นลูกที่ 3 (4 จะไม่ต่ำกว่า 2 สูงกว่า 1 ยิ่งดี)
คลื่นลูกที่ 5 จะปรับตัวขึ้น 0.618 เท่า หรือ 1 เท่า ของคลื่นลูกที่ 3 หรือ 1.618 เท่า ของ คลื่น1-3
ขาลง
คลื่น a จะปรับตัวลง เท่ากับคลื่นลูกที่ 3 แต่ไม่ต่ำกว่า คลื่นที่ 4
คลื่น b จะปรับตัวขึ้น เท่ากับ 0.618 เท่า ของคลื่น a
คลื่น c จะปรับตัวลง เท่ากับ 1.618 เท่า ของคลื่น a หรือ ต่ำกว่าคลื่น a 0.618 เท่าของความยาวคลื่น a
อธิบายคร่าว ๆ ง่าย ๆ นะครับ
คลื่นลูกที่ 1 เป็นระยะสะสมหุ้น ยังไม่มั่นใจ
คลื่นลูกที่ 2 เป็นขายขายทำกำไร
คลื่นลูกที่ 3 เป็นระยะที่นักลงทุนมีความมั่นใจเข้ามาซื้อหุ้นอย่างต่อเนื่อง มากขึ้น ๆ
คลื่นลูกที่ 4 เป็นการขายจากกำไรที่ได้ตามต้องการ
คลื่นลูกที่ 5 เป็นระยะมั่นใจมาก โลภ แย่งกันซื้อหุ้น
คลื่นลูก a เป็นการขายทำกำไรจากการการแย่งกันซื้อ นักลงทุนเริ่มรู้สึก หุ้นแพงเกินไป
คลื่นลูก b เป็นการซื้อเพื่อเก็งกำไร มีความหวัง ว่าหุ้นยังไม่จบ
คลื่นลูก c นักลงทุนขายหุ้นกันหมดแล้ว รับรู้ข่าวกันหมดแล้ว หุ้นกลับสู่กลไกลตลาด
การซื้อ-ขาย หุ้น ในแต่ละคลื่น
1 เริ่มจาก c ซื้อ 10 คงเหลือ 10
คลื่น 1 ขาย 9 เหลือ 1
2 คลื่น 2 ซื้อ 5 คงเหลือ 6 แต่ถ้าหุ้นลงต่ำกว่า 0.618 เท่า หรือ ต่ำกว่า low เดิม ให้ขายหมด
3 คลื่น 3 ซื้อ 4 คงเหลือ 10 ซื้อเมื่อสูงกว่าคลื่น 1
ขาย 7 เหลือ 3 ขายเมื่อสูงเท่ากับ คลื่น 1 1.618 เท่า (ขาย 3 เหลือ 0 เมื่อสูงกว่า คลื่น 1 1.618 เท่า)
4 คลื่น 4 ซื้อ 3 คงเหลือ 6 (เมื่อคลื่น 3 มา ลงมาคลื่น 4 0.618 เท่า แต่ถ้าต่ำกว่า คลื่น 1 ให้ขายหมด
ซื้อ 2 คงเหลือ 8 เมื่อสูงกว่า คลื่น 3
5 คลื่น 5 ผมไม่มีบันทึกไว้ ^_^
ปริมาณการซื้อ-ขาย ในแต่ละคลื่น
-คลื่น 2 วอลุ่มต้องน้อยกว่า คลื่น 1
-คลื่น 3 วอลุ่มจะมากสุด
-คลื่น 4 วอลุ่มน้อยกว่า คลื่น3 แต่มากกว่า คลื่น 2
การเริ่มต้นนับคลื่น จะทำให้เรามองเห็นแนวโน้มของหุ้นในช่วงนั้น ๆ ได้ ว่าอยู่ในแนวโน้มขึ้นหรือแนวโน้มลง เพื่อช่วยประกอบการตัดสินใจในการลงทุน
การนับคลื่น (แนวโน้มขึ้น) จะเริ่มจากจุดต่ำสุด ของช่วงที่เรานับก่อนให้เป็นจุด c แล้วเริ่มต้นเป็นคลื่นลูกที่ 1
ถ้าคลื่นเป็นแนวโน้มลง ก็ให้นับตรงกันข้ามกับขาขึ้นนะครับ แต่ทางที่ดีควรหยุดพักไปเลย หรือลงทุนให้น้อยที่สุด จนกว่าเราจะเห็นคลื่น c ที่กำลังจะเป็นคลื่น 1 ของแนวโน้มขาขึ้นครับ
“ไม่มีคำว่าแพง ถ้าหุ้นยังอยู่ในแนวโน้มขึ้น และ ไม่มีคำว่าถูก ถ้าหุ้นยังอยู่ในแนวโน้มลง”
ส่วนตัวผมจะไม่นับคลื่นครับ แต่จะมองคลื่นเป็นแนวโน้มขึ้นหรือแนวโน้มลง
มีภาพประกอบ CR.จากอีไฟแนนซ์ ผมตัดมาบางส่วน ให้ดูว่า ถ้าเห็นกราฟลักษณะนี้แล้ว จะมองอย่างไร นับคลื่นอย่างไร จะนับให้ หรือคิดไว้ในใจก็ได้ครับ
แล้วผมจะเอาภาพจริง มาเฉลยให้ดู
ป.ล. สนุก สนุก นะครับ ไม่มีใครถูก ไม่มีใครผิด หรอก อย่าว่ากันละกัน