พระพุทธศาสนาได้เข้ามาสู่ประเทศไทยเป็นเวลาเกือบพันปีแล้ว และในปัจจุบันประเทศไทยนั้น ได้ชื่อว่าเป็นดินแดนที่พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองที่สุดในโลก เพราะประชาชนเกือบทั้งประเทศเป็นพุทธศาสนิกชน ผู้ให้การทำนุบำรุง ตลอดจนปฏิบัติศาสนธรรมอย่างสม่ำเสมอ
แต่ดูเหมือนว่าพุทธศาสนิกชนชาวไทยยังขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง เกี่ยวกับคำสอนอันเป็นหลักสำคัญในพระพุทธศาสนาอยู่ไม่น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งคำสอนเกี่ยวกับเรื่อง “ธรรมกาย” ทั้งๆ ที่เรื่องนี้มีปรากฏหลักฐานทั้งในพระไตรปิฎก และคัมภีร์สำคัญๆ ในพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทของเราหลายแห่ง กล่าวคือ ในพระไตรปิฎก ๔ แห่ง ในอรรถกถา ๒๘ แห่ง ในฎีกา ๗ แห่ง ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค ๒ แห่ง ในวิสุทธิมรรคมหาฎีกา ๓ แห่ง ในคัมภีร์มิลินทปัญหา ๑ แห่ง ในหนังสือปฐมสมโพธิกถา ๑ แห่ง ในหนังสือพระสมถวิปัสสนาแบบโบราณ ๑ แห่ง และนอกจากนี้ยังพบที่หลักศิลาจารึก ที่พบในประเทศไทยอีก ๓ แห่ง
คำว่า "ธรรมกาย" นอกจากจะปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎกอยู่จำนวนหนึ่งแล้ว ยังปรากฏอยู่มากมายในคัมภีร์ และพระสูตรทางพระพุทธศาสนามากมายในต่างประเทศ ทั้งนี้เพราะประเทศไทยมิใช่ประเทศเดียวที่นับถือพระพุทธศาสนา พระไตรปิฎกจึงมิได้เป็นเอกสารทางพระพุทธศาสนาเพียงชิ้นเดียวที่เพียงพอจะพิสูจน์ทั้งหมดของพระพุทธศาสนาได้ และเช่นเดียวกัน ถ้าหากจะกล่าวว่า ธรรมกายเป็นของพุทธฝ่ายมหายาน มิได้เป็นของฝ่ายเถรวาท ก็ไม่ได้เช่นกัน เพราะธรรมกายปรากฏอยู่เด่นชัดมาก่อนเกิดการแบ่งแยกออกเป็นสงฆ์ฝ่ายมหาสังฆิกะกับเถรวาทเสียด้วยซ้ำ ที่อ้างได้เช่นนี้เพราะว่าใน “อโศกวัฒนะ” อันเป็นตำนานอันยิ่งใหญ่ของมหาธรรมราชาอโศกมหาราชพระองค์นี้ ได้กล่าวถึงคำว่าธรรมกายและภาวะแห่งธรรมกายไว้ชัดเจน ว่า
พระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นต้องประกอบด้วยกายสำคัญ ๒ กาย คือ
๑.พระรูปกาย หมายถึง กายที่มีลักษณะครบถ้วนตามลักษณะของพระมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ
๒.พระธรรมกาย คือ กายภายในที่เกิดจากการตรัสรู้ธรรมของพระองค์
ดังนั้น "พระธรรมกาย" เป็นเรื่องจริง ของจริง มีจริง และเป็นแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาเลยทีเดียว เพราะเจ้าชายสิทธัตถะต้องประกอบด้วยสองกายสำคัญนี้ถึงจะตรัสรู้เป็น “พระสัมมาสัมพุทธเจ้า” ได้
การสร้างพุทธเจดีย์ของพระเจ้าอโศก ก็มุ่งสร้างเพื่อบูชา ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ และเพื่อบูชาพระธรรมกายด้วย โดยการสร้างเจดีย์ทรงกลมขึ้นมาแทนดวงธรรม อันหมายถึง “ธรรมกาย” และแทนพระรูปกายด้วยพระสรีรังคาร จึงพอที่จะพิสูจน์ได้ว่าธรรมกายมีมานานแล้ว และเป็นที่รู้จักเข้าใจดีในสมัยนั้น และยังเข้าถึงได้อีกด้วย เช่น พระดำรัสของพระเจ้าอโศกมหาราชที่ว่า ทรงทำสมาธิเข้าไปเห็น เข้าเฝ้าพระพุทธองค์ด้วยการผ่านการเห็นของพระธรรมกาย (By the vision of Dharmakaya) คำนี้เท่ากับเป็นการตอกย้ำอีกด้วยว่า พระเจ้าอโศกมหาราชเองก็ทรงเข้าถึงสภาวะแห่งธรรมเบื้องต้น ด้วยการปฏิบัติธรรม
จากการศึกษาพบว่า สายการสอนการเผยแผ่พระพุทธศาสนานั้นมีพระสงฆ์นิกายหนึ่งซึ่งต่อตรงมาจากพระมหากัสสปะ และพระอานนท์พุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่า “สรวาสติวาท” (Saravastivada) หรือที่เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “พระไวภาษิก” (Vaipasika) ซึ่งเป็นการเรียนการสอนที่พระอุปคุปตะ พระอรหันต์คู่พระทัยของพระเจ้าอโศกมหาราชได้รับการถ่ายทอดมา ดังนั้นที่ปรากฏมีกล่าวถึง "ธรรมกาย" ในอโศกวัฒนะ และธรรมกายในการสร้างพุทธเจดีย์ จึงเป็นสิ่งที่พระเจ้าอโศกมหาราชทรงได้รับการสั่งสอนจากพระอุปคุปตะ ผู้เป็นศิษย์ของสรวาสติวาท เท่ากับสรุปได้ว่า พระในสรวาสติวาทเป็นพระที่รู้และเข้าใจเรื่องธรรมกายเป็นอย่างดี จึงสามารถสอนศิษย์ผู้กล้าแข็ง เช่น พระเจ้าอโศกมหาราชให้ทรงยอมรับ และเข้าพระทัยในความเป็นธรรมกายอย่างซาบซึ้งได้เช่นนี้
ณ จุดนี้ทำให้สามารถมองย้อนขึ้นไปได้ว่า เมื่อพระเจ้าอโศกมหาราช เข้าถึง รู้จัก เข้าใจธรรมกายโดยการสอนของพระอุปคุปตะ สายสรวาสติวาท ดังนั้นสรวาสติวาทย่อมรู้จัก และเข้าใจธรรมกาย ส่วนพระในสรวาสติวาทนั้นเองเล่า ก็เป็นศิษย์ของพระอานนท์พุทธอุปัฏฐาก ดังนั้น พระอานนท์จึงย่อมรู้จักและเข้าใจในธรรมกายดี อีกทั้งพระอานนท์เองก็เรียนรู้มาอีกทีจากพระมหากัสสปะพระอรหันต์เถระในช่วงพุทธกาล จึงเท่ากับเป็นการพิสูจน์ได้แล้วว่า ธรรมกายนั้นมีมาเนิ่นนานนับเนื่องจากพุทธกาลเป็นต้นมา ธรรมกายจึงมิได้เป็นของฝ่ายมหายาน ฝ่ายเถรวาทหรือฝ่ายใดทั้งสิ้น แต่ธรรมกายกลับเป็นทั้งหมดของพระพุทธศาสนาที่ถูกนำมาสอนถ่ายทอดกันต่อๆ มาอีกนับร้อยปี
แม้ในประเทศศรีลังกา ประเทศที่พุทธศาสนิกชนชาวไทยถือว่าเป็นต้นกำเนิดของเถรวาทในเมืองไทย ก็เป็นพระพุทธศาสนาที่รับการเผยแผ่โดยตรงมาจากพระเจ้าอโศกมหาราช ธรรมกายจึงเป็นที่เข้าใจดีในหมู่พุทธศรีลังกา มิฉะนั้นในสมัยพระมงคลเทพมุนีหลวงพ่อวัดปากน้ำภาษีเจริญ พระชาวศรีลังกาจำนวนมากมายคงจะไม่มุ่งหน้าเข้ามาศึกษา หากว่าท่านเหล่านั้นไม่คุ้นเคยและไม่รู้จักคำว่า "ธรรมกาย" มาก่อน
ส่วนการสร้างเจดีย์ ตามประวัติศาสตร์ต่างพบว่าเจดีย์สำคัญหลายต่อหลายแห่งสร้างเพื่อเป็นอนุสรณ์กับพระธรรมกาย เป็นสัญลักษณ์แห่งธรรมกาย เช่น “บุโรพุทโธ” หรือ “บรมพุทโธ” พุทธเจดีย์อันยิ่งใหญ่ที่นักวิชาการเชิงพุทธพยายามจะหาคำอธิบาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับคำว่า "The Dharmakaya Stupa"
นอกจากนี้บรมพุทโธยังเป็นที่มาของ "รูปปั้นนักรบในกรง" ที่ชาวบ้านมุสลิมกล่าวถึงเมื่อเห็นบรมพุทโธครั้งแรกและไม่รู้ว่ารูปปั้นเหล่านั้นคือใคร อันเป็นความเข้าใจเฉกเช่นเดียวกันกับเมื่อครั้งที่นักรบมุสลิมเติร์กเข้าโจมตีมหาวิทยาลัยสงฆ์นาลันทาแห่งแคว้นมคธ นักรบมุสลิมก็เข้าใจว่านาลันทาคือป้อมทหาร และนักรบผู้โกนศีรษะห่มเหลืองก็นั่งสมาธิยอมจำนนโดยแทบไม่มีการต่อต้าน
การศึกษาบรมพุทโธนั้น ผู้ที่ได้ชื่อว่าศึกษามากที่สุดคือ “พอล มุส” (Paul Mus) ผู้ให้นิยามการสร้างบรมพุทโธว่าเป็น “The Theory of Dharmakaya” เลยทีเดียว โดย ณ จุดนี้ คือความเจริญรุ่งเรืองอย่างเห็นได้ชัดในหลักฐานของศึกสามนครของไทยเรา คำว่า “ธรรมกาย” ก็ยังคงมี และยังคงดำเนินด้วยดีอยู่ใน “ศรีวิชัย” อาณาจักรที่เรืองอำนาจหนักหนาในเส้นทางการค้าเครื่องเทศ หรือเส้นทางสายไหมทางทะเล เป็นจุดที่พระจีนเมื่อจะเดินทางไปศึกษาต่อในนาลันทา ต้องมาพักเพื่อการเรียนภาษาสันสกฤตที่นี่ และสำหรับนาลันทานั้นเป็นพุทธมหาวิทยาลัยยิ่งใหญ่ที่ไม่มีใครปฏิเสธได้ และคำว่าธรรมกายก็มีที่นั่น และจะต้องมีมากมาย มิฉะนั้น จีนกับทิเบตจะเอาคำว่าธรรมกายไปจากไหน ในเมื่อพระส่วนใหญ่ของจีนจบไปจากนาลันทา
ย้อนกลับมาที่พระเจ้ากนิษกะมหาราช กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่เชิ้อสายซินเถียน-Scythian (ชาวอินเดียรู้จักชนเผ่านี้ในชื่อว่า ศกะ-Sakas) ผู้ทำการสังคายนาพระพุทธศาสนาอีกครั้งก่อนส่งเข้าไปในจีนและกัสมิระ (แคชเมียร์) กษัตริย์พระองค์นี้ทรงเป็นลูกศิษย์ของพระสรวาสติวาทด้วยเหมือนกัน จึงเป็นการยืนยันได้ว่าการสังคายนาครั้งนั้น คำว่าธรรมกายเข้มข้นขึ้นกว่าเดิม เพราะเป็นพระพุทธศาสนาในกัสมิระ ทิเบตและจีนนั้นมีคำว่าธรรมกายอยู่มากมาย ถ้าไม่ถูกส่งไปจากพระเจ้ากนิษกะมหาราชแล้วจะมาจากไหน จึงพิสูจน์ได้อีกชั้นหนึ่งว่า ธรรมกายมีอยู่อย่างเฉิดฉายในสมัยพระเจ้ากนิษกะมหาราชแห่งอินเดียตอนเหนือผู้เรืองนาม ผู้ดำรงพระชนม์ชีพอยู่ประมาณพุทธศักราช ๕๐๐-๖๐๐
ถ้าจะให้นิยามคำว่าธรรมกายนั้นก็สามารถหาได้จากหนังสือมากมายที่ค้นคว้าและเขียนไว้โดยนักวิชาการเชิงพุทธชาวตะวันตก เช่น Adrian Snodgrass นักเจดีย์วิทยาคนเดียวของโลก DT. Suzuki, Dwight Goddard, Austin Waddell, Alan W. Watt. หรือที่จะพอดูกันได้ง่ายๆ ใน Shambhala Dictionary ที่ให้คำแปล หรือให้นิยามธรรมกายไว้ว่า
"The Dharmakaya (body of the great order) : is the unity of the Buddha with everything existing. At the same time is represents the LAW (dharma) the teaching expounded by the Buddha"
ซึ่งแปลใจความได้ว่า
“ธรรมกาย คือ การรวบรวมเข้าไว้ซึ่งมวลแห่งธรรมที่สามารถเข้าถึงได้ และในขณะเดียวกัน ธรรมกายยังหมายถึง ธรรมะที่เป็นคำสอนของพระพุทธองค์อีกด้วย”
“วิชชาธรรมกาย” บรมศาสตร์แห่งพระพุทธศาสนา
แต่ดูเหมือนว่าพุทธศาสนิกชนชาวไทยยังขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง เกี่ยวกับคำสอนอันเป็นหลักสำคัญในพระพุทธศาสนาอยู่ไม่น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งคำสอนเกี่ยวกับเรื่อง “ธรรมกาย” ทั้งๆ ที่เรื่องนี้มีปรากฏหลักฐานทั้งในพระไตรปิฎก และคัมภีร์สำคัญๆ ในพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทของเราหลายแห่ง กล่าวคือ ในพระไตรปิฎก ๔ แห่ง ในอรรถกถา ๒๘ แห่ง ในฎีกา ๗ แห่ง ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค ๒ แห่ง ในวิสุทธิมรรคมหาฎีกา ๓ แห่ง ในคัมภีร์มิลินทปัญหา ๑ แห่ง ในหนังสือปฐมสมโพธิกถา ๑ แห่ง ในหนังสือพระสมถวิปัสสนาแบบโบราณ ๑ แห่ง และนอกจากนี้ยังพบที่หลักศิลาจารึก ที่พบในประเทศไทยอีก ๓ แห่ง
๑.พระรูปกาย หมายถึง กายที่มีลักษณะครบถ้วนตามลักษณะของพระมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ
๒.พระธรรมกาย คือ กายภายในที่เกิดจากการตรัสรู้ธรรมของพระองค์
ดังนั้น "พระธรรมกาย" เป็นเรื่องจริง ของจริง มีจริง และเป็นแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาเลยทีเดียว เพราะเจ้าชายสิทธัตถะต้องประกอบด้วยสองกายสำคัญนี้ถึงจะตรัสรู้เป็น “พระสัมมาสัมพุทธเจ้า” ได้
ซึ่งแปลใจความได้ว่า
“ธรรมกาย คือ การรวบรวมเข้าไว้ซึ่งมวลแห่งธรรมที่สามารถเข้าถึงได้ และในขณะเดียวกัน ธรรมกายยังหมายถึง ธรรมะที่เป็นคำสอนของพระพุทธองค์อีกด้วย”