เป็นคนที่เดินทางด้วยรถยนต์เป็นส่วนใหญ่
แต่เมื่อผ่านสถานีรถไฟที่ทำให้รู้สึกว่าน่าไปดูหน่อยนะ
จึงเป็นที่มาของการเก็บสะสมภาพสถานีรถไฟต่าง ๆ ไว้
ตั้งอยู่ที่ตำบลหินดาด อำเภอห้วยแถลง
หินดาด เพี้ยนมาจากคำว่า หินลาด ซี่งทั่วบริเวณหมู่บ้าน เมื่อขุดลงไปประมาณเมตรเศษๆ ก็จะพบแต่หินแดงเป็นชั้นๆ เป็นจำนวนมาก
อยู่ในอำเภอห้วยแถลง มีลำห้วยชื่อห้วยแถลง อ่านว่า ถะ-แหลง
สันนิษฐานว่ามาจากคำว่า แถล ภาษาถิ่นอิสาน แปลว่า ลาดเอียง เช่น แถล+ขึ้น หมายถึง ลาดขึ้น แถล +ลง หมายถึง ลาดลง
พนักงานบนรถ ส่งห่วงให้นายสถานีข้างล่าง
แล้วคว้าอันใหม่ไป
จอด 1 นาที
ที่ วัดอุทัยมัคคาราม บ้านหินดาด
ประดิษฐานหลวงพ่อศรีหรือพระพุทธศรีพิทักษ์ชน พระพุทธรูปสมัยทราวดี
หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล สรุปไว้ว่าอยู่ในพุทธศตวรรษที่ 11-12 (พ.ศ. 1101-1209) ประทับสมาธิ นาคปรก ทำด้วยหินละเอียด เนื้อสีเขียว
ราษฎรไปขุดหนูและพบโดยบังเอิญบริเวณป่าไผ่ ทิศตะวันตกบ้านฝ้าย ต.ไผทรินทร์ อ.ลำปลายมาศ บุรีรัมย์ เมื่อเดือนกรกฎาคม 2507
การที่พระพุทธรูปถูกทำลายและฝังดิน อาจเกิดจากสมัยหนึ่งที่กษัตริย์ต้องการให้เลิกนับถือพุทธศาสนานิกายมหายาน
เมื่อขุดได้ จึงติดต่อขายให้พ่อค้าพระ และนำขึ้นเกวียน เพื่อส่งขึ้นรถยนต์ไปกรุงเทพฯ
เมื่อมาถึงหินดาด ได้ใส่ลังไม้นำไปซ่อนอยู่ไว้ในสระน้ำ มีคนไปพบจึงนำไปไว้ที่ศาลาวัดหินดาด หรือวัดอุทัยมัคคาราม
พ.ศ. 2517 พระพุทธรูปถูกขะโมยจากศาลา เมื่อชาวบ้านช่วยกันติดตามก็พบหลวงพ่อศรีถูกทิ้งไว้ จึงนำไปไว้กุฏิเจ้าอาวาส
พ.ศ. 2520 พระวัดหินดาด พบรถปิกอัพมีชายฉกรรจ์มาเต็มกะบะ เห็นมีพิรุธจึงแจ้งตำรวจมารักษาความปลอดภัยที่วัด
คืนนั้นมีคนถือปืนจะทำร้ายและปล้นเจ้าอาวาส จึงถูกตำรวจยิงเสียชีวิต 2 คน ที่เหลือหนีไปได้
จึงได้สร้างมญฑปประดิษฐานหลวงพ่อศรี ดังที่เห็น
บันทึกไว้เมื่อ 18 มิถุนายน 2557
.
.
ชะเง้อสถานีรถไฟตามรายทาง ... สถานีรถไฟหินดาษ
แต่เมื่อผ่านสถานีรถไฟที่ทำให้รู้สึกว่าน่าไปดูหน่อยนะ
จึงเป็นที่มาของการเก็บสะสมภาพสถานีรถไฟต่าง ๆ ไว้
ตั้งอยู่ที่ตำบลหินดาด อำเภอห้วยแถลง
หินดาด เพี้ยนมาจากคำว่า หินลาด ซี่งทั่วบริเวณหมู่บ้าน เมื่อขุดลงไปประมาณเมตรเศษๆ ก็จะพบแต่หินแดงเป็นชั้นๆ เป็นจำนวนมาก
อยู่ในอำเภอห้วยแถลง มีลำห้วยชื่อห้วยแถลง อ่านว่า ถะ-แหลง
สันนิษฐานว่ามาจากคำว่า แถล ภาษาถิ่นอิสาน แปลว่า ลาดเอียง เช่น แถล+ขึ้น หมายถึง ลาดขึ้น แถล +ลง หมายถึง ลาดลง
ประดิษฐานหลวงพ่อศรีหรือพระพุทธศรีพิทักษ์ชน พระพุทธรูปสมัยทราวดี
หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล สรุปไว้ว่าอยู่ในพุทธศตวรรษที่ 11-12 (พ.ศ. 1101-1209) ประทับสมาธิ นาคปรก ทำด้วยหินละเอียด เนื้อสีเขียว
การที่พระพุทธรูปถูกทำลายและฝังดิน อาจเกิดจากสมัยหนึ่งที่กษัตริย์ต้องการให้เลิกนับถือพุทธศาสนานิกายมหายาน
เมื่อขุดได้ จึงติดต่อขายให้พ่อค้าพระ และนำขึ้นเกวียน เพื่อส่งขึ้นรถยนต์ไปกรุงเทพฯ
เมื่อมาถึงหินดาด ได้ใส่ลังไม้นำไปซ่อนอยู่ไว้ในสระน้ำ มีคนไปพบจึงนำไปไว้ที่ศาลาวัดหินดาด หรือวัดอุทัยมัคคาราม
พ.ศ. 2517 พระพุทธรูปถูกขะโมยจากศาลา เมื่อชาวบ้านช่วยกันติดตามก็พบหลวงพ่อศรีถูกทิ้งไว้ จึงนำไปไว้กุฏิเจ้าอาวาส
พ.ศ. 2520 พระวัดหินดาด พบรถปิกอัพมีชายฉกรรจ์มาเต็มกะบะ เห็นมีพิรุธจึงแจ้งตำรวจมารักษาความปลอดภัยที่วัด
คืนนั้นมีคนถือปืนจะทำร้ายและปล้นเจ้าอาวาส จึงถูกตำรวจยิงเสียชีวิต 2 คน ที่เหลือหนีไปได้
จึงได้สร้างมญฑปประดิษฐานหลวงพ่อศรี ดังที่เห็น