คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 10
อ้างอิงจากบันทึกของบาทหลวงโคล้ด เดอ แบซ (Claude de Bèze) ระบุว่าสมเด็จพระนารายณ์โปรดให้ฟอลคอนสำรวจหาพื้นที่ในพระราชอาณาจักรที่เหมาะแก่การสร้างป้อม แล้วให้เขียนแผนผังนำขึ้นถวาย ฟอลคอนจึงจัดทำขึ้นแล้วให้ชาวอังกฤษช่วยดูด้วย เมื่อสมเด็จพระนารายณ์ทอดพระเนตรแล้วจึงมีหมายรับสั่งให้สร้างป้อมขึ้นตามหัวเมืองต่างๆ จนเป็นเหตุมาสู่เรื่องการรับสินบนของเจ้าพระยาโกษาธิบดีเหล็กครับ
ตามบันทึกไม่ได้ระบุว่ามีการสร้างป้อมที่เมืองใดบ้าง และไม่ได้กล่าวว่าป้อมบางกอกถูกสร้างในครั้งนั้น
นอกจากนี้การรับสินบนของโกษาเหล็กก็ไม่น่าเกี่ยวข้องกับป้อมบางกอกอย่างที่เข้าใจกันครับ เพราะโกษาเหล็กถึงแก่อสัญกรรมใน พ.ศ. ๒๒๒๖ ส่วนป้อมรูปดาว (star fort) ที่บางกอกทั้งสองฝั่งแม่น้ำออกแบบโดยวิศวกรชาวฝรั่งเศสชื่อ เดอ ลามาร์ (De Lamare) ซึ่งเข้ามากรุงศรีอยุทธยาพร้อมกับคณะทูตของ เชอวาลิเยร์ เดอ โชมงต์ (Chevalier de Chaumont) ใน พ.ศ. ๒๒๒๘ แต่เข้าใจว่าฟอลคอนจะเป็นผู้รับผิดชอบสร้างจนถูกเรียกว่า "ป้อมวิไชยเยนทร์" ในภายหลังครับ
สรุปแล้ว ตัวป้อมรูปดาวที่บางกอกไม่น่าเกี่ยวกับโกษาเหล็กแต่อย่างใด เพราะถูกออกแบบหลังจากโกษาเหล็กเสียชีวิตไปแล้วครับ
ป้อมที่ เดอ ลามาร์ ออกแบบไว้เป็นเป็นป้อมรูปดาวสองฝั่งแม่น้ำ ฝั่งตะวันตกเป็นป้อมแปดแฉกจะสร้างทับป้อมกำแพงเมืองเก่า ฝั่งตะวันออกเป็นป้อมห้าแฉก ระหว่างป้อมทั้งสองมีโซ่ขึงไว้สำหรับกั้นไม่ให้เรือเข้าออกแม่น้ำได้
ทั้งนี้ในเวลานั้นฝรั่งเศสเล็งเห็นว่าบางกอกเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญของสยาม เนื่องจากเป็นทางเข้าออกสู่กรุงศรีอยุทธยาและแผ่นดินตอนใน การควบคุมบางกอกจึงเท่ากับการควบคุมเส้นทางเข้าออกสำคัญของอาณาจักร ฝรั่งเศสจึงเจรจาขอเมืองบางกอกจากสยามให้กองทหารฝรั่งเศสเข้าไปประจำการ และดำเนินการสร้างป้อมตามที่ออกแบบไว้
ในช่วงที่พระเพทราชาปฏิวัติยึดอำนาจสมเด็จพระนารายณ์ ป้อมรูปดาวฝั่งตะวันตกยังไม่ได้สร้างมีแต่ป้อมเก่า ส่วนป้อมฝั่งตะวันออกยังเหลือกำแพงด้านหนึ่งไม่เสร็จ กองทหารฝรั่งเศสในเวลานั้นมีน้อย ไม่สามารถรักษาป้อมทั้งสองฝั่งได้ จึงทิ้งป้อมฝั่งตะวันตกไปรวมอยู่ที่ป้อมตะวันออก แล้วถูกฝ่ายไทยปิดล้อมอยู่เป็นเวลาหลายเดือนจนภายหลังยอมเจรเจาสงบศึกกัน และฝรั่งเศสต้องถอนทหารออกไปจากสยาม
หลายแห่งเผยแพร่ข้อมูลว่าป้อมบางกอกฝั่งตะวันออกถูกทุบทิ้งในสมัยสมเด็จพระเพทราชา แต่เรื่องนี้ไม่ปรากฏในหลักฐานใดเลย ในจดหมายเหตุของเอ็งเงิลแบร์ท เค็มพ์เฟอร์ (Engelbert Kaempfer) นายแพทย์ชาวเยอรมันที่ติดตามคณะทูตของบริษัทอินเดียตะวันออกของดัตช์ (VOC) เข้ามาในสยามใน ค.ศ. ๑๖๙๐ (พ.ศ. ๒๒๓๓) ระบุว่าป้อมฝั่งตะวันออกที่ฝรั่งเศสสร้างอยู่ในสภาพชำรุดแต่ยังคงอยู่
เมื่อถึงสมัยกรุงธนบุรี พระเจ้ากรุงธนบุรีทรงเปลี่ยนชื่อป้อมวิไชยเยนทร์บริเวณท้ายพระราชวังคือบริเวณฝั่งตะวันตกเป็นป้อมวิไชยประสิทธิ์ ยังคงอยู่มาถึงปัจจุบันนี้ ส่วนป้อมฝั่งตะวันออกเสียหายในสงครามเสียกรุง แต่พระเจ้ากรุงธนบุรีทรงซ่อมใหม่ ปรากฏในจดหมายเหตุบาทหลวงฝรั่งเศสคือจดหมายมองซิเออร์อาโตด์ ถึงผู้อำนวยการคณะมิสซังต่างประเทศใน ค.ศ. ๑๗๖๗ (พ.ศ. ๒๓๑๐) ว่า "พระยาตากคนนี้เป็นคนที่ฉลาดไหวพริบมาก ได้ไปตั้งอยู่ที่บางกอกและได้ซ่อมแซมป้อมซึ่งพวกฝรั่งเศสได้สร้างขึ้นไว้เมื่อครั้งแผ่นดินหลุยส์ที่ ๑๔ และซึ่งพวกพม่าได้ทำลายลงเมื่อได้ตีกรุงแล้ว"
ป้อมวิไชยเยนทร์ฝั่งตะวันออกถูกรื้อทิ้งใน พ.ศ. ๒๓๒๘ สมัยรัชกาลที่ ๑ ปรากฏในพระราชพงศาวดารฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพน ว่า
"ในปีมเสง ศัพศกนั้น ทรงพระกรุณาให้ตั้งกองสักเลกไพร่หลวง สมกำลัง แลเลกหัวเมืองเดีม หัวเมืองขึ้น สักหลังมือทั้งสิ้น แล้วให้เกนเลกหัวเมืองขึ้นทั้งไทลาวเขมรทั้งปวง กับทังเลกไพร่หลวง สมกำลัง เกนทำอิฐจะก่อกำแพงส้างพระนครใหม่ ให้รื้อป้อมวิไชยเยนแลกำแพงเมืองเก่าฟากตวันออกนั้นเสีย ขยายพระนครให้กว้างออกไปกว่าเก่า"
ตามบันทึกไม่ได้ระบุว่ามีการสร้างป้อมที่เมืองใดบ้าง และไม่ได้กล่าวว่าป้อมบางกอกถูกสร้างในครั้งนั้น
นอกจากนี้การรับสินบนของโกษาเหล็กก็ไม่น่าเกี่ยวข้องกับป้อมบางกอกอย่างที่เข้าใจกันครับ เพราะโกษาเหล็กถึงแก่อสัญกรรมใน พ.ศ. ๒๒๒๖ ส่วนป้อมรูปดาว (star fort) ที่บางกอกทั้งสองฝั่งแม่น้ำออกแบบโดยวิศวกรชาวฝรั่งเศสชื่อ เดอ ลามาร์ (De Lamare) ซึ่งเข้ามากรุงศรีอยุทธยาพร้อมกับคณะทูตของ เชอวาลิเยร์ เดอ โชมงต์ (Chevalier de Chaumont) ใน พ.ศ. ๒๒๒๘ แต่เข้าใจว่าฟอลคอนจะเป็นผู้รับผิดชอบสร้างจนถูกเรียกว่า "ป้อมวิไชยเยนทร์" ในภายหลังครับ
สรุปแล้ว ตัวป้อมรูปดาวที่บางกอกไม่น่าเกี่ยวกับโกษาเหล็กแต่อย่างใด เพราะถูกออกแบบหลังจากโกษาเหล็กเสียชีวิตไปแล้วครับ
แผนผังป้อมที่เมืองบางกอกของ เดอ ลามาร์ ใน ค.ศ. ๑๖๘๕ (พ.ศ. ๒๒๒๘)
ป้อมที่ เดอ ลามาร์ ออกแบบไว้เป็นเป็นป้อมรูปดาวสองฝั่งแม่น้ำ ฝั่งตะวันตกเป็นป้อมแปดแฉกจะสร้างทับป้อมกำแพงเมืองเก่า ฝั่งตะวันออกเป็นป้อมห้าแฉก ระหว่างป้อมทั้งสองมีโซ่ขึงไว้สำหรับกั้นไม่ให้เรือเข้าออกแม่น้ำได้
ทั้งนี้ในเวลานั้นฝรั่งเศสเล็งเห็นว่าบางกอกเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญของสยาม เนื่องจากเป็นทางเข้าออกสู่กรุงศรีอยุทธยาและแผ่นดินตอนใน การควบคุมบางกอกจึงเท่ากับการควบคุมเส้นทางเข้าออกสำคัญของอาณาจักร ฝรั่งเศสจึงเจรจาขอเมืองบางกอกจากสยามให้กองทหารฝรั่งเศสเข้าไปประจำการ และดำเนินการสร้างป้อมตามที่ออกแบบไว้
ในช่วงที่พระเพทราชาปฏิวัติยึดอำนาจสมเด็จพระนารายณ์ ป้อมรูปดาวฝั่งตะวันตกยังไม่ได้สร้างมีแต่ป้อมเก่า ส่วนป้อมฝั่งตะวันออกยังเหลือกำแพงด้านหนึ่งไม่เสร็จ กองทหารฝรั่งเศสในเวลานั้นมีน้อย ไม่สามารถรักษาป้อมทั้งสองฝั่งได้ จึงทิ้งป้อมฝั่งตะวันตกไปรวมอยู่ที่ป้อมตะวันออก แล้วถูกฝ่ายไทยปิดล้อมอยู่เป็นเวลาหลายเดือนจนภายหลังยอมเจรเจาสงบศึกกัน และฝรั่งเศสต้องถอนทหารออกไปจากสยาม
ภาพการปิดล้อมกองทหารฝรั่งเศสที่ป้อมฝั้งตะวันออกใน ค.ศ. ๑๖๘๘ (พ.ศ. ๒๒๓๑)
หลายแห่งเผยแพร่ข้อมูลว่าป้อมบางกอกฝั่งตะวันออกถูกทุบทิ้งในสมัยสมเด็จพระเพทราชา แต่เรื่องนี้ไม่ปรากฏในหลักฐานใดเลย ในจดหมายเหตุของเอ็งเงิลแบร์ท เค็มพ์เฟอร์ (Engelbert Kaempfer) นายแพทย์ชาวเยอรมันที่ติดตามคณะทูตของบริษัทอินเดียตะวันออกของดัตช์ (VOC) เข้ามาในสยามใน ค.ศ. ๑๖๙๐ (พ.ศ. ๒๒๓๓) ระบุว่าป้อมฝั่งตะวันออกที่ฝรั่งเศสสร้างอยู่ในสภาพชำรุดแต่ยังคงอยู่
เมื่อถึงสมัยกรุงธนบุรี พระเจ้ากรุงธนบุรีทรงเปลี่ยนชื่อป้อมวิไชยเยนทร์บริเวณท้ายพระราชวังคือบริเวณฝั่งตะวันตกเป็นป้อมวิไชยประสิทธิ์ ยังคงอยู่มาถึงปัจจุบันนี้ ส่วนป้อมฝั่งตะวันออกเสียหายในสงครามเสียกรุง แต่พระเจ้ากรุงธนบุรีทรงซ่อมใหม่ ปรากฏในจดหมายเหตุบาทหลวงฝรั่งเศสคือจดหมายมองซิเออร์อาโตด์ ถึงผู้อำนวยการคณะมิสซังต่างประเทศใน ค.ศ. ๑๗๖๗ (พ.ศ. ๒๓๑๐) ว่า "พระยาตากคนนี้เป็นคนที่ฉลาดไหวพริบมาก ได้ไปตั้งอยู่ที่บางกอกและได้ซ่อมแซมป้อมซึ่งพวกฝรั่งเศสได้สร้างขึ้นไว้เมื่อครั้งแผ่นดินหลุยส์ที่ ๑๔ และซึ่งพวกพม่าได้ทำลายลงเมื่อได้ตีกรุงแล้ว"
ป้อมวิไชยเยนทร์ฝั่งตะวันออกถูกรื้อทิ้งใน พ.ศ. ๒๓๒๘ สมัยรัชกาลที่ ๑ ปรากฏในพระราชพงศาวดารฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพน ว่า
"ในปีมเสง ศัพศกนั้น ทรงพระกรุณาให้ตั้งกองสักเลกไพร่หลวง สมกำลัง แลเลกหัวเมืองเดีม หัวเมืองขึ้น สักหลังมือทั้งสิ้น แล้วให้เกนเลกหัวเมืองขึ้นทั้งไทลาวเขมรทั้งปวง กับทังเลกไพร่หลวง สมกำลัง เกนทำอิฐจะก่อกำแพงส้างพระนครใหม่ ให้รื้อป้อมวิไชยเยนแลกำแพงเมืองเก่าฟากตวันออกนั้นเสีย ขยายพระนครให้กว้างออกไปกว่าเก่า"
แสดงความคิดเห็น
ป้อมที่ ฟอลคอน ให้สร้าง ปัจจุบันยังมีอยู่มั้ย
แล้วป้อมนี้ใช้ประโยชน์ได้จริงอย่างที่ว่ารึเปล่า