สารานุกรมปืนตอนที่ 311 SKKP ต้นตระกูล AK ที่เเท้จริง

"ขอขอบคุณเพจ GUN in The World เเอดมิน Gtd.77 อย่างสูงครับ"

https://www.facebook.com/Supakorngimzaa/?hc_ref=ARSVP07Rd-CFgU5_qUtnwLMw_f0KEuzMrtl4JqDBDueoDXYXpdasmnupVxHVRkYvqMQ&fref=nf



จากความคิดเห็นว่ากระสุนปืนเล็กยาว (เเละปืนกล) ขนาด 7.62x54R ต้องเพิ่มประสิทธิภาพขึ้นหรือหาเเบบกระสุนที่ดีกว่ามาทดเเทน ทั้งหมดได้เริ่มมีการทดสอบในระบบอาวุธเเบบกึ่งอัตโนมัติ บรรดานักออกเเบบชาวรัสเซียต่างหาข้อสรุปเกี่ยวกับกระสุนขนาด 7.62x54R ว่าไม่ใช่เเบบกระสุนที่ดีที่สุดอีกต่อไป โดยเฉพาะ V.G. Fedorov (Vladimir Grigoryevich Fyodorov) เป็นคนเเรกๆที่สามารถทำระบบปืนเล้กยาวอัตโนมัติได้สำเร็จ โดยใช้กระสุนขนาด 6.5 mm (6.5x50mmSR Arisaka) โดยที่มีพลังทำลายน้อยกว่า เเต่มีประสิทธิภาพโดยรวมมากกว่า เเต่ต้องเปลี่ยนขนาดมาตรฐานกระสุนใหม่ ด้วยเหตุนี้ การทำระบบอาวุธเบาเเบบใหม่จึงเป็นการลงทุนขนาดใหญ่มาก Fedorov ทำได้ดีจนจักรวรรดิรัสเซียในยุคนั้นจัดหาเข้าประจำการเเละใช้งานในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ร่วมกับ ปืนเล็กยาวเเบบ Arisaka ของจักรวรรดิญี่ปุ่น



ปลส.SKKP
อีกเหตุผลที่ทำให้มีความพยายามเปลี่ยนเเบบกระสุนใหม่อีกครั้งในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 หลังจากได้ศึกษาข้อมูลจากปืนที่ถูกพัฒนาขึ้นใหม่ในสหรัฐอย่าง M1 Carbine ที่ใช้กระสุนขนาดเล็กกว่ามาตรฐานอย่าง .30-06 ทำให้ได้รับความสนใจอย่างมากจากนักออกเเบบอาวุธในรัสเซีย เเต่ช่วงนั้นกองทัพเเดงก็ได้ตัวอย่าง “ปืนเล็กสั้นกล (Machine Carbine) MkV.42” (ได้ชื่อเรียกจากหน่วยข่าวกรองในขณะนั้น) จากทหารเยอรมัน ในเเนวรบด้านตะวันตกมา ทำให้มีเเนวทางในการพัฒนาเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น สร้างความเเปลกใจให้กรมทหารปืนใหญ่ ซึ่งไม่เคยเห็นปืนเเบบในสหภาพโซเวียตมาก่อน เเละอยากให้มีปืนเเบบเดียวกันนี้เช่นกัน จึงมีคำสั่งให้พัฒนากระสุนเเบบใหม่เเละระบบอาวุธที่มีคุณสมบัติเช่นเดียวกันนี้ขึ้นมาโดยเร็ว
จากการประเมินผลปืนเเต่ละเเบบที่ยึดมาได้รวมถึงพิจารณาจากปืนที่ได้รับจากความช่วยเหลือของสหรัฐทำให้ได้ข้อสรุปว่าทหารต้องการรระบอาวุธเเบบปืนเล็กยาวจู่โจม อย่างน้อย 2-3 กระบอกใน 1 หมู่ ทดเเทนในตำเเหน่งปืนกลประจำหมู่
หลังจากได้รับจุดยืนของโครงการเเล้วจึงเริ่มพัฒนากระสุนเเบบใหม่ รวมทั้งปืนเล็กสั้นกึ่งอัตโนมัติขึ้นมาใช้กับกระสุนชนิดใหม่นี้ (ตามเเนวคิดของ M1 Carbine) เพื่อป้องกันความล่าช้าหรือล้มเหลวของโครงการปืนเล็กยาวจู่โจมที่ทำไปควบคู่กันนั่นเอง
หนึ่งในผู้ที่มีส่วนร่วมในโครงการดังกล่าวอย่าง Mikhail Kalashnikov ได้เสนอเเบบปืนของตัวเอง นั่นก็คือ SKKP (Samozaryadny Karabin sistemy Kalashnikova Petrova) หรือระบบปืนเล็กสั้นของคาลาชนิคอฟเเละเปตรอฟ ซึ่งมีพื้นฐานโดยรวมจากปลย. M1 Garand เเต่มีขนาดสั้นกว่า โดยมีชิ้นส่วนเเละกลไกบางอย่าง เช่น การปิดท้ายรังเพลิง การป้อนกระสุน ชุดเครื่องลั่นไก เเละโครงปืน
ที่จะกล่าวต่อไปนี้คือช่วงเวลาที่มีการทดสอบระบบการปิด/เปิดท้ายรั้งเพลิง ที่คล้ายกับระบบที่ใช้ใน ปลส.SKKP ตั้งเเต่มีการทดสอบเเละเก็บข้อมูลในศูนย์การวิจัยอาวุธเบาเเละเครื่องยิงลูกระเบิด กรมทหารปืนใหญ่ เเห่งสหภาพโซเวียต 
-24 มิ.ย.1932 - 31 ธ.ค. 1938 ต้นเเบบมหายเลข 74 Kedar Assault Rifle กระสุนเเบบ 1906 ใช้การบังคับลูกเลื่อนหมุนตัวเเบบ 90 องศา
-ธ.ค.1932 Tokarev Automatic Rifle ประสพความสำเร็จกับการบังคับหมุนตัว 45 องศาของลูกเลื่อน ขัดกับช่องที่โครงปืน
-ในเดือน ธ.ค. 1933 ต้นเเบบหมวด AB ออกเเบบโดย INZ-2 ได้ทำการทดสอบ วิธีการปิดท้ายรังเพลิงคล้าย ปลย.1891/30 เเต่ไม่เคยได้ทดสอบภาคสนามมีเพียงการบันทึกข้อมูลทางทฤษฎีเท่านั้น 
ตัวอย่างที่กล่าวมาข้างต้นคือต้นเเบบที่มีวิธีการปิดท้ายรังเพลิงคล้ายกับปลส.SKKP เป็นระบบที่นิยมใช้มาจนถึงปืนยุคใหม่ๆมันจึงไม่ใช่กลไกที่ใหม่เเต่อย่างใด



ลักษณะลูกเลื่อนของ ปลส.SKKP

อย่างไรก็ตามระบบกลไกเเบบใหม่นี้ไม่ค่อยเป็นที่สนใจของนักวิจัยเท่าที่ควร เละมักจะมุ่งไปยังระบบที่มีความน่าเชื่อถือมีความเเม่นยำเเละใช้งานได้ง่ายระบบปืนที่ตอบโจทย์พวกนี้ได้โอกาสที่จะได้ประจำการค่อนข้างสูง
จุดสุดท้ายบางครั้งเพื่อที่จะคัดเลือกเเบบที่ดีที่สุดปืนเล็กสั้นจะต้องเล็งไปยังเป้าหมายได้ง่ายจับเป้าผ่านศูนย์หน้า-หลังได้อย่างรวดเร็วมีความง่ายในการถอดประกอบทำความสะอาดจากตารางการบันทึกผลโดยการใช้ตับกระสุนจะต้องไม่ดีดมาโดนหน้าผู้ใช้มันจะต้องคุมได้ง่ายเพื่อประสิทธิผลในการรบที่ดีที่สุด
ในปลย.M1 Garand เมื่อกระสุนหมดคลิปกระสุนจะคัดออกมาเเต่มันก็ไม่ใช่อุปสรรคใดๆให้กับทหารราบสหรัฐที่ใช้มันในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เเละสงครามเกาหลี เเต่น่าเสียดายเเบบปืนของ Kalashnikov เเละ Petrov ไม่มีโชคในช่วงการทดสอบ เนื่องจากการขาดประสบการณ์ในการนำเสนอเเบบปืน ซึ่งคู่เเข่งอย่าง Simonov มีความพร้อมมากกว่า เเต่ก็ไม่ได้ง่ายขนาดนั้น ซึ่งในการเปรียบเทียบเเบบต่างๆในช่วงนั้น จากประสบการณ์ที่ทำงานเกี่ยวกับระบบปืนกลเเละปืนเล็กยาวที่ใช้กระสุนเเบบเก่ามาก่อน เเบบปืนของ Simonov จึงชนะโครงการปืนเล็กสั้นกึ่งอัตโนมัติไป ดังตารางต่อไปนี้



ตารางเปรียบเทียบเเบบปืนเล็กสั้นกึ่งอัตโนมัติ

ตามตารางขั้นต้น เเบบปลส. SKKP ไม่สามารถชนะเเบบปลส.ของ Simonov ได้ เเละไม่ได้มีความต้องการทางเทคนิกอะไรเพิ่มเติม อีกทั้งการปรับสายการผลิตมาผลิตปืนเเบบใหม่ของ Smonov ทำได้ง่ายกว่า เนื่องจากเเบบปลส.ของ Kalashnikov-Petrov ใช้คนงานในกระบวนการผลิตมากกว่า ปลส.ของ Simonov



ส่วนประกอบที่สำคัญของ ปลส.SKKP

ผลการทดสอบรวมของ ปลส.SKKP 
-ความเเม่นยำที่ระยะ 100 ม. กลุ่มกระสุนอยู่ที่ 18.3 ซม. ขั้นต่ำกำหนดที่ 18 ซม.ลงมา เเต่ระยะ 300 ม. กลุ่มกระสุนกว้างถึง 46.7 ซม. เกินกำหนดที่ 36 ซม.ลงมา
-การทดสอบความน่าเชื่อถือของระบบการทำงาน ปลส.SKKP ไม่สามารถทำการยิงหลังจากจุ่มน้ำได้ 11 % ของการทดสอบทั้งหมด จากที่กำหนดต้องไม่เกิน 2% 
-การคัดปลอกมีปัญหา 9.9% โดยที่ 87.7% ปลอกผิดรูป 
-เกิดอาการโครงนำลูกเลื่อนถอยไม่สุดระยะ อาจจะมาจากปริมาณเเรงดันเเก๊สไม่เเรงพอที่จะสู้เเรงเเหนบส่งโครงนำลูกเลื่อน ขาดการหล่อลื่น หรือความด้อยประสบการณ์ในการออกเเบบการกลับเข้าที่ของลูกสูบ จนทำให้เเรงดันเเก๊สระบายออกก่อนเวลาที่ควร เป็นต้น
จากผลการทดสอบทำให้ Kalashnikov เเละ Petrov ตัดสินใจถอนตัวออกมาทำให้เเบบปลส.ของ Simonov ได้เข้าประจำการเป็นที่รู้จักในชื่อ SKS นั่นเอง
หลังจากทบทวนความผิดพลาด Mikhail Kalashnikov ได้นำบทเรียนจากการทำ ปลส.SKKP ไปปรับปรุงใช้งานตลอดจนให้คำเเนะนำเเก่นักออกเเบบปืนรุ่นต่อๆมาของสหภาพโซเวียตนั่นเอง 

บทความโดย Andrew Ulanov

เรียบเรียงโดย Ghosttando77

อ้างอิง 

https://gunsforum.com/topic/1550-kalashnikov-and-petrov-carbine/?fbclid=IwAR0nSLpcBJ2eBS8kgvrpkiREAiRg4iZKY-Ru1djzGq-HGFt3fIM2e-QPbZ0
ผิดพลาดประการใด ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้


"สุขสันต์วันสิ้นปีครับทุกท่าน"
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่