คนเข้าห้องสอบสายเลยอดสอบ VS คนอยู่ในห้องสอบแต่ถูกเก็บข้อสอบคนสุดท้าย

จากกรณีที่สำนักข่าวหลายสำนัก นำข่าวเรื่องบรรทัดฐานใหม่ในการประมูลโครงการของภาครัฐ ที่ศาลปกครองสูงสุดเคยให้เอกชนแพ้ทั้ง 5 คดี มาเป็นตัวอย่างเปรียบเทียบกับโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา และเมืองการบินภาคตะวันออกที่ทางบริษัท ธนโฮลดิ้ง จำกัด กับพวก ประกอบไปด้วย 

1. บริษัท ธนโฮลดิ้ง จำกัด ของเครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือ ซีพี 
2. บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) 
3. บริษัท ช. การช่าง จำกัด (มหาชน) 
4. บี.กริม จอยน์ เวนเจอร์ โฮลดิ้ง จำกัด 
5. Orient Success International Limited 
เป็นโจทก์ ยื่นฟ้องคดี ต่อ คณะกรรมการคัดเลือกของโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก มูลค่าโครงการกว่า 2 แสนล้านบาท

โดยอ้างว่า "สืบค้นข้อมูลคำพิพากษาคดีของศาลปกครองสูงสุดที่ตัดสินคดี กรณีที่เอกชนถูกตัดสิทธิไม่ให้เข้าร่วมการประมูลงานของรัฐ อันเป็นผลมาจากการที่ผู้เสนอราคามาไม่ทันเวลากำหนดลงทะเบียนเข้าร่วมการเสนอราคา"  ซึ่งยกเคสตัวอย่างของเอกชน 5 ราย ที่ทางศาลปกครองสูงสุดมีคำตัดสินให้เอกชนแพ้ทั้ง 5 คดีนั้น ว่าจะเป็นแนวคำวินิจฉัยศาลปกครองสูงสุด เรื่องการยื่นประมูลไม่ทันเวลา 

ซึ่งเมื่อวันที่ 15 พ.ย. 2562 ทางตุลาการหัวหน้าคณะ ประจำศาลปกครองสูงสุด มีคำสั่งทุเลาการบังคับตามมติของคณะกรรมการคัดเลือกของโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก ของศาลปกครองสูงสุด ยืนยันว่า รายงานของคณะทำงานรับและจัดเก็บเอกสาร รวมถึงภาพถ่ายการลำเลียงเอกสารไม่อาจนำมาใช้เป็นข้ออ้างเพื่อมีมติไม่รับพิจารณาข้อเสนอด้านราคาและแผนธุรกิจของบริษัทธนโฮลดิ้งกับพวกได้ รวมถึงประเด็นเรื่องของเวลา ที่ไม่ถือเป็นสาระสำคัญของคดีนี้ได้

จากที่ สำนักข่าวแห่งหนึ่งอ้างว่า "ได้สืบค้นแนวคำพิพากษาคดีของศาลปกครองสูงสุด ที่ตัดสินคดี กรณีเอกชนถูกตัดสิทธิไม่ให้เข้าร่วมการประมูลงานของรัฐ อันเป็นผลมาจากการที่ผู้เสนอราคามาไม่ทันเวลากำหนดลงทะเบียนเข้าร่วมการเสนอราคา ที่เคยตัดสินเป็นบรรทัดฐานไว้แล้ว มานำเสนอให้สาธารณชนได้รับทราบไปแล้ว โดยพบนัยยะสำคัญของการตัดสินคดีส่วนใหญ่ว่า ข้อกำหนดเรื่องเวลา ถือเป็นสาระสำคัญของการเข้าร่วมประมูลไม่ว่าจะมาช้าหรือมาสายกี่วินาที หรือนาทีก็ตาม ถือเป็นแนวคำวินิจฉัยคดีมาโดยตลอด" 

แล้วทำไมครั้งนี้ศาลปกครองสูงสุดถึงเปลี่ยนคำวินิจฉัยใหม่ว่า "เวลาไม่ถือเป็นสาระสำคัญ" และทำไมถึงต้องนำคดีนี้เข้าสู่ที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด มีการให้เหตุผลไว้ ดังนี้

• คดีที่เกี่ยวข้องกับประชาชนเป็นจำนวนมากหรือประโยชน์สาธารณะที่สำคัญ 
• คดีที่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยเกี่ยวกับหลักกฎหมายปกครองที่สำคัญ 
• คดีที่อาจมีผลเป็นการกลับหรือแก้ไขแนวคำพิพากษาเดิมของศาลปกครองชั้นต้นหรือศาลปกครองสูงสุด 
• คดีที่มีทุนทรัพย์สูง  

จะเห็นได้ว่า โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา และเมืองการบินภาคตะวันออก วงเงินกว่า 2 แสนล้านบาทนั้น อยู่ในมูลเหตุที่ทำให้ที่ประชุมใหญ่ตุลาการต้องมีการรับไว้พิจารณาร่วมกัน

จากในกรณีที่เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2562 อันเป็นวันที่มีการกำหนดให้มีการยื่นซองข้อเสนอ มีผู้เข้ายื่นข้อเสนอ ณ กองบัญชาการกองทัพเรือ จำนวน 3 กลุ่ม คือ กลุ่มกิจการร่วมค้าบีบีเอส (BBS Joint Venture) กลุ่ม Grand Consortium และกลุ่มกิจการค้าร่วมบริษัท ธนโฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร (ซึ่งเป็นผู้ฟ้องคดี) กับทหารเรือซึ่งเป็นคณะกรรมการคัดเลือก (ผู้ถูกฟ้องคดี) ได้จัดสถานที่ในการรับซองข้อเสนอแยกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ห้องรับรอง กองบัญชาการกองทัพเรือซึ่งใช้เป็นห้องยื่นข้อเสนอ, ห้องรับรองชาวต่างประเทศ ซึ่งใช้เป็นห้องพักคอย และห้อง Navy Club ซึ่งใช้เป็นห้องเก็บเอกสารข้อเสนอ 

ปรากฎว่า บริษัท ธนโฮลดิ้ง จำกัด หรือซีพี มาลงทะเบียนตรงจุดลงทะเบียนหน้าห้องรับรองกองบัญชาการทองทัพเรือ เป็นกลุ่มแรกเมื่อเวลา 12.20 นาฬิกา
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
, กลุ่มกิจการร่วมค้าบีบีเอส (BBS Joint Venture) มาลงทะเบียนเป็นกลุ่มที่สองเมื่อเวลา 12.56 นาฬิกา และกลุ่ม GrandConsotum มาลงทะเบียนเป็นกลุ่มสุดท้ายเมื่อเวลา 13.19 นาฬิกา หลังจากลงทะเบียนแล้ว ทางเจ้าหน้าที่ได้จัดให้ผู้ยื่นข้อเสนอไปพักคอยยังห้องรับรองชาวต่างประเทศ โดยไม่มีการตรวจสอบจำนวนเอกสาร หรือข้อเสนอของแต่ละกลุ่มที่ยื่นประมูล 

แต่เมื่อถึงเวลาประมาณ 15.00 นาฬิกา เจ้าหน้าที่ถึงได้แจ้งผู้ประมูลให้เข้ายื่นซองข้อเสนอ และตรวจสอบเอกสาร ทีละราย สำหรับผู้ยื่นข้อเสนอรายอื่นๆ ให้นั่งคอยอยู่ในห้องพักคอย (ห้องรับรองชาวต่างประเทศ) 

• ผู้ยื่นเสนอรายแรก คือ กลุ่มกิจการร่วมค้าบีบีเอส (BBS Joint Venture) ใช้เวลายื่น และตรวจสอบเอกสารกว่า 1 ชั่วโมง
• ผู้ยื่นเสนอรายที่ 2 คือ กลุ่ม Grand Consortium ใช้เวลาประมาณ 45 นาที โดยมีการจัดทำหนังสือยอมรับซองแบบมีเงื่อนไข ในประเด็นเรื่องหลักฐานการซื้อเอกสารการคัดเลือก
• ผู้ยื่นเสนอรายสุดท้าย คือ บริษัท ธนโฮลดิ้ง จำกัด ในเวลา 16.45 นาฬิกา ยื่น และตรวจสอบเอกสารเสร็จสิ้นเมื่อเวลาประมาณ 18.00 นาฬิกา โดยสำนักข่าวอ้างคำชี้แจงของผู้ฟ้องคดีว่า ทางคณะกรรมการคัดเลือกฯ ไม่ได้มีการให้ออกหนังสือยอมรับซองแบบมีเงื่อนไขแต่อย่างใด 

จึงเห็นได้ว่า คณะกรรมการฯ มีการรับและตรวจสอบเอกสารทีละราย และได้เริ่มตรวจเอกสารของกลุ่มกิจการร่วมค้า บีบีเอส (BBS Joint Venture) เมื่อเวลาประมาณ 15.00 นาฬิกา เป็นรายแรก, กลุ่ม Grand Consortium เป็นรายถัดไป และเป็นกลุ่มของบริษัท ธนโฮลดิ้ง จำกัด  (ซีพี) เป็นรายสุดท้าย 

คณะกรรมการฯ ได้นำเอกสารข้อเสนอของผู้ยื่นข้อเสนอทั้ง 3 กลุ่ม ไปจัดเก็บ ณ ห้อง Navy Club และมีการออกเอกสารแบบฟอร์มตรวจสอบการจัดเก็บข้อเสนอโครงการฯ ให้แก่ผู้ยื่นข้อเสนอทุกราย ทำให้ผู้ยื่นข้อเสนอทุกรายจะไม่สามารถแก้ไข หรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลใดใด หรือล่วงรู้ข้อมูลเอกสารของผู้ประมูลรายอื่นได้เช่นกัน

ย้อนรอย ช้าไปเพียง 39 วินาที อ้างสาเหตุมาจากการจราจรติดขัดมากและมีการชุมนุมประท้วงบริเวณทำเนียบรัฐบาลทำให้รถติดสะสมเป็นวงกว้าง ทำให้ไม่สามารถมาลงทะเบียนเพื่อเข้าสู่ระบบการประมูล
• ผู้รับมอบอำนาจ โรคกำเริบ อ้างสาเหตุมาจากมีอาการหน้ามืดจะเป็นลม จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาในทันที แพทย์วินิจฉัยว่า เกิดจากอาการเบาหวาน และความดันโลหิตสูง มีอาการแทรกซ้อนจากน้ำตาลในเลือดต่ำ
• ฝนตกหนัก น้ำท่วม รถติด อ้างสาเหตุมาจากฝนตกหนักทั้งวัน ทำให้บริเวณจุดที่ต้องไปลงทะเบียนที่ถนนพหลโยธินมีน้ำท่วมขัง และการจราจรติดขัดมาก

หรือแม้แต่คนดังในสังคม หรือในวงการเมืองต่างก็วิพากษณ์วิจารณ์ว่าคำตัดสินของศาลนั้นเหมาะสมหรือไม่กับกรณีดังกล่าว

ซึ่งเห็นได้ว่า คดีนี้จะแตกต่างจากคดีอื่นๆ ที่ศาลปกครองสูงสุดเคยได้ตัดสินคดีมา เพราะโครงการฯ นี้ เป็นคนที่อยู่ในห้องสอบแต่ถูกเก็บข้อสอบคนสุดท้าย มิใช่ เป็นคนเข้าห้องสอบสาย แต่อย่างใด
ที่มา : คำสั่งศาลปกครองสูงสุด คดีหมายเลขดำ อ.381-2562
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่