พีระพันธุ์ แจงชัด ปมโครงการประมูลไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน 5,200 เมกะวัตต์ฯ ยัน ทำตามกฎหมาย หากพบผิดยกเลิกสัญญาได้ทันทีไม่ต้องรอ 25 ปี
เมื่อวันที่ 20 เมษายน น.ส.ศศิกานต์ วัฒนะจันทร์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการเซ็นสัญญาซื้อไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน ว่าเป็นเรื่องที่ฝ่ายค้านได้ตั้งกระทู้ถามในสภาเมื่อเดือนที่ผ่านมา และนายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พลังงาน ได้ตอบไปอย่างครบถ้วนแล้ว ซึ่งโครงการประมูลดังกล่าวเริ่มตั้งแต่ปี 2565 ในรัฐบาลที่ผ่านมา ในรอบแรกมีการประมูลขนาด 5,200 เมกะวัตต์ หลังจากการประมูลเสร็จสิ้น ผู้ที่ไม่ได้รับคัดเลือกได้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครอง ทำให้ในช่วงเวลาดังกล่าวไม่สามารถเซ็นสัญญาได้ แต่ล่าสุด ศาลปกครองสูงสุดได้วินิจฉัยยกฟ้องทุกกรณีแล้ว จึงไม่มีข้อกฎหมายใดเป็นอุปสรรคต่อการลงนามในสัญญาอีกต่อไป การไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง จึงเริ่มทยอยดำเนินการตามขั้นตอนที่เกี่ยวข้อง โดยมีเงื่อนไขกำหนดให้ กฟผ.ต้องลงนามในสัญญาภายใน 2 ปี โดยในส่วนของไฟฟ้าจากแสงแดดจะครบกำหนดในวันที่ 18 เมษายน 68 ส่วนพลังลมครบกำหนดภายในปี 69
น.ส.ศศิกานต์ กล่าวว่า สำหรับการซื้อไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนจำนวน 5,200 เมกกะวัตต์ในเฟสแรกนั้น มีการประมูลที่ 4,852 เมกกะวัตต์ มีสัญญาทั้งสิ้น 175 ฉบับ มีโครงการที่ กฟผ.เกี่ยวข้อง 83 โครงการ และเซ็นสัญญาแล้ว 67 โครงการ โดยเป็นการดำเนินการต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 65 ทางกฤษฎีกาได้ให้ข้อเสนอแนะว่า เนื่องจากมีการเซ็นลงนามสัญญาไปแล้วหากยกเลิกหรือชะลอการเซ็นลงนามสัญญาส่วนที่เหลืออาจจะทำให้เกิดปัญหาข้อกฎหมาย... อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ :
https://www.matichon.co.th/politics/news_5145180
พีระพันธุ์ แจงประมูลไฟสะอาด 5,200 MW เดินหน้าตามคำแนะนำกฤษฎีกา
เมื่อวันที่ 20 เมษายน น.ส.ศศิกานต์ วัฒนะจันทร์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการเซ็นสัญญาซื้อไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน ว่าเป็นเรื่องที่ฝ่ายค้านได้ตั้งกระทู้ถามในสภาเมื่อเดือนที่ผ่านมา และนายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พลังงาน ได้ตอบไปอย่างครบถ้วนแล้ว ซึ่งโครงการประมูลดังกล่าวเริ่มตั้งแต่ปี 2565 ในรัฐบาลที่ผ่านมา ในรอบแรกมีการประมูลขนาด 5,200 เมกะวัตต์ หลังจากการประมูลเสร็จสิ้น ผู้ที่ไม่ได้รับคัดเลือกได้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครอง ทำให้ในช่วงเวลาดังกล่าวไม่สามารถเซ็นสัญญาได้ แต่ล่าสุด ศาลปกครองสูงสุดได้วินิจฉัยยกฟ้องทุกกรณีแล้ว จึงไม่มีข้อกฎหมายใดเป็นอุปสรรคต่อการลงนามในสัญญาอีกต่อไป การไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง จึงเริ่มทยอยดำเนินการตามขั้นตอนที่เกี่ยวข้อง โดยมีเงื่อนไขกำหนดให้ กฟผ.ต้องลงนามในสัญญาภายใน 2 ปี โดยในส่วนของไฟฟ้าจากแสงแดดจะครบกำหนดในวันที่ 18 เมษายน 68 ส่วนพลังลมครบกำหนดภายในปี 69
น.ส.ศศิกานต์ กล่าวว่า สำหรับการซื้อไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนจำนวน 5,200 เมกกะวัตต์ในเฟสแรกนั้น มีการประมูลที่ 4,852 เมกกะวัตต์ มีสัญญาทั้งสิ้น 175 ฉบับ มีโครงการที่ กฟผ.เกี่ยวข้อง 83 โครงการ และเซ็นสัญญาแล้ว 67 โครงการ โดยเป็นการดำเนินการต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 65 ทางกฤษฎีกาได้ให้ข้อเสนอแนะว่า เนื่องจากมีการเซ็นลงนามสัญญาไปแล้วหากยกเลิกหรือชะลอการเซ็นลงนามสัญญาส่วนที่เหลืออาจจะทำให้เกิดปัญหาข้อกฎหมาย... อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : https://www.matichon.co.th/politics/news_5145180