Together is better โสดหรือไม่โสด แบบไหนแฮปปี้กว่ากัน
“ในเมื่อตอนที่เราเกิดมา เรามาคนเดียว ตอนไปเราก็ไปคนเดียวได้สิ ไม่เห็นต้องแคร์ใคร อยู่คนเดียวสบายจะตาย ไม่ต้องมีภาระ” สาวโสดคนหนึ่งได้กล่าวไว้
“คนโสดเขาไม่รู้หรอก เวลาที่เรามีความรักกับใครสักคน แล้วครองคู่กับเขาไป มันสุขเกินจะหาอะไรมาบรรยายแล้วล่ะ” สาววัย 35 ที่ใช้ชีวิตกับสามีหลังแต่งงานมาได้ 3 ปี ให้ความเห็น
“ทุกวันนี้ ดูแลลูกคนเดียว อยู่แบบนี้ก็ได้ ไม่เห็นจะต้องมีคู่ชีวิตเลย” สาววัย 50+ ที่หย่ากับสามีตั้งแต่อายุ 37 แชร์ให้ฟังในอีกแง่มุมหนึ่ง
อีกหนึ่งปัญหาโลกแตกที่ถามร้อยคน คำตอบที่ได้ก็คงไม่เหมือนกัน พี่หมอเองก็ฟันธงไม่ได้ เพราะสุขหรือทุกข์อยู่ที่เราเป็นผู้กำหนด ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับทัศนคติ ประสบการณ์ในอดีต การเลี้ยงดูจากครอบครัว เพื่อนๆ หรือคนรอบข้างที่จะทำให้เราเป็นคนแบบไหน สุขง่าย ทุกข์ยาก หรือสุขยาก ทุกข์ง่าย
มีงานวิจัยของประเทศอังกฤษพบว่า ในช่วงอายุ 45 – 65 ปี ผู้หญิงที่เป็นโสดแต่มีความสุขมีมากถึง 32% ในขณะที่ฝ่ายชายมีเพียง 19% เท่านั้น ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะโดยธรรมชาติแล้ว ผู้หญิงจะรู้สึกอ่อนไหวและละเอียดอ่อนมากกว่าผู้ชาย และมักจะเป็นฝ่ายที่พยายามรักษาความสัมพันธ์ของชีวิตคู่ให้ยาวนาน ซึ่งนานวันเข้าก็อาจทำให้เกิดความเบื่อหน่ายขึ้นมาได้ และเมื่อถึงจุดหนึ่งก็จะรู้สึกอยากที่ลดความกดดันต่างๆในชีวิตลง เช่น ไม่ต้องทำกับข้าวเผื่อใคร สามารถที่จะไปปาร์ตี้กับเพื่อนๆ ได้ หรืออยากไปไหนก็ไป โดยไม่ต้องเกรงใจหรือห่วงใครที่บ้าน ผู้หญิงสมัยนี้จึงเลือกที่จะเป็นโสดมากกว่าที่จะแต่งงานหรือมีชีวิตคู่
แล้วการมีความรักทำให้สุขภาพดีได้จริงหรือ
ในแง่ของอารมณ์และสุขภาพของคนโสดและไม่โสดก็มีข้อดี ข้อเสีย ที่ไม่เหมือนกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสุขภาพจิตและสุขภาพกายที่เป็นพื้นฐานของแต่ละคน
แต่ไม่ว่าจะรักคนในครอบครัว รักแฟน รักเขาข้างเดียว หรือรักแบบไหน พี่หมอเชื่อว่าคนเราก็สามารถมีความสุขได้ทั้งนั้น ซึ่งในทางการแพทย์พบว่า ในร่างกายมีฮอร์โมนหลายชนิดที่ทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบในแต่ละขั้นตอนของความรัก
อ่านแล้วลองนึกภาพตามพี่หมอนะครับ
· ช่วงแรกพบ : ฮอร์โมนที่ทำงานในช่วงนี้ก็คือ อะดรีนาลีน (Adrenaline) ซึ่งจะทำให้ใจเต้นเร็วและหน้าแดง
· ช่วงสานสัมพันธ์ : เป็นหน้าที่ของฮอร์โมนที่มีชื่อว่า เทสโทสเตอโรนและเอสโตรเจน (Testosterone and Estrogen) หรือฮอร์โมนเพศชายและหญิงนั่นเอง โดยฮอร์โมนนี้จะทำให้เราอยากมีเพศสัมพันธ์กับคนที่เรารักหรือรู้สึกดีด้วย
· ช่วงผูกพัน : สมองจะหลั่งฮอร์โมนออกซิโตซิน (Oxytocin) ออกมามากขึ้น โดยเฉพาะเวลาที่เรากอดหรือมีเซ็กส์กับคนที่เรารัก ซึ่งจะทำให้เกิดความรู้สึกผูกพันและเข้าอกเข้าใจกันมากขึ้น ส่งผลให้บางคนอาจถึงขั้นกินไม่ได้ นอนไม่หลับ
· ช่วงตักเติมความสุข : จะเป็นช่วงเวลาของฮอร์โมนเอนดอร์ฟิน (Endorphin) ซึ่งจะหลั่งออกมาเมื่อสมองเกิดความรู้สึกดี และยังสามารถเป็นยาแก้ปวดตามธรรมชาติได้อีกด้วย โดยร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนชนิดนี้ออกมาเมื่อมีความเครียด หรือมีการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง และจะหลั่งออกมามากที่สุดตอนที่ถึงจุดสุดยอดจากการมีเพศสัมพันธ์
· ช่วงเรียนรู้อยู่ด้วยกัน : ช่วงสุดท้ายนี้จะเป็นหน้าที่ของฮอร์โมนเซโรโทนิน (Serotonin) ซึ่งจะทำหน้าที่ควบคุมความอิ่ม หิว การนอนหลับ อารมณ์ทางเพศ และลดความก้าวร้าว นอกจากนี้ยังเป็นฮอร์โมนที่ทำให้เรารู้สึกเป็นคนสำคัญกับคนรัก ซึ่งถ้ามีมากเกินไปก็จะส่งผลให้วิตกกังวลง่าย คิดมาก มโนเก่ง อารมณ์แปรปรวน แต่ถ้ามีน้อยเกินไปก็อาจทำให้เป็นโรคซึมเศร้าได้เช่นกัน
ข้อดีของการมีความรักก็คือจะช่วยส่งผลให้เรามีสุขภาพที่ดีขึ้น เพราะฮอร์โมนต่างๆ ที่เกิดขึ้นจะช่วยลดความเครียดในชีวิตได้ เพราะความเครียดทำให้ความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตเพิ่มมากขึ้นถึง 43% แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ไม่ควรพึ่งพาความรักมากจนเกินไปนะครับ เพราะถ้ารักไม่เป็นก็อาจจะทำให้เครียดหนักกว่าเดิมได้เหมือนกัน
สำหรับพี่หมอเองมองว่า ความสุขของคนเราไม่ได้สัมพันธ์กับการเป็นโสดหรือการมีคู่ เพราะไม่ว่าจะสุขหรือทุกข์ก็เป็นเพียงสภาวะชั่วคราวเท่านั้น ไม่มีอะไรที่จะอยู่เราตลอดไป เราจึงไม่ควรเอาชีวิตหรือความสุขของเราไปผูกไว้กับใครหรืออะไร แต่ควรที่จะมีสติและรู้ให้เท่าทัน ไม่เผลอไผลหรือปล่อยให้อารมณ์และความรู้สึกต่างๆ ครอบงำ จนนำไปสู่พฤติกรรมที่อาจจะเป็นอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินของเรา
สุขสันต์ในวัน(ใกล้)ปีใหม่ครับ จะฉลองปีใหม่แบบคนโสดหรือคนมีคู่โสด พี่หมอก็ขอให้มีความสุขกันถ้วนหน้าเลยนะครับ ❤ ❤ ❤
Together is better โสดหรือไม่โสด แบบไหนแฮปปี้กว่ากัน
“ในเมื่อตอนที่เราเกิดมา เรามาคนเดียว ตอนไปเราก็ไปคนเดียวได้สิ ไม่เห็นต้องแคร์ใคร อยู่คนเดียวสบายจะตาย ไม่ต้องมีภาระ” สาวโสดคนหนึ่งได้กล่าวไว้
“คนโสดเขาไม่รู้หรอก เวลาที่เรามีความรักกับใครสักคน แล้วครองคู่กับเขาไป มันสุขเกินจะหาอะไรมาบรรยายแล้วล่ะ” สาววัย 35 ที่ใช้ชีวิตกับสามีหลังแต่งงานมาได้ 3 ปี ให้ความเห็น
“ทุกวันนี้ ดูแลลูกคนเดียว อยู่แบบนี้ก็ได้ ไม่เห็นจะต้องมีคู่ชีวิตเลย” สาววัย 50+ ที่หย่ากับสามีตั้งแต่อายุ 37 แชร์ให้ฟังในอีกแง่มุมหนึ่ง
อีกหนึ่งปัญหาโลกแตกที่ถามร้อยคน คำตอบที่ได้ก็คงไม่เหมือนกัน พี่หมอเองก็ฟันธงไม่ได้ เพราะสุขหรือทุกข์อยู่ที่เราเป็นผู้กำหนด ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับทัศนคติ ประสบการณ์ในอดีต การเลี้ยงดูจากครอบครัว เพื่อนๆ หรือคนรอบข้างที่จะทำให้เราเป็นคนแบบไหน สุขง่าย ทุกข์ยาก หรือสุขยาก ทุกข์ง่าย
มีงานวิจัยของประเทศอังกฤษพบว่า ในช่วงอายุ 45 – 65 ปี ผู้หญิงที่เป็นโสดแต่มีความสุขมีมากถึง 32% ในขณะที่ฝ่ายชายมีเพียง 19% เท่านั้น ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะโดยธรรมชาติแล้ว ผู้หญิงจะรู้สึกอ่อนไหวและละเอียดอ่อนมากกว่าผู้ชาย และมักจะเป็นฝ่ายที่พยายามรักษาความสัมพันธ์ของชีวิตคู่ให้ยาวนาน ซึ่งนานวันเข้าก็อาจทำให้เกิดความเบื่อหน่ายขึ้นมาได้ และเมื่อถึงจุดหนึ่งก็จะรู้สึกอยากที่ลดความกดดันต่างๆในชีวิตลง เช่น ไม่ต้องทำกับข้าวเผื่อใคร สามารถที่จะไปปาร์ตี้กับเพื่อนๆ ได้ หรืออยากไปไหนก็ไป โดยไม่ต้องเกรงใจหรือห่วงใครที่บ้าน ผู้หญิงสมัยนี้จึงเลือกที่จะเป็นโสดมากกว่าที่จะแต่งงานหรือมีชีวิตคู่
แล้วการมีความรักทำให้สุขภาพดีได้จริงหรือ
ในแง่ของอารมณ์และสุขภาพของคนโสดและไม่โสดก็มีข้อดี ข้อเสีย ที่ไม่เหมือนกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสุขภาพจิตและสุขภาพกายที่เป็นพื้นฐานของแต่ละคน
แต่ไม่ว่าจะรักคนในครอบครัว รักแฟน รักเขาข้างเดียว หรือรักแบบไหน พี่หมอเชื่อว่าคนเราก็สามารถมีความสุขได้ทั้งนั้น ซึ่งในทางการแพทย์พบว่า ในร่างกายมีฮอร์โมนหลายชนิดที่ทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบในแต่ละขั้นตอนของความรัก
อ่านแล้วลองนึกภาพตามพี่หมอนะครับ
· ช่วงแรกพบ : ฮอร์โมนที่ทำงานในช่วงนี้ก็คือ อะดรีนาลีน (Adrenaline) ซึ่งจะทำให้ใจเต้นเร็วและหน้าแดง
· ช่วงสานสัมพันธ์ : เป็นหน้าที่ของฮอร์โมนที่มีชื่อว่า เทสโทสเตอโรนและเอสโตรเจน (Testosterone and Estrogen) หรือฮอร์โมนเพศชายและหญิงนั่นเอง โดยฮอร์โมนนี้จะทำให้เราอยากมีเพศสัมพันธ์กับคนที่เรารักหรือรู้สึกดีด้วย
· ช่วงผูกพัน : สมองจะหลั่งฮอร์โมนออกซิโตซิน (Oxytocin) ออกมามากขึ้น โดยเฉพาะเวลาที่เรากอดหรือมีเซ็กส์กับคนที่เรารัก ซึ่งจะทำให้เกิดความรู้สึกผูกพันและเข้าอกเข้าใจกันมากขึ้น ส่งผลให้บางคนอาจถึงขั้นกินไม่ได้ นอนไม่หลับ
· ช่วงตักเติมความสุข : จะเป็นช่วงเวลาของฮอร์โมนเอนดอร์ฟิน (Endorphin) ซึ่งจะหลั่งออกมาเมื่อสมองเกิดความรู้สึกดี และยังสามารถเป็นยาแก้ปวดตามธรรมชาติได้อีกด้วย โดยร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนชนิดนี้ออกมาเมื่อมีความเครียด หรือมีการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง และจะหลั่งออกมามากที่สุดตอนที่ถึงจุดสุดยอดจากการมีเพศสัมพันธ์
· ช่วงเรียนรู้อยู่ด้วยกัน : ช่วงสุดท้ายนี้จะเป็นหน้าที่ของฮอร์โมนเซโรโทนิน (Serotonin) ซึ่งจะทำหน้าที่ควบคุมความอิ่ม หิว การนอนหลับ อารมณ์ทางเพศ และลดความก้าวร้าว นอกจากนี้ยังเป็นฮอร์โมนที่ทำให้เรารู้สึกเป็นคนสำคัญกับคนรัก ซึ่งถ้ามีมากเกินไปก็จะส่งผลให้วิตกกังวลง่าย คิดมาก มโนเก่ง อารมณ์แปรปรวน แต่ถ้ามีน้อยเกินไปก็อาจทำให้เป็นโรคซึมเศร้าได้เช่นกัน
ข้อดีของการมีความรักก็คือจะช่วยส่งผลให้เรามีสุขภาพที่ดีขึ้น เพราะฮอร์โมนต่างๆ ที่เกิดขึ้นจะช่วยลดความเครียดในชีวิตได้ เพราะความเครียดทำให้ความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตเพิ่มมากขึ้นถึง 43% แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ไม่ควรพึ่งพาความรักมากจนเกินไปนะครับ เพราะถ้ารักไม่เป็นก็อาจจะทำให้เครียดหนักกว่าเดิมได้เหมือนกัน
สำหรับพี่หมอเองมองว่า ความสุขของคนเราไม่ได้สัมพันธ์กับการเป็นโสดหรือการมีคู่ เพราะไม่ว่าจะสุขหรือทุกข์ก็เป็นเพียงสภาวะชั่วคราวเท่านั้น ไม่มีอะไรที่จะอยู่เราตลอดไป เราจึงไม่ควรเอาชีวิตหรือความสุขของเราไปผูกไว้กับใครหรืออะไร แต่ควรที่จะมีสติและรู้ให้เท่าทัน ไม่เผลอไผลหรือปล่อยให้อารมณ์และความรู้สึกต่างๆ ครอบงำ จนนำไปสู่พฤติกรรมที่อาจจะเป็นอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินของเรา
สุขสันต์ในวัน(ใกล้)ปีใหม่ครับ จะฉลองปีใหม่แบบคนโสดหรือคนมีคู่โสด พี่หมอก็ขอให้มีความสุขกันถ้วนหน้าเลยนะครับ ❤ ❤ ❤