วิทยาศาสตร์การกีฬา เน้นวิทย์ ไม่เน้นกีฬา ใช้ฟิสิกส์เคมีทางการแพทย์มาพัฒนาร่างมนุษย์ธรรมดาให้เป็นร่างนักกีฬาสุขภาพดี

สาขาเกิดใหม่ของไทย
"วิทยาศาสตร์การกีฬา"
หลายคนมักเข้าใจผิดว่าเรียนวิทย์-กีฬา จบไปเป็นนักกีฬา จริงๆแล้วถ้าเป็นวุฒิ วทบ. ไม่ได้เรียนกีฬาเยอะ และไม่สามารถเป็นโค้ชที่เก่งได้หากเทียบกับ ศึกษาพละ (เพราะศึกษาพละเป็นวุฒิ ศษ.บ. ต้องเรียน 5ปี มีทักษะครู) และวิทย์-กีฬาก็เป็นนักกายภาพบำบัดไม่ได้ แม้จะเรียนคล้ายกัน แต่การทำกายภาพบำบัดต้องมีใบประกอบวิชาชีพก่อน




มาพูดถึงวิทยาศาสตร์การกีฬา วุฒิ วทบ. เรียน4ปี เน้นวิทยาศาสตร์เป็นหลักเหมือนสายวิทย์สาขาอื่นๆ ในสาขานี้เอาความรู้วิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในวงการกีฬา เช่น การเพิ่มทักษะทางกีฬา โภชนาการ การรักษาอาการบาดเจ็บทางกีฬา การบำบัดฟื้นฟูในนักกีฬา การตรวจร่างกายนักกีฬาก่อน-หลังแข่งขัน การปั้นหุ่นสำหรับนางแบบนายแบบนักเพาะกาย ฯลฯ ซึ่งความรู้พวกนี้ประยุกต์มาจาก วิชาดังต่อไปนี้
1. Anatomy (กายวิภาคศาสตร์)
2. Physiology (สรีรวิทยา)
3. Biomechanics (ชีวกลศาสตร์)
4. Biochemistry (ชีวเคมี)
5. Nutrition (โภชนศาสตร์)
6. Sports Medicine (เวชศาสตร์การกีฬา)
7. Psychology (จิตวิทยาการกีฬา)

หมวดวิชาประยุกต์ เช่น
8. Sports technology (เทคโนโลยีทางการกีฬา)
9. Injury and rehabilitation (การบาดเจ็บจากกีฬาและการฟื้นฟูสมรรถภาพ)
10. Fitness testing (การทดสอบสมรรถภาพ)
11. Body conditioning (เสริมสร้างสมรรถภาพ)
12. Massage for health (นวดเพื่อสุขภาพ)
13. Weight training (การฝึกด้วยน้ำหนัก)
14. Coaching (การเป็นผู้ฝึกกีฬา)
15. Management (การจัดการกีฬา)
*เป็นวิชาบังคับ โดยจะยังไม่รวมวิชากลาง เช่น ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ พื้นฐาน


ส่วนวิชาพวกกีฬาเราเรียนน้อยมาก ในหลักสูตรคือเรียนแค่ให้เห็นภาพสถานการณ์ขณะออกกำลังกาย เพื่อนำไปศึกษาต่อเกี่ยวกับฟิสิกส์การเคลื่อนไหว รู้ทักษะแต่ละด้านของกีฬาแต่ละประเภท เพื่อนำไปศึกษาต่อเกี่ยวกับเคมีในร่างกาย และนำมาพัฒนานักกีฬาให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
วิชากีฬามีแค่4ตัว เรียนทุกกีฬาอย่างละนิดอัดรวมในตัวเดียว เลือกจาก5วิชา
1.กีฬาทีม
2.กีฬาต่อสู้
3.กีฬาผจญภัย
4.กีฬาทางน้ำ
6.กีฬาแร็คเก็ต
บางมหาวิทยาลัยจะสอดแทรกกิจกรรมนอกเวลาเรียนซึ่งไม่เกี่ยวกับหลักสูตร เพื่อฝึกความอดทนและระเบียบวินัยไปในตัว (เช่น ม.เกษตรเรามีวิ่งเก็บรอบ ปั่นจักรยานทัวร์ธรรมชาติ และว่ายน้ำ ตอนตี5, 5โมงเย็น)


*อ้างอิงข้อมูลจากหลักสูตรวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปี พ.ศ. 2550

อาจแตกต่างกันไปแต่ละมหาลัย และเนื้อหาจะต่างกับหลักสูตร ศศ.บ. ที่รวมอยู่ในคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา ของบางมหาวิทยาลัย




อาชีพที่สามารถทำได้
1.นักวิทยาศาสตร์การกีฬา ตำแหน่งนักวิชาการของหน่วยงานรัฐ
2.ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกกำลังกาย/เทรนเนอร์ฟิตเนส (รายได้ดีแต่ต้องบุคลิกดีมีประสบการณ์)
3.แพทย์สนาม/ผู้ดูแลนักกีฬาประจำทีมของสโมสรกีฬา (ดูแลนักกีฬาเรื่องอาหาร, อาการบาดเจ็บ, สมรรถภาพ, ทักษะ ฯลฯ)
4.นักวิจัย/ผู้ช่วยนักวิจัย ค้นคว้าหาคำตอบ หาสิ่งใหม่ๆ อันเป็นประโยชน์แก่สังคม
5.ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูของโรงพยาบาลบางแห่ง
.. และอีกมากมายหลายอาชีพที่ยังไม่ได้กล่าวถึง


     ในยุคของคนรักสุขภาพ อาชีพเหล่านี้สามารถสร้างรายได้เป็นอันดับหนึ่ง จึงต้องการบุคคลที่มีความรู้อย่างถ่องแท้ในการแนะนำด้านสุขภาพ  นอกจากจะสามารถประกอบอาชีพเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพแล้ว ยังสามารถดูแลสุขภาพให้กับตนเองและคนที่เรารักด้วย น้องๆที่สนใจ มาสมัครกันเยอะๆนะคะ มาร่วมสร้างชุมชนคนรักสุขภาพกันเถอะค่ะ ^_^






แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่