เกร็ดประวัติศาสตร์ในสงคราม

Kommandoverband "Jaguar"



ภาพ:เหล่าทหารเยอรมันจาก Kommandoverband "Jaguar" หน่วยปฏิบัติการพิเศษ"จากัวร์"ที่ทางกองทัพเยอรมันจัดตั้งขึ้น เพื่อทำลายและสร้างความสับสนให้แก้ฝ่ายกองทัพแดงโซเวียต 
โดยพวกเขาเป็นส่วนหนึ่งของกองทัพกลุ่มใต้ของเยอรมัน พวกเขาเหล่านี้แต่งกายให้เหมือนกับทหารโซเวียตและฝึกฝนการรบและฝึกพูดภาษารัสเซีย เพื่อการรบและแทรกซึมแนวหลังของข้าศึก 

จากภาพเหล่าพลขับรถถังประจำหน่วยกำลังเรียนรู้การใช้ปืนกล MP-40 แบบติดที่เก็บเสียง ด้านหลังคือ รถถังรุ่น T-34/85 ของฝ่ายโซเวียตที่ยึดมาใช้งานโดยกองทัพเยอรมัน การฝึกฝนในฮังการี ช่วงปี 1945 เพื่อเตรียมรับมือกองทัพแดงโซเวียตที่จะรุกเข้ามายังเมืองเซแกชแฟเฮร์วาร์

ชีวิตที่ต้องสังเวยให้กับวันสุดท้ายของสงคราม


ในช่วงสุดท้ายของสงครามโลกครั้งที่ 1 มีกว่า 3,000 ชีวิตที่ต้องสังเวยให้กับวันสุดท้ายของสงครามนี้...

ทหารอังกฤษคนสุดท้ายที่เสียชีวิตในสงครามโลกครั้งที่ 1 ชื่อของเขาคือ พลทหารจอร์จ เอ็ดวิน เอลลิสัน จากกรมทหารม้าไอริชที่ 5 ถูกยิงโดยพลแม่นปืนเยอรมัน เมื่อเวลา 09.30 น.ในขณะปฏิบัติหน้าที่ลาดตระเวนใกล้เมืองมงส์ในประเทศเบลเยียม 90 นาที ก่อนที่สนธิสัญญาจะมีผลบังคับใช้

ทหารฝรั่งเศสคนสุดท้ายที่เสียชีวิตในสงครามโลกครั้งที่ 1 ชื่อของเขาคือ Augustin Trébuchon เขาถูกฆ่าตายระหว่างนำข่าวเรื่องซุปและอาหารที่ใช้ฉลองการหยุดยิงไปแจ้งให้แก่เพื่อนๆของเขา เวลา 10.45 น. 15 นาที ก่อนที่สงครามจะสิ้นสุด

ทหารแคนาดาคนสุดท้ายที่เสียชีวิตในสงครามโลกครั้งที่ 1 ชื่อของเขาคือ พลทหาร จอร์จ ลอว์เรนซ์ ไพรซ์ ถูกยิงโดยพลแม่นปืนชาวเยอรมันเมื่อเวลา 10.57 น.อีกเพียง 2 นาที ก่อนจะถึงเวลา 11.00 น.และเขายังเป็นทหารเครือจักรภพคนสุดท้ายที่เสียชีวิตในสงครามโลกครั้งที่ 1 อีกด้วย

อีกไม่กี่วินาทีก่อนที่สงครามจะสิ้นสุดลงทหารอเมริกัน(ลูกครึ่งเยอรมัน)คนสุดท้ายที่เสียชีวิตในสงครามโลกครั้งที่ 1 ชื่อของเขาคือ พลทหารเฮนรี กึนเธอร์ เขาเสียชีวิตขณะรวมกำลังพลในหน่วยของเขา เข้าตีกำลังพลเยอรมันที่ต่างแตกตื่นและตกใจ ทางฝ่ายเยอรมันเลยยิงตอบโต้การบุกเข้าตีของเขาด้วยการยิงปืนกลสวนกลับ เพราะทหารเยอรมันเหล่านั้นพึ่งทราบข่าวว่า กำลังจะมีการสงบศึกเกิดขึ้นในไม่ช้า พลทหารเฮนรี กึนเธอร์ เสียชีวิต 1 นาที ก่อนที่สัญญาสงบศึกจะมีผลบังคับใช้

ทหารเยอรมันที่เสียชีวิตคนสุดท้ายในสงครามโลกครั้งที่ 1 นั้นยากที่จะระบุได้แน่ชัด บางตำราและบันทึกต่างกล่าวถึงเด็กหนุ่มวัย 18 ปี ชื่อ Alphonse Bala เขาถูกฆ่าตายอีกเพียงไม่นานก่อนที่การหยุดยิงจะก่อนขึ้น เขาเข้าร่วมกองทัพในเดือนสิงหาคมปี 1914 ในช่วงที่สงครามได้เริ่มต้นขึ้น

ทหารหลายคนต่างพากันเฉลิมฉลองและยินดีกับสันติภาพที่เกิดขึ้น ระฆังแห่งสันติที่พากันบรรเลงบทเพลงเป็นจังหวะที่ดังไปทั่วทุกสารทิศ ทุกคนต่างพากันยินดีที่จะได้กลับบ้านไปหาคนที่พวกเขารัก อย่างไรก็ตามสงครามโลกครั้งที่ 1 สิ้นสุดลงอย่างเป็นทางการคือ วันที่ฝ่ายสัมพันธมิตรร่างและลงนามสนธิสัญญาฉบับใหม่ที่พระราชวังแวร์ซาย เมื่อวันที่ 10 มกราคม ปี 1920 หรือ 36 วันให้หลัง...

ความโหดร้ายของสงคราม


เรือตรี แฟรงค์ โอ ฟลาเฮอตี้ และพลทหารบรูโน่ พี ไกโด นักบินและพลปืนเครื่องบินดำทิ้งระเบิด จากเรือ ยูเอสเอส เอ็นเตอร์ไพรส์ พวกเขาทั้งคู่คือผู้โชคร้ายที่ได้เผชิญหน้ากับความจริงของสงคราม และพิสูจน์คำกล่าวนี้ด้วยชีวิตตัวเอง กับคำกล่าวที่ว่า "สงครามไม่มีคำว่าปราณี"

ในระหว่างยุทธนาวีที่มิดเวย์ แม้พวกเขาจะสละเครื่องกระโดดร่มออกมาจากเครื่องที่กำลังตก และรอคอความช่วยเหลืออยู่ในทะเล แต่ชะตากรรมของพวกเขา กลับต้องมาพบกับเรือรบข้าศึกที่แล่นเข้ามาจับกุมพวกเขาเป็นเชลยศึก
ผู้หมวดแฟรงค์และพลปืนของเขาบรูโน่ ถูกจับขึ้นเรือนาการะ หลังจากนั้นพวกเขาทั้งคู่ถูกสอบปากคำเพื่อเค้นข้อมูลข่าวสาร เมื่อการสอบปากคำสิ้นสุดลง ทั้งสองถูกสังหารด้วยการถ่วงน้ำ

ชัยชนะบนความพ่ายแพ้


หลังจากที่พ่ายแพ้ในยุทธนาวีที่มิดเวย์ กองทัพเรือญี่ปุ่นบ่ายหน้ากลับสู่แผ่นดินใหญ่ของตนเอง ทหารที่ได้รับบาดเจ็บทนพิษบาดแผลไม่ไหวเสียชีวิตระหว่างทางเป็นจำนวนมาก ส่วนคนที่ยังนอนรอความตายบางส่วนโชคดีที่พวกเขาถึงมือหมอบนฝั่ง
แต่สิ่งหนึ่งที่รอพวกเขาอยู่ก็คือ มาตรการปกปิดข่าวความพ่ายแพ้ครั้งนี้ ทันทีที่เรือเทียบท่า ทหารที่บาดเจ็บถูกกันออกไปรักษาในโรงพยาบาลที่ทางกองทัพกำหนดเอาไว้โดยเฉพาะและยังห้ามไม่ให้ทหารทุกนายแพร่งพรายผลการรบครั้งนี้โดยเด็ดขาด สื่อมวลชนญี่ปุ่นรับทราบข่าวสารจากทางกองทัพเพียงแค่ "กองทัพญี่ปุ่นสามารถขับไล่ศัตรูผู้โอหังได้อีกครั้ง"
ขณะเดียวกันองค์พระจักรพรรดิทรงทราบผลการรบที่ไม่เป็นดั่งคาดในครั้งนี้ จากปากของนายพลเรือยามาโมโตะด้วยพระองค์เอง แต่ทางกองทัพบกญี่ปุ่นกลับได้รับข่าวสารของการศึกครั้งนี้ว่ากองทัพเรือได้รับชัยชนะอีกครั้ง

 ฝูงบินขับไล่ Red Tail Squadron


ฝูงบินหางแดง หรือ Red Tail Squadron ฝูงบินขับไล่ของอเมริกันในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่มีแต่ทหารผิวสีเป็นนักบิน พวกเขาคือตำนานของชาวแอฟริกันอเมริกันที่ร่วมรบเคียงบ่าเคียงไหล่กับทหารผิวขาวในสงคราม แต่นอกเหนือจากกองบินทหารบกอเมริกันที่มีนักบินผิวสีร่วมรบแล้ว กองทัพอากาศอังกฤษ หรือ RAF (Royal Air Force) ก็มีนักบินผิวสีเช่นกัน

เมื่ออังกฤษเข้าสู่สงคราม กำลังทรัพยากรต่างๆถูกทุ่มเทเพื่อการทำสงครามโดยเฉพาะ จักรวรรดิอังกฤษที่มีดินแดนอาณานิคมอยู่ทั่วโลก ก็ได้รับทรัพยากรสำคัญเพื่อใช้ในการสู้ศึกกับกองทัพอักษะ แน่นอนว่า ทรัพยากรมนุษย์ก็เป็นสิ่งสำคัญที่จักรวรรดิอังกฤษมีเป็นจำนวนมาก ทหารหาญจากดินแดนอาณานิคมอังกฤษที่อยู่ทั่วโลกถูกส่งมาที่เกาะอังกฤษ และหนึ่งในนั้นก็คือ "ชาวจาไมก้า" ซึ่งถูกส่งมาเพื่อการนี้

กองบัญชาการกองบินทิ้งระเบิด หรือ Bomber Command มีกำลังพลกว่า 80 เปอร์เซนต์ที่ปฏิบัติหน้าที่ตั้งแต่ เจ้าหน้าที่ภายในกองบัญชาการ ช่างเครื่อง เจ้าหน้าที่สรรพาวุธ หรือ ลูกเรือเครื่องบินทิ้งระเบิด ล้วนแล้วแต่มีคนจาไมก้า และชนพื้นเมืองแถบเคริบเบียนปฏิบัติหน้าที่เคียงข้างทหารอังกฤษตลอดช่วงสงคราม
จากภาพคือ พันจ่าอากาศเอกวิค ทักเกอร์ นักบินหนุ่มชาวจาไมก้า อดีตนักศึกษานิติศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด ที่เข้าร่วมรับใช้จักรวรรดิอังกฤษในยามสงคราม เข้าร่วมทำหน้าที่ในฝูงบินขับไล่ที่ 129 ในการรบเหนือน่าฟ้าอังกฤษตั้งแต่ปี 1940 และสร้างวีรกรรมการรบบนท้องฟ้าเห็นเป็นที่ประจักษ์แก่เพื่อนนักบินในฝูง

แต่จ่าทักเกอร์โชคร้ายในการบินคุ้มกันเครื่องบินทิ้งระเบิดในวันที่ 5 เมษายน 1942 ฝูงบินทิ้งระเบิดที่เขาคุ้มกันนั้นถูกฝูงบินขับไล่เยอรมันเข้าโจมตีขณะบินข้ามช่องแคบอังกฤษและมุ่งตรงสู่ เลอ ฮาฟ ของฝรั่งเศส เครื่องบินสปิตไฟร์ของจ่าทักเกอร์ถูกจู่โจมโดยเครื่องบินรบเยอรมันแบบ FW190 ซึ่งโจมตีโดยมีดวงอาทิตย์เป็นฉากหลัง เขาพลาดท่าถูกยิงตกลงสู่ช่องแคบอังกฤษ
แม้จะเสียชีวิตในการรบ แต่พันจ่าอากาศเอกวิค ทักเกอร์ ถูกจารึกชื่อไว้ที่อนุสรณ์กองทัพอากาศอังกฤษ Runnymede Memorial เพื่อประกาศคุณความดีของเขาตราบจนทุกวันนี้

ของที่ระลึกจาก "รังอินทรีย์" 


เดือนกรกฎาคม 1945 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ในยุโรปยุติลงได้ 2 เดือน ยูจีน โร เสนารักษ์ประจำกองร้อยอีซี่ตัดสินใจแต่งงานกับสาวอังกฤษที่รู้จักกันในช่วงก่อนการบุกนอร์มังดี เพื่อนทหารหาญในกองร้อยต่างมาร่วมงานแต่งงานนี้และอวยพรให้คู่บ่าวสาวมีความสุขพร้อมทั้งมอบของที่ระลึกให้ 

โดยในของที่ระลึกเหล่านี้คือ ชุดเครื่องเงินช้อน ส้อม มีด ซึ่งทั้งหมดนี้แต่เดิมเคยอยู่บนโต๊ะอาหารของฮิตเลอร์และสมาชิกคนสำคัญของพรรคนาซี ซึ่งอยู่บนบ้านพักตากอากาศส่วนตัวของฮิตเลอร์ ที่รู้จักกันในชื่อของ "รังอินทรีย์" โดยในตอนที่กองร้อยอีซี่บุกขึ้นไปยึดที่นี่ พวกเขาทุกคนได้ของที่ระลึกติดไม้ติดมือกลับมากันทุกคน
แม้จะเป็นของที่ระลึกที่ไม่เหมือนใครและคงจะไม่มีใครเหมือน แต่ยูจีนก็ตัดสินใจบริจาคชุดเครื่องเงินเหล่านี้ให้แก่พิพิธภัณฑ์สงครามโลกครั้งที่ 2 ที่
เมืองบาตั้น รัฐหลุยเซียน่า

 "เลโอนาโด ดา วินชี" (RM RM Leonardo da Vinci)


หนึ่งในเรือดำน้ำกองทัพเรืออิตาลีในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่มีชื่อคุ้นหู อย่างเช่นเรือ "เลโอนาโด ดา วินชี" (RM RM Leonardo da Vinci) นอกจากนี้แล้ว กองทัพเรืออิตาเลียนในยุคนั้น ก็ยังมีเรือดำน้ำที่ชื่อ "กาลิเลโอ กาลิเลอี" (RM Galileo Galilei) อีกด้วยเช่นกัน โดยเรือดำน้ำลำนี้เป็นเรือชั้น อาร์คีเมเด (Archimede-class submarine)

เรือดำน้ำกาลิเลโอ กาลิเลอี ออกปฏิบัติการเพียงครั้งเดียว ในวันที่ 16 มิถุนายน 1940 และสามารถจมเรือบรรทุกน้ำมันสัญชาติ นอร์เวย์ ที่กำลังแล่นออกจากอ่าวเอเดน ในทะเลแดง หลักจากนั้นมันถูกเรือลากอวนที่กองทัพเรืออังกฤษนำมาดัดแปลงเป็นเรือรบ ซึ่งก็คือเรือหลวงมูนสโตน (HMS Moonstone) ออกไล่ล่าและโจมตีด้วยระเบิดน้ำลึกจนเรือ กาลิเลโอ กาลิเลอี เสียหายและต้องลอยลำขึ้นมาเหนือน้ำ ก่อนจะยิงต่อสู้กับกองเรือรบอังกฤษที่แล่นมาสมทบ และไม่นาน มันก็ถูกยึดได้

กองทัพเรือยึดเรือ กาลิเลโอ กาลิเลอี มาและเข้าประจำการในชื่อเรือหลวง เอ็กซ์ 2 (HMS X2) และเมื่อสงครามยุติมันถูกปลดประจำการและถูกแยกชิ้นส่วนเป็นเศษเหล็กในปี 1946
ภาพประกอบคือพิธีปล่อยเรือดำน้ำกาลิเลโอ กาลิเลอี ที่อู่ต่อเรือใน ตารานโต้ ในปี 1934

คำศัพท์สแลงทางทหารในยุคสงครามโลกครั้งที่ 2



ระบบขนส่งนักโทษและคนต่างด้าว 


หรือ Justice Prisoner and Alien Transportation System (JPATS) เป็นหน่วยงานของรัฐบาลกลางสหรัฐอเมริกา ในการขนส่งบุคคลที่ถูกควบคุมตัวในเรือนจำตามกฎหมาย, หรือสถานที่คุมขังอื่นๆในหน่วยงานของรัฐ มันเป็นเครือข่ายการขนส่งนักโทษจากที่คุมขังหนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง และมันยังเป็นเครือข่ายการขนส่งนักโทษที่ใหญ่ที่สุดในโลก 

ซึ่งระบบขนส่งนี้จะถูกใช้โดยสำนักงานเรือนจำกลาง, สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง และกรมศุลกากรสหรัฐอเมริกา
ระบบขนส่งนักโทษและคนต่างด้าว ยังมีชื่อเล่นในหน่วยงานว่า ICE Air (ไอซ์แอร์) แต่ชื่อเล่นที่คนทั่วทั้งอเมริกามักจะเรียกคือ Con Air (คอน แอร์)
ภาพประกอบจากภาพยนตร์เรื่อง Con Air

ขอบคุณข้อมูลทั้งหมด
Cr.แอดมินนามปากกา
Cr.War History with Teacher Panyanat
Crfacebook.com/pg/
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่