ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับ (Drone) ได้รับความนิยมมากขึ้นนอกเหนือจากบทบาทดั้งเดิมด้านการทหาร โดยเฉพาะในธุรกิจการขนส่งสินค้า หลายบริษัททั้งในและต่างประเทศเริ่มมีการทดลองและพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อเพิ่มความสะดวกในการขนส่งเชิงพาณิชย์ นอกจากนี้ โดรนยังได้รับการพัฒนาเพื่อเป็นอุปกรณ์ช่วยเหลือมนุษย์ในกิจกรรมต่างๆ ช่วยประหยัดเวลาและลดความเสี่ยงในชีวิตและทรัพย์สิน อาทิ การสำรวจ การลาดตระเวน การกู้ชีพ และการเก็บตัวอย่างเพื่อนำกลับมาวิเคราะห์ข้อมูล ด้วยเหตุผลนี้ Pricewaterhouse Coopers (PwC) จึงจัดโดรนเป็น 1 ใน 8 เทคโนโลยีสำคัญในอนาคต (The essential Eight) โดย PwC ประเมินว่าในปี 2560 มีธุรกิจที่ลงทุนเกี่ยวกับโดรนโดยเฉพาะสำคัญประมาณร้อยละ 5 แต่ภายในปี 2563 จะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 14 และสัดส่วนการลงทุนในอุตสาหกรรมโดรนจะเปลี่ยนไปเป็นเชิงพาณิชย์มากขึ้น
นอกจากนี้ (รายงานสถานการณ์เทคโนโลยีโดรนเชิงพาณิชย์ ของ PwC) “Clarity from above” ยังคาดการณ์ว่าในปี 2563 มูลค่าของโดรนในอุตสาหกรรมต่างๆ (drone service) อาจสูงถึง 127,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นำโดยอุตสาหกรรมโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) มูลค่าราว 45,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามมาด้วยเกษตรกรรม การคมนาคมขนส่ง การรักษาความปลอดภัย สื่อและความบันเทิง การประกันภัย การสื่อสาร และอุตสาหกรรมเหมืองแร่ ตามลำดับ
ในประเทศจีน รัฐบาลกลางได้สนับสนุนอุตสาหกรรมการผลิตและวิจัยโดรน ผ่านกระทรวงอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศจีน (MIIT) ตลอดหลายปีที่ผ่านมา MIIT ได้ประกาศใช้นโยบายและแก้ไขกฎระเบียบที่สนับสนุนอุตสาหกรรมโดรน ทั้งในเชิงวิจัย การนำไปใช้งาน และความปลอดภัยไปแล้วกว่า 200 ฉบับ สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของอุตสาหกรรมโดรนของจีน คาดการณ์ว่า ภายในปี 2568 อุตสาหกรรมโดรนของจีนจะมีมูลค่าสูงถึง 27,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ล่าสุด ภายในงานแสดงมหกรรมอุปกรณ์และเทคโนโลยีทางทหารและพลเรือน ประจำปี 2562 (Military-Civilian Equipment and Technology Expo 2019) ณ ศูนย์แสดงสินค้านานาชาติฉวี่เจียง นครซีอาน Zhong Tian Guide Control Technology (中天引控科技股份有限公司) วิสาหกิจท้องถิ่นของมณฑลส่านซี ได้เปิดตัวโดรนขนส่งสินค้า รุ่น FL-2 (飞龙2) โดยพัฒนามาจากเครื่องบินประเภท Blended Wing Body (BWB) หรือที่นิยมเรียกกันว่า Hybrid Wing Body (HWB) ซึ่งเป็นเครื่องบินปีกแข็งที่ไม่มีเส้นแบ่งที่ชัดเจนระหว่างปีกและตัวถังหลัก สามารถบินได้เร็วกว่า ไกลกว่า และมีประสิทธิภาพมากกว่าโดรนแบบ Multirotor UAVs (โดรนที่มีหน้าตาคล้ายเฮลิคอปเตอร์) ซึ่งพบเห็นบ่อยที่สุด
FL-2 มีน้ำหนักรวม 22 ตัน ติดตั้งเครื่องยนต์เทอร์โบคู่ ความเร็วในการบิน 600-780 กม. / ชั่วโมง สามารถทำความเร็วสูงสุด 900 กม. / ชั่วโมง ในระดับความสูง 10 – 12 กิโลเมตรจากพื้นดิน และสามารถบินได้ต่อเนื่องถึง 10 ชั่วโมง นอกจากนี้ FL-2 ยังถูกออกแบบมาให้มีห้องบรรทุกสัมภาระคู่ (Multiple Cabins) เพื่อรองรับการขนส่งสินค้าได้หลากหลายรูปแบบ แม้ว่า FL-2 ยังอยู่ในระหว่างการพัฒนา แต่ก็ได้รับการยอมรับในด้านการออกแบบปีก (Flying Wing Design) ที่สามารถแก้ปัญหาด้านการควบคุมการบินได้ คาดการณ์ว่าจะสามารถออกสู่ตลาดได้ภายในปี 2563
แม้ว่า Zhong Tian Guide Control Technology จะเพิ่งก่อตั้งได้เพียง 7 ปี แต่บริษัทฯ มีความร่วมมือทางด้านบุคคลากรกับกลุ่มอุตสาหกรรมทางการทหาร (中国十大军工集团)1 รวมไปถึงความร่วมมือด้านการวิจัยกับ ม. Northwestern Polytechnical University (NPU) ทำให้ได้เปรียบในการนำเทคโนโลยีทางการทหารที่ก้าวหน้ามาต่อยอดการผลิตเพื่อการพาณิชย์ได้ ปัจจุบัน มีบริษัทลูกทั้งสิ้น 7 แห่ง และบริษัทร่วมทุนอีก 11 แห่ง โดยมากเป็นการลงทุนในกลุ่มธุรกิจทางการทหาร ได้แก่ ธุรกิจการผลิตกระสุนโจมตีแม่นยำ รถหุ้มเกราะ อากาศยานไร้คนขับ ยานพาหนะและหุ่นยนต์ไร้คนขับ และบริการจัดเก็บข้อมูลทางการทหาร (defense cloud platform)
ทั้งนี้ ประเทศไทยก็มีการใช้โดรนเพื่อกิจกรรมต่าง ๆ อย่างแพร่หลายเช่นกัน อาทิ การใช้โดรนสำหรับการเก็บภาพมุมสูง ซึ่งจะช่วยในการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของพื้นที่และภูมิศาสตร์ของประเทศได้ง่ายขึ้น การใช้ โดรนเพื่อการสำรวจและการลาดตระเวน รวมทั้งยังเอื้อประโยชน์ด้านเกษตรกรรม กิจกรรมต่าง ๆ เหล่านี้สามารถลดความเสี่ยงในชีวิตและลดภาระงานของผู้ใช้ได้เป็นอย่างดี ซึ่งผู้ประกอบการไทยอาจพิจารณาติตตามความคืบหน้าการพัฒนาดังกล่าว และนำเทคโนโลยีที่ออกสู่ตลาดแล้วมาประยุกต์ใช้ในการส่งเสริมภาคธุรกิจค้าปลีกของไทยต่อไป
ข้อมูลอ้างอิง
https://www.pwc.com/gx/en/issues/technology/essential-eight-technologies.html
http://www.globaltimes.cn/content/1168070.shtml
https://www.s-ge.com/en/article/global-opportunities/20191-c6-china-booming-drone-market
http://www.zhongtianyinkong.com/goods.html
https://www.thaibizchina.com/
ส่านซีเปิดตัวโดรนขนส่งสินค้าต้นแบบ FL-2
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับ (Drone) ได้รับความนิยมมากขึ้นนอกเหนือจากบทบาทดั้งเดิมด้านการทหาร โดยเฉพาะในธุรกิจการขนส่งสินค้า หลายบริษัททั้งในและต่างประเทศเริ่มมีการทดลองและพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อเพิ่มความสะดวกในการขนส่งเชิงพาณิชย์ นอกจากนี้ โดรนยังได้รับการพัฒนาเพื่อเป็นอุปกรณ์ช่วยเหลือมนุษย์ในกิจกรรมต่างๆ ช่วยประหยัดเวลาและลดความเสี่ยงในชีวิตและทรัพย์สิน อาทิ การสำรวจ การลาดตระเวน การกู้ชีพ และการเก็บตัวอย่างเพื่อนำกลับมาวิเคราะห์ข้อมูล ด้วยเหตุผลนี้ Pricewaterhouse Coopers (PwC) จึงจัดโดรนเป็น 1 ใน 8 เทคโนโลยีสำคัญในอนาคต (The essential Eight) โดย PwC ประเมินว่าในปี 2560 มีธุรกิจที่ลงทุนเกี่ยวกับโดรนโดยเฉพาะสำคัญประมาณร้อยละ 5 แต่ภายในปี 2563 จะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 14 และสัดส่วนการลงทุนในอุตสาหกรรมโดรนจะเปลี่ยนไปเป็นเชิงพาณิชย์มากขึ้น
นอกจากนี้ (รายงานสถานการณ์เทคโนโลยีโดรนเชิงพาณิชย์ ของ PwC) “Clarity from above” ยังคาดการณ์ว่าในปี 2563 มูลค่าของโดรนในอุตสาหกรรมต่างๆ (drone service) อาจสูงถึง 127,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นำโดยอุตสาหกรรมโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) มูลค่าราว 45,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามมาด้วยเกษตรกรรม การคมนาคมขนส่ง การรักษาความปลอดภัย สื่อและความบันเทิง การประกันภัย การสื่อสาร และอุตสาหกรรมเหมืองแร่ ตามลำดับ
ในประเทศจีน รัฐบาลกลางได้สนับสนุนอุตสาหกรรมการผลิตและวิจัยโดรน ผ่านกระทรวงอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศจีน (MIIT) ตลอดหลายปีที่ผ่านมา MIIT ได้ประกาศใช้นโยบายและแก้ไขกฎระเบียบที่สนับสนุนอุตสาหกรรมโดรน ทั้งในเชิงวิจัย การนำไปใช้งาน และความปลอดภัยไปแล้วกว่า 200 ฉบับ สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของอุตสาหกรรมโดรนของจีน คาดการณ์ว่า ภายในปี 2568 อุตสาหกรรมโดรนของจีนจะมีมูลค่าสูงถึง 27,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ล่าสุด ภายในงานแสดงมหกรรมอุปกรณ์และเทคโนโลยีทางทหารและพลเรือน ประจำปี 2562 (Military-Civilian Equipment and Technology Expo 2019) ณ ศูนย์แสดงสินค้านานาชาติฉวี่เจียง นครซีอาน Zhong Tian Guide Control Technology (中天引控科技股份有限公司) วิสาหกิจท้องถิ่นของมณฑลส่านซี ได้เปิดตัวโดรนขนส่งสินค้า รุ่น FL-2 (飞龙2) โดยพัฒนามาจากเครื่องบินประเภท Blended Wing Body (BWB) หรือที่นิยมเรียกกันว่า Hybrid Wing Body (HWB) ซึ่งเป็นเครื่องบินปีกแข็งที่ไม่มีเส้นแบ่งที่ชัดเจนระหว่างปีกและตัวถังหลัก สามารถบินได้เร็วกว่า ไกลกว่า และมีประสิทธิภาพมากกว่าโดรนแบบ Multirotor UAVs (โดรนที่มีหน้าตาคล้ายเฮลิคอปเตอร์) ซึ่งพบเห็นบ่อยที่สุด
FL-2 มีน้ำหนักรวม 22 ตัน ติดตั้งเครื่องยนต์เทอร์โบคู่ ความเร็วในการบิน 600-780 กม. / ชั่วโมง สามารถทำความเร็วสูงสุด 900 กม. / ชั่วโมง ในระดับความสูง 10 – 12 กิโลเมตรจากพื้นดิน และสามารถบินได้ต่อเนื่องถึง 10 ชั่วโมง นอกจากนี้ FL-2 ยังถูกออกแบบมาให้มีห้องบรรทุกสัมภาระคู่ (Multiple Cabins) เพื่อรองรับการขนส่งสินค้าได้หลากหลายรูปแบบ แม้ว่า FL-2 ยังอยู่ในระหว่างการพัฒนา แต่ก็ได้รับการยอมรับในด้านการออกแบบปีก (Flying Wing Design) ที่สามารถแก้ปัญหาด้านการควบคุมการบินได้ คาดการณ์ว่าจะสามารถออกสู่ตลาดได้ภายในปี 2563
แม้ว่า Zhong Tian Guide Control Technology จะเพิ่งก่อตั้งได้เพียง 7 ปี แต่บริษัทฯ มีความร่วมมือทางด้านบุคคลากรกับกลุ่มอุตสาหกรรมทางการทหาร (中国十大军工集团)1 รวมไปถึงความร่วมมือด้านการวิจัยกับ ม. Northwestern Polytechnical University (NPU) ทำให้ได้เปรียบในการนำเทคโนโลยีทางการทหารที่ก้าวหน้ามาต่อยอดการผลิตเพื่อการพาณิชย์ได้ ปัจจุบัน มีบริษัทลูกทั้งสิ้น 7 แห่ง และบริษัทร่วมทุนอีก 11 แห่ง โดยมากเป็นการลงทุนในกลุ่มธุรกิจทางการทหาร ได้แก่ ธุรกิจการผลิตกระสุนโจมตีแม่นยำ รถหุ้มเกราะ อากาศยานไร้คนขับ ยานพาหนะและหุ่นยนต์ไร้คนขับ และบริการจัดเก็บข้อมูลทางการทหาร (defense cloud platform)
ทั้งนี้ ประเทศไทยก็มีการใช้โดรนเพื่อกิจกรรมต่าง ๆ อย่างแพร่หลายเช่นกัน อาทิ การใช้โดรนสำหรับการเก็บภาพมุมสูง ซึ่งจะช่วยในการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของพื้นที่และภูมิศาสตร์ของประเทศได้ง่ายขึ้น การใช้ โดรนเพื่อการสำรวจและการลาดตระเวน รวมทั้งยังเอื้อประโยชน์ด้านเกษตรกรรม กิจกรรมต่าง ๆ เหล่านี้สามารถลดความเสี่ยงในชีวิตและลดภาระงานของผู้ใช้ได้เป็นอย่างดี ซึ่งผู้ประกอบการไทยอาจพิจารณาติตตามความคืบหน้าการพัฒนาดังกล่าว และนำเทคโนโลยีที่ออกสู่ตลาดแล้วมาประยุกต์ใช้ในการส่งเสริมภาคธุรกิจค้าปลีกของไทยต่อไป
ข้อมูลอ้างอิง
https://www.pwc.com/gx/en/issues/technology/essential-eight-technologies.html
http://www.globaltimes.cn/content/1168070.shtml
https://www.s-ge.com/en/article/global-opportunities/20191-c6-china-booming-drone-market
http://www.zhongtianyinkong.com/goods.html
https://www.thaibizchina.com/