โครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ตามพระราชดำริ ดอยฟ้าห่มปก ตำบลแม่สาว อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ เป็นโครงการพระราชดำริใน สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติดอยฟ้าห่มปก (ชื่อเดิมดอยผ้าห่มปก) ซึ่งมีสภาพอากาศหนาวเย็น เมฆหมอกปกคลุมยอดดอยตลอดทั้งปี พืชพรรณไม้อุดมสมบูรณ์ ได้ถูกพิจารณาให้เป็นพื้นที่จัดตั้งโครงการ “บ้านเล็กในป่าใหญ่” เพื่อทดลองให้คนเข้าไปอยู่ร่วมกับป่าได้อย่างยั่งยืน โดยให้ราษฎรผู้เข้าร่วมโครงการมีหน้าที่รักษาป่าไม้ และปลูกป่าไม้เพื่อใช้สอยในชุมชน โดยจัดตั้งให้ปลูกป่าฟืน ธนาคารฟืน ปลูกไม้ใช้สอยและป่าสน ตลอดจนให้มีการปลูกข้าวและจัดตั้งธนาคารข้าวให้มีเพียงพอต่อบริโภคตลอดทั้งปี
นางสาวนนทิชา วรรณสว่าง รองอธิบดีกรมการข้าว กล่าวว่า เพื่อสนองพระราชดำริ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ให้ราษฎรในพื้นที่โครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ สามารถปลูกข้าวเพื่อบริโภคอย่างเพียงพอ กรมการข้าว โดยศูนย์วิจัยข้าวสะเมิง จึงได้เข้าไปดำเนินกิจกรรมด้านข้าวในพื้นที่โครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ฯ ตั้งแต่ปี 2545 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน แต่เนื่องจากพื้นที่ดอยฟ้าห่มปกอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 1,500-1,700 เมตร มีสภาพอากาศหนาวเย็น อุณหภูมิต่ำ ความเข้มของแสงน้อย สภาพดังกล่าวไม่เหมาะสมกับพันธุ์ข้าวที่ปลูกโดยทั่วไป จึงต้องคัดเลือกพันธุ์ข้าวที่เหมาะสมกับสภาพอากาศและสภาพพื้นที่ ซึ่งจากการดำเนินงานที่ผ่านมาพบปัญหาที่สำคัญของพื้นที่ดอยฟ้าห่มปกคือแสงแดดน้อย ไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว ทำให้ข้าวไม่ออกรวงหรือให้ผลผลิตต่ำมาก
อย่างไรก็ตาม การปลูกข้าวบนพื้นที่สูงและสภาพอากาศไม่เอื้ออำนวยจะเป็นอุปสรรคอย่างหนึ่ง แต่นักวิชาการของศูนย์วิจัยข้าวสะเมิง ก็ไม่ย่อท้อพยายามทุ่มเททำทุกวิถีทางให้ได้พันธุ์ข้าวที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ ถึงแม้ว่าตอนนี้รวมระยะเวลากว่า 17 ปีแล้ว ก็ยังไม่ได้บทสรุปที่ชัดเจนว่ามีพันธุ์ข้าวที่เหมาะสมหรือสามารถนำไปส่งเสริมให้กับราษฎรในพื้นที่โครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ปลูกเพื่อการบริโภคได้ แต่ล่าสุดจากการการศึกษาและพัฒนาพันธุ์ข้าวที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่อย่างต่อเนื่อง โดยปลูกเปรียบเทียบข้าวพันธุ์ต่างๆ จนกระทั่งเหลือจำนวน 4 สายพันธุ์ ประกอบด้วย พันธุ์ MHSC13001-DPK-1, MHSC13001-DPK-2, MHSC13001-DPK-3 และพันธุ์ขะสอ112 (CK) เบื้องต้นพบว่า ทั้ง 4 สายพันธุ์ สามารถติดเมล็ดให้ผลผลิตข้าวได้
โดยมีสายพันธุ์ MHSC13001-DPK-3 ให้ผลผลิตเฉลี่ยมากที่สุดคือ 41.9 กก./ไร่ รองลงมาคือ MHSC13001-DPK-2 (26.0 กก./ไร่) MHSC13001-DPK-1 (14.6 กก./ไร่) และขะสอ112 (CK) (1.6 กก./ไร่) ตามลำดับ แม้ว่าค่าเฉลี่ยผลผลิตข้าวที่ได้สูงสุดจะอยู่ที่ 41 กก./ไร่ ซึ่งถือเป็นผลผลิตที่ต่ำมากและไม่คุ้มค่ากับการลงทุน แค่เพียงค่าเมล็ดพันธุ์ข้าวก็ไม่คุ้มแล้ว ยังไม่ต้องพูดถึงการใส่ปุ๋ย ค่าบำรุงรักษาและเก็บเกี่ยว แต่ก็ แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มความสำเร็จที่มีมากขึ้นของการปลูกข้าวให้ได้ผลผลิตในพื้นที่โครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ตามพระราชดำริดอยฟ้าห่มปก เพราะค้นพบพันธุ์ที่สามารถปลูกและให้ผลผลิตภายใต้ข้อจำกัดของสภาพภูมิอากาศของพื้นที่โครงการได้ แต่ก็ยังคงจำเป็นต้องมีการทดสอบ และพัฒนาพันธุ์ต่อไป
ด้านนายสาธิต ปิ่นมณี นักวิชาการเกษตรปฏิบัติการ ศูนย์วิจัยข้าวสะเมิง กล่าวว่า ที่ผ่านมาศูนย์วิจัยข้าวสะเมิงได้ทดลองปลูกข้าวหลากหลายสายพันธุ์ และหลายวิธี จนกระทั่งได้สายพันธุ์ MHSC13001-DPK-1, MHSC13001-DPK-2, MHSC13001-DPK-3 ที่เก็บรวบรวมและคัดเลือกโดยศูนย์วิจัยข้าวแม่ฮ่องสอน และปลูกคัดเลือกที่ดอยผักกูด นำมาทดสอบในพื้นที่ดอยฟ้าห่มปก และปลูกเปรียบเทียบกับพันธุ์ขะสอ112 พบว่าการเจริญเติบโตทางลำต้นของทุกสายพันธุ์สามารถเจริญเติบโตได้ดี โดยเฉพาะพันธุ์ขะสอ112 มีจุดเด่นคือความสูงของลำต้นที่สูงกว่าพันธุ์อื่นๆ มีลำต้นแข็งแรง แต่การเจริญเติบโตทางดอกและผล สายพันธุ์ MHSC13001-DPK-3 จะให้ผลผลิตสูงกว่าสายพันธุ์อื่น
ในเบื้องต้นสรุปได้ว่า MHSC13001-DPK-3 เป็นสายพันธุ์ที่สามารถเจริญเติบโตและให้ผลผลิตได้ในสภาพพื้นที่ที่อากาศเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาดีที่สุด แม้ว่าจะให้ผลผลิตเฉลี่ย 41 กก./ไร่ ซึ่งผลผลิตที่ได้จะไม่คุ้มทุน แต่ก็เป็นนิมิตรหมายอันดีที่พบว่ามีพันธุ์ข้าวที่สามารถให้ผลผลิตได้แล้วบนสภาพพื้นที่โครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ดอยฟ้าห่มปก ซึ่งทางศูนย์วิจัยข้าวสะเมิงจะดำเนินการทดสอบต่อไปอีก ควบคู่กับหาเทคนิคที่จะช่วยให้ข้าวเจริญเติบโตได้ดีขึ้นในสภาพแสงน้อย เพื่อให้ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนสามารถนำไปขยายผลส่งเสริมให้ราษฎรในพื้นที่โครงการปลูกข้าวเพื่อไว้บริโภคเองได้
/////////////////////////
กรมการข้าว สนองพระราชดำริพระพันปีหลวง เร่งพัฒนาพันธุ์ข้าวทนหนาว ช่วยชาวเขาดอยฟ้าห่มปกปลูกข้าวกินเองอย่างเพียงพอ
โครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ตามพระราชดำริ ดอยฟ้าห่มปก ตำบลแม่สาว อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ เป็นโครงการพระราชดำริใน สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติดอยฟ้าห่มปก (ชื่อเดิมดอยผ้าห่มปก) ซึ่งมีสภาพอากาศหนาวเย็น เมฆหมอกปกคลุมยอดดอยตลอดทั้งปี พืชพรรณไม้อุดมสมบูรณ์ ได้ถูกพิจารณาให้เป็นพื้นที่จัดตั้งโครงการ “บ้านเล็กในป่าใหญ่” เพื่อทดลองให้คนเข้าไปอยู่ร่วมกับป่าได้อย่างยั่งยืน โดยให้ราษฎรผู้เข้าร่วมโครงการมีหน้าที่รักษาป่าไม้ และปลูกป่าไม้เพื่อใช้สอยในชุมชน โดยจัดตั้งให้ปลูกป่าฟืน ธนาคารฟืน ปลูกไม้ใช้สอยและป่าสน ตลอดจนให้มีการปลูกข้าวและจัดตั้งธนาคารข้าวให้มีเพียงพอต่อบริโภคตลอดทั้งปี
นางสาวนนทิชา วรรณสว่าง รองอธิบดีกรมการข้าว กล่าวว่า เพื่อสนองพระราชดำริ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ให้ราษฎรในพื้นที่โครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ สามารถปลูกข้าวเพื่อบริโภคอย่างเพียงพอ กรมการข้าว โดยศูนย์วิจัยข้าวสะเมิง จึงได้เข้าไปดำเนินกิจกรรมด้านข้าวในพื้นที่โครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ฯ ตั้งแต่ปี 2545 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน แต่เนื่องจากพื้นที่ดอยฟ้าห่มปกอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 1,500-1,700 เมตร มีสภาพอากาศหนาวเย็น อุณหภูมิต่ำ ความเข้มของแสงน้อย สภาพดังกล่าวไม่เหมาะสมกับพันธุ์ข้าวที่ปลูกโดยทั่วไป จึงต้องคัดเลือกพันธุ์ข้าวที่เหมาะสมกับสภาพอากาศและสภาพพื้นที่ ซึ่งจากการดำเนินงานที่ผ่านมาพบปัญหาที่สำคัญของพื้นที่ดอยฟ้าห่มปกคือแสงแดดน้อย ไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว ทำให้ข้าวไม่ออกรวงหรือให้ผลผลิตต่ำมาก
อย่างไรก็ตาม การปลูกข้าวบนพื้นที่สูงและสภาพอากาศไม่เอื้ออำนวยจะเป็นอุปสรรคอย่างหนึ่ง แต่นักวิชาการของศูนย์วิจัยข้าวสะเมิง ก็ไม่ย่อท้อพยายามทุ่มเททำทุกวิถีทางให้ได้พันธุ์ข้าวที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ ถึงแม้ว่าตอนนี้รวมระยะเวลากว่า 17 ปีแล้ว ก็ยังไม่ได้บทสรุปที่ชัดเจนว่ามีพันธุ์ข้าวที่เหมาะสมหรือสามารถนำไปส่งเสริมให้กับราษฎรในพื้นที่โครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ปลูกเพื่อการบริโภคได้ แต่ล่าสุดจากการการศึกษาและพัฒนาพันธุ์ข้าวที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่อย่างต่อเนื่อง โดยปลูกเปรียบเทียบข้าวพันธุ์ต่างๆ จนกระทั่งเหลือจำนวน 4 สายพันธุ์ ประกอบด้วย พันธุ์ MHSC13001-DPK-1, MHSC13001-DPK-2, MHSC13001-DPK-3 และพันธุ์ขะสอ112 (CK) เบื้องต้นพบว่า ทั้ง 4 สายพันธุ์ สามารถติดเมล็ดให้ผลผลิตข้าวได้
โดยมีสายพันธุ์ MHSC13001-DPK-3 ให้ผลผลิตเฉลี่ยมากที่สุดคือ 41.9 กก./ไร่ รองลงมาคือ MHSC13001-DPK-2 (26.0 กก./ไร่) MHSC13001-DPK-1 (14.6 กก./ไร่) และขะสอ112 (CK) (1.6 กก./ไร่) ตามลำดับ แม้ว่าค่าเฉลี่ยผลผลิตข้าวที่ได้สูงสุดจะอยู่ที่ 41 กก./ไร่ ซึ่งถือเป็นผลผลิตที่ต่ำมากและไม่คุ้มค่ากับการลงทุน แค่เพียงค่าเมล็ดพันธุ์ข้าวก็ไม่คุ้มแล้ว ยังไม่ต้องพูดถึงการใส่ปุ๋ย ค่าบำรุงรักษาและเก็บเกี่ยว แต่ก็ แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มความสำเร็จที่มีมากขึ้นของการปลูกข้าวให้ได้ผลผลิตในพื้นที่โครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ตามพระราชดำริดอยฟ้าห่มปก เพราะค้นพบพันธุ์ที่สามารถปลูกและให้ผลผลิตภายใต้ข้อจำกัดของสภาพภูมิอากาศของพื้นที่โครงการได้ แต่ก็ยังคงจำเป็นต้องมีการทดสอบ และพัฒนาพันธุ์ต่อไป
ด้านนายสาธิต ปิ่นมณี นักวิชาการเกษตรปฏิบัติการ ศูนย์วิจัยข้าวสะเมิง กล่าวว่า ที่ผ่านมาศูนย์วิจัยข้าวสะเมิงได้ทดลองปลูกข้าวหลากหลายสายพันธุ์ และหลายวิธี จนกระทั่งได้สายพันธุ์ MHSC13001-DPK-1, MHSC13001-DPK-2, MHSC13001-DPK-3 ที่เก็บรวบรวมและคัดเลือกโดยศูนย์วิจัยข้าวแม่ฮ่องสอน และปลูกคัดเลือกที่ดอยผักกูด นำมาทดสอบในพื้นที่ดอยฟ้าห่มปก และปลูกเปรียบเทียบกับพันธุ์ขะสอ112 พบว่าการเจริญเติบโตทางลำต้นของทุกสายพันธุ์สามารถเจริญเติบโตได้ดี โดยเฉพาะพันธุ์ขะสอ112 มีจุดเด่นคือความสูงของลำต้นที่สูงกว่าพันธุ์อื่นๆ มีลำต้นแข็งแรง แต่การเจริญเติบโตทางดอกและผล สายพันธุ์ MHSC13001-DPK-3 จะให้ผลผลิตสูงกว่าสายพันธุ์อื่น
ในเบื้องต้นสรุปได้ว่า MHSC13001-DPK-3 เป็นสายพันธุ์ที่สามารถเจริญเติบโตและให้ผลผลิตได้ในสภาพพื้นที่ที่อากาศเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาดีที่สุด แม้ว่าจะให้ผลผลิตเฉลี่ย 41 กก./ไร่ ซึ่งผลผลิตที่ได้จะไม่คุ้มทุน แต่ก็เป็นนิมิตรหมายอันดีที่พบว่ามีพันธุ์ข้าวที่สามารถให้ผลผลิตได้แล้วบนสภาพพื้นที่โครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ดอยฟ้าห่มปก ซึ่งทางศูนย์วิจัยข้าวสะเมิงจะดำเนินการทดสอบต่อไปอีก ควบคู่กับหาเทคนิคที่จะช่วยให้ข้าวเจริญเติบโตได้ดีขึ้นในสภาพแสงน้อย เพื่อให้ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนสามารถนำไปขยายผลส่งเสริมให้ราษฎรในพื้นที่โครงการปลูกข้าวเพื่อไว้บริโภคเองได้
/////////////////////////