บุคคลส่วนหนึ่งในสงครามในประวัติศาสตร์

ชายผู้เปลี่ยนใจกองทัพสหรัฐฯ ไม่ให้ทิ้งระเบิดปรมาณูที่เกียวโต



ในช่วงท้ายของสงครามโลกครั้งที่สอง ก่อนที่จะมีการทิ้งระเบิดปรมาณูที่เมืองฮิโรชิมะและนางาซากิเพียงไม่กี่สัปดาห์ ชื่อของเมืองนางาซากิไม่ได้อยู่ในความสนใจของกองทัพสหรัฐฯด้วยซ้ำ แต่ชื่อของเมืองเกียวโต ติดอยู่ในอันดับต้นของรายชื่อเมืองในญี่ปุ่น ที่กองทัพสหรัฐฯกำลังพิจารณาจะทิ้งระเบิดปรมาณู อย่างไรก็ตาม อดีตนครหลวงที่ร่ำรวยด้วยมรดกทางวัฒนธรรมนี้รอดพ้นชะตากรรมที่น่าเศร้าดังกล่าวมาได้ ก็ด้วยความพยายามของเฮนรี่ สติมสัน รัฐมนตรีกิจการสงครามของสหรัฐฯนั่นเอง

ในเอกสารของกองทัพฯสหรัฐระบุว่า เกียวโตเป็นเมืองในเขตอุตสาหกรรม ที่มีประชากรมากกว่าหนึ่งล้านคน ทั้งยังไม่เคยถูกทิ้งระเบิดมาก่อน ทำให้มีการย้ายฐานอุตสาหกรรมจากพื้นที่อื่นของญี่ปุ่นไปตั้งที่นั่นจำนวนมาก เกียวโตจึงเป็นเป้าหมายการโจมตีที่เหมาะสม อย่างไรก็ตาม นายสติมสันได้สั่งให้ลบชื่อของเกียวโตออก ด้วยเหตุผลของการอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรม และแม้ทางกองทัพจะใส่ชื่อของเกียวโตกลับเข้าไปในรายชื่อการทิ้งระเบิดใหม่หลายครั้ง แต่นายสติมสันได้พยายามคัดค้านครั้งแล้วครั้งเล่า โดยได้เข้าพบและชี้แจงต่อประธานาธิบดีเฮนรี่ เอส. ทรูแมนโดยตรง

นายสติมสันเขียนบันทึกไว้ในไดอารี่ส่วนตัว ลงวันที่ 24 ก.ค.ปี 1945 ว่า ประธานาธิบดีทรูแมนเห็นด้วยกับคำชี้แจงของเขาที่ว่า หากทิ้งระเบิดปรมาณูที่เกียวโตแล้ว จะทำให้เกิดความขมขื่นในหมู่ประชาชนชาวญี่ปุ่น จนถึงขั้นที่สหรัฐฯไม่สามารถจะคืนดีกับญี่ปุ่นหลังสงครามได้ง่ายๆ

อย่างไรก็ตาม ศ. อเล็กซ์ วอลเทอร์สไตน์ นักประวัติศาสตร์ชี้ว่า ยังมีข้อที่น่าสงสัยว่านายสติมสันพยายามไม่ให้มีการทิ้งระเบิดปรมาณูที่เกียวโตด้วยเหตุผลส่วนตัว เช่นในเรื่องที่ว่าเขาเคยเดินทางเยือนเกียวโตหลายครั้ง และเป็นผู้ชื่นชอบวัฒนธรรมญี่ปุ่นอย่างมาก แต่การที่เขาเป็นผู้ออกคำสั่งให้มีการจับชาวอเมริกันเชื้อสายญี่ปุ่นเข้าค่ายกักกันในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เพราะเกรงว่าคนเหล่านั้นจะมีความภักดีต่อญี่ปุ่น ทำให้เขาไม่ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ช่วยเหลือเมืองเกียวโตให้รอดพ้นจากระเบิดปรมาณู 

โดยทุกวันนี้ คนส่วนใหญ่เชื่อว่า นายแลงดอน วอร์เนอร์ นักโบราณคดีและนักประวัติศาสตร์ศิลป์ชาวอเมริกัน เป็นผู้ชักจูงทางการสหรัฐฯไม่ให้ทิ้งระเบิดปรมาณูที่เกียวโต โดยความเชื่อนี้ มาจากการโฆษณาชวนเชื่อของสหรัฐฯหลังสงครามสงบ จนถึงกับมีการตั้งรูปปั้นของนายวอร์เนอร์เป็นอนุสรณ์ที่เมืองเกียวโตและคามาคุระในญี่ปุ่นด้วย
credit BBC thai

นายทหารอังกฤษแหกค่ายนาซีกว่า200ครั้ง เพื่อลักลอบมาพบแฟนสาวชาวเยอรมัน


ถึงแม้ค่ายกักกันนาซีจะขึ้นชื่อว่าตั้งใจเข้มงวดเท่าใดก็ตาม แต่ก็ยังอ่อนหัดสำหรับเจ้าหมอนี้อยู่ดี หญิงสาวในภาพบนซ้ายคือRosa Rauchbachเป็นแฟนสาวของนายทหารอังกฤษที่ชื่อHorace Greasley ไอ้หมอนี่มีชื่อเสียงโด่งดัง เนื่องจากได้หลบหนีจากค่ายกักกันนาซี ที่ขึ้นชื่อว่าเข้มงวดสุดๆได้กว่า200ครั้ง เพื่อเข้ามาพบกับแฟนสาวชาวเยอรมันที่เขาตกหลุมรัก
หลังชื่อเสียงอันโด่งดังของนายทหารHorace Greasley ได้แพร่กระจายไป ทำให้ไฮน์ริช ฮิมม์เลอร์ ผู้บัญชาการหน่วย SS และสมาชิกระดับสูงของพรรคนาซี ต้องเข้ามาดูหน้าไอ้หมอนี่ซะหน่อย เพื่อซักถามความเทพของนายอังกฤษผู้นี้ และความบกพร่องอ่อนหัดของค่ายกักกัน

ชีวิตสุดขั้วของนักข่าวสาว ผู้ค้นพบจุดเริ่มต้นของ "สงครามโลกครั้งที่ 2"


Clare Hollingworth นักข่าววัย 27 ปีที่เป็นผู้ค้นพบและรายงาน “จุดเริ่มต้น” ของสงครามโลกครั้งที่ 2 นักข่าวสาวที่มีเพียง “แปรงสีฟันและเครื่องพิมพ์ดีด” เป็นอาวุธ เพิ่งเฉลิมฉลองวันเกิดครบรอบ 104 ปีไปเมื่อไม่นานมานี้ และนี่คือชีวิตที่น่าทึ่งของเธอรวมทั้งเหตุการณ์ในวันที่ประวัติศาสตร์โลกพลิกผัน…

Clare ขณะนั้นมีอายุเพียง 27 ปี เพิ่งได้เข้าทำงานในฐานะนักข่าวคนใหม่แห่งสำนักข่าว Telegraph และเธอก็ต้องไปทำหน้าที่รายงานสถานการณ์เมืองคาโตวีตเซ ประเทศโปแลนด์
 เธอได้เห็นกองทัพเยอรมันขนาดใหญ่ มากกว่า 1,000 คัน จอดเรียงรายอยู่ตามแนวชายแดนโปแลนด์ ทหารสิบหน่วยกำลังเตรียมความพร้อม” กองกำลังนี้สั่งการโดยจอมพลแกร์ด ฟอน รุนด์ชเตดท์ ผู้บัญชาการทหารเยอรมัน ที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทัพ Reichenau’s10th เธอรีบรายงานสถานการณ์ไปยังหัวหน้าของเธอที่ประจำการอยู่ในกรุงวอร์ซอ สามวันต่อมา ในวันที่ 1 กันยายน 1939 แคลร์ตื่นมาพร้อมกับเสียงปืนดังก้อง เธอรีบโทหา Robin Robin Hankey เลขานุการประจำสถานทูตอังกฤษในกรุงวอร์ซอ ว่าสงครามได้เริ่มแล้ว

เธอออกไปให้ความช่วยเหลือผู้อพยพและผู้พิการ ขณะที่สงครามกำลังปะทุ และยังได้ช่วยเหลือนักข่าวจาก Daily Telegraph ขณะที่โรงแรมที่พักของพวกเขาถูกปิดล้อมโดยกลุ่มกบฏแอลจีเรีย

แคลร์คือผู้หญิงที่แต่งกับงานอย่างแท้จริง เธอไม่มีลูกเพราะจะพรากเวลาของเธอไปจากงานเขียนที่เธอรัก และนอกจากนี้เธอยังไม่ยอมเกษียณ  บรรณาธิการจึงตัดสินใจส่งแคลร์กลับไปปฏิบัติหน้าที่ที่แอลจีเรีย และนั่นเป็นสิ่งที่ดีและเหมาะสมที่สุดสำหรับเธอ 
ปัจจุบันแคลร์พิการทางสายตามานานกว่า 20 ปี และไม่สามารถออกไปไหนได้ไกล เธออาศัยอยู่ในบ้านที่ฮ่องกง แต่ยังได้รับการติดต่อจากสำนักข่าวและเพื่อนๆ ในวงการเพื่อสัมภาษณ์และสอบถามถึงวีรกรรมของเธอในอดีตอยู่เสมอ 

Vasili Alexandrovich Arkhipov 


ในวันที่ 27 ตุลาคม 1962 ซึ่งช่วงวิกฤตขีปนาวุธคิวบาซึ่งเป็นช่วงอ่อนไหวมากๆ ที่จะเสี่ยงเกิดสงครามโลกอยู่นั้น เรือดำน้ำขีปนาวุธลาดชั้น Foxtrot B-59 ของโซเวียตที่ปฏิบัติการอยู่ที่คิวบากำลังฝึกซ้อมการทำงานอยู่นั้น เรือได้ถูกล้อมโดยเรือของกองทัพสหรัฐฯ และถูกโจมตีโดยระเบิดน้ำลึกอย่างหนักหน่วง จนกระทั่งกัปตันเรือของโซเวียตลงความเห็นว่าควรยิงตอร์ปิโตติดหัวเรือ นิวเคลียร์ไปที่สหรัฐ ฯ เพื่อตอบโต้ ซึ่งหากทำแบบนี้เท่ากับว่าสงครามโซเวียตและสหรัฐนั้นเกิดขึ้นแน่นอน
แต่กระนั้นตามกฎจะยิงตอร์ปิโตนั้นจำเป็นต้องอาศัยการโหวดเจ้าหน้าที่สามคนที่ประจำเรือ ซึ่งในกลุ่มนั้นมีเพียงวาซิลิ อเล็กซานเดอร์ อาร์คิปอพ เท่านั้นที่คัดค้านการยิงและเกลี้ยกล่อมให้กัปตันนำเรือดำน้ำขึ้นเหนือผิว น้ำเพื่อรอคำสั่งจากมอสโคว์ ซึ่งเขาก็ทำได้สำเร็จส่งผลทำให้สงครามนิวเคลียร์ไม่เกิด โลกพ้นหายนะได้อีกครั้ง

แต่เรื่องราวของ วาซิลิ อเล็กซานเดอร์ อาร์คิปอพ ที่ช่วยโลกไว้นั้นไม่เป็นที่เปิดเผยแก่สาธารณะชน เขาเกิดในครอบครัวชาวนาใกล้กรุงมอสโก ได้รับการศึกษาโรงเรียนทหารเรือและมีส่วนร่วมในสงครามโซเวียตกับญี่ปุ่นในปี 1945 ต่อมาในปี 1961 ได้รับแต่งตั้งเป็นรองบังคับการในเรือดำน้ำขีปนาวุธนำวิถี K-19 และได้รับอุบัติเหตุจากรังสีในเหตุการณ์ดังกล่าว



เหตุการณ์นี้ถูกดัดแปลงเป็นภาพยนตร์ K-19 ที่แฮริสัน ฟอร์ด แสดงนำ
และหลังจากเหตุการณ์ในวันนั้นก็ได้เลื่อนเป็นพลเรือตรีและได้ตำแหน่งมากมาย ก่อนที่จะพ้นตำแหน่งในช่วงกลางทศวรรษที่ 1980 และได้รับขนามนามว่า วาซิลิ อาร์คิปอพผู้ช่วยเหลือโลก

เอวา อันนา เพาลา ฮิตเลอร์ 


สกุลเดิม บราวน์ (6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1912 — 30 เมษายน ค.ศ. 1945) เป็นเพื่อนเก่าแก่ของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ และเป็นภรรยาของเขาในช่วง 40 ชั่วโมงสุดท้ายของชีวิต 
บราวน์พบฮิตเลอร์ในมิวนิกขณะที่เธอมีอายุได้ 17 ปี ขณะที่ทำงานเป็นผู้ช่วยและนางแบบของช่างถ่ายภาพส่วนตัวของเขาและเริ่มพบฮิตเลอร์บ่อยครั้งขึ้นในอีกราวสองปีถัดมา เธอเคยพยายามฆ่าตัวตายสองครั้งในความสัมพันธ์ระยะแรกระหว่างทั้งสอง ใน ค.ศ. 1936 เธอได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวของฮิตเลอร์ที่เบิร์กฮอฟ ใกล้กับเบิร์ชเทสกาเดน 

ตามคำบอกเล่า ได้ใช้ชีวิตอย่างหรูหราและหลบซ่อนตลอดสงครามโลกครั้งที่สอง บราวน์ปฏิบัติในแบบซึ่งฮิตเลอร์ไม่เห็นด้วยอย่างต่อเนื่อง อย่างเช่น สูบบุหรี่ ใส่เครื่องสำอาง และอาบแดดเปลือย เอวาชื่นชอบการถ่ายภาพและเป็นผู้ถ่ายภาพสีและบันทึกภาพเคลื่อนไหวของฮิตเลอร์จำนวนมากที่ยังหลงเหลืออยู่จนถึงปัจจุบัน เธอเป็นบุคคลสำคัญในสังคมวงในของฮิตเลอร์ แต่ไม่ได้ออกงานสาธารณะพร้อมกับเขา

เมื่อนาซีเยอรมนีล่มสลายลงหลังสงครามยุติ บราวน์ได้สาบานความจงรักภักดีต่อฮิตเลอร์และเดินทางไปยังกรุงเบอร์ลินเพื่ออยู่เคียงข้างเขาในฟือแรร์บุงเกอร์ที่ได้รับการป้องกันอย่างแน่นหนาใต้ทำเนียบรัฐบาลไรช์ เมื่อทหารกองทัพแดงยกเข้าใกล้เมื่อวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1945 เธอได้แต่งงานกับฮิตเลอร์ในพิธีตามกฎหมายฉบับย่อ ขณะที่เธออายุได้ 33 ปี และฮิตเลอร์อายุ 56 ปี อีกไม่ถึง 40 ชั่วโมงจากนั้น ทั้งสองทำอัตวินิบาตกรรมในห้องนั่งเล่นของบังเกอร์ โดยเบราน์กัดแคปซูลไซยาไนด์ สาธารณชนเยอรมันไม่รู้จักเบราน์เลยกระทั่งหลังเธอเสียชีวิต

นักบินที่อายุน้อยที่สุดในสมัยสงครามโลกครั้งที่2.


Arkadi Nikolaevich Kamanin สัญชาติรัสเซีย เกิดเมื่อปี 1928 เป็นลูกของ Nikolai Kamanin วีรบุรุษทหารอากาศชาวรัสเซียที่เคยทำภารกิจช่วยเหลือชีวิตลูกเรือ SS Chelyuskin ที่ประสบอุบัติเหตุชนกับแผ่นน้ำแข็งในปี 1934...Arkady ใช้ชีวิตในช่วงวัยเด็กเกือบทั้งหมดในสนามบินที่พ่อเค้าทำงานอยู่ โดยมีเพื่อนเล่นเป็นเพียงเครื่องยนต์ของเครื่องบินที่ดังหนวกหูตลอดเวลา จนทำให้เค้าสามารถแยกเครื่องบินของรัสเซียประเภทต่างๆโดยฟังแค่เสียงเครื่องยนต์เท่านั้น
หลังจากการโจมตีรัสเซียแบบฉับพลันของกองทัพเยอรมัน(Great Patriotic War) Arkady ก็ได้ทำงานอยู่ในอาคารสำนักงานในสนามบินแห่งหนึ่งในกรุงมอสโคว(Moscow) หลังจากปี 1941 ต่อมา Arkady ก็ได้อพยพไปยังเมือง ทาชเคนต์(Tashkent) พร้อมกับแม่และ Leo น้องชาย

ในปี 1943 Arkady ก็ได้ย้ายมายังสนามบิน Andreapol ซึ่งเป็นสนามบินที่ฝูงบินของพ่อเค้าได้มาประจำการอยู่ และยื่นใบสมัครเข้าเป็นทหารอากาศอย่างเป็นทางการเมื่ออายุได้ 14 ปี และได้เข้ามาเป็นช่างเทคนิคในฝูงบินประสานงาน มีหน้าที่ซ่อมเครื่องและคอยนำทางโดยนั่งอยู่ที่ตำแหน่งนักบินที่ 2 จนกระทั่งในภารกิจปี 1944 นักบินที่ Arkady นั่งไปด้วยนั้นถูกยิงเข้าและได้รับบาดเจ็บทางตา Arkady ในวัย 14 ปี ตัดสินใจรวบรวมความกล้าขับเครื่องบินแทนนักบินที่บาดเจ็บสาหัส และนำเครื่องลงจอดได้สำเร็จ โดยมีทางฝั่งภาคพื้นดินคอยให้คำแนะนำ

ความกล้าหาญครั้งนี้ ทำให้ Arkady เข้ารับฝึกการบิน เพียงเวลา 2 เดือน Arkady ก็ได้เป็นนักบินสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่มีอายุน้อยที่สุด Arkady ได้แสดงผลงานและพิสูจน์ฝีมือต่างๆมากมาย โดยได้รับเหรียญกล้าหาญ Red Star จากภารกิจเสี่ยงตายถึง 3 ครั้ง

ในปี 1946 ได้เข้าศึกษาในสถาบัน Zhukovsky ซึ่งเป็นที่เดียวกับที่พ่อเค้าจบมา แต่อีก 1 ปีถัดมา Arkady ก็เสียชีวิตด้วยโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบในวันที่ 13 เมษายน ปี 1947 ด้วยวัย 18 ปี 
 

นายทหารคนสุดท้ายที่ตายในสงครามโลกครั้งที่ 1


นายทหารคนสุดท้ายที่ตายในสงครามโลกครั้งที่ 1 โดนยิงตายตอน 10.59 น.ก่อนสงครามสงบลง 1 นาทีพลทหาร Henry Nicholas John Gunther June 6, 1895 - November 11, 1918 สังกัด กองทัพอเมริกัน

 

ภาพถ่ายนักเรียนชั้นประถม 4 (4th Grade) ของโรงเรียนแห่งหนึ่ง


ซึ่งเด็กที่อยู่ยืนอยู่บนสุดในภาพนั้นต่อมาได้กลายเป็นเป็นผู้นำแห่งจักรวรรดิไรซ์ที่ 3 ผู้นำเผด็จการของเยอรมัน ผู้ที่สั่งให้สังหารชาวยิวกว่า 6 ล้าน และเป็นผู้นำฝ่ายอักษะในสงครามโลกครั้งที่ 2 อดอล์ฟ ฮิตเลอร์

ขอบคุณข้อมูลทั้งหมด
Cr.ประวัติศาสตร์ สงครามในอดีต
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่