เพราะท่านเห็นเหตุอันจะทำให้เกิดผล ท่านจึงห้ามบวช ............................. โดย ทิดขวัญ

กระทู้คำถาม
เม่าฝึกจิต

แก่นของพุทธ   คือ  อริยสัจ
ดับเหตุได้   ก็ดับผลได้    ดับเหตุแห่งทุกข์   ทุกข์ก็ไม่เกิด

เพศที่สาม  ก็เหมือนปุถุชนคนอื่นทั้งโลก   โลก  โกรธ  หลง  เป็นเรื่องธรรมดา
ในเรื่องอื่น ๆ นั้น  แม้ผิดธรรม  ผิดโลกย์   แต่ก็อาจไม่เกี่ยวพันส่งผลกระทบกระเทือนต่อศาสนารุนแรง

ต่างกับเรื่องบวชถือครองสมณเพศ  ที่เกี่ยวข้องส่งผลต่อศาสนาโดยตรง

.

ไม่มีอะไรเป็นหลักประกัน   ว่าคนที่อยากบวชสละแล้วซึ่งโลกียะ
ไม่มีอะไรเป็นหลักประกัน   ว่าบวชเป็นเณรเป็นพระแล้ว  คน ๆ นั้นจะกลายเป็นคนดี  ถือเคร่งพระวินัยได้เด็ดขาด

นี่หมายความถึงเรื่องโดยทั่ว ๆ ไป

ความไม่มีอะไรเป็นหลักประกันนี้  เมื่อเกิดปัญหา   ก็ไม่ได้สร้างความโกลาหลวุ่นวายต่อศาสนาเกินไป  
ต่างกับเรื่องกามารมณ์

.

หญิงกับชาย  ก็เหมือนไฟกับน้ำมัน  มดกับน้ำตาล
หากใชุ้มมมองแค่ว่า  เพศที่สามก็คือคนปกติ  ไม่ได้มีจิตใจเลวร้าย  ไม่ได้ประพฤติชั่ว  เป็นคนดี  ทำไมจะบวชไม่ได้
ก็ลองเปลี่ยนวิธีคิดอีกสักมุมดูสิว่า   หญิงกับชาย  ครองสมณเพศร่วมกัน  ใกล้ชิดกัน  เหตุแห่งทุกข์จะเกิดหรือไม่

ชายกับชาย  บางครั้งยังเกิดปัญหาราคะ    หญิงกับชาย  เกิดแน่ ๆ
ชายทั้งนั้น ยังดึงหญิงเข้ากุฎิ   ยังออกมาอาบอบนวด

ด้วยเหตุนี้   การดับเหตุ  จึงเป็นวิธีการที่เหมาะสมถูกต้องแล้ว

.

การเป็นคนดี  ไม่จำเป็นต้องอยู่ในรูปนักบวชเสมอไป    พระเลวมีเยอะแยะ
การปฏิบัติธรรม  ไม่จำเป็นต้องอยู่วัด  ไม่จำเป็นต้องอยู่ในสมณเพศเท่านั้น

เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องสิทธิเสรีภาพครับ   แต่คือเรื่องกฎ กติกา ของสังคม  วัฒนธรรม

ห้ามบวช  ไม่ใช่เพราะเป็นคนไม่ดี   ไม่ใช่เพราะเป็นคนแปลกแยก
แต่เพราะท่านมองเห็น เข้าใจ รู้ลึกซึ้งถึงธรรมชาติทั้งปวง

พุทธศาสนา  ไม่มีพระเจ้า   ธรรมะ หรือธรรมชาติล้วน ๆ 
สรรพสิ่งล้วนพึ่งพิงอิงเอื้อซึ่งกันและกัน  เป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกัน   เพราะมีสิ่งนั้น สิ่งนี้จึงเกิด

.

ฝากถึง ส.ส. อนาคตใหม่ครรับ
เม่าเหม่อ

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่