เชื่อว่าหลายๆท่าน(โดยเฉพาะชาวกทม.) คงจะกำลังรอความหนาวเย็นกันอย่างใจจดใจจ่อ ในขณะที่ทางภาคเหนือ และอีสานยังพอมีอากาศเย็นมาเยือนตอนเช้าบ้าง แต่ตอนกลางวันก็ยังค่อนข้างร้อนกว่าปกติอยู่ดี ยิ่งช่วงสัปดาห์ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมาเอาเฉพาะกทม.ก็ค่อนข้างร้อนอยู่เอาการ อุณหภูมิสูงยังกับช่วงต้นหน้าร้อน
อุณหภูมิตอนกลางวันนี่ร้อนยังกับช่วงต้นฤดูร้อน
อย่างไรก็ตาม หลังจากเฝ้าติดตามปัจจัยต่างๆมา ผมจะมาลองคาดการณ์อากาศเย็นในระยะยาวตลอด 1 - 3 เดือนหน้าช่วงฤดูหนาวปีนี้ละกันครับ
มาดูปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลต่ออุณหภูมิกันดีกว่า
ในช่วงฤดูหนาวอย่างที่ทราบโดยทั่วกัน ประเทศไทยจะได้รับลมหนาวมาจากอิทธิพลของมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งตัวมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือนี้มีถิ่นกำเนิดโดยทั่วไปบริเวณจีนตอนเหนือและพื้นที่แถบบริเวณไซบีเรีย ไม่ต้องสงสัยเลยว่าพื้นที่แถบนั้นมีอากาศที่ค่อนข้างหนาวเย็นเป็นปกติ โดยอุณหภูมิสามารถอยู่ระหว่าง -10 ถึง -30 องศาเซียลเซียสได้ในช่วงกลางฤดูหนาว ซึ่งบริเวณดังกล่าวมักมีค่าความกดอากาศสูงประจำอยู่เสมอ (> 1040 hPaโดยเฉลี่ย) ทำให้ในทางอุตุนิยมวิทยาจึงเรียกบริเวณความกดอากาศสูงแถบนี้ว่า Siberian High (SH)โดยที่หากเจ้าตัวศูนย์กลางของ SH นี้มีความแรง (ความกดอากาศสูงมาก) และเคลื่อนตัวลงต่ำกว่าตำแหน่งปกติ ก็จะสามารถทำให้บริเวณที่หนาวเย็นดังกล่าว แผ่ความเย็นมายังประเทศไทยได้ เพราะฉะนั้นปัจจัยที่ควบคุมความแรง และตำแหน่งของตัว SH จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ไว้นำหรับคาดการณ์สภาพอากาศระยะยาวได้
ในงานวิจัยไม่นานมานี้ได้แสดงให้เห็นว่าความแรงของ SH ในช่วงฤดูหนาวนั้น มีปัจจัยสำคัญตัวหนึ่งขึ้นกับ ปริมาณหิมะที่ปกคลุมบริเวณแถบยูเรเซียนั่นแหละ สามารถดู Mechanism ได้จากภาพด้านล่าง
โดยกล่าวโดยสรุปง่ายๆคือหากมีปริมาณหิมะช่วงเดือน ตุลาคม มากกว่าปกติเท่าไหร่ ช่วงฤดูหนาวก็มีโอกาสหนาวลงได้มากเท่านั้น
อุณหภูมิผิวน้ำทะเลบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกตอนเหนือก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่จะบอกความแรงของ SH ได้ จากสถิติหากอุณหภูผิวน้ำทะเลบริเวณดังรูปล่างมีลักษณะต่างจากปกติดังนี้ จะสามารถสร้าง pattern ของอากาศส่งผลให้ SH มีโอกาสแรง และเคลื่อนลงมาต่ำกว่าปกติได้
pattern ของอุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเลที่ต่างจากค่าปกติ (Sea surface temperature anomaly หรือ SSTA) ที่ส่งเสริมให้ลมหนาวมีกำลังแรง
อุณหภูมิผิวน้ำในปัจจุบัน จะเห็นได้ว่าที่มหาสมุทรแปซิฟิก pattern SSTA ไม่ได้ส่งเสริมให้ SH แรงกว่าปกติ
สำหรับในปีนี้ปริมาณหิมะบริเวณยูเรเซียช่วงเดือนตุลาคมค่อนไปทางสูงกว่าปกติ (มากกว่าปีที่แล้วแน่ๆ) แต่อุณหภูมิของแปซิฟิกตอนบนค่อนข้างร้อนกว่าปกติโดยทั่วกัน ลมหนาวต้นทางปีนี้ในความเห็นส่วนตัว จึงมองว่ามีโอกาสที่ปีนี้ลมหนาวต้นทางจะแรง (ที่แน่ๆแรงกว่าปีที่แล้วชัวร์ๆ)
ปีนี้หิมะตกแถวยูเรเซียมากลมหนาวต้นทางน่าจะมาแรง
มาดูปัจจัยถัดไปกันบ้าง การที่ลมหนาวต้นทางมีกำลังแรงนั้นยังไม่ใช่ปัจจัยทั้งหมดที่จะกำหนดว่าอากาศจะหนาวเย็นลงได้ เพราะหากทิศทางของลมนั้นไม่ได้พาความเย็นลงมาด้วย ลมหนาวที่แรงมาก็ไร้ประโยชน์ โดยปัจจัยหลักที่จะส่งผลต่อทิศทางของลมหนาวที่มาจากความกดอากาศสูง SH ก็คือ อุณหภูมิของน้ำทะเลจีนใต้นั่นเอง
อย่างที่ทราบกันดีว่าน้ำนั้นมีความจุความร้อนจำเพาะที่สูงกว่าอากาศมาก การที่จะทำให้น้ำเย็นหรือร้อนขึ้นที่อุณหภูมิเท่าๆกันจึงอาศัยการดูด และคายพลังงานความร้อนที่ต่างกันกับอากาศมหาศาล เพียงแค่อุณหภูมิผิวน้ำทะเลที่สูงหรือต่ำกว่าปกติแค่ 1 องศา หากบริเวณดังกล่าวมีพื้นที่มากพอ ก็สามารถเปลี่ยนแปลงลักษณะการเคลื่อนตัวของอากาศด้านบนได้โดยจากสถิตินั้นหากบริเวณทะเลจีนใต้มีอุณหภูมิผิวน้ำทะเลที่สูงกว่าปกติจะส่งให้ลมบนเคลื่อนตัวจากกลางทะเลเข้ามาสู่แผ่นดินได้มากกว่าปกติ หรือว่าง่ายๆก็คือเป็นการตัดกำลังลมหนาวนั่นเอง
ลองมาดูลักษณะความลึกของทะเลจีนใต้ (Bathymetry) ประกอบการพิจารณา
รูปแสดงความลึกของทะเลจีนใต้
จะเห็นได้ว่าบริเวณชายฝั่งจีนใต้ และอ่าวตังเกี๋ย เป็นบริเวณที่มีความลึกไม่มาก ต่างกับตรงกลางที่ลึกถึง 2 km ประกอบกับลักษณะของทิศทางของคลื่นประจำถิ่นที่ไม่ได้มีความแรงมากนัก
โดยปัจจัยที่ส่งผลต่ออุณหภูมิผิวน้ำทะเลของแถบชายฝั่งทะเลจีนใต้ และอ่าวตังเกี๋ยที่ตื้นนั้นจึงขึ้นอยู่กับความแรงของลมหนาวเป็นหลัก ก็ลักษณะเดียวกับการเป่ากาแฟให้เย็นลง ถ้าลมที่เป่าด้านบนแรง และเย็นมากพออุณหภูมิน้ำก็สามารถลดต่ำลงได้ ในขณะที่กลางทะเลจีนใต้บริเวณลึกๆนั้น โดยปกติลมที่พัดผ่านด้านบนก็ไม่ได้เย็นเท่าไหร่นัก คงหวังได้แต่ให้ลมพัดแรงได้เท่านั้น ลักษณะการเคลื่อนตัวของมวลน้ำที่จะพา (advection) ความเย็นจากละติจูดบนลงมานั้นก็มีเพียงเล็กน้อย ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่ออุณหภูมิผิวน้ำบริเวณนี้จึงเป็น ปริมาณเมฆฝน และพายุที่ก่อตัวเหนือบริเวณดังกล่าวเสียมากกว่า เหมือนกับการกางร่มให้บริเวณนั้น ถ้ามีพายุหรือฝนปกคลุมเหนือบริเวณมากๆ แสงอาทิตย์ย่อมส่องไม่ถึงผิวน้ำ น้ำจึงสามารถเย็นกว่าปกติได้
การพิจารณาปัจจัยเหล่านี้ทำให้สามารถคาดเดาอุณหภูมิผิวน้ำทะเลได้
ตัวอย่างลมร้อนเจ้าปัญหาที่เข้ามาตัดกำลังลมหนาว จากภาพแม้ความกดอากาศของเมื่อวานนี้ จะสูงถึง 1018 hPa บริเวณเวียงจันทร์ แต่เพราะลมบนนั้นไม่ได้พัดมาจากจีน แต่มาจากแปซิฟิก แทนที่จะหนาวลงได้มากเลยไม่ค่อยจะหนาวมากเท่าไหร่
สำหรับในปีนี้ อาจเพราะด้วยอุณหภูมิน้ำทะเลด้านตะวันออกของฟิลิปปินส์ค่อนข้างร้อนมาก ตลอดเดือนที่ผ่านมาพายุ และฝนพัดเข้ามาบริเวณทะเลจีนใต้ไม่ขาดสาย บริเวณกลางทะเลจีนใต้จึงมีอุณหภูมิผิวน้ำทะเลที่ต่ำกว่าปกติมาก ทั้งๆที่ปกตินั้นยากมากที่บริเวณดังกล่าวจะเย็นลงได้ตามปกติ ส่วนริมฝั่งในตอนนี้ยังคงมีอุณหภูมิที่สูงกว่าปกติบ้าง แต่ก็เพราะลมหนาวที่แรงจริงๆนั้นยังไม่ได้พัดผ่านมากเท่าไหร่นัก หากเมื่อลมหนาวมาแรงจริงๆนั้น บริเวณนี้ก็จะสามารถเย็นลงได้อย่างรวดเร็วเพราะมีความลึกของน้ำทะเลไม่มาก ด้วยปัจจัยดังกล่าวฤดูหนาวปีนี้ผมจึงคาดว่า หากลมหนาวมาแรงจริงน่าจะพุ่งเข้ามาได้ตรงๆ โดยไม่น่ามีลมร้อนจากทะเลมาขัดขวางได้มากนัก
จะเห็นได้ว่าที่ด้านตะวันตกของฟิลิปปินส์ อุณหภูมิผิวน้ำทะเลต่ำกว่าปกติมาก ซึ่งค่อนข้างผิดจากทั่วไป
ร่ายมายืดยาวหากจะคาดการณ์ว่าลมหนาวปีนี้จะหนาวมากน้อยแค่ไหนสามารถพิจารณาได้ดังนี้
1.ปีนี้ลมหนาวมาแรงหรือเปล่า —-> ดูจากปริมาณหิมะแถบยูเรเซียเดือนตุลาคม ยิ่งมาก ยิ่งทำให้ความกดอากาศสูงสะสมพลังงาน ลมหนาว
แรง [ปีนี้หิมะเยอะ] ***
2.ลมหนาวจะมาแรงตอนไหน -—> ดูค่า AO ถ้ามีค่าเป็น + โดยส่วนมากศูนย์กลางความหนาวจะเลื่อนลงต่ำ และมาทางตะวันออกมากขึ้น ทำให้เดินทางมาไทยง่ายขึ้น *
3.ลมหนาวจะโดนตัดกำลังโดยลมจากแปซิฟิกไหม ——> ดูอุณหภูมิผิวน้ำทะเลจีนใต้ (ตัวนี้ตัวสำคัญ) ถ้าเย็นกว่าปกติก็รอรับลมหนาวกันเต็มๆเลย [ปีนี้กลางทะเลจีนใต้น้ำทะเลเย็นมาก ส่วนริมชายฝั่งต้องรอลมหนาวระลอกที่แรงจริงๆมาเป่าให้เย็นลงก่อน] ***
แถม+
ดังที่กล่าวไปข้างต้นว่า ทิศทางของลมนั้นจริงๆแล้วเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดปัจจัยหนึ่งสำหรับการคาดการณ์อุณหภูมิ หากลมที่พามานั้นเป็นลมหนาว (โดยไม่จำเป็นต้องเป็นลมจากความกดอากาศสูง) อากาศพื้นผิวก็มีสิทธิ์ที่จะเย็นได้ นั่นจึงทำให้บริเวณภาคเหนือ และภาคตะวันตก ในบางช่วง สามารถมีอากาศหนาวเย็นได้ทั้งๆที่ความกดอากาศสูงยังไม่ได้แผ่มา ด้วยเพราะลม (ที่ 700 hPa - 950 hPa) จากเทือกเขาหิมาลัย ที่มักมาพร้อมกับ แนว jet stream ที่เลื่อนลงต่ำเป็นลิ่ม (Ridge) กดให้ทิศทางลมพาเอาความเย็นด้านตะวันตกเฉียงเหนือลงมาด้วย ด้วยเหตุนี้ภาคเหนือและ ภาคตะวันตกจึงมีทางเลือกสำหรับความหนาวเย็นได้อีกทาง ซึ่งตามปกตินั้นการจะคาดเดาว่า ลม jet stream จะเคลื่อนตัวอย่างไรนั้น ปัจจุบันไม่สามารถคาดการณ์ในระยะยาวได้ และโดยธรรมชาติ jet stream ก็จะมีความแปรปรวนในช่วงฤดูหนาวได้มาก การจะดูว่าลมหนาวจากหิมาลัยจะมาได้เมื่อไหร่นั้น จำต้องอาศัยการเช็คจากโมเดลระยะกลาง (7-14 วัน) ได้เท่านั้น
พายุจากแปซิฟิกหากเข้ามาถูกตำแหน่งจะสามารถบังคับให้เกิดกาาบล็อคทางอุตุนิยมวิทยา (Atmospheric blocking) บังคับให้ทิศทางของลมบน พุ่งตรงจากจีนเข้ามายังไทยได้ แถมยังช่วยเพิ่มความแรงให้ลมแรงกว่าปกติได้อีก หรือว่าง่ายๆก็คือ ถ้าพายุเข้ามาถูกที่ถูกเวลายิ่งทำให้ลมหนาวอัดเข้ามาแรงได้มากขึ้น ซึ่งการจะคาดเดาตำแหน่ง และความแรงพายุระยาวนั้นทำได้ยากมาก ต้องอาศัยการเช็คกันวันต่อวัน
ถึงจะชัวร์ที่สุด
ปัจจัยรองๆที่อาจทำให้ลมหนาวอยู่นาน ซึ่งปีนี้เป็นปีที่พิเศษอีกอย่าง คือ อุณหภูมิผิวน้ำทะเลแถวตะวันตกของเกาะสุมาตราปีนี้เย็นผิดปกติมาก นั่นจึงทำให้หย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกติจะประจำอยู่แถวนั้นในปีนี้ไม่ค่อยอยู่เท่าไหร่ เวลาลมหนาวลงมาในปีนี้ผมจึงคาดว่าน่าจะมีสิทธิ์คงสภาพอย่างนั้นได้นาน เพราะไม่มีหย่อมความกดอากาศต่ำมาดันกลับ อย่างไรก็ตามด้วยเหตุนี้ ภาคใต้ปีนี้ฝนน้อยกว่าปกติเป็นผลพลอยได้
เพราะฉะนั้นในปีนี้ผมจึงมองว่าอย่างน้อยๆก็เย็นกว่าปีที่แล้วแน่ๆ (โดยเฉพาะกทม.ที่ปีที่แล้วไม่มีลมหนาวมาซักแอะ) แต่จะหนาวนาน หนาวสั้นอย่างไร ก็ต้องคอยติดตามข้อมูลพยากรณ์อากาศระยะสั้นกันต่อไป
ส่วนอาทิตย์หน้า (ตั้งแต่หลัง 3 ธ.ค. )เท่าที่เช็คดูโมเดลมาจะเห็นว่า AO มีค่าเป็น + ที่แรงมาก ก็คงหวังว่าลมหนาวระลอกแรกแบบจริงๆจังๆจะมาเยือนกทม.ช่วงวันพ่อให้เย็นสบายกันนะครับ ความคืบหน้าอย่างไรผมอาจจะมาอัพเดตเพิ่มเติมหลังจากนี้
โมเดลระยะกลางคาดว่า AO จะมีค่าเป็น + ในสัปดาห์หน้า ลมหนาวกำลังแรงคงน่าจะมาถึงแถวช่วงวันพ่อ
การคาดการณ์อากาศหนาวในปีนี้
อุณหภูมิตอนกลางวันนี่ร้อนยังกับช่วงต้นฤดูร้อน
อย่างไรก็ตาม หลังจากเฝ้าติดตามปัจจัยต่างๆมา ผมจะมาลองคาดการณ์อากาศเย็นในระยะยาวตลอด 1 - 3 เดือนหน้าช่วงฤดูหนาวปีนี้ละกันครับ
มาดูปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลต่ออุณหภูมิกันดีกว่า
ในช่วงฤดูหนาวอย่างที่ทราบโดยทั่วกัน ประเทศไทยจะได้รับลมหนาวมาจากอิทธิพลของมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งตัวมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือนี้มีถิ่นกำเนิดโดยทั่วไปบริเวณจีนตอนเหนือและพื้นที่แถบบริเวณไซบีเรีย ไม่ต้องสงสัยเลยว่าพื้นที่แถบนั้นมีอากาศที่ค่อนข้างหนาวเย็นเป็นปกติ โดยอุณหภูมิสามารถอยู่ระหว่าง -10 ถึง -30 องศาเซียลเซียสได้ในช่วงกลางฤดูหนาว ซึ่งบริเวณดังกล่าวมักมีค่าความกดอากาศสูงประจำอยู่เสมอ (> 1040 hPaโดยเฉลี่ย) ทำให้ในทางอุตุนิยมวิทยาจึงเรียกบริเวณความกดอากาศสูงแถบนี้ว่า Siberian High (SH)โดยที่หากเจ้าตัวศูนย์กลางของ SH นี้มีความแรง (ความกดอากาศสูงมาก) และเคลื่อนตัวลงต่ำกว่าตำแหน่งปกติ ก็จะสามารถทำให้บริเวณที่หนาวเย็นดังกล่าว แผ่ความเย็นมายังประเทศไทยได้ เพราะฉะนั้นปัจจัยที่ควบคุมความแรง และตำแหน่งของตัว SH จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ไว้นำหรับคาดการณ์สภาพอากาศระยะยาวได้
ในงานวิจัยไม่นานมานี้ได้แสดงให้เห็นว่าความแรงของ SH ในช่วงฤดูหนาวนั้น มีปัจจัยสำคัญตัวหนึ่งขึ้นกับ ปริมาณหิมะที่ปกคลุมบริเวณแถบยูเรเซียนั่นแหละ สามารถดู Mechanism ได้จากภาพด้านล่าง
โดยกล่าวโดยสรุปง่ายๆคือหากมีปริมาณหิมะช่วงเดือน ตุลาคม มากกว่าปกติเท่าไหร่ ช่วงฤดูหนาวก็มีโอกาสหนาวลงได้มากเท่านั้น
อุณหภูมิผิวน้ำทะเลบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกตอนเหนือก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่จะบอกความแรงของ SH ได้ จากสถิติหากอุณหภูผิวน้ำทะเลบริเวณดังรูปล่างมีลักษณะต่างจากปกติดังนี้ จะสามารถสร้าง pattern ของอากาศส่งผลให้ SH มีโอกาสแรง และเคลื่อนลงมาต่ำกว่าปกติได้
pattern ของอุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเลที่ต่างจากค่าปกติ (Sea surface temperature anomaly หรือ SSTA) ที่ส่งเสริมให้ลมหนาวมีกำลังแรง
อุณหภูมิผิวน้ำในปัจจุบัน จะเห็นได้ว่าที่มหาสมุทรแปซิฟิก pattern SSTA ไม่ได้ส่งเสริมให้ SH แรงกว่าปกติ
สำหรับในปีนี้ปริมาณหิมะบริเวณยูเรเซียช่วงเดือนตุลาคมค่อนไปทางสูงกว่าปกติ (มากกว่าปีที่แล้วแน่ๆ) แต่อุณหภูมิของแปซิฟิกตอนบนค่อนข้างร้อนกว่าปกติโดยทั่วกัน ลมหนาวต้นทางปีนี้ในความเห็นส่วนตัว จึงมองว่ามีโอกาสที่ปีนี้ลมหนาวต้นทางจะแรง (ที่แน่ๆแรงกว่าปีที่แล้วชัวร์ๆ)
ปีนี้หิมะตกแถวยูเรเซียมากลมหนาวต้นทางน่าจะมาแรง
มาดูปัจจัยถัดไปกันบ้าง การที่ลมหนาวต้นทางมีกำลังแรงนั้นยังไม่ใช่ปัจจัยทั้งหมดที่จะกำหนดว่าอากาศจะหนาวเย็นลงได้ เพราะหากทิศทางของลมนั้นไม่ได้พาความเย็นลงมาด้วย ลมหนาวที่แรงมาก็ไร้ประโยชน์ โดยปัจจัยหลักที่จะส่งผลต่อทิศทางของลมหนาวที่มาจากความกดอากาศสูง SH ก็คือ อุณหภูมิของน้ำทะเลจีนใต้นั่นเอง
อย่างที่ทราบกันดีว่าน้ำนั้นมีความจุความร้อนจำเพาะที่สูงกว่าอากาศมาก การที่จะทำให้น้ำเย็นหรือร้อนขึ้นที่อุณหภูมิเท่าๆกันจึงอาศัยการดูด และคายพลังงานความร้อนที่ต่างกันกับอากาศมหาศาล เพียงแค่อุณหภูมิผิวน้ำทะเลที่สูงหรือต่ำกว่าปกติแค่ 1 องศา หากบริเวณดังกล่าวมีพื้นที่มากพอ ก็สามารถเปลี่ยนแปลงลักษณะการเคลื่อนตัวของอากาศด้านบนได้โดยจากสถิตินั้นหากบริเวณทะเลจีนใต้มีอุณหภูมิผิวน้ำทะเลที่สูงกว่าปกติจะส่งให้ลมบนเคลื่อนตัวจากกลางทะเลเข้ามาสู่แผ่นดินได้มากกว่าปกติ หรือว่าง่ายๆก็คือเป็นการตัดกำลังลมหนาวนั่นเอง
ลองมาดูลักษณะความลึกของทะเลจีนใต้ (Bathymetry) ประกอบการพิจารณา
รูปแสดงความลึกของทะเลจีนใต้
จะเห็นได้ว่าบริเวณชายฝั่งจีนใต้ และอ่าวตังเกี๋ย เป็นบริเวณที่มีความลึกไม่มาก ต่างกับตรงกลางที่ลึกถึง 2 km ประกอบกับลักษณะของทิศทางของคลื่นประจำถิ่นที่ไม่ได้มีความแรงมากนัก
โดยปัจจัยที่ส่งผลต่ออุณหภูมิผิวน้ำทะเลของแถบชายฝั่งทะเลจีนใต้ และอ่าวตังเกี๋ยที่ตื้นนั้นจึงขึ้นอยู่กับความแรงของลมหนาวเป็นหลัก ก็ลักษณะเดียวกับการเป่ากาแฟให้เย็นลง ถ้าลมที่เป่าด้านบนแรง และเย็นมากพออุณหภูมิน้ำก็สามารถลดต่ำลงได้ ในขณะที่กลางทะเลจีนใต้บริเวณลึกๆนั้น โดยปกติลมที่พัดผ่านด้านบนก็ไม่ได้เย็นเท่าไหร่นัก คงหวังได้แต่ให้ลมพัดแรงได้เท่านั้น ลักษณะการเคลื่อนตัวของมวลน้ำที่จะพา (advection) ความเย็นจากละติจูดบนลงมานั้นก็มีเพียงเล็กน้อย ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่ออุณหภูมิผิวน้ำบริเวณนี้จึงเป็น ปริมาณเมฆฝน และพายุที่ก่อตัวเหนือบริเวณดังกล่าวเสียมากกว่า เหมือนกับการกางร่มให้บริเวณนั้น ถ้ามีพายุหรือฝนปกคลุมเหนือบริเวณมากๆ แสงอาทิตย์ย่อมส่องไม่ถึงผิวน้ำ น้ำจึงสามารถเย็นกว่าปกติได้
การพิจารณาปัจจัยเหล่านี้ทำให้สามารถคาดเดาอุณหภูมิผิวน้ำทะเลได้
ตัวอย่างลมร้อนเจ้าปัญหาที่เข้ามาตัดกำลังลมหนาว จากภาพแม้ความกดอากาศของเมื่อวานนี้ จะสูงถึง 1018 hPa บริเวณเวียงจันทร์ แต่เพราะลมบนนั้นไม่ได้พัดมาจากจีน แต่มาจากแปซิฟิก แทนที่จะหนาวลงได้มากเลยไม่ค่อยจะหนาวมากเท่าไหร่
สำหรับในปีนี้ อาจเพราะด้วยอุณหภูมิน้ำทะเลด้านตะวันออกของฟิลิปปินส์ค่อนข้างร้อนมาก ตลอดเดือนที่ผ่านมาพายุ และฝนพัดเข้ามาบริเวณทะเลจีนใต้ไม่ขาดสาย บริเวณกลางทะเลจีนใต้จึงมีอุณหภูมิผิวน้ำทะเลที่ต่ำกว่าปกติมาก ทั้งๆที่ปกตินั้นยากมากที่บริเวณดังกล่าวจะเย็นลงได้ตามปกติ ส่วนริมฝั่งในตอนนี้ยังคงมีอุณหภูมิที่สูงกว่าปกติบ้าง แต่ก็เพราะลมหนาวที่แรงจริงๆนั้นยังไม่ได้พัดผ่านมากเท่าไหร่นัก หากเมื่อลมหนาวมาแรงจริงๆนั้น บริเวณนี้ก็จะสามารถเย็นลงได้อย่างรวดเร็วเพราะมีความลึกของน้ำทะเลไม่มาก ด้วยปัจจัยดังกล่าวฤดูหนาวปีนี้ผมจึงคาดว่า หากลมหนาวมาแรงจริงน่าจะพุ่งเข้ามาได้ตรงๆ โดยไม่น่ามีลมร้อนจากทะเลมาขัดขวางได้มากนัก
จะเห็นได้ว่าที่ด้านตะวันตกของฟิลิปปินส์ อุณหภูมิผิวน้ำทะเลต่ำกว่าปกติมาก ซึ่งค่อนข้างผิดจากทั่วไป
ร่ายมายืดยาวหากจะคาดการณ์ว่าลมหนาวปีนี้จะหนาวมากน้อยแค่ไหนสามารถพิจารณาได้ดังนี้
1.ปีนี้ลมหนาวมาแรงหรือเปล่า —-> ดูจากปริมาณหิมะแถบยูเรเซียเดือนตุลาคม ยิ่งมาก ยิ่งทำให้ความกดอากาศสูงสะสมพลังงาน ลมหนาว
แรง [ปีนี้หิมะเยอะ] ***
2.ลมหนาวจะมาแรงตอนไหน -—> ดูค่า AO ถ้ามีค่าเป็น + โดยส่วนมากศูนย์กลางความหนาวจะเลื่อนลงต่ำ และมาทางตะวันออกมากขึ้น ทำให้เดินทางมาไทยง่ายขึ้น *
3.ลมหนาวจะโดนตัดกำลังโดยลมจากแปซิฟิกไหม ——> ดูอุณหภูมิผิวน้ำทะเลจีนใต้ (ตัวนี้ตัวสำคัญ) ถ้าเย็นกว่าปกติก็รอรับลมหนาวกันเต็มๆเลย [ปีนี้กลางทะเลจีนใต้น้ำทะเลเย็นมาก ส่วนริมชายฝั่งต้องรอลมหนาวระลอกที่แรงจริงๆมาเป่าให้เย็นลงก่อน] ***
แถม+
ดังที่กล่าวไปข้างต้นว่า ทิศทางของลมนั้นจริงๆแล้วเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดปัจจัยหนึ่งสำหรับการคาดการณ์อุณหภูมิ หากลมที่พามานั้นเป็นลมหนาว (โดยไม่จำเป็นต้องเป็นลมจากความกดอากาศสูง) อากาศพื้นผิวก็มีสิทธิ์ที่จะเย็นได้ นั่นจึงทำให้บริเวณภาคเหนือ และภาคตะวันตก ในบางช่วง สามารถมีอากาศหนาวเย็นได้ทั้งๆที่ความกดอากาศสูงยังไม่ได้แผ่มา ด้วยเพราะลม (ที่ 700 hPa - 950 hPa) จากเทือกเขาหิมาลัย ที่มักมาพร้อมกับ แนว jet stream ที่เลื่อนลงต่ำเป็นลิ่ม (Ridge) กดให้ทิศทางลมพาเอาความเย็นด้านตะวันตกเฉียงเหนือลงมาด้วย ด้วยเหตุนี้ภาคเหนือและ ภาคตะวันตกจึงมีทางเลือกสำหรับความหนาวเย็นได้อีกทาง ซึ่งตามปกตินั้นการจะคาดเดาว่า ลม jet stream จะเคลื่อนตัวอย่างไรนั้น ปัจจุบันไม่สามารถคาดการณ์ในระยะยาวได้ และโดยธรรมชาติ jet stream ก็จะมีความแปรปรวนในช่วงฤดูหนาวได้มาก การจะดูว่าลมหนาวจากหิมาลัยจะมาได้เมื่อไหร่นั้น จำต้องอาศัยการเช็คจากโมเดลระยะกลาง (7-14 วัน) ได้เท่านั้น
พายุจากแปซิฟิกหากเข้ามาถูกตำแหน่งจะสามารถบังคับให้เกิดกาาบล็อคทางอุตุนิยมวิทยา (Atmospheric blocking) บังคับให้ทิศทางของลมบน พุ่งตรงจากจีนเข้ามายังไทยได้ แถมยังช่วยเพิ่มความแรงให้ลมแรงกว่าปกติได้อีก หรือว่าง่ายๆก็คือ ถ้าพายุเข้ามาถูกที่ถูกเวลายิ่งทำให้ลมหนาวอัดเข้ามาแรงได้มากขึ้น ซึ่งการจะคาดเดาตำแหน่ง และความแรงพายุระยาวนั้นทำได้ยากมาก ต้องอาศัยการเช็คกันวันต่อวัน
ถึงจะชัวร์ที่สุด
ปัจจัยรองๆที่อาจทำให้ลมหนาวอยู่นาน ซึ่งปีนี้เป็นปีที่พิเศษอีกอย่าง คือ อุณหภูมิผิวน้ำทะเลแถวตะวันตกของเกาะสุมาตราปีนี้เย็นผิดปกติมาก นั่นจึงทำให้หย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกติจะประจำอยู่แถวนั้นในปีนี้ไม่ค่อยอยู่เท่าไหร่ เวลาลมหนาวลงมาในปีนี้ผมจึงคาดว่าน่าจะมีสิทธิ์คงสภาพอย่างนั้นได้นาน เพราะไม่มีหย่อมความกดอากาศต่ำมาดันกลับ อย่างไรก็ตามด้วยเหตุนี้ ภาคใต้ปีนี้ฝนน้อยกว่าปกติเป็นผลพลอยได้
เพราะฉะนั้นในปีนี้ผมจึงมองว่าอย่างน้อยๆก็เย็นกว่าปีที่แล้วแน่ๆ (โดยเฉพาะกทม.ที่ปีที่แล้วไม่มีลมหนาวมาซักแอะ) แต่จะหนาวนาน หนาวสั้นอย่างไร ก็ต้องคอยติดตามข้อมูลพยากรณ์อากาศระยะสั้นกันต่อไป
ส่วนอาทิตย์หน้า (ตั้งแต่หลัง 3 ธ.ค. )เท่าที่เช็คดูโมเดลมาจะเห็นว่า AO มีค่าเป็น + ที่แรงมาก ก็คงหวังว่าลมหนาวระลอกแรกแบบจริงๆจังๆจะมาเยือนกทม.ช่วงวันพ่อให้เย็นสบายกันนะครับ ความคืบหน้าอย่างไรผมอาจจะมาอัพเดตเพิ่มเติมหลังจากนี้
โมเดลระยะกลางคาดว่า AO จะมีค่าเป็น + ในสัปดาห์หน้า ลมหนาวกำลังแรงคงน่าจะมาถึงแถวช่วงวันพ่อ