เป็นเรื่องที่ช่วยไม่ได้ที่รถรุ่นใหม่ออกมาก็มักจะมีเรื่องให้ติ
แต่เดี๋ยวนี้ก็มีรถจำนวนไม่น้อยที่สามารถหลบคำตำหนิในวันเปิดตัวได้อย่างน่าชื่นชม
City เป็นกระแสกระหึ่มขึ้นมา บ้างก็ว่าราคาแพงไป ซึ่งสะท้อนจากตัวรถที่มี spec และ option
ที่ดูล้าหลังกว่าคู่แข่ง เพราะเข้าสู่ยุคปี 2020 ระบบไฮเทคต่างๆ ถูกประเคนมาให้ตัวรถมากขึ้นกว่า
สมัยก่อนมาก ไม่ใช่สมัยปี 2000-2015 ที่ตัวรถดีขึ้นที่ขนาดและอุปกรณ์มาตรฐานเท่านั้น เดี๋ยวนี้ต้อง
มีของเล่น และอุปกรณ์ช่วยในการขับขี่ให้มากที่สุดเท่าที่จะให้ได้ในระดับคลาสของมัน
ในกรณีของ Toyota ที่เปิดตัว Yaris / Yaris Ativ มาน่าจะเป็นรุ่นท้ายๆ ของยุคที่ผู้คน
ไม่ได้มองว่ารถระดับเริ่มต้นควรจะมีพวก option ไฮเทค หลังจากนั้นค่ายต่างๆ ก็เริ่มใส่เข้ามา
โดยเริ่มจาก Mirage / Attrage / Note
จากเหตุผลข้อนี้จะสรุปว่า City สอบตก ก็คงจะไม่เกินไปนัก เพราะ option ที่ดูแห้งแล้งตกยุคไปแล้วสำหรับปี 2020
แต่ยังไงก็ตาม Honda ก็เหมือนจะให้ข่าวมาตั้งแต่ต้นว่า City ใหม่จะเป็นรถที่เน้นขนาดตัวรถ และมีการ
ออกแบบที่ดีที่สุดแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน
พูดถึงการออกแบบภายใน
บางที Honda อาจจะไม่ได้มองเรื่องการออกแบบ interior ของรถตัวเองจะมีปัญหาสักเท่าไหร่
เพราะได้รับผลตอบรับที่ดีมาโดยตลอด Honda มี sense ที่รู้ว่าจะทำยังไงให้ภายในไม่ดูโล่งหรือจืดชืดจนเกินไป
มากกว่าคู่แข่งอย่าง Toyota อย่างชัดเจนมาโดยตลอด
จนกระทั่งแนวการออกแบบภายในแบบ BMW / Benz เริ่มมาฮิตในรถทุกระดับชั้น จะเห็นได้ว่ารถ
แต่ละรุ่นจะได้จอตั้งๆ กันไปหมด ส่วนปุ่มกดต่างๆ ก็จะอยู่ในจุดที่พอประมาณ ดูจำนวนไม่เยอะ แต่ดูดี
ซึ่งต้องอาศัยศาสตร์และศิลป์อยู่พอสมควร เพราะถ้าวางเลย์เอาท์ไม่ถูกนิดนึงก็จะกลายเป็นห้องโดยสารดูโล่งโจ้ง
เกินไป ค่ายรถหลายค่ายอาจจะถูกใจที่จำนวนชิ้นส่วนดูน้อยลง ทำให้ประหยัดต้นทุนได้อีก เลยทำแบบนั้นออกมา
เหมือนกัน แต่ตัวเองยังไม่มีความถนัดแบบต้นฉบับ จึงออกมาโล่งเตียนดูน่าเกลียด low cost แบบ Altis ที่พวกเราเห็นกัน
Honda เองไม่เคยจะต้องมาประหยัดพวกปุ่มหรือการออกแบบภายในมาก่อน พอเทรนด์แบบนั้นเข้ามา ประกอบกับ
การทำ City ให้เหมาะกับตลาดกำลังพัฒนามากขึ้น ไม่ใช่เน้นตลาดโลกจนต้นทุนสูง ก็เลยมีลักษณะแดชบอร์ดอย่างที่เห็น
ตรงปุ่มควบคุมแอร์ที่เรียงๆ กัน ก็เข้าใจว่ามาจากเทรนด์ปัจจุบันนี่แหล่ะ
แต่ช่องแอร์และหน้าจอถูกยกมาใส่แบบให้ที่มันพอดูเต็มๆ ไม่ได้ผ่านการคำนวณมาอย่างดี
ผลสุดท้ายก็เป็นอย่างที่เห็น กรอบโครเมียมรอบช่องแอร์ถูกออกแบบให้ล้ำไปอยู่ข้างบนเพื่อไม่ให้
พื้นที่ดูโล่งเกินไป
มันเหมือนเป็นการประยุกต์ระหว่างดีไซน์แนวใหม่ที่เน้นน้อยๆ แต่เรียบหรู กับของ Honda เดิมที่ต้องมี
อะไรให้ดูเต็มๆ จนทำให้มันดูไม่เข้ากัน ไม่ได้ไปทางใดทางหนึ่งสักทาง
มาตรวัดความเร็วของ City ก็ดูตกยุคไป 1 เจน ถ้าหากเปิดตัวด้วยหน้าปัดอย่างนี้เมื่อ 2-3 ปีที่แล้วอาจเป็นที่ยอมรับได้
แต่ในปัจจุบันรถรุ่นใหม่หันมาใช้หน้าจอ TFT ลักษณะหน้าจอแบบนี้จะเทียบเท่ากับรถกระบะรุ่นใหม่ที่เป็นรุ่นล่างๆ เท่านั้น
โชคยังดีที่ Honda ยังใส่พวงมาลัยทรง Accord มาให้ เพื่อไม่ให้ห้องโดยสารดูตกต่ำจนเกินไป เหมือนสมัยที่
Brio เปิดตัวตอนแรก และได้รับเสียงยี้มากมายจากคนที่ได้สัมผัส
ปัญหาการออกแบบภายในของ City รุ่นใหม่จึงช็อกตลาดไม่น้อยไปกว่าการที่มี option น้อย
แต่ก็อาจจะไม่ใช่ปัญหาที่ซีเรียสขนาดสมัย Brio เพราะในส่วนที่ดูแย่ที่สุด ก็ยังมีส่วนที่ดีเอามาบาลานซ์
พอได้อยู่ ไม่ว่าจะเป็นหัวเกียร์ พวงมาลัย ปุ่มควบคุมแอร์ แต่จะรู้สึกเสียอารมณ์เมื่อมองไปส่วนด้านบน หน้าปัด
ส่วนแผงประตูทำได้พอๆ กับของเดิม
จริงๆ แล้วรุ่นที่แล้วก็โทนดาวน์ลงมาเพื่อเอาใจตลาดอินเดีย และถูกด่าไปเยอะแล้วตอนเปิดตัว
สำหรับเสียงตอบรับพบว่านักข่าวที่มาจากอินเดีย ต่างชื่นชอบภายในของ City รุ่นใหม่รุ่นนี้อย่างมาก
ส่วนนักข่าวจากประเทศอื่นๆ ก็ไม่ได้ซีเรียสอะไร คงเป็นเพราะเราคุ้นเคยกับรถกระบะเยอะ และบางอย่างของ City
ทำให้รู้สึกถึงรถกระบะมากเกินไป แต่ประเทศอื่นเขาไม่ได้เจอกระบะเยอะแบบบ้านเรา ความรู้สึกแบบนั้นจึงไม่เกินขึ้น
แม้ว่าจะถูกด่าไปบ้าง แต่ลักษณะภายในก็ยังไม่ถึงกับถูกกลบโดยคู่แข่งอย่าง Almera เพราะมากันคนละโทน
Almera นั้นมาพร้อมความทันสมัยแบบรถเก๋งจริงๆ แต่ก็เป็นแบบที่รถเก๋งใช้มาตลอดตั้งแต่ประมาณ 5 ปีที่แล้ว
นี่ไม่ได้ด่า แต่กำลังจะบอกว่า มันไม่ได้ดีเลิศและก็ไม่ได้ดูแย่ ถือว่าอยู่ในระดับกลางๆ ใช้ได้ แต่ไม่มีอะไรที่ต้องให้ติ
ถ้า Honda เลือกเอาสักทาง จะไปทาง BMW หรือจะไปในทางของตัวเอง ก็คงจะไม่ออกมาเละเทะแบบนี้
เรื่องการออกแบบภายในยกนี้จึงให้ Almera วินไป ที่สำคัญคือ Almera มีหน้าจอ TFT ขนาดใหญ่ที่รถยุคใหม่ควรจะมี
แต่งานออกแบบก็เป็นอย่างที่บอกคือมาในสไตล์รถเก๋งนิสสันๆ ไม่ใช่ว่าทุกคนจะชอบ บางคนอาจจะไม่ชอบมาตั้งนานแล้ว
ถ้า Honda ทำภายใน City ใหม่ให้เป็นฮอนด้าๆ เหมือนเดิมคงจะเน้นเฟี้ยวฟ้าวตามสไตล์เหมือนเดิม
พูดถึงการออกแบบภายนอก
เป็น City ที่ดีที่สุดเท่าที่เคยมีมา โกหกหรือคนดูตาไม่ถึง?
ต้องบอกว่าการออกแบบ Almera ใหม่นั้นต้องยกนิ้วให้ เพราะตลาดแมสนั้นรอกระจังหน้าแบบ single grill มา
นานมากแล้ว โดย single grill จะถูกสงวนไว้ให้รถราคาแพงของค่าย หรือเฉพาะยี่ห้อที่เอาไว้อัพแบรนด์
เช่น Lexus, Acura
การยก single grill design มาให้ Almera ซึ่งเป็นรถน้องเล็กสุด ถือว่า Nissan เขาจัดเต็มแล้ว ซึ่งในต่าง
ประเทศ Altima หรือ Teana ที่ไม่ได้มาไทย จะได้กระจังหน้าแบบนี้ไปก่อน
เมื่อได้กระจังหน้าแบบนี้ การออกแบบส่วนอื่นๆ ภายนอกรถก็ปรับทันสมัยตามไปด้วย ผลก็คือไม่ว่าจะมอง
มุมไหน Almera ก็ดูทันสมัยกว่าคู่แข่ง เหลือเพียงแค่เปลี่ยนล้อให้ชีวิตเปลี่ยนเท่านั้น ที่ Nissan พลาดไป
อย่างก็คือ ถ้าจะเอาล้อ 15 มาเพื่อให้ผ่านมาตรฐานการปล่อยควันมลพิษ น่าจะเอาลายล้อ 15 ที่ดูดีกว่านี้มาใส่
มันก็จะดูสุดๆ มากยิ่งขึ้น เพราะ Almera ไม่ใช่รถที่ดูหรู ล้อควรจะไปในทางเดียวกัน คือต้องเป็นแนวสปอร์ตมากกว่า
แต่ที่ Honda บอกว่าการออกแบบที่ดีที่สุดเท่าที่เคยมีมาของ City ก็ไม่ใช่คำคุยโม้นะ
ถ้าบอกว่าดีที่สุดของ City ก็ต้องเอาไปเทียบกับ City รุ่นเก่า ไม่ต้องเอาไปเทียบกับรุ่นอื่นให้เสียเวลา
Honda อาจมีมุมมองที่มองว่ามันดีที่สุดจริงๆ แต่เป็นมุมที่คนที่ด่าไม่ได้มอง คือมองกันคนละแบบ
แต่เท่าที่ผมมอง ผมเห็นด้วยกับ Honda ที่เคลมแบบนั้น และมันก็มีจุดที่ชัดๆ หลายจุดที่ไปในทางนั้น
เมื่อเปรียบเทียบระหว่างรุ่นเก่าและรุ่นใหม่ เฉพาะภายนอก
ผมเลือกเฉพาะรุ่นที่ว่ากันว่าสวย ไม่นับรุ่นแมลงสาป
จุดเด่นอย่างหนึ่งเห็นคือ ตลอดเวลาที่ผ่านมาบอดี้ของ City มาในทรงลิ่ม
การที่เป็นทรงลิ่มส่วนหนึ่งเป็นเพราะเป็นการออกแบบที่ถูกบังคับจากการใช้พื้นฐานร่วมกับ Jazz
และจากความนิยมในรถซีดานทรงลิ่มในสมัยนั้น
คำว่าทรงลิ่มหมายถึง หน้าจะสั้นๆ หน่อย และมีความลาดเอียงด้านหน้าเยอะ เหมือนเทลง
เส้นสายจะลากสูงมาจากข้างหลังแล้วทิ่มลงมาด้านหน้า
ถ้ารถยุค 2020 ยังออกแบบมาในลักษณะนี้อยู่ จะถือว่าเชยมาก
จุดอ่อนที่ต้องติของสไตล์นี้ก็คือ บั้นท้ายของซีดานจะดูใหญ่สะบึม
เส้นสายที่ต้องติของ City รุ่นที่แล้วก็คือ รอยบากด้านข้างที่มาจากด้านท้ายดูเยอะเกินไป
ทำให้รถดูเหมือนครึ่งบนครึ่งล่างจะถูกตัดขาดออกจากกัน และเส้นก็ดูไม่มีที่มาที่ไป
แต่จุดที่ทันสมัยของ City รุ่นที่แล้วก็คือแก้มหน้าเหนือซุ้มล้อมีการตีโป่ง ซึ่งก็ยังคง
นิยมใส่มาในรถหลายๆ รุ่นจนถึงปัจจุบัน สำหรับ City รุ่นใหม่ที่ไม่มีการตีโป่งตรงนั้นเพราะ
ต้องการเน้นให้เส้นสายด้านข้างดูเรียบหรู มีความต่อเนื่อง ซึ่งก็ต่อเนื่องจริงๆ ดูคลีนๆ ไม่มีอะไร
ให้ติ และทำให้นึกถึง Accord มากกว่า
จริงๆ แล้ว Almera 2020 ก็ยังคงใช้ธีมนี้อยู่ เพราะมันเหมาะกับรูปทรงของ
รถเล็กที่มีความยาวตัวรถไม่ยาวเท่าไหร่ แต่ Nissan แก้ไขโดยการใช้
floating roof ทำให้หลอกตาว่าด้านท้ายดูไม่หนา แต่การหลอกตาแบบนั้นจะใช้ได้ผลกับ
ทุกๆ สี ยกเว้นสีดำ เพราะเราจะไม่เห็น floating roof กับรถสีดำ
Honda เลือกธีมที่ดีที่สุดให้ City ด้วยการลดความเป็นทรงลิ่มให้มากที่สุดสำหรับรถเล็ก
ซึ่งตัว City เองก็มีการยืดขยายความยาวมากขึ้นด้วย ประกอบกับการที่รุ่นใหม่แยกทาง
กับ Jazz ใหม่ จึงทำให้ด้านหน้าเป็นสันตั้งขึ้นมาแบบรถซีดานมากขึ้น เส้นสายด้านข้างก็สามารถ
ลากมาในแนวนอนแบบรถใหญ่อย่าง Accord ได้ ดูขัดเขินน้อยลง ธีมนี้ Honda เอาไปใส่กับ
Amaze ใหม่ในอินเดียด้วย แต่ด้วยข้อกฏหมายเรื่องขนาดความยาว หน้ากับท้ายของ Amaze ก็ต้องกุด
จึงทำให้ดูไม่สวยในสายตา
เสา C ที่ถูกล้อว่าดูแก่เหมือน Almera
จริงๆ แล้วไม่มีข้อกำหนดกฏเกณฑ์อะไรที่จะบอกว่าเสา C ทรงไหนดูแก่ หรือดูไม่แก่ จริงๆ แล้ว
ลักษณะเสา C มีให้เลือกน้อยมาก ยกเว้นฉีกไปเลยโดยการหุ้มสีดำ เสา C ของ City ดูเข้ากับ
ตัวรถโดยรวมมากกว่าทรงอื่น Honda จึงเลือกใช้ทรงนี้
จริงๆ City รุ่น 2008 ก็มีลักษณะเสา C แบบเดียวกัน แต่รุ่นนั้นใช้กรอบกระจกไปสุดเต็มบานประตู
ในขณะที่รุ่นใหม่เหลือเนื้อที่เหล็กกรอบหน้าต่างประตู
ที่ต้องตำหนิคือ City รุ่นที่แล้วมากกว่าที่ทำกรอบหน้าต่างด้านหลังดูงกๆ เงิ่นๆ (ไม่รู้จะใช้คำอะไรดี)
ต้องมีแผ่นพลาสติกมาแปะเพิ่มอีกหนึ่งชิ้น ดูน่ารำคาญตามากกว่า
ประกอบกับการเอากระจกมองข้างย้ายลงมาจากตำแหน่งเดิม ทำให้ขนาดและรูปทรงของกระจกดู
sleek ดูสะอาดตา
พูดถึง Honda ที่เคลมว่าเป็นดีไซน์ City ที่ดีที่สุดเท่าที่เคยมีมา...โกหกหรือคนดูตาไม่ถึง ?
แต่เดี๋ยวนี้ก็มีรถจำนวนไม่น้อยที่สามารถหลบคำตำหนิในวันเปิดตัวได้อย่างน่าชื่นชม
City เป็นกระแสกระหึ่มขึ้นมา บ้างก็ว่าราคาแพงไป ซึ่งสะท้อนจากตัวรถที่มี spec และ option
ที่ดูล้าหลังกว่าคู่แข่ง เพราะเข้าสู่ยุคปี 2020 ระบบไฮเทคต่างๆ ถูกประเคนมาให้ตัวรถมากขึ้นกว่า
สมัยก่อนมาก ไม่ใช่สมัยปี 2000-2015 ที่ตัวรถดีขึ้นที่ขนาดและอุปกรณ์มาตรฐานเท่านั้น เดี๋ยวนี้ต้อง
มีของเล่น และอุปกรณ์ช่วยในการขับขี่ให้มากที่สุดเท่าที่จะให้ได้ในระดับคลาสของมัน
ในกรณีของ Toyota ที่เปิดตัว Yaris / Yaris Ativ มาน่าจะเป็นรุ่นท้ายๆ ของยุคที่ผู้คน
ไม่ได้มองว่ารถระดับเริ่มต้นควรจะมีพวก option ไฮเทค หลังจากนั้นค่ายต่างๆ ก็เริ่มใส่เข้ามา
โดยเริ่มจาก Mirage / Attrage / Note
จากเหตุผลข้อนี้จะสรุปว่า City สอบตก ก็คงจะไม่เกินไปนัก เพราะ option ที่ดูแห้งแล้งตกยุคไปแล้วสำหรับปี 2020
แต่ยังไงก็ตาม Honda ก็เหมือนจะให้ข่าวมาตั้งแต่ต้นว่า City ใหม่จะเป็นรถที่เน้นขนาดตัวรถ และมีการ
ออกแบบที่ดีที่สุดแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน
พูดถึงการออกแบบภายใน
บางที Honda อาจจะไม่ได้มองเรื่องการออกแบบ interior ของรถตัวเองจะมีปัญหาสักเท่าไหร่
เพราะได้รับผลตอบรับที่ดีมาโดยตลอด Honda มี sense ที่รู้ว่าจะทำยังไงให้ภายในไม่ดูโล่งหรือจืดชืดจนเกินไป
มากกว่าคู่แข่งอย่าง Toyota อย่างชัดเจนมาโดยตลอด
จนกระทั่งแนวการออกแบบภายในแบบ BMW / Benz เริ่มมาฮิตในรถทุกระดับชั้น จะเห็นได้ว่ารถ
แต่ละรุ่นจะได้จอตั้งๆ กันไปหมด ส่วนปุ่มกดต่างๆ ก็จะอยู่ในจุดที่พอประมาณ ดูจำนวนไม่เยอะ แต่ดูดี
ซึ่งต้องอาศัยศาสตร์และศิลป์อยู่พอสมควร เพราะถ้าวางเลย์เอาท์ไม่ถูกนิดนึงก็จะกลายเป็นห้องโดยสารดูโล่งโจ้ง
เกินไป ค่ายรถหลายค่ายอาจจะถูกใจที่จำนวนชิ้นส่วนดูน้อยลง ทำให้ประหยัดต้นทุนได้อีก เลยทำแบบนั้นออกมา
เหมือนกัน แต่ตัวเองยังไม่มีความถนัดแบบต้นฉบับ จึงออกมาโล่งเตียนดูน่าเกลียด low cost แบบ Altis ที่พวกเราเห็นกัน
Honda เองไม่เคยจะต้องมาประหยัดพวกปุ่มหรือการออกแบบภายในมาก่อน พอเทรนด์แบบนั้นเข้ามา ประกอบกับ
การทำ City ให้เหมาะกับตลาดกำลังพัฒนามากขึ้น ไม่ใช่เน้นตลาดโลกจนต้นทุนสูง ก็เลยมีลักษณะแดชบอร์ดอย่างที่เห็น
ตรงปุ่มควบคุมแอร์ที่เรียงๆ กัน ก็เข้าใจว่ามาจากเทรนด์ปัจจุบันนี่แหล่ะ
แต่ช่องแอร์และหน้าจอถูกยกมาใส่แบบให้ที่มันพอดูเต็มๆ ไม่ได้ผ่านการคำนวณมาอย่างดี
ผลสุดท้ายก็เป็นอย่างที่เห็น กรอบโครเมียมรอบช่องแอร์ถูกออกแบบให้ล้ำไปอยู่ข้างบนเพื่อไม่ให้
พื้นที่ดูโล่งเกินไป
มันเหมือนเป็นการประยุกต์ระหว่างดีไซน์แนวใหม่ที่เน้นน้อยๆ แต่เรียบหรู กับของ Honda เดิมที่ต้องมี
อะไรให้ดูเต็มๆ จนทำให้มันดูไม่เข้ากัน ไม่ได้ไปทางใดทางหนึ่งสักทาง
มาตรวัดความเร็วของ City ก็ดูตกยุคไป 1 เจน ถ้าหากเปิดตัวด้วยหน้าปัดอย่างนี้เมื่อ 2-3 ปีที่แล้วอาจเป็นที่ยอมรับได้
แต่ในปัจจุบันรถรุ่นใหม่หันมาใช้หน้าจอ TFT ลักษณะหน้าจอแบบนี้จะเทียบเท่ากับรถกระบะรุ่นใหม่ที่เป็นรุ่นล่างๆ เท่านั้น
โชคยังดีที่ Honda ยังใส่พวงมาลัยทรง Accord มาให้ เพื่อไม่ให้ห้องโดยสารดูตกต่ำจนเกินไป เหมือนสมัยที่
Brio เปิดตัวตอนแรก และได้รับเสียงยี้มากมายจากคนที่ได้สัมผัส
ปัญหาการออกแบบภายในของ City รุ่นใหม่จึงช็อกตลาดไม่น้อยไปกว่าการที่มี option น้อย
แต่ก็อาจจะไม่ใช่ปัญหาที่ซีเรียสขนาดสมัย Brio เพราะในส่วนที่ดูแย่ที่สุด ก็ยังมีส่วนที่ดีเอามาบาลานซ์
พอได้อยู่ ไม่ว่าจะเป็นหัวเกียร์ พวงมาลัย ปุ่มควบคุมแอร์ แต่จะรู้สึกเสียอารมณ์เมื่อมองไปส่วนด้านบน หน้าปัด
ส่วนแผงประตูทำได้พอๆ กับของเดิม
จริงๆ แล้วรุ่นที่แล้วก็โทนดาวน์ลงมาเพื่อเอาใจตลาดอินเดีย และถูกด่าไปเยอะแล้วตอนเปิดตัว
สำหรับเสียงตอบรับพบว่านักข่าวที่มาจากอินเดีย ต่างชื่นชอบภายในของ City รุ่นใหม่รุ่นนี้อย่างมาก
ส่วนนักข่าวจากประเทศอื่นๆ ก็ไม่ได้ซีเรียสอะไร คงเป็นเพราะเราคุ้นเคยกับรถกระบะเยอะ และบางอย่างของ City
ทำให้รู้สึกถึงรถกระบะมากเกินไป แต่ประเทศอื่นเขาไม่ได้เจอกระบะเยอะแบบบ้านเรา ความรู้สึกแบบนั้นจึงไม่เกินขึ้น
แม้ว่าจะถูกด่าไปบ้าง แต่ลักษณะภายในก็ยังไม่ถึงกับถูกกลบโดยคู่แข่งอย่าง Almera เพราะมากันคนละโทน
Almera นั้นมาพร้อมความทันสมัยแบบรถเก๋งจริงๆ แต่ก็เป็นแบบที่รถเก๋งใช้มาตลอดตั้งแต่ประมาณ 5 ปีที่แล้ว
นี่ไม่ได้ด่า แต่กำลังจะบอกว่า มันไม่ได้ดีเลิศและก็ไม่ได้ดูแย่ ถือว่าอยู่ในระดับกลางๆ ใช้ได้ แต่ไม่มีอะไรที่ต้องให้ติ
ถ้า Honda เลือกเอาสักทาง จะไปทาง BMW หรือจะไปในทางของตัวเอง ก็คงจะไม่ออกมาเละเทะแบบนี้
เรื่องการออกแบบภายในยกนี้จึงให้ Almera วินไป ที่สำคัญคือ Almera มีหน้าจอ TFT ขนาดใหญ่ที่รถยุคใหม่ควรจะมี
แต่งานออกแบบก็เป็นอย่างที่บอกคือมาในสไตล์รถเก๋งนิสสันๆ ไม่ใช่ว่าทุกคนจะชอบ บางคนอาจจะไม่ชอบมาตั้งนานแล้ว
ถ้า Honda ทำภายใน City ใหม่ให้เป็นฮอนด้าๆ เหมือนเดิมคงจะเน้นเฟี้ยวฟ้าวตามสไตล์เหมือนเดิม
พูดถึงการออกแบบภายนอก
เป็น City ที่ดีที่สุดเท่าที่เคยมีมา โกหกหรือคนดูตาไม่ถึง?
ต้องบอกว่าการออกแบบ Almera ใหม่นั้นต้องยกนิ้วให้ เพราะตลาดแมสนั้นรอกระจังหน้าแบบ single grill มา
นานมากแล้ว โดย single grill จะถูกสงวนไว้ให้รถราคาแพงของค่าย หรือเฉพาะยี่ห้อที่เอาไว้อัพแบรนด์
เช่น Lexus, Acura
การยก single grill design มาให้ Almera ซึ่งเป็นรถน้องเล็กสุด ถือว่า Nissan เขาจัดเต็มแล้ว ซึ่งในต่าง
ประเทศ Altima หรือ Teana ที่ไม่ได้มาไทย จะได้กระจังหน้าแบบนี้ไปก่อน
เมื่อได้กระจังหน้าแบบนี้ การออกแบบส่วนอื่นๆ ภายนอกรถก็ปรับทันสมัยตามไปด้วย ผลก็คือไม่ว่าจะมอง
มุมไหน Almera ก็ดูทันสมัยกว่าคู่แข่ง เหลือเพียงแค่เปลี่ยนล้อให้ชีวิตเปลี่ยนเท่านั้น ที่ Nissan พลาดไป
อย่างก็คือ ถ้าจะเอาล้อ 15 มาเพื่อให้ผ่านมาตรฐานการปล่อยควันมลพิษ น่าจะเอาลายล้อ 15 ที่ดูดีกว่านี้มาใส่
มันก็จะดูสุดๆ มากยิ่งขึ้น เพราะ Almera ไม่ใช่รถที่ดูหรู ล้อควรจะไปในทางเดียวกัน คือต้องเป็นแนวสปอร์ตมากกว่า
แต่ที่ Honda บอกว่าการออกแบบที่ดีที่สุดเท่าที่เคยมีมาของ City ก็ไม่ใช่คำคุยโม้นะ
ถ้าบอกว่าดีที่สุดของ City ก็ต้องเอาไปเทียบกับ City รุ่นเก่า ไม่ต้องเอาไปเทียบกับรุ่นอื่นให้เสียเวลา
Honda อาจมีมุมมองที่มองว่ามันดีที่สุดจริงๆ แต่เป็นมุมที่คนที่ด่าไม่ได้มอง คือมองกันคนละแบบ
แต่เท่าที่ผมมอง ผมเห็นด้วยกับ Honda ที่เคลมแบบนั้น และมันก็มีจุดที่ชัดๆ หลายจุดที่ไปในทางนั้น
เมื่อเปรียบเทียบระหว่างรุ่นเก่าและรุ่นใหม่ เฉพาะภายนอก
ผมเลือกเฉพาะรุ่นที่ว่ากันว่าสวย ไม่นับรุ่นแมลงสาป
จุดเด่นอย่างหนึ่งเห็นคือ ตลอดเวลาที่ผ่านมาบอดี้ของ City มาในทรงลิ่ม
การที่เป็นทรงลิ่มส่วนหนึ่งเป็นเพราะเป็นการออกแบบที่ถูกบังคับจากการใช้พื้นฐานร่วมกับ Jazz
และจากความนิยมในรถซีดานทรงลิ่มในสมัยนั้น
คำว่าทรงลิ่มหมายถึง หน้าจะสั้นๆ หน่อย และมีความลาดเอียงด้านหน้าเยอะ เหมือนเทลง
เส้นสายจะลากสูงมาจากข้างหลังแล้วทิ่มลงมาด้านหน้า
ถ้ารถยุค 2020 ยังออกแบบมาในลักษณะนี้อยู่ จะถือว่าเชยมาก
จุดอ่อนที่ต้องติของสไตล์นี้ก็คือ บั้นท้ายของซีดานจะดูใหญ่สะบึม
เส้นสายที่ต้องติของ City รุ่นที่แล้วก็คือ รอยบากด้านข้างที่มาจากด้านท้ายดูเยอะเกินไป
ทำให้รถดูเหมือนครึ่งบนครึ่งล่างจะถูกตัดขาดออกจากกัน และเส้นก็ดูไม่มีที่มาที่ไป
แต่จุดที่ทันสมัยของ City รุ่นที่แล้วก็คือแก้มหน้าเหนือซุ้มล้อมีการตีโป่ง ซึ่งก็ยังคง
นิยมใส่มาในรถหลายๆ รุ่นจนถึงปัจจุบัน สำหรับ City รุ่นใหม่ที่ไม่มีการตีโป่งตรงนั้นเพราะ
ต้องการเน้นให้เส้นสายด้านข้างดูเรียบหรู มีความต่อเนื่อง ซึ่งก็ต่อเนื่องจริงๆ ดูคลีนๆ ไม่มีอะไร
ให้ติ และทำให้นึกถึง Accord มากกว่า
จริงๆ แล้ว Almera 2020 ก็ยังคงใช้ธีมนี้อยู่ เพราะมันเหมาะกับรูปทรงของ
รถเล็กที่มีความยาวตัวรถไม่ยาวเท่าไหร่ แต่ Nissan แก้ไขโดยการใช้
floating roof ทำให้หลอกตาว่าด้านท้ายดูไม่หนา แต่การหลอกตาแบบนั้นจะใช้ได้ผลกับ
ทุกๆ สี ยกเว้นสีดำ เพราะเราจะไม่เห็น floating roof กับรถสีดำ
Honda เลือกธีมที่ดีที่สุดให้ City ด้วยการลดความเป็นทรงลิ่มให้มากที่สุดสำหรับรถเล็ก
ซึ่งตัว City เองก็มีการยืดขยายความยาวมากขึ้นด้วย ประกอบกับการที่รุ่นใหม่แยกทาง
กับ Jazz ใหม่ จึงทำให้ด้านหน้าเป็นสันตั้งขึ้นมาแบบรถซีดานมากขึ้น เส้นสายด้านข้างก็สามารถ
ลากมาในแนวนอนแบบรถใหญ่อย่าง Accord ได้ ดูขัดเขินน้อยลง ธีมนี้ Honda เอาไปใส่กับ
Amaze ใหม่ในอินเดียด้วย แต่ด้วยข้อกฏหมายเรื่องขนาดความยาว หน้ากับท้ายของ Amaze ก็ต้องกุด
จึงทำให้ดูไม่สวยในสายตา
เสา C ที่ถูกล้อว่าดูแก่เหมือน Almera
จริงๆ แล้วไม่มีข้อกำหนดกฏเกณฑ์อะไรที่จะบอกว่าเสา C ทรงไหนดูแก่ หรือดูไม่แก่ จริงๆ แล้ว
ลักษณะเสา C มีให้เลือกน้อยมาก ยกเว้นฉีกไปเลยโดยการหุ้มสีดำ เสา C ของ City ดูเข้ากับ
ตัวรถโดยรวมมากกว่าทรงอื่น Honda จึงเลือกใช้ทรงนี้
จริงๆ City รุ่น 2008 ก็มีลักษณะเสา C แบบเดียวกัน แต่รุ่นนั้นใช้กรอบกระจกไปสุดเต็มบานประตู
ในขณะที่รุ่นใหม่เหลือเนื้อที่เหล็กกรอบหน้าต่างประตู
ที่ต้องตำหนิคือ City รุ่นที่แล้วมากกว่าที่ทำกรอบหน้าต่างด้านหลังดูงกๆ เงิ่นๆ (ไม่รู้จะใช้คำอะไรดี)
ต้องมีแผ่นพลาสติกมาแปะเพิ่มอีกหนึ่งชิ้น ดูน่ารำคาญตามากกว่า
ประกอบกับการเอากระจกมองข้างย้ายลงมาจากตำแหน่งเดิม ทำให้ขนาดและรูปทรงของกระจกดู
sleek ดูสะอาดตา