# เปิดใจ “จิรัฐ บวรวัฒนา” ในวันที่ใครๆ บอกว่า กระแส BNK48 ไม่ปังแล้ว

กระทู้สนทนา
เพี้ยนแคปเจอร์เพี้ยนแคปเจอร์เพี้ยนแคปเจอร์


.
.
ผู้บริหารBNK48 เปิดใจธุรกิจนี้ไม่ใช่ธุรกิจเพลงไม่ได้อยู่ได้ด้วยกระแสแต่อยู่ได้ด้วยฐานแฟนๆ
พร้อมแผนธุรกิจเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็นiAM ลุยปั้นไอดอลชายส่วนBNK48 ยังคงเดินหน้าสร้างคอนเทนต์หลากหลายสร้างพื้นที่ให้น้องๆ

การเดินทาง2 ปีของ BNK48
เมื่อปีที่ผ่านมาคำว่าBNK48 ได้เข้าไปอยู่ในกระแสหลักอย่างเต็มตัว เกิดปรากฎการณ์“คุ้กกี้ฟีเวอร์” ทั่วประเทศไทย
ทำให้ธุรกิจไอดอลแฟรนไชส์จากประเทศญี่ปุ่นอย่างBNK48 ประสบความสำเร็จอย่างมากสร้างรายได้และชื่อเสียงเป็นกอบเป็นกำ
รวมถึงกวาดงานพรีเซ็นเตอร์อีกหลาย10 แบรนด์

BNK48 ได้เริ่มเดบิวท์ซิงเกิ้ลแรกเมื่อวันที่2 มิถุนายน2017 ในตอนนั้นธุรกิจนี้ถือว่าเป็นโมเดลธุรกิจที่ค่อนข้างใหม่มากในประเทศไทย
เรียกง่ายๆว่า“ธุรกิจไอดอล” รายได้จะมาจากการสนับสนุนของแฟนๆในการซื้อซีดีของที่ระลึกต่างๆไปจนถึงงานอีเวนต์และต่อยอดในการทำคอนเทนต์อื่นๆ
 
ปัจจุบันBNK48 มีผลงานเพลง7 ซิงเกิ้ลโดยที่ซิงเกิ้ลแรกของBNK48 ขายแผ่นซีดีได้จำนวนหมื่นกว่าแผ่น
มาถึงซิงเกิ้ลคุกกี้เสี่ยงทายขายได้30,000 กว่าแผ่นและซิงเกิ้ลJabaja ขายได้ถึง170,000 แผ่น



นอกจากการขายซีดีแล้วในช่วง2 ปีที่ผานมาได้มีการทำกิจกรรมโดยตลอดหลายคนจะคุ้นเคยกันอย่างดีกับ“งานจับมือ” ที่มีทุกซิงเกิ้ลรวมไปถึงงานเลือกตั้ง, คอนเสิร์ต, แฟนมีต, ถ่ายรูปทูช็อตและโรดโชว์ที่ออกไปตามหัวเมืองต่างๆ

รวมไปถึงการทำคอนเทนต์อื่นๆที่นอกเหนือจากงานเพลงที่จะช่วยเสริมฐานของBNK48 ให้แข็งขึ้น
เช่นภาพยนตร์และซีรีส์ได้แก่Girl Don’t Cry, กระสือสยาม, ไทบ้านเดอะซีรีส์, Real Me, Where We Belong
 โดยที่ในปีหน้ามีแผนที่เปิดตัวภาพยนตร์อีก4 เรื่องและมีรายการทีวีออนไลน์ที่ทำร่วมกับบี้เดอะสกา
 
ความสำเร็จของBNK48 ในช่วงปีที่ผ่านมายังสามารถดึงดูดได้อีกด้วยโดยที่PlanB ยักษ์ใหญ่ในตลาดสื่อนอกบ้านยังขอร่วมจอย
ทำให้ตอนนี้มีสัดส่วนการถือหุ้นแบ่งเป็นกลุ่มของจิรัฐบวรวัฒนา55% AKB (ญี่ปุ่น) 35% และPlanB 10%

กระแสไม่สำคัญเท่าฐานแฟนๆ

BNK48 ได้เดินทางมาได้ 2 ปีกว่าๆแล้วหลายคนมองว่าช่วงนี้กระแสของBNK48 ดรอปลงไปไม่มีเพลงฮิตติดหูเหมือนตอนเพลงคุ้กกี้เสี่ยงทายเลยหรือชื่อของBNK48 ไม่ได้อยู่ในกระแสหลักไม่ได้มีพรีเซ็นเตอร์แบรนด์ใหม่ๆ

ทางPositioning ได้มีโอกาสพูดคุยกับ“จิรัฐบวรวัฒนา” ประธานเจ้าหน้าที่บริษัทบริษัทIndependent Artist Management จำกัดหรือiAM ถึงประเด็นดังกล่าวโดยที่จิรัฐตอบอย่างมั่นใจว่า“ธุรกิจนี้ไม่ใช่ธุรกิจเพลงอยู่ได้ด้วยแฟนเบจเพลงไม่ฮิตก็ต้องอยู่ให้ได้”
 
“ต้องยอมรับว่าถ้าเป็นธุรกิจเพลงกระแสย่อมมีขึ้นและลงแต่BNK48 ไม่ได้วางจุดยืนอยู่ในอุตสาหกรรมเพลงตั้งแต่แรกอยู่แล้ว
แต่Business Model ของเราเป็นแฟนเบจเมเนจเมนต์(หรือการบริหารแฟนๆเหล่าโอตะนั่นเอง) 
ซึ่งสิ่งที่สำคัญกว่ากระแสคือความยั่งยืนในสังคมและแฟนๆที่สนับสนุนเรา”

จิรัฐยังเสริมอีกว่าธุรกิจนี้อยู่ได้ด้วยแฟนๆจริงๆเป็นคนที่เลือกที่จะอยู่กับเราเป็นคนที่เปย์น้องๆ
ยกตัวอย่างที่ญี่ปุ่นทำธุรกิจอยู่มา15 ปีมีเพลงฮิตหลายเพลงแต่ก็มีเพลงที่เงียบๆแต่ก็มีรายได้อย่างต่อเนื่องที่ไทยก็ต้องทำให้ได้

สำหรับประเด็นที่ว่ากระแสที่ลดลงกระทบต่อการทำงานหรือรายได้หรือไม่ จิรัฐบอกว่ากระตอนเพลงคุ้กกี้เสี่ยงทายเป็นปรากฎการณ์จริงๆเป็นเรื่องที่ดีที่ทำให้คนรู้จักเยอะขึ้นเพลงฮิตเป็นเรื่องที่ดี แต่ถ้าไม่มีเพลงฮิตก็ต้องอยู่ให้ได้วิธีการคือต้องสร้างความยั่งยืนด้วยคอนเทนต์อื่นๆพยายามทำให้Ecosystem สมบูรณ์แบบมีการลงทุนด้านคอนเทนต์อื่นๆต่อเนื่องทำให้BNK48 ไม่หยุดนิ่ง
 
นอกจากนี้สิ่งที่จิรัฐได้เรียนรู้จากกระแสของBNK48 เมื่อปีก่อนนั้น
“ทำให้เห็นว่ากระแสนั้นคนสนใจแค่คุ้กกี้เสี่ยงทาย สนใจแต่น้องๆแต่ไม่ได้สนับสนุนเงิน แต่สำคัญกว่าคือมีแฟนๆที่สนับสนุนธุรกิจในการซื้อของต่างๆ”



ยอมรับว่ากระแสตกแต่ธุรกิจนี้ไม่ใช่กระแส

ปัจจุบันก็ยังมีผลงานออกมาอย่างต่อเนื่องและยังคงเป็นพรีเซ็นเตอร์ให้กับแบรนด์ต่างๆ7 แบรนด์ได้แก่โตโยต้า, Exit, 12+, มิรินด้า, โออิชิ, แกร็บและธนาคารออมสินจากแต่ก่อนมี10 กว่าแบรนด์ไม่ใช่เรื่องแปลกเพราะหลายๆแบรนด์ย่อมเลือกที่จะใช้งบลงทุนตอนที่BNK48 มีกระแสสูงที่สุดแต่จิรัฐบอกว่าแบรนด์ที่ยังให้เป็นพรีเซ็นเตอร์อยู่ก็ยังคงมีการใช้งบเพิ่มขึ้นมีทั้งกิจกรรมโรดโชว์ต่างๆ
 
ถ้าถามว่าการบริหารBNK48 ตอนนี้มีความท้าทายอะไรบ้างจิรัฐบอกว่าตอนนี้มีความท้าทายรอบตัวเพราะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทำให้ไม่สามารถวางแผนล่วงหน้าในระยะยาวถ้ามีอะไรมากระทบก็ต้องบริหารภายใต้การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วได้ถ้าหยุดนิ่งถือว่าถอยหลัง

“แต่ความยากที่สุดของธุรกิจนี้คือ‘ความคิด’ ของคนที่ไม่เชื่อในระบบนี้และคนที่คิดว่าไม่มีกระแสแล้วหลายคนอาจจะบอกว่าBNK48 ไม่มีกระแสแล้วก็ต้องยอมรับว่ากระแสตกจริงๆแต่ธุรกิจเราไม่ใช่กระแสเท่านั้นเอง” 

พลิกโฉมBNK48 Office สู่iAM

อีกหนึ่งการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของBNK48 ในปีนี้นั่นคือการเปลี่ยนชื่อบริษัทจากBNK48 Office 
เป็นบริษัทIndependent Artist Management จำกัดหรือiAM เท่ากับว่าจะไม่ได้จำกัดอยู่แค่คอนเทนต์ของBNK48 อีกต่อไป
โดยที่iAM จะเน้นการลงทุนและบริหารศิลปินนักร้องรวมไปถึงInfluencer ที่หลากหลายแบ่งเป็น3 กลุ่มหลักได้แก่
 
 1 ธุรกิจIdol management ภายใต้AKB48 model ยังคงสร้างผลงานให้กับBNK48 และสร้างรุ่นใหม่ต่อๆไปรวมถึงการขยายฐานสู่ระดับภูมิภาคต่างๆทั่วประเทศมีการปั้นวงน้องในจังหวัดต่างๆล่าสุดเปิดตัวCGM 48 จังหวัดเชียงใหม่เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายในแต่ละภูมิภาคมากขึ้น

 2 ธุรกิจIdol management ศิลปินชายผ่านการร่วมลงทุนในบริษัทDream Society Management จำกัดหรือDMS ซึ่งมีสัดส่วนการถือหุ้นระหว่างiAM60% และ“ติ๊กเจษฎาภรณ์ผลดี” 40% โดยDMSจะใช้Business model จากความสำเร็จของBNK48 มาปรับเพื่อสร้างความแตกต่างเพื่อปฎิวัติวงการไอดอลชายไทย

 3 ธุรกิจTalent management บริหารศิลปินนักร้องนักแสดงและinfluencer เพื่อเพิ่มความหลากหลายของคอนเทนต์ให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายทุกอายุเพศและวัยโดยอยู่ระหว่างการเจรจาหาศิลปินที่มีความโดดเด่นน่าสนใจทั้งจากภายในและต่างประเทศ



แตกไลน์สู่ไอดอลชาย-Influencer

หลังจากที่ประสบความสำเร็จกับการปั้นไอดอลหญิงผ่านBNK48 มาแล้วiAM เตรียมปั้นไอดอลชายผ่านDream Society Management 
ด้วยทุนจดทะเบียน10 ล้านบาทซึ่งจิรัฐบอกว่ามีความคิดอยากทำธุรกิจไอดอลบอยอยู่แล้วเลยได้พูดคุยกับติ๊กเจษฎาภรณ์
มองว่าติ๊กมีประสบการณ์ในวงการบันเทิงมานานได้รับการยอมรับไม่มีข่าวเสียหาย
 
รูปแบบของการปั้นไอดอลชายจึงออกมาเป็นรายการ“The Brothers” School of gentlemen เป็นรายการกึ่งเรียลลิตี้ทีให้คนในวงการอย่างติ๊กเจษฎาภรณ์ผลดี, มาริโอ้เมาเร่อ, อนันดาเอเวอร์ริ่งแฮมและนิชคุณหรเวชกุลมาเป็นเมนเทอร์ในการพัฒนาซึ่งจะเปิดตัวThe Brothers ในเดือนพฤศจิกายน

สร้างพื้นที่ให้น้องๆขยายคอนเทนต์หลากหลาย

ปัจจุบันBNK48 มีสมาชิกทั้ง2 รุ่นรวม40-50 คนและมีวงน้องสาวCGM48 ที่เชียงใหม่อีก25 คนสำหรับก้าวต่อไปของBNK48 คงไม่ใช่แค่การหาเซ็มบัตสึ16 คนเพื่อออกซิงเกิ้ลเพียงอย่างเดียวแม้จะใช้ฟอร์แมทเป็นหลักก็ตามแต่จะมีการสร้าง“ยูนิตย่อย” ทำให้BNK48 เป็นแพลตฟอร์มตอนนี้เริ่มเดบิวท์ยูนิตminigumo มีสมาชิกได้แก่จ๋ามิวสิคและไข่มุก



“ตอนนี้เราไม่จำกัดในการทำแค่ไอดอลแต่ต้องขยายไปคอนเทนต์อื่นๆต้องเอาน้องๆในทีมมาสร้างมูลค่าเพิ่มให้ได้ ให้น้องมีพื้นที่ยืนชัดเจนมีตัวตนที่ชัดเจนการทำคอนเทนต์จึงสำคัญต้องเพิ่มศักยภาพ ต้องเพิ่มยูนิตย่อยให้มากขึ้นน้องจะมีพื้นที่ของตัวเอง”
 
สำหรับในเรื่องของรายได้นั้นในปี2018 BNK48 Office มีรายได้680 ล้านบาทในปีนี้มองว่ารายได้จะพอๆกันและเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างบริษัทและชื่อบริษัททำให้มีการโฟกัสธุรกิจอื่นๆมากขึ้นมีการตั้งเป้าว่าภายใน2 ปีข้างหน้านี้สัดส่วนรายได้ระหว่างธุรกิจ48 (BNK48) จะอยู่ที่50% และธุรกิจNon-48 (Influencer อื่นๆ) อีก50%.

==========================================



Cr.บทความจาก https://positioningmag.com/1254894
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่