พร้อมหรือไม่หากโรงเรียนเดินตามมหาวิทยาลัย การออกนอกระบบของโรงเรียนเป็นโรงเรียนในกำกับของรัฐที่ได้รับ Block Grant สนับสนุน จะเป็นการทำให้การจัดการทรัพยากรต่างๆทำได้ง่าย ไม่ต้องติดระเบียบราชการที่ล่าช้า นำไปสู่ความเป็นสากล และเป็นการลดภาระงบประมาณทางศึกษาของชาติซึ่งนับว่าเป็นอันดับ1ของงบประมาณทั้งหมด
สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือ มีการประเมินKPIของบุคลากร อย่างสม่ำเสมอ ครูมีความกระตือรือร้นในการพัฒนาตัวเองมากขึ้น หาความรู้ใหม่ๆ ตั้งใจสอนเต็มที่ จนกวดวิชาเทียบไม่ติด ผู้ปกครองเห็นว่าค่าเทอมขึ้นเล็กน้อยแต่ก็คุ้มค่ามากยิ่งขึ้น เมื่อเทียบกับที่ต้องเคยจ่ายเพื่อกวดวิชากว่าหลายหมื่นบาท
คุรุภัณฑ์ที่เสียหายมีงบซ่อมแซมอย่างรวดเร็ว นักเรียนได้เพิ่มพูนทักษะความรู้จากอุปกรณ์ทดลองทางวิทยาศาสตร์ที่มีอย่างครบครัน ระบบอินเตอร์เน็ตและคอมพิวเตอร์ได้รับการปรับปรุงจนมีประสิทธิภาพเทียบเท่ามหาวิทยาลัย
บ้านพักครูได้รับการปรับปรุงให้น่าอยู่เป็นขวัญและกำลังใจที่ดี
โรงเรียนมีการหารายได้โดยให้เอกชนเช่าที่ค้าขาย หรือนำสินค้าฝีมือครูและนักเรียนชมรมมาวางขาย สิ่งเหล่านี้ก็เป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ลงมือทำงานจริงด้วย (learning by doing) เรียนรู้จากการแก้ปัญหา (PBL) โครงงานวิทยาศาสตร์ที่ถูกมองว่าใช้สอยไม่ได้ สร้างมูลค่าเพิ่มได้ยาก ก็ได้นำมาต่อยอดได้ อีกทั้งยังเป็นการเปิดโลกทัศน์นอกตำราเรียน ปลูกฝังนักเรียนเป็นทั้งนักคิดและนักลงมือทำ นับเป็นการต่อยอดไปสู่การเป็นผู้ประกอบการที่มีส่วนในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของชาติในศตวรรษที่ 21 อย่างยั่งยืนต่อไป
หรืออาจพูดได้ว่า เราจะหลุดพ้นกับดักรายได้ปานกลาง ความฝันในการเป็นเสือตัวที่ห้าของเอเชียก็กลับมาอีกครั้ง
ทั้งนี้การนำโรงเรียนออกนอกระบบอาจนำร่องโดยโรงเรียนขนาดใหญ่ซึ่งมีความพร้อมทางทรัพยากรพื้นฐาน เช่นโรงเรียนมัธยมประจำจังหวัด วิทยาลัยอาชีวะต่างๆ อย่างค่อยเป็นค่อยไป
เรื่องนี้ผู้ใหญ่ในกระทรวง และคนในวงการ ชาวบ้าน และนักเรียน ทุกภาคส่วน มีความคิดเห็นกันอย่างไรครับ มาแลกเปลี่ยนทำประชาพิจารณ์กันครับ และจากหัวข้อพวกท่านคิดว่าในอนาคตโรงเรียนจะออกนอกระบบตามมหาวิทยาลัยหรือไม่
การนำโรงเรียนออกนอกระบบราชการเพื่อเป็นโรงเรียนในกำกับของรัฐ มาแลกเปลี่ยนกันครับ
สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือ มีการประเมินKPIของบุคลากร อย่างสม่ำเสมอ ครูมีความกระตือรือร้นในการพัฒนาตัวเองมากขึ้น หาความรู้ใหม่ๆ ตั้งใจสอนเต็มที่ จนกวดวิชาเทียบไม่ติด ผู้ปกครองเห็นว่าค่าเทอมขึ้นเล็กน้อยแต่ก็คุ้มค่ามากยิ่งขึ้น เมื่อเทียบกับที่ต้องเคยจ่ายเพื่อกวดวิชากว่าหลายหมื่นบาท
คุรุภัณฑ์ที่เสียหายมีงบซ่อมแซมอย่างรวดเร็ว นักเรียนได้เพิ่มพูนทักษะความรู้จากอุปกรณ์ทดลองทางวิทยาศาสตร์ที่มีอย่างครบครัน ระบบอินเตอร์เน็ตและคอมพิวเตอร์ได้รับการปรับปรุงจนมีประสิทธิภาพเทียบเท่ามหาวิทยาลัย
บ้านพักครูได้รับการปรับปรุงให้น่าอยู่เป็นขวัญและกำลังใจที่ดี
โรงเรียนมีการหารายได้โดยให้เอกชนเช่าที่ค้าขาย หรือนำสินค้าฝีมือครูและนักเรียนชมรมมาวางขาย สิ่งเหล่านี้ก็เป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ลงมือทำงานจริงด้วย (learning by doing) เรียนรู้จากการแก้ปัญหา (PBL) โครงงานวิทยาศาสตร์ที่ถูกมองว่าใช้สอยไม่ได้ สร้างมูลค่าเพิ่มได้ยาก ก็ได้นำมาต่อยอดได้ อีกทั้งยังเป็นการเปิดโลกทัศน์นอกตำราเรียน ปลูกฝังนักเรียนเป็นทั้งนักคิดและนักลงมือทำ นับเป็นการต่อยอดไปสู่การเป็นผู้ประกอบการที่มีส่วนในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของชาติในศตวรรษที่ 21 อย่างยั่งยืนต่อไป
หรืออาจพูดได้ว่า เราจะหลุดพ้นกับดักรายได้ปานกลาง ความฝันในการเป็นเสือตัวที่ห้าของเอเชียก็กลับมาอีกครั้ง
ทั้งนี้การนำโรงเรียนออกนอกระบบอาจนำร่องโดยโรงเรียนขนาดใหญ่ซึ่งมีความพร้อมทางทรัพยากรพื้นฐาน เช่นโรงเรียนมัธยมประจำจังหวัด วิทยาลัยอาชีวะต่างๆ อย่างค่อยเป็นค่อยไป
เรื่องนี้ผู้ใหญ่ในกระทรวง และคนในวงการ ชาวบ้าน และนักเรียน ทุกภาคส่วน มีความคิดเห็นกันอย่างไรครับ มาแลกเปลี่ยนทำประชาพิจารณ์กันครับ และจากหัวข้อพวกท่านคิดว่าในอนาคตโรงเรียนจะออกนอกระบบตามมหาวิทยาลัยหรือไม่