"ขอบคุณนะ" ครบรอบ 12 ปี 'รักแห่งสยาม' กับนิยามที่เตือนใจเสมอ "ถ้าหากมีรักก็ย่อมมีหวัง" By SPECTRUM
"ขอบคุณนะ" ครบรอบ 12 ปี 'รักแห่งสยาม' กับนิยามที่เตือนใจเสมอ "ถ้าหากมีรักก็ย่อมมีหวัง" By SPECTRUM
“ขอบคุณนะ” เชื่อว่าประโยคตอนจบนี้คงอยู่ในใจของใครหลายๆ คนในวันนี้ 22 พฤศจิกายน ปี 2550 รักแห่งสยามถูกฉายเป็นครั้งแรก นับมาจนถึงวันนี้ก็ครบรอบ 12 ปี หนังรักอบอุ่นหัวใจที่สุดเรื่องหนึ่งซึ่งคอยย้ำเตือนเราเสมอว่า “ถ้าหากมีรักก็ย่อมมีหวัง”
.
‘รักแห่งสยาม’ เป็นภาพยนตร์ที่เล่าถึง ความรัก ความสัมพันธ์ การค้นหาตัวตน และการเยียวยาบาดแผลทางจิตใจผ่านการค้นพบ ‘ความหวัง’ โดยมีสยามสแควร์เป็นสถานที่ยึดโยงเรื่องราวทั้งหมดไว้ ภาพยนตร์เรื่องนี้กำกับโดย มะเดี่ยว - ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล ที่ฝากผลงานล่าสุดคือเรื่อง ‘ดิวไปด้วยกันนะ’ และหนังถูกแสดงนำโดย สินจัย เปล่งพานิช, เฌอมาลย์ บุญยศักดิ์, ทรงสิทธิ์ รุ่งนพคุณศรี, มาริโอ้ เมาเร่อ และ วิชญ์วิสิฐ หิรัญวงษ์กุล
.
หนังเกย์อบอุ่นในฤดูหนาวบนฉากหลังของสยามเรื่องนี้ชนะรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม, ผู้กำกับยอดเยี่ยม (ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล) และ นักแสดงสมทบยอดเยี่ยม (เฌอมาลย์ บุญยศักดิ์) จาก รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ครั้งที่ 17 ในปี 2550 พร้อมทั้งปิดรายได้รวมที่ 42 ล้านบาท ตลอดจนได้รับรางวัลจาก นิตยสารไบโอสโคปว่าเป็นภาพยนตร์ที่ "ท้าทายสังคม ทั้งในแง่ประเด็นหนัง การนำเสนอ ที่สะท้อนภาพสังคมไทยในยุคนี้ รวมถึงความกล้าในการทำหนังรักดราม่าความยาวกว่าสองชั่วโมงครึ่ง ที่หาดูได้ยากในตลาดหนังไทยยุคปัจจุบัน"
.
ในตอนนั้น หลังจากตัวหนังนั้นได้ที่ออกฉายก็เกิดกระแสวิจารณ์มากมาย ทั้งชื่นชมรักหนังเรื่องนี้อย่างสุดหัวใจ และ กลุ่มที่กล่าวว่ามันเป็นหนังเกย์ รู้สึกเสียใจที่โดนหลอกไปดู นึกว่าจะเป็นหนังรักใสๆ หนังได้ทำหน้าที่ในการเป็นจุดกระตุ้นให้พูดถึงประเด็นต่างๆ ทั้ง เรื่องความรัก การแอบรักเพื่อน ความรักต่อคนในครอบครัว และบทบาทของเพศในสังคมไทยด้วย
.
“เราคงคบกับมิวเป็นแฟนไม่ได้…แต่ไม่ได้หมายความว่าเราไม่ได้รักมิวนะ” คืออีกหนึ่งประโยคคลาสสิกจาก หนังรักแห่งสยาม ที่อาจจะบอกเป็นนัยว่า ในยุคเวลานั้น สังคมอาจจะยังไม่ได้เปิดกับเรื่องความหลากหลายทางเพศอยู่ แต่มันก็ยังมีหวังอยู่ในอนาคต
.
ในวันนี้ 12 ปีให้หลังมันก็มีความหวังอยู่จริงๆ เมื่อ ดิว ไปด้วยกันนะเป็นหนังที่สามารถพูดถึงเกย์ได้อย่างเปิดเผยและยังเป็นหนังรักที่ก้าวข้ามเรื่องเพศอีกด้วย ถึงแม้ รักแห่งสยามจะไม่ใช่หนังที่โฟกัสเรื่องเพศ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า มันเป็นหนังที่ท้าทายสังคมและสร้างความเปลี่ยนแปลงทางด้านบวก เปิดทางให้มีการพูดคุยกันมากขึ้นในสังคม ถึงเรื่องราวความรักที่หลากหลายรูปแบบ เปิดทางให้ครอบครัวเข้าใจกันและกันมากขึ้น เปิดทางให้สังคมเริ่มทำความเข้าใจความหลากหลายทางเพศมากขึ้น เปิดทางให้พูดคุยเรื่องความเหงา ความผิดหวังและความเจ็บปวดมากขึ้น
.
รักแห่งสยาม บอกกับพวกเราว่า ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น ถ้ายังมีรักก็ยังมีความหวังอยู่ ไม่ว่าจะรักในรูปแบบครอบครัว คนรัก เพื่อน คนแปลกหน้า หรือรักตัวเอง ถ้ายังมีอยู่ ชีวิตมันก็ยังมีความหวัง และเชื่อว่าหนังเรื่องนี้ก็จะยังเป็นหนังอบอุ่นหัวใจที่เติมเต็มคนดูหลายๆ คนได้เสมอ ไม่เก่าไปตามกาลเวลา
.
คุณล่ะ มีความทรงจำหรือความประทับใจดีๆ เกี่ยวกับ รักแห่งสยาม กันบ้างไหม มาพูดคุย แลกเปลี่ยน แบ่งปันกันได้นะ
.
ขอบคุณเครดิตภาพและข้อมูล
SPECTRUM
#TutorHeart1 #WeLoveYThai
#12ปีรักแห่งสยาม #TheLoveofSiam
#Spectrum #พื้นที่ความคิดของทุกสีสัน
"ขอบคุณนะ" ครบรอบ 12 ปี 'รักแห่งสยาม' กับนิยามที่เตือนใจเสมอ "ถ้าหากมีรักก็ย่อมมีหวัง" By SPECTRUM
"ขอบคุณนะ" ครบรอบ 12 ปี 'รักแห่งสยาม' กับนิยามที่เตือนใจเสมอ "ถ้าหากมีรักก็ย่อมมีหวัง" By SPECTRUM
“ขอบคุณนะ” เชื่อว่าประโยคตอนจบนี้คงอยู่ในใจของใครหลายๆ คนในวันนี้ 22 พฤศจิกายน ปี 2550 รักแห่งสยามถูกฉายเป็นครั้งแรก นับมาจนถึงวันนี้ก็ครบรอบ 12 ปี หนังรักอบอุ่นหัวใจที่สุดเรื่องหนึ่งซึ่งคอยย้ำเตือนเราเสมอว่า “ถ้าหากมีรักก็ย่อมมีหวัง”
.
‘รักแห่งสยาม’ เป็นภาพยนตร์ที่เล่าถึง ความรัก ความสัมพันธ์ การค้นหาตัวตน และการเยียวยาบาดแผลทางจิตใจผ่านการค้นพบ ‘ความหวัง’ โดยมีสยามสแควร์เป็นสถานที่ยึดโยงเรื่องราวทั้งหมดไว้ ภาพยนตร์เรื่องนี้กำกับโดย มะเดี่ยว - ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล ที่ฝากผลงานล่าสุดคือเรื่อง ‘ดิวไปด้วยกันนะ’ และหนังถูกแสดงนำโดย สินจัย เปล่งพานิช, เฌอมาลย์ บุญยศักดิ์, ทรงสิทธิ์ รุ่งนพคุณศรี, มาริโอ้ เมาเร่อ และ วิชญ์วิสิฐ หิรัญวงษ์กุล
.
หนังเกย์อบอุ่นในฤดูหนาวบนฉากหลังของสยามเรื่องนี้ชนะรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม, ผู้กำกับยอดเยี่ยม (ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล) และ นักแสดงสมทบยอดเยี่ยม (เฌอมาลย์ บุญยศักดิ์) จาก รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ครั้งที่ 17 ในปี 2550 พร้อมทั้งปิดรายได้รวมที่ 42 ล้านบาท ตลอดจนได้รับรางวัลจาก นิตยสารไบโอสโคปว่าเป็นภาพยนตร์ที่ "ท้าทายสังคม ทั้งในแง่ประเด็นหนัง การนำเสนอ ที่สะท้อนภาพสังคมไทยในยุคนี้ รวมถึงความกล้าในการทำหนังรักดราม่าความยาวกว่าสองชั่วโมงครึ่ง ที่หาดูได้ยากในตลาดหนังไทยยุคปัจจุบัน"
.
ในตอนนั้น หลังจากตัวหนังนั้นได้ที่ออกฉายก็เกิดกระแสวิจารณ์มากมาย ทั้งชื่นชมรักหนังเรื่องนี้อย่างสุดหัวใจ และ กลุ่มที่กล่าวว่ามันเป็นหนังเกย์ รู้สึกเสียใจที่โดนหลอกไปดู นึกว่าจะเป็นหนังรักใสๆ หนังได้ทำหน้าที่ในการเป็นจุดกระตุ้นให้พูดถึงประเด็นต่างๆ ทั้ง เรื่องความรัก การแอบรักเพื่อน ความรักต่อคนในครอบครัว และบทบาทของเพศในสังคมไทยด้วย
.
“เราคงคบกับมิวเป็นแฟนไม่ได้…แต่ไม่ได้หมายความว่าเราไม่ได้รักมิวนะ” คืออีกหนึ่งประโยคคลาสสิกจาก หนังรักแห่งสยาม ที่อาจจะบอกเป็นนัยว่า ในยุคเวลานั้น สังคมอาจจะยังไม่ได้เปิดกับเรื่องความหลากหลายทางเพศอยู่ แต่มันก็ยังมีหวังอยู่ในอนาคต
.
ในวันนี้ 12 ปีให้หลังมันก็มีความหวังอยู่จริงๆ เมื่อ ดิว ไปด้วยกันนะเป็นหนังที่สามารถพูดถึงเกย์ได้อย่างเปิดเผยและยังเป็นหนังรักที่ก้าวข้ามเรื่องเพศอีกด้วย ถึงแม้ รักแห่งสยามจะไม่ใช่หนังที่โฟกัสเรื่องเพศ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า มันเป็นหนังที่ท้าทายสังคมและสร้างความเปลี่ยนแปลงทางด้านบวก เปิดทางให้มีการพูดคุยกันมากขึ้นในสังคม ถึงเรื่องราวความรักที่หลากหลายรูปแบบ เปิดทางให้ครอบครัวเข้าใจกันและกันมากขึ้น เปิดทางให้สังคมเริ่มทำความเข้าใจความหลากหลายทางเพศมากขึ้น เปิดทางให้พูดคุยเรื่องความเหงา ความผิดหวังและความเจ็บปวดมากขึ้น
.
รักแห่งสยาม บอกกับพวกเราว่า ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น ถ้ายังมีรักก็ยังมีความหวังอยู่ ไม่ว่าจะรักในรูปแบบครอบครัว คนรัก เพื่อน คนแปลกหน้า หรือรักตัวเอง ถ้ายังมีอยู่ ชีวิตมันก็ยังมีความหวัง และเชื่อว่าหนังเรื่องนี้ก็จะยังเป็นหนังอบอุ่นหัวใจที่เติมเต็มคนดูหลายๆ คนได้เสมอ ไม่เก่าไปตามกาลเวลา
.
คุณล่ะ มีความทรงจำหรือความประทับใจดีๆ เกี่ยวกับ รักแห่งสยาม กันบ้างไหม มาพูดคุย แลกเปลี่ยน แบ่งปันกันได้นะ
.
ขอบคุณเครดิตภาพและข้อมูล
SPECTRUM
#TutorHeart1 #WeLoveYThai
#12ปีรักแห่งสยาม #TheLoveofSiam
#Spectrum #พื้นที่ความคิดของทุกสีสัน