ทำไมโทลเวย์ ถึงกล้าขึ้นราคาค่าผ่านทางแบบสุดโต่ง ไม่สนโลกขนาดนี้ครับ?

ทำไมโทลเวย์ ถึงกล้าขึ้นราคาค่าผ่านทางแบบสุดโต่ง ไม่สนโลกขนาดนี้ครับ?
ระยะทางก็ไม่เท่าไหร่ ถ้าเทียบกับทางอื่น

หรือถือดีว่าเป็นเส้นทางผ่านสนามบิน คนที่รีบๆยังไงก็ต้องใช้ เลยฉวยโอกาส
ค่าทางด่วนความเป็นราคาที่รัฐควบคุมไม่ใช่หรอ?
เส้นทางนี้ มันน่าจะเลยจุดคุ้มทุนไปไกลมากๆแล้วไม่ใช่หรอ? (อันนี้เดา แต่เห็นมาตั้งแต่เด็ก น่าจะคืนทุนนานละ)
ปัจจุบัน ต้นทุนแทบไม่มี แต่ละวันรับเละเหนาะๆ ทำไมยังขึ้นราคาอีกล่ะ?

แล้วแผนที่ Google มันก็ชอบพาเข้าจังเลย
ผมชอบให้ Google นำทาง เวลาที่อยากหาเส้นทางเลี่ยงรถติด
เวลามันพาขึ้นด่วนอื่นไม่มีปัญหาหรอก แต่ด่วนนี้ บ้าแล้ว แพงเกิ๊นนนนน
เลือกปิด บล็อค เฉพาะโทลเวย์ก็ไม่ได้

แถมยังไม่เข้าพวกกับใคร ใช้บัตรผ่านก็ไม่ได้ ไม่มีเครื่องอ่าน
ทั้ง Easy Pass ทั้ง M-Pass

บริษัท ทางยกระดับดอนเมือง จำกัด
เขายิ่งใหญ่มาจากไหนหรอครับ?
ทำไมถึงควบคุมเขาไม่ได้

ปล. อ่านแล้วเจ็บจี๊ดเลย เหมือนเสียค่าโง่มหาศาล https://www.thairath.co.th/content/465035
แก้ไขข้อความเมื่อ

สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 12
สัมปทานต่อในสมัยสุรยุทธ์ รัฐบาลที่รัฐประหารเข้ามาครับ
ความคิดเห็นที่ 13
เรื่องของเรื่องก็ตามในข่าวนั่นล่ะครับ รัฐบาลก่อนหน้า (2540-2549) พยายามกดราคาไม่ให้แพงขึ้นตามสัมปทานสุดท้ายจนโดนบริษัทฟ้อง

รัฐบาลใหม่ (2550) เลยเข้ามาแก้สัญญาใหม่ให้เก็บแพงขึ้นมาจากเดิมอีกพร้อมต่อสัญญาเพิ่มอีก 13 ปี แถมขึ้นราคาได้เองอิสระไม่ต้องขอรัฐบาลอีกต่อไป หลังจากนั้นก็ไม่มีรัฐบาลไหนไปแตะเรื่องโทลล์เวย์อีก

รัฐบาลก่อนหน้าที่ไปกดราคาเข้าใจว่าคงไม่อยากให้ประชาชนจ่ายแพง แต่เป็นการผิดเงื่อนไขสัญญา
รัฐบาลปี 50 ที่ต่อสัญญาให้เก็บโดยอิสระเสรี คงต้องการยุติเรื่องกับบริษัท

ทางออกเรื่องนี้คงมีอย่างเดียวคือทนไปจนถึงปี 2577 ล่ะครับ (ถ้าไม่ต่อสัญญาจะหมดตอนปี 2564)
ความคิดเห็นที่ 6
ทั่วโลก เขาให้รัฐ ดูแลประชาชนให้สดวกขึ้น และประหยัดค่าใช้จ่ายลดลง แต่ของเรา รัฐสร้าง จ้างเอกชนเก็บตังค์ เขาก็ต้องหากำไรบนหลังของประชาชนผู้ใช้รถละครับ รัฐนอนเป็นเบี้ยล่างตั้งแต่ต้นและบางเส้นทาง จะต้องเข่นให้ทำกำไรตลอดไปละครับ !!!
ความคิดเห็นที่ 35
จำได้ว่าเคยมีเหตุการณ์ที่ศาลเยอรมนีสั่งอายัดเครื่องบินส่วนพระองค์เพราะมองว่าเป็นทรัพย์สินของรัฐบาลไทย
เพื่อบังคับให้ไทยใช้หนี้

ผมลองไปค้นข้อมูลมา พยายามรวบรวมและสรุปให้อ่านง่ายขึ้น ถ้ามีข้อมูลตรงไหนผิดพลาดก็ขออภัยด้วยครับ
เพราะข้อมูลเยอะ

สรุปเรื่องเกี่ยวกับดอนเมืองโทลล์เวย์

โครงการดอนเมืองโทลล์เวย์ มีอายุสัมปทาน 25 ปี เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2532 สิ้นสุดสัมปทานปี พ.ศ. 2557
พ.ศ. 2537 เปิดให้บริการช่วงดินแดง-หลักสี่
พ.ศ. 2539 รัฐบาลขยายอายุสัมปทานเพิ่มอีก 7 ปี โดยจะสิ้นสุดสัมปทานปี 2564 จากเดิมปี 2557 เพราะ
ไม่สามารถส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างได้ตามกำหนดเนื่องจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ไม่ยอมส่งมอบพื้นที่ให้
พ.ศ. 2541 เปิดให้บริการช่วงหลักสี่-อนุสรณ์สถานแห่งชาติและช่วงอนุสรณ์สถานแห่งชาติ-รังสิต

พ.ศ. 2549 วอลเตอร์ บาว ได้ยื่นฟ้องรัฐบาลไทยผ่านกระบวนการอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศภายใต้
ความตกลงเพื่อการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนระหว่างไทย-เยอรมนี ปี พ.ศ. 2545 โดยคณะอนุญาโต
ตุลาการมีที่ตั้งอยู่ ณ นครเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์ แต่กระบวนการไต่สวนดำเนินการในฮ่องกง โดยอ้างว่า
ได้รับผลกระทบจากการที่รัฐบาลไทยผิดสัญญาในโครงการก่อสร้างโทลล์เวย์หลายประเด็น เช่น
1) ไม่อนุมัติให้ปรับขึ้นค่าผ่านทางตามกำหนดในปี 2542 และ ปี 2547
2) ขอให้ลดค่าผ่านทางตามนี้
    - 20 บาทตลอดสาย (สำหรับรถ 4 ล้อ) และ 50 บาท (สำหรับรถ 6 ล้อขึ้นไป) ในปี 2548
    - 30 บาทตลอดสาย (สำหรับรถ 4 ล้อ) และ 50 บาท (สำหรับรถ 6 ล้อขึ้นไป) ในปี 2549-2550
    - 35 บาท (สำหรับรถ 4 ล้อ) และ 65 บาท (สำหรับรถ 6 ล้อขึ้นไป) ในปี 2550-2552
(รัฐบาลสมัยนั้นไม่อนุมัติให้ปรับขึ้นค่าผ่านทางในปี 2547 และขอให้ลดค่าผ่านทางในปี 2548-2552
ตามรายละเอียดด้านบน พูดง่ายๆคือเพิ่งลดราคาได้ไม่ถึง 2 ปี ทาง วอลเตอร์ บาว ก็ยื่นฟ้องในปี 2549)

ผลพวงจากการที่รัฐเข้ามาแทรกแซงการปรับขึ้นอัตราค่าผ่านทางครั้งนั้น ไม่เพียงแต่จะกลายมาเป็นมูลเหตุ
ให้บริษัทนำเรื่องขึ้นร้องต่อศาลปกครองและตั้งอนุญาโตตุลาการเพื่อเจรจาชดเชยความเสียหายหลายระลอก
เท่านั้น แต่กรณีดังกล่าวยังทำให้รัฐบาลต้องแก้ไขสัญญาให้อีกครั้งในปี 2550

พ.ศ. 2550 รัฐบาลแก้ไขสัญญาขยายอายุสัมปทานเพิ่มอีก 13 ปี โดยสัญญาสัมปทานจะสิ้นสุดในปี 2577
โดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องถอนฟ้องต่ออนุญาโตตุลาการทุกกรณี แต่สุดท้าย วอลเตอร์ บาว ก็ไม่ได้ถอนฟ้อง
ทั้งๆที่รัฐบาลเยียวยาให้แล้ว

พ.ศ. 2552 อนุญาโตตุลาการได้มีคำชี้ขาดในวันที่ 1 กรกฎาคม 2552 ระบุว่าประเทศไทยผิดพันธกรณีภายใต้
ความตกลงและต้องชำระค่าชดเชยจำนวน 29.21 ล้านยูโร พร้อมดอกเบี้ยคำนวณตามอัตราดอกเบี้ยระหว่าง
ธนาคารในกลุ่มยูโร (6 month successive Euribor) ในอัตรา 2% ต่อปี เริ่มตั้งแต่วันที่ 3 ธันวาคม 2549
จนกว่าถึงวันชำระเงินพร้อมทั้งค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีของฝ่ายวอลเตอร์ บาว จำนวน 1,806,560 ยูโร
รวมทั้งดอกเบี้ยตามอัตราเดียวกับค่าชดเชยความเสียหาย
(ในสำนักข่าวอิศราระบุไว้ว่า เป็นค่าโง่ 1.2 พันล้านบาทที่ต้องจ่ายให้ทางด่วนดอนเมืองโทลเวย์ เหตุเพราะรัฐ
ไม่ยอมให้เขาปรับขึ้นค่าทางด่วนตามข้อตกลง ถ้าย้อนขึ้นไปดูด้านบนก็คือปี 2542 กับปี 2547)

ประเด็นสำคัญก่อนหน้านี้รัฐบาลได้เยียวยาจากที่โทลล์เวย์เรียกค่าชดเชยไปแล้ว เช่น ขยายสัมปทานออกไป
อีกถึงปี 2577 (ตามสัญญาที่แก้ไขปี 2550) ให้ปรับค่าผ่านทางได้ตามสัญญาเดิม รวมถึงการปรับค่าผ่านทาง
ขึ้นรถยนต์ 4 ล้อ จาก 55 บาทเป็น 85 บาท (22 ธันวาคม 2552) ส่วนค่าชดเชยรายได้จากการให้ลดค่าผ่าน
ทางเหลือ 20 บาทตลอดสาย กรมทางหลวงจ่ายชดเชยไปแล้ว 30 ล้านบาท เป็นต้น

ถึงแม้จะมีคำชี้ขาดจากอนุญาโตตุลาการออกมาแล้วในปี 2552 แต่รัฐบาลไทยไม่ยอมจ่ายเงินให้กับกลุ่มเจ้าหนี้
ของ วาลเทอร์ เบา ซึ่งล้มละลาย กลุ่มเจ้าหนี้เหล่านั้นก็พยายามตามยึดทรัพย์สินแทนหนี้ ลามปามไปจนขอให้
ศาลเยอรมนีสั่งอายัด "เครื่องบินพระที่นั่งส่วนพระองค์"

พ.ศ. 2554 ศาลเยอรมนี มีคำพิพากษาให้ดำเนินการอายัดเครื่องบินส่วนพระองค์เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2554
ต่อมาศาลเยอรมนีได้ถอนอายัดแต่ให้วางเงินประกัน 20 ล้านยูโร

พ.ศ. 2555 ศาลอุทธรณ์ในสหรัฐฯ (US 2nd Cir.) วินิจฉัยยืนยันเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2555 ว่าคำชี้ขาดอนุญาโต
ตุลาการที่ให้ประเทศไทยแพ้คดี "ค่าโง่ทางด่วนดอนเมือง" นั้น กฎหมายสหรัฐฯให้การรับรองได้

ที่มา:
http://topicstock.ppantip.com/rajdumnern/topicstock/2012/08/P12512944/P12512944.html
http://oknation.nationtv.tv/blog/nun2504/2011/07/28/entry-8
https://www.isranews.org/isranews-article/76497-megaproject.html
https://th.wikipedia.org/wiki/ทางยกระดับอุตราภิมุข
https://www.thairath.co.th/content/465035
ความคิดเห็นที่ 2
ทุกสัญญามันเกิดตอน รัฐบาล รัฐมนตรี ในตอนนั้นที่เซ็นสัญญาเอาไว้ตั้งแต่ก่อสร้าง

ต้องไปขุดชื่อ คนที่เซ็น มาดู  คนนั้นอาจจะตายไปแล้ว หรือ หนีไปนอก  ไม่แน่ใจ  แต่ที่แน่ๆ รวยไปแล้ว

ภาระตกมาที่ประชาชนรุ่นลูกรุ่นหลาน
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่