ฟิลิปปินส์เอาจริง เตรียมขึ้นภาษีรถยนต์ที่ส่งออกจากไทยก่อนสิ้นปีนี้ ตอบโต้ไทยไม่ทำตามองค์การการค้าโลก (WTO) ปัญหายาสูบ ด้าน "อุตตม" แจงยังไม่ทราบเรื่อง
นายเซเฟอร์ริโน เอส. โรดอลโฟ ปลัดกระทรวงการค้าและอุตสาหกรรม (DTI) ของฟิลิปปินส์ กล่าวว่า DTI ได้สั่งการให้ผู้แทนฟิลิปปินส์ที่องค์การการค้าโลกในกรุงเจนีวาร้องขอให้สำนักเลขาธิการระงับข้อพิพาท เข้าพบประเทศไทยเพื่อแจ้งท่าทีของฟิลิปปินส์เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งกระบวนการนี้สามารถทำได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งหมายถึงว่ารัฐบาลฟิลิปปินส์อาจใช้สิทธิการตอบโต้ภายในเดือนธันวาคมหรือก่อนสิ้นปีนี้
ด้านนายนายรามอน เอ็ม. โลเปซ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าและอุตสาหกรรม ของฟิลิปปินส์ เปิดเผยว่า ฟิลิปปินส์ได้โน้มน้าวให้ประเทศไทยปฏิบัติตามคำตัดสินของ WTO แล้ว แต่หากประเทศไทยยังคงนิ่งเฉย ฟิลิปปินส์มีความจำเป็นต้องเคลื่อนไหวเพื่อตอบโต้
ทั้งนี้ นายโลเปซ เน้นย้ำว่าจำเป็นต้องมีการศึกษาให้รอบคอบ โดยระบุว่าจะมีการเจรจาต่อรองและหวังว่าประเทศไทยจะชดเชยความเสียหายที่เกิดจากการส่งออกบุหรี่ หากประเทศไทยยังคงปฏิเสธ ฟิลิปปินส์ต้องการใช้มาตรการภาษีศุลกากรมากกว่าการจำกัดปริมาณนำเข้า (QR) ด้วยเหตุผลว่า QR ถูกจำกัดโดยระเบียบว่าต้องไม่มีผลกระทบในด้านรายได้ แต่สุดท้ายแล้วผลิตภัณฑ์ที่ได้รับผลกระทบจะมีราคาสูงขึ้น
“มาตรการทางภาษีจะมีการป้องกันและรายได้ที่ชัดเจนจากการกำหนดอัตราภาษี ซึ่งนี่เป็นเหตุผลว่าเหตุใดเราจึงต้องการที่จะใช้มาตรการภาษีศุลกากรมากกว่าการจำกัดปริมาณนำเข้า (QR) เพื่อวิธีการแก้ปัญหาทางค้า” นายโรดอลโฟ กล่าว
นายโรดอลโฟ กล่าวว่า รัฐบาลฟิลิปปินส์ปฏิบัติตามข้อตกลงเกี่ยวกับการระงับข้อพิพาทภาษีบุหรี่ หรือ DS 371 ที่ลงนามร่วมกับประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2555 ต่อหน้า WTO ก่อนหน้านี้ WTO ได้ตัดสินให้ฟิลิปปินส์ชนะคดีที่มีกับไทยทุกคดี แต่ประเทศไทยก็ยังไม่ยอมปฏิบัติตามคำตัดสินดังกล่าวจากคำตัดสินของ WTO ประเทศฟิลิปปินส์มีสิทธิ์ที่จะตอบโต้ โดยทั่วไปผู้ร้องเรียนอาจทำการระงับสิทธิประโยชน์หรือข้อผูกพันในภาคธุรกิจเดียวกัน ที่พบว่ามีการละเมิดหรือบกพร่อง
อย่างไรก็ตามหากผู้ร้องเรียนเห็นว่าไม่สามารถทำได้หรือไม่ได้ผลเพียงพอหากตอบโต้ในภาคอุตสาหกรรมเดียวกัน การตอบโต้ทางการค้าอาจทำในภาคอุตสาหกรรมที่ต่างกันได้ เนื่องจากฟิลิปปินส์ไม่ได้นำเข้ายาสูบประเทศไทยมากนัก การตอบโต้ด้วยผลิตภัณฑ์เดียวกันนั้นจะไม่ยุติธรรมต่อความเสียหายทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการที่ประเทศไทยปฏิบัติอย่างไม่ถูกต้องตามกฎหมายกับสินค้าส่งออกของฟิลิปปินส์
“รัฐบาลฟิลิปปินส์มุ่งตอบโต้การส่งออกผลิตภัณฑ์ยานยนต์จากประเทศไทยอย่างจริงจัง เพราะนั่นคือสินค้าเรานำเข้าจากประเทศไทยมากที่สุด ประเทศไทยเป็นแหล่งนำเข้ารถยนต์อันดับหนึ่งของฟิลิปปินส์ จากปี 2557 ถึงปี 2561 ฟิลิปปินส์นำเข้ารถ 428,000 คันจากประเทศไทย ประเทศไทยต้องถอนฟ้องคดีอาญาต่อฟิลิป มอร์ริส ซึ่งได้รับการพิสูจน์แล้วว่าบริษัทและพนักงานที่ถูกกล่าวหานั้นได้ปฏิบัติตามกฎหมายศุลกากรอย่างถูกต้องครบถ้วน เพราะWTO ตัดสินให้ฟิลิปปินส์ชนะ และเรียกร้องให้ประเทศไทยปฏิบัติตามคำตัดสินของ WTO ในทันที แต่ข้อพิพาท WTO นี้กินเวลานานกว่า 10 ปีแล้ว ขณะนี้ประเทศไทยได้แพ้คำตัดสินคำชี้ขาดและการอุทธรณ์ทั้งสามครั้ง และถึงเวลาแล้วที่ประเทศไทยยอมจะรับคำตัดสินและดำเนินการปฏิรูปการประเมินภาษีศุลกากรดังที่ระบุในคำตัดสินทั้งหมด” นายโรดอลโฟ กล่าวว่า
นายอุตตม สาวนายน รมว.คลัง กล่าวว่า ยังไม่ทราบรายละเอียดที่รัฐบาลฟิลิปปินส์จะตอบโต้ขึ้นภาษีรถยนต์นำเข้าจากประเทศไทย เนื่องจากไทยไม่ปฏิบัติตามคำตัดสินของ WTO ปัญหาไทยฟ้องบุหรี่นำเข้าจากประเทสฟิลิปปินส์
ที่มา
https://www.posttoday.com
ฟิลิปปินส์ประกาศสงครามการค้าไทย เตรียมขึ้นภาษีนำเข้ารถยนต์
นายเซเฟอร์ริโน เอส. โรดอลโฟ ปลัดกระทรวงการค้าและอุตสาหกรรม (DTI) ของฟิลิปปินส์ กล่าวว่า DTI ได้สั่งการให้ผู้แทนฟิลิปปินส์ที่องค์การการค้าโลกในกรุงเจนีวาร้องขอให้สำนักเลขาธิการระงับข้อพิพาท เข้าพบประเทศไทยเพื่อแจ้งท่าทีของฟิลิปปินส์เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งกระบวนการนี้สามารถทำได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งหมายถึงว่ารัฐบาลฟิลิปปินส์อาจใช้สิทธิการตอบโต้ภายในเดือนธันวาคมหรือก่อนสิ้นปีนี้
ด้านนายนายรามอน เอ็ม. โลเปซ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าและอุตสาหกรรม ของฟิลิปปินส์ เปิดเผยว่า ฟิลิปปินส์ได้โน้มน้าวให้ประเทศไทยปฏิบัติตามคำตัดสินของ WTO แล้ว แต่หากประเทศไทยยังคงนิ่งเฉย ฟิลิปปินส์มีความจำเป็นต้องเคลื่อนไหวเพื่อตอบโต้
ทั้งนี้ นายโลเปซ เน้นย้ำว่าจำเป็นต้องมีการศึกษาให้รอบคอบ โดยระบุว่าจะมีการเจรจาต่อรองและหวังว่าประเทศไทยจะชดเชยความเสียหายที่เกิดจากการส่งออกบุหรี่ หากประเทศไทยยังคงปฏิเสธ ฟิลิปปินส์ต้องการใช้มาตรการภาษีศุลกากรมากกว่าการจำกัดปริมาณนำเข้า (QR) ด้วยเหตุผลว่า QR ถูกจำกัดโดยระเบียบว่าต้องไม่มีผลกระทบในด้านรายได้ แต่สุดท้ายแล้วผลิตภัณฑ์ที่ได้รับผลกระทบจะมีราคาสูงขึ้น
“มาตรการทางภาษีจะมีการป้องกันและรายได้ที่ชัดเจนจากการกำหนดอัตราภาษี ซึ่งนี่เป็นเหตุผลว่าเหตุใดเราจึงต้องการที่จะใช้มาตรการภาษีศุลกากรมากกว่าการจำกัดปริมาณนำเข้า (QR) เพื่อวิธีการแก้ปัญหาทางค้า” นายโรดอลโฟ กล่าว
นายโรดอลโฟ กล่าวว่า รัฐบาลฟิลิปปินส์ปฏิบัติตามข้อตกลงเกี่ยวกับการระงับข้อพิพาทภาษีบุหรี่ หรือ DS 371 ที่ลงนามร่วมกับประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2555 ต่อหน้า WTO ก่อนหน้านี้ WTO ได้ตัดสินให้ฟิลิปปินส์ชนะคดีที่มีกับไทยทุกคดี แต่ประเทศไทยก็ยังไม่ยอมปฏิบัติตามคำตัดสินดังกล่าวจากคำตัดสินของ WTO ประเทศฟิลิปปินส์มีสิทธิ์ที่จะตอบโต้ โดยทั่วไปผู้ร้องเรียนอาจทำการระงับสิทธิประโยชน์หรือข้อผูกพันในภาคธุรกิจเดียวกัน ที่พบว่ามีการละเมิดหรือบกพร่อง
อย่างไรก็ตามหากผู้ร้องเรียนเห็นว่าไม่สามารถทำได้หรือไม่ได้ผลเพียงพอหากตอบโต้ในภาคอุตสาหกรรมเดียวกัน การตอบโต้ทางการค้าอาจทำในภาคอุตสาหกรรมที่ต่างกันได้ เนื่องจากฟิลิปปินส์ไม่ได้นำเข้ายาสูบประเทศไทยมากนัก การตอบโต้ด้วยผลิตภัณฑ์เดียวกันนั้นจะไม่ยุติธรรมต่อความเสียหายทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการที่ประเทศไทยปฏิบัติอย่างไม่ถูกต้องตามกฎหมายกับสินค้าส่งออกของฟิลิปปินส์
“รัฐบาลฟิลิปปินส์มุ่งตอบโต้การส่งออกผลิตภัณฑ์ยานยนต์จากประเทศไทยอย่างจริงจัง เพราะนั่นคือสินค้าเรานำเข้าจากประเทศไทยมากที่สุด ประเทศไทยเป็นแหล่งนำเข้ารถยนต์อันดับหนึ่งของฟิลิปปินส์ จากปี 2557 ถึงปี 2561 ฟิลิปปินส์นำเข้ารถ 428,000 คันจากประเทศไทย ประเทศไทยต้องถอนฟ้องคดีอาญาต่อฟิลิป มอร์ริส ซึ่งได้รับการพิสูจน์แล้วว่าบริษัทและพนักงานที่ถูกกล่าวหานั้นได้ปฏิบัติตามกฎหมายศุลกากรอย่างถูกต้องครบถ้วน เพราะWTO ตัดสินให้ฟิลิปปินส์ชนะ และเรียกร้องให้ประเทศไทยปฏิบัติตามคำตัดสินของ WTO ในทันที แต่ข้อพิพาท WTO นี้กินเวลานานกว่า 10 ปีแล้ว ขณะนี้ประเทศไทยได้แพ้คำตัดสินคำชี้ขาดและการอุทธรณ์ทั้งสามครั้ง และถึงเวลาแล้วที่ประเทศไทยยอมจะรับคำตัดสินและดำเนินการปฏิรูปการประเมินภาษีศุลกากรดังที่ระบุในคำตัดสินทั้งหมด” นายโรดอลโฟ กล่าวว่า
นายอุตตม สาวนายน รมว.คลัง กล่าวว่า ยังไม่ทราบรายละเอียดที่รัฐบาลฟิลิปปินส์จะตอบโต้ขึ้นภาษีรถยนต์นำเข้าจากประเทศไทย เนื่องจากไทยไม่ปฏิบัติตามคำตัดสินของ WTO ปัญหาไทยฟ้องบุหรี่นำเข้าจากประเทสฟิลิปปินส์
ที่มา https://www.posttoday.com