อดีตคณบดีเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ ชำแหละ เงินบาทแข็ง น่าภูมิใจหรือน่ากังวล?
https://www.matichon.co.th/politics/news_1757569
รศ.ดร.
ไพโรจน์ วงศ์วิภานนท์ อดีตคณบดี คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ และนักวิจัยอาวุโส โพสต์ข้อความทางเฟสบุ๊กแสดงความเห็นเรื่อง
เงินบาทแข็งเป็นเรื่องภูมิใจหรือเรื่องน่ากังวลใจ? มีรายละเอียดระบุว่า
มีคนถามในเฟสบุ๊ก ว่าถ้าเงินบาทของเราเเข็งตอนนี้ ทำไมเศรษฐกิจถึงยังมีปัญหาผมคิดว่านี่เป็นคำถามที่ดีมาก ไม่ใช่ตอบกันง่ายๆ ผมจะขอใช้พื้นที่ซึ่งมีไม่มากตีโจทย์กันให้เเตก
คำถามที่ดีมีความสำคัญเท่าๆกับคำตอบ ภาพลักษณ์ของการมองว่า ค่าเงินที่เเข็งเป็นเรื่องดีจากข้อสังเกตข้างต้นมันคงสื่อว่า เป็นอะไรที่ประเทศควรแสวงหาหรือเป็นเป้าหมาย ในความเป็นจริงไม่ใช่เลย ค่าของเงินสกุลใดควรจะเป็นเท่าไหร่ในขณะใดขณะหนึ่ง(ในระยะสั้น)เเละในระยะยาว ขึ้นอยู่กับว่าเศรษฐกิจของประเทศนั้นๆอยู่ในสถานะภาพอย่างไร พูดอีกอย่างหนึ่งก็คือค่าของเงินไม่ใช่เป้าหมายขั้นสุดท้าย มันเป็นเครื่องมือประเภทหนึ่งเพื่อใช้บรรลุเป้าหมายขั้นสุดท้าย ซึ่งควรจะเป็น(ในกรณีสำหรับประเทศ)เช่น การมีเศรษฐกิจที่เติบโตได้อย่างต่อเนื่อง อย่างยั่งยืน มีคุณภาพ มีการเพิ่มขึ้นของผลิตภาพของเเรงาน มีการจ้างงานเต็มที่ เเละมีค่าของเงินภายในที่ค่อนข้างคงที่ คือมีเงินเฟ้อค่อนข้างต่ำ เช่น ไม่เกิน 2% ต่อปี
เราเรียกเป้าหมายที่กล่าวมานี้ว่าเป็น เป้าหมายดุลยภาพภายใน เเต่ค่าของเงินสกุลหนึ่งเมื่อเทียบกับอีกสกุลหนึ่ง เช่น ค่าของเงินบาทเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ก็อาจจะส่งผลต่อดุลยภาพภายนอก(external balance) ซึ่งได้เเก่ การมีดุลการค้าเเละดุลบัญชีเดินสะพัดอยู่ในสภาพสมดุล ขณะเดียวกันดุลยภาพเงินทุนไหลเข้าออก เมื่อรวมกันเเล้วเป็นดุลชำระเงินส่งผลให้ประเทศไม่มีหนี้สินหรือสินทรัพย์ต่อต่างประเทศมากจนเกินไป พูดอีกอย่างก็คือฐานะเศรษฐกิจเเละการเงินระหว่างประเทศอยู่ในดุลยภาพ มีเสถียรภาพ มีความมั่นคง จริงอยู่เรามักจะคิดว่า ถ้าเราส่งออกมากกว่านำเข้ามันน่าจะดี หรือเราขายสินค้าเเละบริการมากกว่าซื้อ หรือเรามีบัญชีเดินสะพัดเกินดุลเป็นเรื่องที่ดีเพราะมันสร้างงาน มันนำเงินตราต่างประเทศเข้าประเทศ มันเหมือนเราเป็นเจ้าหนี้กับต่างประเทศ มีเงินสำรองสูงขึ้น
ขณะเดียวกัน ค่าของเงินก็อาจจะแข็งเมื่อเทียบเงินสกุลอื่นๆ ในกรณีเช่นนี้มันจะเป็นเรื่องที่ดีไม่มีปัญหาถ้าค่าเงินที่เเข็งขึ้นของประเทศนั้น มันเผอิญตรงกับวัฏจักรเศรษฐกิจหรือการเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจทั้งมหภาคเเละจุลภาค ไปในทิศทางที่ดีเป็นที่ต้องการ เช่น ค่าของเงินเเข็ง เศรษฐกิจเติบโตที่สูง การจ้างงานเต็มที่ การลงทุนเพื่อเพิ่มศักยภาพระยะยาวก็สูง เเม้ค่าจ้างสูงขึ้นเเต่ผลิตภาพของเเรงงานเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงกว่า ขีดความสามารถในการเเข่งขันของประเทศไม่ลดลงจากค่าของเงินที่แข็งขึ้น เช่น กรณีตัวอย่างหลังสงครามค่าของเงินเยนของญี่ปุ่นเเละเงินมาร์คของเยอรมันที่เเข็งขึ้นพร้อมๆกับการเติบโตทางเศรษฐกิจทางผลิตภาพเเละนวัตกรรม
ในความเป็นจริงเราต้องมาดูว่า ค่าของเงินที่เเข็งขึ้นรวมทั้งการที่ประเทศมีดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล มีเงินสำรองสะสมจำนวนมากนั้นมีสาเหตุมาจากอะไร ในอดีตมีประเทศที่เคยมีค่าของเงินเเข็งขึ้นเพราะขุดพบทรัพยากรเช่น น้ำมันหรือเเก๊สธรรมชาติ เช่น กรณีของเนเธอร์เเลนด์ในทศวรรษ 80 ส่งผลต่อการส่งออกเเละการเข้ามาของทุนต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นจนค่าของเงินกิลเดอร์สูงขึ้นมากจนไปกระทบความสามารถในการส่งออกภาคอุตสาหกรรมจนนักเศรษฐศาสตร์เรียกว่า โรคของชาวดัตช์ (Dutch disease) นี่เป็นตัวอย่างผลเสียของค่าของเงินที่เเข็งขึ้นหรือเเข็งมากเกินไป ค่าของเงินมาร์คเยอรมันที่เเข็งมากเมื่อเทียบกับกลุ่มประเทศในยุโรปสร้างปัญหาความไม่สมดุลทางเศรษฐกิจด้านต่างประเทศเเละมีผลต่อความสามารถในการเเข่งขันของเยอรมันด้วย เยอรมันได้ประโยชน์จากการรวมตัวเป็นเงินเดียวกันคือเงินสกุลยูโร เเก้ปัญหาของเงินมาร์คที่เเข็งมาตลอด (แต่ในที่สุดประเทศอื่นๆ ที่อ่อนเเอกว่าเยอรมันก็เสียเปรียบ)
งานวิจัยของ Dani Rodrik ศึกษากับหลายประเทศ พบว่า ประเทศที่ทำให้อัตราแลกเปลี่ยนที่แท้จริง มีค่าอ่อนกว่าความเป็นจริง (undervalued real exchange rate) เช่น จีนทำกับอเมริกามาตลอดจะทำให้เศรษฐกิจโตเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ
ในกรณีของไทย หลังวิกฤตต้มยำกุ้ง ค.ศ. 1997 หลังจากนั้นประมาณครึ่งศตวรรษ ฐานะเศรษฐกิจการเงินระหว่างประเทศของไทย จัดว่ามีความมั่นคง มีเสถียรภาพดีขึ้นมาตลอด
ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลมาต่อเนื่อง การส่งออกในสินค้าเเละบริการมากกว่าการนำเข้าโดยนัยยะ เราผลิตได้มากกว่าเราใช้เอง เราผลิตให้คนอื่นใช้ เราออม มากกว่าที่ใช้ลงทุนภายในประเทศ ในเเต่ละปี เราเริ่มเป็นเจ้าหนี้ เเม้ว่าวันนี้ฐานะสุทธิ เรายังมี stock หรือยอดคงค้างของหนี้สินมากกว่าทรัพย์สิน เเต่เรามีทุนสำรองถึง 200,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ถ้าคิดเทียบต่อ GDP ต้องจัดว่า สูงมากประเทศหนึ่งในโลก
อย่างไรก็ตาม การมีดุลบัญชีดุลสะพัดเกินดุลของเราเกิดขึ้นในบริบทที่เศรษฐกิจของเราโตในอัตราที่ต่ำกว่าในอดีต คือเฉลี่ยที่ผ่านมาอยู่ที่ 3-4% เมื่อเทียบกับ 6-7% ก่อนวิกฤตต้มยำกุ้ง
ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลเกิดขึ้นในบริบทที่ภาคของเอกชนลงทุนต่ำมากเมื่อเทียบกับในอดีต (การลงทุนต่ำ ความเจริญเติบโตก็ต่ำ การนำเข้าก็ต่ำ) ซ้ำร้ายกว่านั้นผลิตภาพของเเรงงานต่ำ เรากินของเก่าไม่มีนวัตกรรม ค่าจ้างคนงานก็ต่ำ คุณภาพทุนมนุษย์ต่ำ เราอาศัยเเรงงานราคาถูกจากเพื่อนบ้านซึ่งฉุดค่าจ้างเฉลี่ยเเละคุณภาพชีวิตของเเรงงานไทย ไม่น่าแปลกใจทำไมเราถึงติดอยู่ในกับดักรายได้ปานกลาง
ฐานะเงินบาทของไทยที่เเข็งขึ้น เงินสำรองที่สูงขึ้น ภาคสถาบันการเงินแข็งเเกร่งขึ้นจะไม่มีความหมายเลย ตราบใดที่เราไปไม่ถึงดวงดาวทางด้านคุณภาพของภาคเศรษฐกิจที่เเท้จริง คือ ผลิตภาพของเเรงงานเเละทุนที่สูงขึ้น การกระจายรายได้เเละความมั่งคั่ง ไม่มีความเหลื่อมล้ำมากจนเกินไป คนไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดีในทุกๆด้าน
ส่งออกข้าวอาจหลุดเป้า9.5ล้านตัน
https://www.innnews.co.th/economy/news_534904/
กระทรวงพาณิชย์ รับ ส่งออกข้าวไทยปีนี้อาจหลุดเป้า 9.5 ล้านตัน เหตุจากคู่ค้าแย่,บาทแข็ง
นาย
กีรติ รัชโน ผู้ตรวจราชการกระทรวงพาณิชย์ รักษาราชการแทนอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า การส่งออกข้าวของไทยในปีนี้ อาจทำไม่ได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ 9.5 ล้านตัน เนื่องจากตลาดคู่ค้าหลายประเทศ ที่ได้มีการวางแผนเจาะตลาดไว้เดิมกำลังประสบปัญหาภายในประเทศ โดยเฉพาะตลาดในประเทศอิรัก ซึ่งเป็นตลาดเดิมที่กรมการค้าต่างประเทศ มีแผนที่จะฟื้นการส่งออกกำลังประสบปัญหาภายในประเทศ และเห็นว่าในเวลานี้ยังไม่เหมาะที่จะมีการเจรจาซื้อขายระหว่างกัน ทำให้เป้าหมายในการส่งออกข้าวขาว ซึ่งอิรักมีความต้องการสูงต้องชะลอไปก่อนประกอบกับสถานการณ์ค่าเงินบาทของไทยที่ยังคงแข็งค่าในขณะนี้เป็นอุปสรรคสำคัญต่อการแข่งขันในการส่งออกข้าวของไทยทำให้ข้าวไทยแข่งขันยากขึ้นเนื่องจากต้องกำหนดราคาสูงกว่าประเทศคู่แข่งอื่นๆ ทำให้คู่ค้าหลายประเทศต้องชะลอคำสั่งซื้อและสำหรับการส่งออกข้าวในภาพรวมช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ ปริมาณการส่งออกลดลงร้อยละ 28.14 คิดเป็นปริมานการส่งออกที่ 5.9 ล้านตัน
JJNY : อดีตคณบดีเศรษฐศาสตร์จุฬาฯ ชำแหละเงินบาทแข็งฯ/ส่งออกข้าวอาจหลุดเป้าฯ/ไม่ปัง!ชิมช้อปใช้ รอบผู้สูงวัยฯ
https://www.matichon.co.th/politics/news_1757569
รศ.ดร.ไพโรจน์ วงศ์วิภานนท์ อดีตคณบดี คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ และนักวิจัยอาวุโส โพสต์ข้อความทางเฟสบุ๊กแสดงความเห็นเรื่อง เงินบาทแข็งเป็นเรื่องภูมิใจหรือเรื่องน่ากังวลใจ? มีรายละเอียดระบุว่า
มีคนถามในเฟสบุ๊ก ว่าถ้าเงินบาทของเราเเข็งตอนนี้ ทำไมเศรษฐกิจถึงยังมีปัญหาผมคิดว่านี่เป็นคำถามที่ดีมาก ไม่ใช่ตอบกันง่ายๆ ผมจะขอใช้พื้นที่ซึ่งมีไม่มากตีโจทย์กันให้เเตก
คำถามที่ดีมีความสำคัญเท่าๆกับคำตอบ ภาพลักษณ์ของการมองว่า ค่าเงินที่เเข็งเป็นเรื่องดีจากข้อสังเกตข้างต้นมันคงสื่อว่า เป็นอะไรที่ประเทศควรแสวงหาหรือเป็นเป้าหมาย ในความเป็นจริงไม่ใช่เลย ค่าของเงินสกุลใดควรจะเป็นเท่าไหร่ในขณะใดขณะหนึ่ง(ในระยะสั้น)เเละในระยะยาว ขึ้นอยู่กับว่าเศรษฐกิจของประเทศนั้นๆอยู่ในสถานะภาพอย่างไร พูดอีกอย่างหนึ่งก็คือค่าของเงินไม่ใช่เป้าหมายขั้นสุดท้าย มันเป็นเครื่องมือประเภทหนึ่งเพื่อใช้บรรลุเป้าหมายขั้นสุดท้าย ซึ่งควรจะเป็น(ในกรณีสำหรับประเทศ)เช่น การมีเศรษฐกิจที่เติบโตได้อย่างต่อเนื่อง อย่างยั่งยืน มีคุณภาพ มีการเพิ่มขึ้นของผลิตภาพของเเรงาน มีการจ้างงานเต็มที่ เเละมีค่าของเงินภายในที่ค่อนข้างคงที่ คือมีเงินเฟ้อค่อนข้างต่ำ เช่น ไม่เกิน 2% ต่อปี
เราเรียกเป้าหมายที่กล่าวมานี้ว่าเป็น เป้าหมายดุลยภาพภายใน เเต่ค่าของเงินสกุลหนึ่งเมื่อเทียบกับอีกสกุลหนึ่ง เช่น ค่าของเงินบาทเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ก็อาจจะส่งผลต่อดุลยภาพภายนอก(external balance) ซึ่งได้เเก่ การมีดุลการค้าเเละดุลบัญชีเดินสะพัดอยู่ในสภาพสมดุล ขณะเดียวกันดุลยภาพเงินทุนไหลเข้าออก เมื่อรวมกันเเล้วเป็นดุลชำระเงินส่งผลให้ประเทศไม่มีหนี้สินหรือสินทรัพย์ต่อต่างประเทศมากจนเกินไป พูดอีกอย่างก็คือฐานะเศรษฐกิจเเละการเงินระหว่างประเทศอยู่ในดุลยภาพ มีเสถียรภาพ มีความมั่นคง จริงอยู่เรามักจะคิดว่า ถ้าเราส่งออกมากกว่านำเข้ามันน่าจะดี หรือเราขายสินค้าเเละบริการมากกว่าซื้อ หรือเรามีบัญชีเดินสะพัดเกินดุลเป็นเรื่องที่ดีเพราะมันสร้างงาน มันนำเงินตราต่างประเทศเข้าประเทศ มันเหมือนเราเป็นเจ้าหนี้กับต่างประเทศ มีเงินสำรองสูงขึ้น
ขณะเดียวกัน ค่าของเงินก็อาจจะแข็งเมื่อเทียบเงินสกุลอื่นๆ ในกรณีเช่นนี้มันจะเป็นเรื่องที่ดีไม่มีปัญหาถ้าค่าเงินที่เเข็งขึ้นของประเทศนั้น มันเผอิญตรงกับวัฏจักรเศรษฐกิจหรือการเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจทั้งมหภาคเเละจุลภาค ไปในทิศทางที่ดีเป็นที่ต้องการ เช่น ค่าของเงินเเข็ง เศรษฐกิจเติบโตที่สูง การจ้างงานเต็มที่ การลงทุนเพื่อเพิ่มศักยภาพระยะยาวก็สูง เเม้ค่าจ้างสูงขึ้นเเต่ผลิตภาพของเเรงงานเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงกว่า ขีดความสามารถในการเเข่งขันของประเทศไม่ลดลงจากค่าของเงินที่แข็งขึ้น เช่น กรณีตัวอย่างหลังสงครามค่าของเงินเยนของญี่ปุ่นเเละเงินมาร์คของเยอรมันที่เเข็งขึ้นพร้อมๆกับการเติบโตทางเศรษฐกิจทางผลิตภาพเเละนวัตกรรม
ในความเป็นจริงเราต้องมาดูว่า ค่าของเงินที่เเข็งขึ้นรวมทั้งการที่ประเทศมีดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล มีเงินสำรองสะสมจำนวนมากนั้นมีสาเหตุมาจากอะไร ในอดีตมีประเทศที่เคยมีค่าของเงินเเข็งขึ้นเพราะขุดพบทรัพยากรเช่น น้ำมันหรือเเก๊สธรรมชาติ เช่น กรณีของเนเธอร์เเลนด์ในทศวรรษ 80 ส่งผลต่อการส่งออกเเละการเข้ามาของทุนต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นจนค่าของเงินกิลเดอร์สูงขึ้นมากจนไปกระทบความสามารถในการส่งออกภาคอุตสาหกรรมจนนักเศรษฐศาสตร์เรียกว่า โรคของชาวดัตช์ (Dutch disease) นี่เป็นตัวอย่างผลเสียของค่าของเงินที่เเข็งขึ้นหรือเเข็งมากเกินไป ค่าของเงินมาร์คเยอรมันที่เเข็งมากเมื่อเทียบกับกลุ่มประเทศในยุโรปสร้างปัญหาความไม่สมดุลทางเศรษฐกิจด้านต่างประเทศเเละมีผลต่อความสามารถในการเเข่งขันของเยอรมันด้วย เยอรมันได้ประโยชน์จากการรวมตัวเป็นเงินเดียวกันคือเงินสกุลยูโร เเก้ปัญหาของเงินมาร์คที่เเข็งมาตลอด (แต่ในที่สุดประเทศอื่นๆ ที่อ่อนเเอกว่าเยอรมันก็เสียเปรียบ)
งานวิจัยของ Dani Rodrik ศึกษากับหลายประเทศ พบว่า ประเทศที่ทำให้อัตราแลกเปลี่ยนที่แท้จริง มีค่าอ่อนกว่าความเป็นจริง (undervalued real exchange rate) เช่น จีนทำกับอเมริกามาตลอดจะทำให้เศรษฐกิจโตเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ
ในกรณีของไทย หลังวิกฤตต้มยำกุ้ง ค.ศ. 1997 หลังจากนั้นประมาณครึ่งศตวรรษ ฐานะเศรษฐกิจการเงินระหว่างประเทศของไทย จัดว่ามีความมั่นคง มีเสถียรภาพดีขึ้นมาตลอด
ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลมาต่อเนื่อง การส่งออกในสินค้าเเละบริการมากกว่าการนำเข้าโดยนัยยะ เราผลิตได้มากกว่าเราใช้เอง เราผลิตให้คนอื่นใช้ เราออม มากกว่าที่ใช้ลงทุนภายในประเทศ ในเเต่ละปี เราเริ่มเป็นเจ้าหนี้ เเม้ว่าวันนี้ฐานะสุทธิ เรายังมี stock หรือยอดคงค้างของหนี้สินมากกว่าทรัพย์สิน เเต่เรามีทุนสำรองถึง 200,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ถ้าคิดเทียบต่อ GDP ต้องจัดว่า สูงมากประเทศหนึ่งในโลก
อย่างไรก็ตาม การมีดุลบัญชีดุลสะพัดเกินดุลของเราเกิดขึ้นในบริบทที่เศรษฐกิจของเราโตในอัตราที่ต่ำกว่าในอดีต คือเฉลี่ยที่ผ่านมาอยู่ที่ 3-4% เมื่อเทียบกับ 6-7% ก่อนวิกฤตต้มยำกุ้ง
ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลเกิดขึ้นในบริบทที่ภาคของเอกชนลงทุนต่ำมากเมื่อเทียบกับในอดีต (การลงทุนต่ำ ความเจริญเติบโตก็ต่ำ การนำเข้าก็ต่ำ) ซ้ำร้ายกว่านั้นผลิตภาพของเเรงงานต่ำ เรากินของเก่าไม่มีนวัตกรรม ค่าจ้างคนงานก็ต่ำ คุณภาพทุนมนุษย์ต่ำ เราอาศัยเเรงงานราคาถูกจากเพื่อนบ้านซึ่งฉุดค่าจ้างเฉลี่ยเเละคุณภาพชีวิตของเเรงงานไทย ไม่น่าแปลกใจทำไมเราถึงติดอยู่ในกับดักรายได้ปานกลาง
ฐานะเงินบาทของไทยที่เเข็งขึ้น เงินสำรองที่สูงขึ้น ภาคสถาบันการเงินแข็งเเกร่งขึ้นจะไม่มีความหมายเลย ตราบใดที่เราไปไม่ถึงดวงดาวทางด้านคุณภาพของภาคเศรษฐกิจที่เเท้จริง คือ ผลิตภาพของเเรงงานเเละทุนที่สูงขึ้น การกระจายรายได้เเละความมั่งคั่ง ไม่มีความเหลื่อมล้ำมากจนเกินไป คนไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดีในทุกๆด้าน
ส่งออกข้าวอาจหลุดเป้า9.5ล้านตัน
https://www.innnews.co.th/economy/news_534904/
กระทรวงพาณิชย์ รับ ส่งออกข้าวไทยปีนี้อาจหลุดเป้า 9.5 ล้านตัน เหตุจากคู่ค้าแย่,บาทแข็ง
นายกีรติ รัชโน ผู้ตรวจราชการกระทรวงพาณิชย์ รักษาราชการแทนอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า การส่งออกข้าวของไทยในปีนี้ อาจทำไม่ได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ 9.5 ล้านตัน เนื่องจากตลาดคู่ค้าหลายประเทศ ที่ได้มีการวางแผนเจาะตลาดไว้เดิมกำลังประสบปัญหาภายในประเทศ โดยเฉพาะตลาดในประเทศอิรัก ซึ่งเป็นตลาดเดิมที่กรมการค้าต่างประเทศ มีแผนที่จะฟื้นการส่งออกกำลังประสบปัญหาภายในประเทศ และเห็นว่าในเวลานี้ยังไม่เหมาะที่จะมีการเจรจาซื้อขายระหว่างกัน ทำให้เป้าหมายในการส่งออกข้าวขาว ซึ่งอิรักมีความต้องการสูงต้องชะลอไปก่อนประกอบกับสถานการณ์ค่าเงินบาทของไทยที่ยังคงแข็งค่าในขณะนี้เป็นอุปสรรคสำคัญต่อการแข่งขันในการส่งออกข้าวของไทยทำให้ข้าวไทยแข่งขันยากขึ้นเนื่องจากต้องกำหนดราคาสูงกว่าประเทศคู่แข่งอื่นๆ ทำให้คู่ค้าหลายประเทศต้องชะลอคำสั่งซื้อและสำหรับการส่งออกข้าวในภาพรวมช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ ปริมาณการส่งออกลดลงร้อยละ 28.14 คิดเป็นปริมานการส่งออกที่ 5.9 ล้านตัน