ภาพยนตร์ชุด The Godfather(1972)
หนังแก๊งสเตอร์ที่กล่าวถึง ดอน วีโต้ คอลิโอเน่ เจ้าพ่อใหญ่แห่งนิวยอร์ค ผู้อยู่ในช่วงขาลง
และกำลังเปลี่ยนผ่านอำนาจไปสู่ลูกชายคนใดคนหนึ่ง
เขามีลูกชาย 3 คน ที่บุคลิกแตกต่างกัน
ซันนี่ (คนโต) เป็นคนใจร้อน มุทะลุ ชอบแก้ปัญหาด้วยกำลัง
เฟรดดี้ (คนรอง) เจ้าชู้ ชอบการสังสรรค์และบันเทิง ไม่ค่อยมีความรับผิดชอบ ดูอ่อนแอ
ไมเคิล (น้องชายคนเล็ก) อดีตนายทหารหนุ่มที่ นิ่ง สุขุม ฉลาดและเหมาะสมกับการสืบทอดตำแหน่งต่อจากพ่อที่สุด แต่เขาไม่ค่อยสนใจเรื่องธุรกิจสีเทาของครอบครัวสักเท่าไหร่
จนวันหนึ่ง ดอน ถูกลอบยิงบาดเจ็บสาหัส เมื่ออำนาจและอิทธิพลของครอบครัวถูกท้าทาย
ไมเคิลจึงตัดสินใจทำบางอย่างเพื่อกู้วิกฤตให้ครอบครัว
เขารับช่วงอำนาจต่อจากพ่อ
เรื่องราวของหนังหลังจากนั้นจึงเต็มไปด้วยการวางแผน หักเหลี่ยมชิงไหวชิงพริบ การช่วงชิงอำนาจกับ
แกงค์อิทธิพลอื่นๆ ขนานไปกับการทำหน้าที่ดูแลคนในครอบครัวตามแบบฉบับของสุภาพบุรุษตระกูล
คอลิโนเน่ ตามคำสอนของพ่อที่ว่า “ผู้ชายที่ไม่ให้เวลากับครอบครัว ไม่มีวันเป็นลูกผู้ชาย”
ผมชอบการเล่าเรื่องของ The Godfatherมาก หนังปูพื้นฐานตัวละครแต่ละตัวได้ดี ช่วงแรกของหนังอาจจะไม่หวือหวามากนัก เราจะได้เห็นภาพของ ดอน วีโต้ คอลิโอเน่ สุภาพบุรุษใจกว้าง มากบารมี ผู้น่าเกรงขามและมีอิทธิพลมากมาย (มาร์ลอน แบรนโด ได้รับการชื่นชมอย่างมากในการแสดงเป็นดอน วีโต้ คอลิโอเน่ ทั้งบุคลิก ท่าทาง ภาษากาย แววตา คำพูด ทุกอย่างเป็นธรรมชาติมาก เราเชื่ออย่างสนิทใจเลยว่าเขาคือเจ้าพ่อมาเฟียจริงๆ)
เราได้เรียนรู้นิสัยของลูกชายทั้ง 3 ของเขา เป็นช่วงแรกที่ถ้าไม่ตั้งใจดูอาจมีหลับ
แต่เมื่อผ่านช่วงนั้นไปแล้ว หนังจะค่อยๆไต่ระดับความมันสูงขึ้นเรื่อยๆไปจนจบ...
(ไปหาดูเอาเองครับ เราจะไม่สปอยด์)
การบริหารงานแบบดอน วีโต้ คอลิโอเน่ เป็นสิ่งที่น่าศึกษาและนำมาปรับใช้เป็นอย่างมาก
ผมเชื่อว่า"เราสามารถเรียนรู้ชีวิตจากการดูหนังได้ เพราะหนังคือแบบจำลองของชีวิต" และนี่คือบทเรียนผู้นำจาก The Godfather
บทเรียนที่หนึ่ง :
ดอน วีโต้ คอลิโอเน่ ไม่ได้สร้างเครือข่ายด้วย "พระเดช" เพียงอย่างเดียว เขาใช้ "พระคุณ" ควบคู่ไปด้วย
ตอนต้นเรื่องเราจะเห็นผู้คนมาขอความช่วยเหลือจากดอนและดอนก็ช่วยเหลือตามสมควร ก่อนจะบอกว่า
"สักวันหนึ่งคุณจะได้ใช้ความสามารถที่คุณมีตอบแทนผม"
สิ่งนี้ภาษาวิชาการเขาเรียกว่า "ภาวะผู้นำแบบแลกเปลี่ยน" - Transactional leadership นิยามง่ายๆของคำนี้คือ ผู้นำที่ดีต้องรู้จักสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานให้กับผู้ใต้บังคับบัญชา
ผู้นำต้องสามารถจูงใจผู้ใต้บังคับบัญชา ให้ทำงานในหน้าที่ของเขาอย่างสุดความสามารถ ด้วยความเต็มใจ ซึ่งอาจแลกเปลี่ยนด้วยค่าตอบแทน ของรางวัล หรือคำชม
ขณะเดียวกันก็ต้องมี "ภาวะผู้นำแบบเปลี่ยนสภาพ" (Transformational leadership)
นั่นคือการสร้างแรงจูงใจเชิงนามธรรมในการปฏิบัติงาน ดอนมักจะถือว่าผู้ร่วมงานทุกคนคือพี่น้อง
เขาทำให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคนรู้สึกถึงคุณค่าในตัวเอง และมองเห็นความสำคัญในงานที่ทำ
(อ้างอิง
http://suthep.crru.ac.th/)
บทเรียนที่สอง :
ผู้นำคือผู้บริหาร ผู้นำไม่จำเป็นต้องเก่งทุกเรื่องขอแค่รู้ว่าจะใช้ความสามารถของแต่ละคนไปในทางไหน
เจ้าพ่อมักจะไม่ลงมือเอง เขาจะกระจายงานและมอบหมายหน้าที่ให้ลูกน้องแต่ละคนทำ และไม่ว่าหน้าที่นั้นจะเป็นอะไร
ผู้นำต้องส่งเสริมให้การปฏิบัติงานนั้นบรรลุผล หากผู้ปฏิบัติงานไม่สามารถจัดการให้สำเร็จได้ ผู้นำก็มีหน้าที่ชี้แนะแนวทาง ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์หรือแผนสำรอง เพื่อจัดการให้สามารถดำเนินงานให้สำเร็จให้ได้
ครั้งหนึ่งดอนส่งคนไปเจรจากับผู้ที่เจรจาด้วยยาก การเจรจาในครั้งแรกไม่บรรลุผล สิ่งที่ดอนให้แนวทางแก่ลูกน้องคือ เราจะมอบ"ข้อเสนอที่ไม่อาจปฏิเสธได้" เขาเปลี่ยนรูปแบบการเจรจาและสร้างเงื่อนไขที่เป็นไปได้แทน (ไปดูในหนังเองครับเล่ามากไม่ได้แต่จะบอกว่าฉากนี้ทรงพลังมาก)
บทเรียนที่สาม :
ผู้นำที่ดีต้องถ่ายทอดความเป็นผู้นำได้ จะมีผู้นำบางประเภทที่ไม่เปิดโอกาสให้ลูกน้องได้ตัดสินใจเลย และเมื่อใดที่ไม่มีผู้นำคอยตัดสินใจ ลูกน้องก็ไม่กล้าตัดสินใจใดๆเลย ที่เลวร้ายที่สุดคือ หากไม่มีการถ่ายทอดความเป็นผู้นำไว้ เมื่อผู้นำจากไป อาจไม่มีใครขึ้นมาแทนที่เขาได้เลย
ดอน นั้น ส่งผ่านความเป็นผู้นำของเขาให้ไมเคิล เมื่อดอนเกษียณตัวเอง เขาก็ให้ไมเคิลทำหน้าที่แทนและไมเคิลก็ส่งต่ออำนาจตัดสินใจบางเรื่องให้ทอม ที่ปรึกษาของเขาเช่นกัน
เรื่องนี้ในองค์กรใหญ่ๆค่อนข้างให้ความสำคัญ
หลายองค์กรมีวัฒนธรรมให้ผู้บริหารใหญ่ที่ใกล้เกษียณอายุต้องวางแผนและสอนงานคนที่คาดหมายให้มาบริหารงานต่อ ให้เข้าใจและบริหารงานต่อได้เมื่อเขาเกษียณ (มีการวางแผนล่วงหน้า 2-4 ปี เลยทีเดียว)
บทเรียนที่สี่ :
ผู้นำที่ดีต้องมีธรรมาภิบาล
แม้ว่าเรื่องราวใน The Godfather เป็นเรื่องเกี่ยวกับแกงค์มาเฟียที่ไม่ได้มีคุณธรรมไปเสียทุกเรื่อง ยังมีการฆ่ากันเพื่อแย่งชิงอำนาจและผลประโยชน์กันอยู่ แต่เราก็เห็นคุณธรรมของดอนที่คอยช่วยเหลือคนตัวเล็กๆในชุมชนให้ได้รับความยุติธรรมหรือแม้กระทั่งการปฏิเสธที่จะทำธุรกิจค้ายา ที่ดอนมองว่าไม่จำเป็นต้องทำเพราะเป็นธุรกิจที่ทำลายผู้คนและสังคม
ผมว่าเรื่องนี้ค่อนข้างสำคัญครับ เพราะทุกการกระทำของผู้นำส่งผลแก่คนหมู่มาก หากผู้นำไร้ซึ่งจริยธรรมความเดือดร้อนย่อมตกแก่คนหมู่มาก แม้แต่เจ้าพ่อมาเฟียยังต้องมีคุณธรรมบางอย่างไว้ยึดถือ
แล้วผู้นำอื่นๆจะละทิ้งเรื่องนี้ไปได้อย่างไร...
ผมหวังว่า บทเรียน 4 ข้อที่ผมถอดมาจาก "ดอน วีโต้ คอลิโอเน่" คงเกิดประโยชน์กับผู้อ่านทุกท่านในการบริหารงาน บริหารคน
ลองนำไปปรับใช้กันดูนะครับ
เครดิตบทความจากเวบหนังหลายมิติ :
https://www.movie8d.com
หากเพื่อนๆชอบบทความสาระดีๆจากหนัง สามารถไปติดตามกันได้ครับ มีบทความดีๆแบ่งปันมากมาย
ขอบคุณครับ
บทเรียนผู้นำ 4 ข้อ จาก "The Godfather"
หนังแก๊งสเตอร์ที่กล่าวถึง ดอน วีโต้ คอลิโอเน่ เจ้าพ่อใหญ่แห่งนิวยอร์ค ผู้อยู่ในช่วงขาลง
และกำลังเปลี่ยนผ่านอำนาจไปสู่ลูกชายคนใดคนหนึ่ง
เขามีลูกชาย 3 คน ที่บุคลิกแตกต่างกัน
ซันนี่ (คนโต) เป็นคนใจร้อน มุทะลุ ชอบแก้ปัญหาด้วยกำลัง
เฟรดดี้ (คนรอง) เจ้าชู้ ชอบการสังสรรค์และบันเทิง ไม่ค่อยมีความรับผิดชอบ ดูอ่อนแอ
ไมเคิล (น้องชายคนเล็ก) อดีตนายทหารหนุ่มที่ นิ่ง สุขุม ฉลาดและเหมาะสมกับการสืบทอดตำแหน่งต่อจากพ่อที่สุด แต่เขาไม่ค่อยสนใจเรื่องธุรกิจสีเทาของครอบครัวสักเท่าไหร่
จนวันหนึ่ง ดอน ถูกลอบยิงบาดเจ็บสาหัส เมื่ออำนาจและอิทธิพลของครอบครัวถูกท้าทาย
ไมเคิลจึงตัดสินใจทำบางอย่างเพื่อกู้วิกฤตให้ครอบครัว
เขารับช่วงอำนาจต่อจากพ่อ
เรื่องราวของหนังหลังจากนั้นจึงเต็มไปด้วยการวางแผน หักเหลี่ยมชิงไหวชิงพริบ การช่วงชิงอำนาจกับ
แกงค์อิทธิพลอื่นๆ ขนานไปกับการทำหน้าที่ดูแลคนในครอบครัวตามแบบฉบับของสุภาพบุรุษตระกูล
คอลิโนเน่ ตามคำสอนของพ่อที่ว่า “ผู้ชายที่ไม่ให้เวลากับครอบครัว ไม่มีวันเป็นลูกผู้ชาย”
ผมชอบการเล่าเรื่องของ The Godfatherมาก หนังปูพื้นฐานตัวละครแต่ละตัวได้ดี ช่วงแรกของหนังอาจจะไม่หวือหวามากนัก เราจะได้เห็นภาพของ ดอน วีโต้ คอลิโอเน่ สุภาพบุรุษใจกว้าง มากบารมี ผู้น่าเกรงขามและมีอิทธิพลมากมาย (มาร์ลอน แบรนโด ได้รับการชื่นชมอย่างมากในการแสดงเป็นดอน วีโต้ คอลิโอเน่ ทั้งบุคลิก ท่าทาง ภาษากาย แววตา คำพูด ทุกอย่างเป็นธรรมชาติมาก เราเชื่ออย่างสนิทใจเลยว่าเขาคือเจ้าพ่อมาเฟียจริงๆ)
เราได้เรียนรู้นิสัยของลูกชายทั้ง 3 ของเขา เป็นช่วงแรกที่ถ้าไม่ตั้งใจดูอาจมีหลับ
แต่เมื่อผ่านช่วงนั้นไปแล้ว หนังจะค่อยๆไต่ระดับความมันสูงขึ้นเรื่อยๆไปจนจบ...
(ไปหาดูเอาเองครับ เราจะไม่สปอยด์)
การบริหารงานแบบดอน วีโต้ คอลิโอเน่ เป็นสิ่งที่น่าศึกษาและนำมาปรับใช้เป็นอย่างมาก
ผมเชื่อว่า"เราสามารถเรียนรู้ชีวิตจากการดูหนังได้ เพราะหนังคือแบบจำลองของชีวิต" และนี่คือบทเรียนผู้นำจาก The Godfather
บทเรียนที่หนึ่ง :
ดอน วีโต้ คอลิโอเน่ ไม่ได้สร้างเครือข่ายด้วย "พระเดช" เพียงอย่างเดียว เขาใช้ "พระคุณ" ควบคู่ไปด้วย
ตอนต้นเรื่องเราจะเห็นผู้คนมาขอความช่วยเหลือจากดอนและดอนก็ช่วยเหลือตามสมควร ก่อนจะบอกว่า
"สักวันหนึ่งคุณจะได้ใช้ความสามารถที่คุณมีตอบแทนผม"
สิ่งนี้ภาษาวิชาการเขาเรียกว่า "ภาวะผู้นำแบบแลกเปลี่ยน" - Transactional leadership นิยามง่ายๆของคำนี้คือ ผู้นำที่ดีต้องรู้จักสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานให้กับผู้ใต้บังคับบัญชา
ผู้นำต้องสามารถจูงใจผู้ใต้บังคับบัญชา ให้ทำงานในหน้าที่ของเขาอย่างสุดความสามารถ ด้วยความเต็มใจ ซึ่งอาจแลกเปลี่ยนด้วยค่าตอบแทน ของรางวัล หรือคำชม
ขณะเดียวกันก็ต้องมี "ภาวะผู้นำแบบเปลี่ยนสภาพ" (Transformational leadership)
นั่นคือการสร้างแรงจูงใจเชิงนามธรรมในการปฏิบัติงาน ดอนมักจะถือว่าผู้ร่วมงานทุกคนคือพี่น้อง
เขาทำให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคนรู้สึกถึงคุณค่าในตัวเอง และมองเห็นความสำคัญในงานที่ทำ
(อ้างอิง http://suthep.crru.ac.th/)
บทเรียนที่สอง :
ผู้นำคือผู้บริหาร ผู้นำไม่จำเป็นต้องเก่งทุกเรื่องขอแค่รู้ว่าจะใช้ความสามารถของแต่ละคนไปในทางไหน
เจ้าพ่อมักจะไม่ลงมือเอง เขาจะกระจายงานและมอบหมายหน้าที่ให้ลูกน้องแต่ละคนทำ และไม่ว่าหน้าที่นั้นจะเป็นอะไร
ผู้นำต้องส่งเสริมให้การปฏิบัติงานนั้นบรรลุผล หากผู้ปฏิบัติงานไม่สามารถจัดการให้สำเร็จได้ ผู้นำก็มีหน้าที่ชี้แนะแนวทาง ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์หรือแผนสำรอง เพื่อจัดการให้สามารถดำเนินงานให้สำเร็จให้ได้
ครั้งหนึ่งดอนส่งคนไปเจรจากับผู้ที่เจรจาด้วยยาก การเจรจาในครั้งแรกไม่บรรลุผล สิ่งที่ดอนให้แนวทางแก่ลูกน้องคือ เราจะมอบ"ข้อเสนอที่ไม่อาจปฏิเสธได้" เขาเปลี่ยนรูปแบบการเจรจาและสร้างเงื่อนไขที่เป็นไปได้แทน (ไปดูในหนังเองครับเล่ามากไม่ได้แต่จะบอกว่าฉากนี้ทรงพลังมาก)
บทเรียนที่สาม :
ผู้นำที่ดีต้องถ่ายทอดความเป็นผู้นำได้ จะมีผู้นำบางประเภทที่ไม่เปิดโอกาสให้ลูกน้องได้ตัดสินใจเลย และเมื่อใดที่ไม่มีผู้นำคอยตัดสินใจ ลูกน้องก็ไม่กล้าตัดสินใจใดๆเลย ที่เลวร้ายที่สุดคือ หากไม่มีการถ่ายทอดความเป็นผู้นำไว้ เมื่อผู้นำจากไป อาจไม่มีใครขึ้นมาแทนที่เขาได้เลย
ดอน นั้น ส่งผ่านความเป็นผู้นำของเขาให้ไมเคิล เมื่อดอนเกษียณตัวเอง เขาก็ให้ไมเคิลทำหน้าที่แทนและไมเคิลก็ส่งต่ออำนาจตัดสินใจบางเรื่องให้ทอม ที่ปรึกษาของเขาเช่นกัน
เรื่องนี้ในองค์กรใหญ่ๆค่อนข้างให้ความสำคัญ
หลายองค์กรมีวัฒนธรรมให้ผู้บริหารใหญ่ที่ใกล้เกษียณอายุต้องวางแผนและสอนงานคนที่คาดหมายให้มาบริหารงานต่อ ให้เข้าใจและบริหารงานต่อได้เมื่อเขาเกษียณ (มีการวางแผนล่วงหน้า 2-4 ปี เลยทีเดียว)
บทเรียนที่สี่ :
ผู้นำที่ดีต้องมีธรรมาภิบาล
แม้ว่าเรื่องราวใน The Godfather เป็นเรื่องเกี่ยวกับแกงค์มาเฟียที่ไม่ได้มีคุณธรรมไปเสียทุกเรื่อง ยังมีการฆ่ากันเพื่อแย่งชิงอำนาจและผลประโยชน์กันอยู่ แต่เราก็เห็นคุณธรรมของดอนที่คอยช่วยเหลือคนตัวเล็กๆในชุมชนให้ได้รับความยุติธรรมหรือแม้กระทั่งการปฏิเสธที่จะทำธุรกิจค้ายา ที่ดอนมองว่าไม่จำเป็นต้องทำเพราะเป็นธุรกิจที่ทำลายผู้คนและสังคม
ผมว่าเรื่องนี้ค่อนข้างสำคัญครับ เพราะทุกการกระทำของผู้นำส่งผลแก่คนหมู่มาก หากผู้นำไร้ซึ่งจริยธรรมความเดือดร้อนย่อมตกแก่คนหมู่มาก แม้แต่เจ้าพ่อมาเฟียยังต้องมีคุณธรรมบางอย่างไว้ยึดถือ
แล้วผู้นำอื่นๆจะละทิ้งเรื่องนี้ไปได้อย่างไร...
ผมหวังว่า บทเรียน 4 ข้อที่ผมถอดมาจาก "ดอน วีโต้ คอลิโอเน่" คงเกิดประโยชน์กับผู้อ่านทุกท่านในการบริหารงาน บริหารคน
ลองนำไปปรับใช้กันดูนะครับ
เครดิตบทความจากเวบหนังหลายมิติ : https://www.movie8d.com
หากเพื่อนๆชอบบทความสาระดีๆจากหนัง สามารถไปติดตามกันได้ครับ มีบทความดีๆแบ่งปันมากมาย
ขอบคุณครับ