หลังจากงาน
เปิดตัว Huawei Mate 30 Pro ในไทยที่ผ่านมา ทุกคนต่างทราบกันดีว่า
Huawei Mate 30 series จะไม่สามารถใช้งาน Google Mobile Services (GMS) ได้อีกแล้ว จึงมีคำถามต่อมาว่า แล้วจะใช้แอปของ Google ได้อย่างไร รวมถึงนักพัฒนาแอป จะสามารถพัฒนาแอปพลิเคชันต่อไปได้อีกหรือไม่
ทางหัวเว่ยในฐานะผู้ผลิตสมาร์ทโฟนที่มียอดจำหน่ายเป็นอันดับที่สองของโลก จึงมีการวางแผนในการนำระบบ Ecosystem ของตัวเองขึ้นมาใช้งาน มีชื่อว่า Huawei Mobile Services (HMS) ซึ่งเป็นระบบที่มีการเชื่อมต่อชีวิตแบบดิจิทัลเป็นเทคโนโลยีไร้ซึ่งรอยต่อ มันไม่ใช่แค่ระบบสำหรับสมาร์ทโฟนเท่านั้น แต่เป็นทุกๆอย่างที่อยู่รอบตัวเรา อันได้แก่ บริการ Huawei Mobile Services (แบบเปิด), Huawei Device, 5G Networks และแอป AI
หัวเว่ยได้วางกลยุทธ์ 1+8+N นั้นหมายถึงใช้สมาร์ทโฟนเป็นจุดศูนย์กลางของทุกสิ่ง(1) , ส่วนระบบ Ecosystem ของหัวเว่ยที่เชื่อม device ทุกอย่างเข้าหากัน อย่าง พีซี, แท็บเล็ต, อุปกรณ์ที่มีจอภาพ, ลำโพงอัจฉริยะ, แว่นอัจฉริยะ, นาฬิกา, รถยนต์ และหูฟัง(8) และ อุปกรณ์ต่างๆ สิ่งต่างๆ ที่ได้ถูกเชื่อมโยงทุกสิ่งทุกอย่างเข้าหากันของ ioT อย่างเช่น อุปกรณ์ Smart Home เป็นต้น(N)
ระบบ Ecosystem ของหัวเว่ย ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาในขณะนี้ คือ Huawei Mobile Services (HMS) มีผู้ใช้งานจริงทั่วโลกมากถึง 570 ล้านคนต่อเดือน ในกว่า 170 ประเทศจนถึงปัจจุบัน ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2562 มีผู้ใช้งานจริงถึง 390 ล้านคนต่อเดือน ที่เข้ามาใช้งาน Huawei AppGallery และมียอดดาวน์โหลดแอปรวมถึง 180 ล้านคนภายในหนึ่งปี ตั้งแต่เริ่มให้บริการทั่วโลกในเดือนเมษายน 2561
ปัจจุบันมีนักพัฒนาแอปทั่วโลกจำนวน 1.07 ล้านคน ได้เข้ามาลงทะเบียนเป็น Huawei Developer มาพัฒนาแอปพลิเคชั่นแล้วมากถึง 50,000 แอป ซึ่งเป็นการพัฒนาแอปที่อยู่บน HMS Core ของ Huawei ทั้งหมด
HMS Products and Services (HMS) เป็นช่องทางในการเผยแพร่แอป (AppGallery) ซึ่งประกอบไปด้วยแอปพื้นฐานที่มารองรับการใช้งานในชีวิตประจำวัน อย่างเช่น Browser , Themes , Cloud , Music , Video และ Assistant
แอปพลิเคชันและบริการของ HMS มีอะไรบ้าง
-
Huawei ID บัญชีผู้ใช้ที่เฉพาะสำหรับคุณ (“HUAWEI ID”) ซึ่งใช้เพื่อเข้าถึงบริการทั้งหมดของ Huawei
-
Huawei AppGallery แพลตฟอร์มการเผยแพร่แอปอย่างเป็นทางการของ Huawei ซึ่งครอบคลุม 170 ประเทศและภูมิภาค มีผู้เข้าใช้งาน 390 ล้านคนต่อเดือน ตั้งแต่เริ่มให้บริการทั่วโลกในเดือนเมษายน 2561
-
Huawei Browser เบราว์เซอร์ที่เน้นความปลอดภัยและการใช้งานง่าย ถูกดาวน์โหลดไปแล้ว 600 แสนเครื่องต่อเดือน
-
Huawei Assistant เป็นผู้ช่วยส่วนตัว , นำเสนอฟีดข่าวส่วนบุคคล , การแจ้งเตือนปฏิทิน และอื่นๆ นักพัฒนาแอปสามารถเชื่อมต่อบริการของตัวเองเข้ากับ Huawei Assistant เพื่อเข้าถึงผู้ใช้บริการที่ดาวน์โหลดไปแล้ว 7.5 ล้านเครื่องต่อเดือน
-
Huawei Mobile Cloud พี้นที่บนคลาวด์ถูกสร้างขึ้นโดยให้ความสำคัญกับระบบความปลอดภัย มีกำหนดเปิดตัวในเดือนพฤศจิกายน 2562 พร้อมพื้นที่เก็บข้อมูลบนคลาวด์ฟรี 5GB
-
Huawei Themes ธีมการใช้งานบนสมาร์ทโฟน ถูกดาวน์โหลดไปแล้ว 4.9 ล้านเครื่องต่อเดือน และแอปที่ให้บริการดาวน์โหลดอย่าง Huawei Music , Huawei Reader และ Huawei Video ที่ถูกดาวน์โหลดไปแล้ว 130 ล้านเครื่อง
และแอปที่ให้บริการดาวน์โหลดอย่าง Huawei Music , Huawei Reader และ Huawei Video ที่ถูกดาวน์โหลดไปแล้ว 130 ล้านเครื่อง
AppGallery ของ Huawei Mobile Services (HMS) จึงเข้ามาแทนที่ Google Play Store และในส่วนของบริการ (HMS Core & Capacities) ที่มาแทนที่ Google Play Services ซึ่งมี HMS Core kits 24 ส่วน บริการ 55 ประเภท และ APIs 997 ตัวให้นักพัฒนาแอปทั่วโลกสามารถเข้าถึงได้
ตัวอย่างบริการ HMS Core & Capacities ที่มาแทนที่ Google Play Services นั้น มีอะไรบ้าง
-
Account Kit ช่วยให้ผู้ลงทะเบียนและเข้าสู่ระบบแอปได้เพียงคลิกเดียว ใช้งานผ่าน ID Token และ Authentication ง่ายและรวดเร็ว มีความปลอดภัยสูง (เหมือนการใช้งาน FB ,Google,Apple) รองรับ device หลากหลายชนิด อาทิ Mobile, Tablet และ TV แล้วมีผู้ใช้งานกว่า 500 ล้านคนทั่วโลก
-Location Kit ใช้โหมดการระบุตำแหน่ง ที่แยกออกมาจากแอป Map Kit มีความแม่นยำ 99% โดยการหา GPS ของ Location Kit จะใช้ข้อมูลหลายอย่างทั้ง GPS, WiFi, Bluetooth และ Base station ช่วยให้แอปรับตำแหน่งผู้ใช้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ
-Map Kit แผนที่และการนำทาง รองรับมากกว่า 150 ประเทศทั่วโลก และรองรับมากกว่า 40 ภาษา
-
Game Service การจัดการระบบการเล่นเกมส์ที่ช่วยให้ผู้ใช้งานได้สะดวกในการลงชื่อเข้าเล่นเกมเพียงครั้งแรก รวมถึงการเก็บบันทึกสถิติ และจัดอันดับการเล่นเกม
-
Drive Kit การจัดการไฟล์ อ่านไฟล์ เขียนไฟล์ เชื่อมต่อระหว่างแอปกับ HUAWEI Cloud drive
-
Analytics Kit ใช้งานเสมือน Google Analytics นักพัฒนาสามารถเข้าถึง API และการเก็บบันทึกสถิติต่างๆ
-
Push Kit คือ บริการแจ้งเตือนระบบ Push Notification Service นั่นเอง ช่วยให้นักพัฒนาเข้าถึงผู้ใช้หลายล้านคนในแต่ละครั้ง โดยอาศัยระบบ Cloud เป็นตัวกลาง สามารถส่ง Notification ได้ 3 แบบ ส่งข้อความแบบ Short text , Big text และ Big picture
-In-App Purchases รวมช่องทางการชำระเงินทั้งในประเทศและทั่วโลก เช่น PayPal, VISA / Master Card / AMEX / JCB และการชำระเงินของบุคคลที่สาม
-Ads Kit การตรวจสอบประสิทธิภาพและการวัดผลของโฆษณาที่อยู่ในแอป การทำงานคล้าย Google AdMob
เพื่อกระตุ้นให้ Huawei Mobile Services (HMS) เติบโตอย่างต่อเนื่อง ทางหัวเว่ยมีการลงทุน 1 พันล้านเหรียญสหรัฐใน Shining-Star Program 2.0 เพื่อเปิดโอกาสให้นักพัฒนาแอปทั่วโลก สามารถเข้าร่วมโครงการนี้ รวมทั้งให้ผลประโยชน์กับนักพัฒนาแอปในด้านการตลาดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์แอปของพวกเขาอีกด้วยค่ะ
หากเราลองนั่งไล่แอปในมือถือของตนเอง ก็จะรู้ว่าเรามีแอปพื้นฐานอะไรบ้างที่ใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน อย่างเช่น แชท , การดูหนังฟังเพลง , การท่องเว็บด้วยการใช้ Browser , การปรับธีมหน้าจอบ่อยๆ , การฝากไฟล์เอกสารบนคลาวด์ , ช้อปป้ิงออนไลน์ ฯ
โดยทางหัวเว่ยเองก็ตระหนักและเข้าใจพฤติกรรมผู้ใช้งานที่ต้องอาศัยแอปพื้นฐานที่คุ้นเคยในชีวิตประจำวัน ถึงแม้ว่าปัจจุบันแอปบน AppGallery จะมีให้เลือกดาวน์โหลดได้จริง แต่ก็เป็นแอปที่คนไทยไม่รู้จัก และยังไม่มั่นใจในการใช้งาน คงต้องอาศัยการสำรวจเรียนรู้กันไปสักพักใหญ่ๆ อย่างไรก็ตามเราคงจะได้เห็นการเติบโตอย่างต่อเนื่องของ Huawei Mobile Services (HMS) แน่นอน ด้วยนักพัฒนาแอปหลายๆคนทั่วโลกที่หัวเว่ยเองได้เชิญเข้ามาร่วมพัฒนาแอปไปด้วยกัน
ซึ่งในประเทศไทยตอนนี้ ก็เริ่มเห็นนักพัฒนาได้ทยอยนำแอปพลิเคชันมาให้บริการบน AppGallery กันแล้ว อย่างเช่น แอปธนาคาร , แอปวอลเล็ท , แอปช่องดูทีวี ฯ ค่ะ
HMS และการมุ่งพัฒนา Ecosystem ของ Huawei ในงาน APAC HUAWEI Developer Day 2019
แอปพลิเคชันและบริการของ HMS มีอะไรบ้าง
- Huawei ID บัญชีผู้ใช้ที่เฉพาะสำหรับคุณ (“HUAWEI ID”) ซึ่งใช้เพื่อเข้าถึงบริการทั้งหมดของ Huawei
- Huawei AppGallery แพลตฟอร์มการเผยแพร่แอปอย่างเป็นทางการของ Huawei ซึ่งครอบคลุม 170 ประเทศและภูมิภาค มีผู้เข้าใช้งาน 390 ล้านคนต่อเดือน ตั้งแต่เริ่มให้บริการทั่วโลกในเดือนเมษายน 2561
- Huawei Browser เบราว์เซอร์ที่เน้นความปลอดภัยและการใช้งานง่าย ถูกดาวน์โหลดไปแล้ว 600 แสนเครื่องต่อเดือน
- Huawei Assistant เป็นผู้ช่วยส่วนตัว , นำเสนอฟีดข่าวส่วนบุคคล , การแจ้งเตือนปฏิทิน และอื่นๆ นักพัฒนาแอปสามารถเชื่อมต่อบริการของตัวเองเข้ากับ Huawei Assistant เพื่อเข้าถึงผู้ใช้บริการที่ดาวน์โหลดไปแล้ว 7.5 ล้านเครื่องต่อเดือน
- Huawei Mobile Cloud พี้นที่บนคลาวด์ถูกสร้างขึ้นโดยให้ความสำคัญกับระบบความปลอดภัย มีกำหนดเปิดตัวในเดือนพฤศจิกายน 2562 พร้อมพื้นที่เก็บข้อมูลบนคลาวด์ฟรี 5GB
- Huawei Themes ธีมการใช้งานบนสมาร์ทโฟน ถูกดาวน์โหลดไปแล้ว 4.9 ล้านเครื่องต่อเดือน และแอปที่ให้บริการดาวน์โหลดอย่าง Huawei Music , Huawei Reader และ Huawei Video ที่ถูกดาวน์โหลดไปแล้ว 130 ล้านเครื่อง
และแอปที่ให้บริการดาวน์โหลดอย่าง Huawei Music , Huawei Reader และ Huawei Video ที่ถูกดาวน์โหลดไปแล้ว 130 ล้านเครื่อง
-Account Kit ช่วยให้ผู้ลงทะเบียนและเข้าสู่ระบบแอปได้เพียงคลิกเดียว ใช้งานผ่าน ID Token และ Authentication ง่ายและรวดเร็ว มีความปลอดภัยสูง (เหมือนการใช้งาน FB ,Google,Apple) รองรับ device หลากหลายชนิด อาทิ Mobile, Tablet และ TV แล้วมีผู้ใช้งานกว่า 500 ล้านคนทั่วโลก
-Drive Kit การจัดการไฟล์ อ่านไฟล์ เขียนไฟล์ เชื่อมต่อระหว่างแอปกับ HUAWEI Cloud drive
-Analytics Kit ใช้งานเสมือน Google Analytics นักพัฒนาสามารถเข้าถึง API และการเก็บบันทึกสถิติต่างๆ
-Push Kit คือ บริการแจ้งเตือนระบบ Push Notification Service นั่นเอง ช่วยให้นักพัฒนาเข้าถึงผู้ใช้หลายล้านคนในแต่ละครั้ง โดยอาศัยระบบ Cloud เป็นตัวกลาง สามารถส่ง Notification ได้ 3 แบบ ส่งข้อความแบบ Short text , Big text และ Big picture
โดยทางหัวเว่ยเองก็ตระหนักและเข้าใจพฤติกรรมผู้ใช้งานที่ต้องอาศัยแอปพื้นฐานที่คุ้นเคยในชีวิตประจำวัน ถึงแม้ว่าปัจจุบันแอปบน AppGallery จะมีให้เลือกดาวน์โหลดได้จริง แต่ก็เป็นแอปที่คนไทยไม่รู้จัก และยังไม่มั่นใจในการใช้งาน คงต้องอาศัยการสำรวจเรียนรู้กันไปสักพักใหญ่ๆ อย่างไรก็ตามเราคงจะได้เห็นการเติบโตอย่างต่อเนื่องของ Huawei Mobile Services (HMS) แน่นอน ด้วยนักพัฒนาแอปหลายๆคนทั่วโลกที่หัวเว่ยเองได้เชิญเข้ามาร่วมพัฒนาแอปไปด้วยกัน
ซึ่งในประเทศไทยตอนนี้ ก็เริ่มเห็นนักพัฒนาได้ทยอยนำแอปพลิเคชันมาให้บริการบน AppGallery กันแล้ว อย่างเช่น แอปธนาคาร , แอปวอลเล็ท , แอปช่องดูทีวี ฯ ค่ะ