นาฬิกาอะตอมอวกาศ
นาฬิกาอะตอมอวกาศ (Deep Space Atomic Clock) หรือ DSAC ถูกนาซ่าเปิดระบบทำงานตั้งแต่เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา หลังนาซ่าส่งขึ้นไปบนอวกาศตั้งแต่เดือนมิ.ย. 2562 เพื่อเป็นระบบกลางที่คอยบอกเวลาที่เที่ยงตรงให้กับนักบินอวกาศที่ต้องปฏิบัติภารกิจต่างๆ
นาฬิกาอะตอมอวกาศถือเป็นสิ่งจำเป็น เนื่องจากในห้วงลึกของอวกาศนั้นนักบินอวกาศต้องเผชิญกับปรากฏการณ์และทุกสิ่งที่มีขนาดใหญ่มากขึ้น ความผิดพลาดเพียงเล็กน้อยเช่นเวลาอาจส่งผลใหญ่หลวงต่อการคำนวณของระบบคอมพิวเตอร์ และนำไปสู่ความล้มเหลวของภารกิจได้
ยกตัวอย่างภารกิจเดินทางไปดาวอังคาร ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากเวลาที่ผิดเพี้ยนไปเพียง 1 ในหลายพันล้านวินาที อาจนำไปสู่การลงจอดผิดพลาดบนดาวเคราะห์ดังกล่าว หรืออาจทำให้ยานอวกาศนั้นผ่านเลยจุดหมายไปเลยก็ได้
นาซ่า อธิบายว่า โดยทั่วไปแล้วดาวเทียมระบุพิกัด หรือจีพีเอส ที่โคจรรอบดาวเคราะห์โลกปัจจุบันใช้ตัวกลางบอกเวลาจาก นาฬิกาอะตอม ซึ่งมีความเที่ยงตรงสูงมาก แต่ในห้วงลึกอวกาศนั้นกระบวนการทำงานของนาฬิกาอะตอมอาจถูกรบกวนได้จากปรากฏการณ์ต่างๆ ทำให้เกิดความคลาดเคลื่อน
สาเหตุมาจากกระบวนการของนาฬิกาอะตอมที่ใช้ “อะตอม” ซึ่งมีประจุไฟฟ้าที่เป็นกลาง จึงสามารถถูกรบกวนได้หากมีการเปลี่ยนของอุณหภูมิและความกดอากาศแบบสุดขั้ว ขณะที่นาฬิกาอะตอมอวกาศนั้นจะมีความเที่ยงตรงมากกว่าเป็น 50 เท่า
Cr. khaosod.co.th
อาดิดาส ประกาศร่วมมือกับ ห้องปฏิบัติการแห่งชาติของสหรัฐ
อาดิดาส ประกาศความร่วมมือกับ ห้องปฏิบัติการแห่งชาติของสหรัฐ ประจำสถานีอวกาศนานาชาติ เพื่อค้นหาและขยายขอบเขตแห่งนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์ ศักยภาพของมนุษย์ และความยั่งยืน ด้วยความที่ทั้ง อาดิดาส และ ห้องปฏิบัติการแห่งชาติของสหรัฐ ประจำสถานีอวกาศนานาชาติ ต่างก็ถือเป็นผู้นำในด้านวิทยาการของตนเองด้วยกันทั้งสองฝ่าย ความร่วมมือกันในครั้งนี้จึงเกิดขึ้นเพื่อต่อยอดและพัฒนาผลิตภัณฑ์แห่งอนาคตและนักกีฬาที่อาศัยอยู่บนโลกและในอวกาศ
นับเป็นครั้งแรกที่จะมีการนำนวัตกรรมที่ใช้กับรองเท้าไปทดสอบในอวกาศ มีการทดสอบการเคลื่อนที่ในอากาศของลูกฟุตบอลอาดิดาสในสภาวะไร้น้ำหนักที่ห้องปฏิบัติการแห่งชาติของสหรัฐ ประจำสถานีอวกาศนานาชาติ เมื่อเดือนตุลาคม 2019
และในปี 2020 จะมีการนำเทคโนโลยีบูสท์ไปยังห้องปฏิบัติการแห่งชาติของสหรัฐ ประจำสถานีอวกาศนานาชาติ เพื่อทำการทดสอบในภารกิจสเปซเอ็กซ์โดยนาซ่า
ในระยะแรกนั้นจะมุ่งเน้นไปที่นวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์เป็นหลัก และด้วยการสนับสนุนจากห้องปฏิบัติการฯ และเทคโนโลยีที่คิดค้นขึ้นโดยนาซ่า (NASA) จึงทำให้ อาดิดาส จะได้ทำการทดสอบนวัตกรรมที่ใช้กับรองเท้าในอวกาศเป็นแบรนด์แรก ซึ่งทางอาดิดาสได้มีกำหนดการทดสอบเทคโนโลยีบูสท์ (Boost) ในสภาวะไร้แรงโน้มถ่วง ที่อาจมีผลต่อคุณสมบัติความนุ่มสบายและประสิทธิภาพในการใช้งานของผลิตภัณฑ์รุ่นปัจจุบัน และอาจเกิดการต่อยอดเทคโนโลยีสำหรับผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ในอนาคตอีกด้วย
ส่วนลูกฟุตบอลของอาดิดาสที่ถูกนำขึ้นไปใช้ในภารกิจสเปซเอ็กซ์ ซีอาร์เอส-18 (SpaceX CRS-18) ในช่วงก่อนหน้านี้ ก็ได้มีการนำไปทดลองไปแล้วหลายครั้ง โดยวัตถุประสงค์ของการทดสอบนี้ก็เพื่อศึกษาการเคลื่อนที่ในอากาศที่มากกว่าการทดลองในอุโมงค์ลมบนพื้นโลก ซึ่งจากหลักการของอากาศพลศาสตร์หรือการศึกษาการเคลื่อนที่ของอากาศในรูปแบบทรงกลมอาจทำให้การออกแบบลูกฟุตบอลมีอิสระมากขึ้นในด้านของรูปทรงและพื้นผิว
Cr.ryt9.com/
นาซา ส่งชิ้นส่วนรถยนต์-เตาอบขนม ขึ้นไปสถานีอวกาศนานาชาติ
(0GK / DOUBLETREE เตาอบอวกาศและตัวอย่างคุกกี้อวกาศที่ใช้สูตรและวัตถุดิบจากร้านขนมของเครือโรงแรมฮิลตัน)
จรวดของบริษัท นอร์ทรอป กรัมแมน นำยานอวกาศ ซิกนัส ทะยานออกจากฐานปล่อยบนเกาะวอลลอปส์ (Wallops) ในรัฐเวอร์จิเนีย เมื่อวานนี้ เพื่อขนสัมภาระหนัก 3,700 กิโลกรัม ที่ประกอบชิ้นส่วนรถยนต์, เตาอบขนม และเสื้อที่ใช้สำหรับป้องกันกัมมันตภาพรังสี ตลอดทั้งสัมภาระอื่น ๆ โดยสัมภาระเหล่านี้จะเดินทางถึงสถานีอวกาศนานาชาติในวันพรุ่งนี้
ซึ่งนักบินอวกาศจะทำการทดสอบระบบเตาอบขนม ด้วยการอบคุกกี้รสช็อกโกแลตชิป และทดสอบเสื้อป้องกันกัมมันตรังสีรุ่นใหม่ เพื่อประเมินความสะดวกสบายในการสวมใส่ ซึ่งการทดลองทั้ง 2 รายการนี้ ถือเป็นการทดลองนำร่อง ก่อนจะนำไปใช้ในการเดินทางไปยังดวงจันทร์และดาวอังคารในอนาคต นอกจากนี้ นักบินอวกาศของนาซา จะใช้เครื่องมือชนิดอื่น ๆ ที่ถูกส่งขึ้นไปพร้อมกับยานลำนี้ เพื่อทดลองทางด้านวิทยาศาสตร์อีกหลายอย่างระหว่างออกไปเดินในอวกาศปลายเดือนนี้ ( พ.ย. 2562)
Cr.news.ch7.com/
สตาร์ทอัพอิสราเอลปลูกเนื้อวัวบนอวกาศได้สำเร็จ
เนื้อวัวชั้นเลิศราคากิโลกรัมละหลายหมื่นหรือเนื้อวัวชื่อดังที่ว่าเด็ดก็ยังไม่เท่า “เนื้อวัวจากอวกาศ” แน่นอนว่านี่ไม่ใช่เนื้อวัวเอเลี่ยนจากดาวอังคารแต่อย่างใด แต่เป็นการ “ปลูกเนื้อวัว” ในห้องแล็บบนอวกาศ ที่อิสราเอลทำได้สำเร็จเป็นครั้งแรกของโลก
Aleph Farms สตาร์ทอัพสัญชาติอิสราเอลได้ปลูกเนื้อวัวในห้องแล็บที่อยู่บนสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) ซึ่งอยู่ห่างจากโลกประมาณ 339 กิโลเมตร ทีมนักวิทยาศาตร์นำเซลล์ของวัวขึ้นไปบนอวกาศ และปลูกไว้ในเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อขนาดเล็ก โดยใช้เทคโนโลยีการพิมพ์ชีวภาพ 3 มิติ และอาศัยกระบวนการสร้างเนื้อเยื่อตามธรรมชาติของวัว
จุดประสงค์แรกเริ่มของโครงการคือต้องการให้นักบินที่อาศัยอยู่บนสถานีอวกาศมีอาหารรับประทานได้แบบเดียวกับที่มีบนโลกมนุษย์ แต่ความสำเร็จในครั้งนี้ ถือว่าได้ผลดีเกินคาด ไม่ใช่เพียงด้านการพัฒนาวงการวิทยาศาสตร์และการสำรวจทางอวกาศ แต่ยังให้ผลดีด้านความมั่นคงทางอาหารของมนุษย์ เพราะอุตสาหกรรมอาหารสามารถผลิตเนื้อสัตว์เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ โดยผลิตขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลา ที่สำคัญ ไม่ต้องอาศัยการปศุสัตว์แบบเข้มข้นและไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
อย่างไรก็ตาม ซีอีโอของสตาร์ทอัพดังกล่าวเปิดเผยว่ากระบวนการปลูกเนื้อวัวบนอวกาศติดปัญหาตรงที่ต้องใช้น้ำปริมาณมากกว่าจะได้เนื้อวัว 1 กิโลกรัม คือใช้ประมาณ 10,000 – 15,000 ลิตร ทางทีมนักวิทยาศาสตร์จึงกำลังเร่งพัฒนากระบวนการที่จะสามารถลดปริมาณน้ำมากกว่านี้ และไม่แน่ว่า เราอาจจะได้ลองชิมเนื้อวัวจากอวกาศในอนาคตอันใกล้
Cr.springnews.co.th/
‘ออสการ์’ นวัตกรรมคืนระบบนิเวศให้ชั้นบรรยากาศนอกโลก
ในปี 2562 นี้ มีรายงานการคิดค้น ‘ออสการ์’ ดาวเทียมกำจัดขยะอวกาศ ได้สำเร็จ โดยทีมวิจัยทางด้านวิศวกรรมนำโดย ศาสตราจารย์ เคิร์ท แอนเดอร์สัน อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล อวกาศยาน และนิวเคลียร์ สถาบันเรนส์เซลเลอร์ โพลีเทคนิค ในนครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ที่เปิดเผยถึงโครงการพัฒนานวัตกรรมกำจัดขยะอวกาศชิ้นล่าสุดว่า
“ชื่อของ ออสการ์ มาจากคำย่อของชื่อโครงการในภาษาอังกฤษว่า Obsolete Spacecraft Capture and Removal-OSCaR โดยได้รับการออกแบบมาให้เป็นดาวเทียมขนาดเล็ก หรือ ชนิดที่เรียกกันในวงการว่า ‘ทรียู คิวบ์แซท’ (3U Cubesat) ซึ่งคิดค้นขึ้นมาสำหรับใช้เป็นดาวเทียมเพื่อกำจัดขยะอวกาศในวงโคจรใกล้โลก มีจุดเด่นที่ต้นทุนต่ำ สามารถทำงานได้เองโดยอัตโนมัติ ไม่จำเป็นต้องมีเจ้าหน้าที่ภาคพื้นดินคอยควบคุมบังคับแต่อย่างใด”
“ตัวดาวเทียมจะมีความกว้าง 10 เซนติเมตร และหนา 10 เซนติเมตร พร้อมด้วยศักยภาพเกินตัว ด้วยการติดตั้งอุปกรณ์นำร่อง อุปกรณ์สื่อสาร เครื่องยนต์ จรวดขับเคลื่อน และระบบเทอร์มัล-คอนโทรล รวมไปถึงอุปกรณ์สำคัญ คือ ปืนยิงตาข่าย 4 กระบอก สำหรับใช้ยิงตาข่ายเพื่อดักจับขยะอวกาศให้ได้ 4 ชิ้น และเมื่อปฏิบัติภารกิจดังกล่าวแล้วเสร็จ ออสการ์ก็จะนำตัวเองออกจากวงโคจรพร้อมกับขยะอวกาศ จากนั้นจะถูกทำลายในชั้นบรรยากาศของโลกได้เอง”
Cr.salika.co/
เปิดสถานีอวกาศ ISSให้รองรับนักท่องเที่ยว
(nasa-opens-iss-to-tourists-and-commercial)
องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกาหรือนาซ่าประกาศแก้ไขกฏข้อบังคับให้สถานีอวกาศนานาชาติสามารถรองรับนักท่องเที่ยวอวกาศ โรงแรมอวกาศ รวมไปถึงภารกิจในเชิงพาณิชย์โดยบริษัทเอกชน เพื่อนำรายได้มาใช้บริหารจัดการสถานีอวกาศนานาชาติ ISS และสามารถแบ่งสัดส่วนงบประมาณปกติที่ได้จากรัฐบาลไปใช้ในภารกิจส่งมนุษย์กลับไปดวงจันทร์ในปี 2024
การเปิดสถานีอวกาศนานาชาติ ISS เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวและใช้งานในเชิงพาณิชย์คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 5% ของของทรัพยากรต่าง ๆ ที่ใช้บนสถานีอวกาศนานาชาติ ISS นักท่องเที่ยวอวกาศมีค่าใช้จ่ายพื้นฐาน เช่น อาหาร น้ำ อากาศ ค่ารักษาพยาบาล ห้องน้ำและอื่น ๆ ประมาณ 1,120,000 บาทต่อวัน ค่าอินเทอร์เน็ตส่งข้อมูลกลับโลก 1,562 บาทต่อ 1 กิกะไบต์ ยังไม่รวมค่าเดินทางด้วยจรวดขึ้นสถานีอวกาศนานาชาติอีกหลายร้อยล้านบาท
โดยนาซ่าเปิดให้มีจำนวนเที่ยวบินสำหรับนักท่องเที่ยวอวกาศ 2 ครั้งต่อปีสามารถอาศัยบนสถานีอวกาศสูงสุดได้ 30 วัน คาดว่านักท่องเที่ยวอวกาศจะเดินทางไปยังสถานีอวกาศนานาชาติ ISS ภายในปี ค.ศ. 2020
ยานอวกาศที่สามารถส่งนักท่องเที่ยวขึ้นสู่สถานีอวกาศนานาชาติ
ยาน Crew Dragon จากบริษัท SpaceX
หรือยาน Dragon 2 พัฒนาจากยาน Dragon 1 นี้มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4 เมตร ความสูงประมาณ 8.1 เมตร รองรับนักบินอวกาศได้สูงสุด 7 คน เชื่อมต่อสถานีอวกาศได้นาน 210 วัน เดินทางขึ้นสู่อวกาศโดยใช้จรวด Falcon 9 และ Falcon Heavy ซึ่งเป็นจรวดรุ่นหลักของบริษัท SpaceX ขณะนี้ยาน Dragon 2 อยู่ในระหว่างการทดสอบการขึ้นสู่อวกาศพร้อมนักบินในช่วงปี ค.ศ. 2019
ยาน CST-100 Starliner จากบริษัท Boeing
พัฒนาโดยบริษัท Boeing มีลักษณะเล็กกว่ายาน Crew Dragon เล็กน้อย มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4.5 เมตร ความสูงประมาณ 5 เมตร รองรับนักบินอวกาศได้สูงสุด 7 คน เชื่อมต่อสถานีอวกาศได้นาน 210 วัน เดินทางขึ้นสู่อวกาศโดยใช้จรวด Atlas V ที่พัฒนาโดยบริษัท United Launch Alliance ขณะนี้ยาน CST-100 Starliner อยู่ในระหว่างการทดสอบส่งขึ้นสู่อวกาศพร้อมนักบินในช่วงปี ค.ศ. 2019 เช่นเดียวกับยาน Crew Dragon
ยาน Orion จากบริษัท Lockheed Martin และ Airbus
พัฒนาโดยความร่วมมือระหว่างบริษัท Lockheed Martin และ Airbus มีลักษณะภายนอกเหมือนยาน Apollo ที่เคยนำมนุษย์ไปสำรวจดวงจันทร์ในอดีต มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4.1 เมตร ความสูงประมาณ 5 เมตร รองรับนักบินอวกาศได้สูงสุด 6 คน เดินทางขึ้นสู่อวกาศโดยใช้จรวด SLS นอกจากเชื่อมต่อสถานีอวกาศนานาชาติ ISS ยาน Orion ยังถูกออกแบบให้สามารถปฏิบัติภารกิจส่งมนุษย์ไปดวงจันทร์และดาวอังคารในอนาคต ขณะนี้ยาน Orion อยู่ในระหว่างการทดสอบเพื่อเตรียมส่งขึ้นสู่อวกาศแบบไร้นักบินในช่วงปี ค.ศ. 2020 เพื่อทำภารกิจโคจรรอบดวงจันทร์
ยาน Dream Chaser จากบริษัท Sierra Nevada
จากบริษัท Sierra Naveda มีลักษณะคล้ายกระสวยอวกาศขนาดย่อส่วนแต่มีขีดความสามารถไม่เล็กตามขนาดของตัวยาน รองรับนักบินอวกาศได้สูงสุด 7 คนหลังจากทำภารกิจเสร็จสิ้นตัวยานเดินทางกลับโลกด้วยการร่อนลงจอดบนสถานีบินคล้ายกระสวยอวกาศ ขณะนี้ยาน Dream Chaser อยู่ในระหว่างการพัฒนาและเตรียมทดสอบส่งขึ้นสู่อวกาศแบบไร้นักบินอวกาศเพื่อเชื่อมต่อกับสถานีอวกาศ ISS ในปี ค.ศ. 2020
จากเทคโนโลยีสู่อวกาศ
นาฬิกาอะตอมอวกาศ (Deep Space Atomic Clock) หรือ DSAC ถูกนาซ่าเปิดระบบทำงานตั้งแต่เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา หลังนาซ่าส่งขึ้นไปบนอวกาศตั้งแต่เดือนมิ.ย. 2562 เพื่อเป็นระบบกลางที่คอยบอกเวลาที่เที่ยงตรงให้กับนักบินอวกาศที่ต้องปฏิบัติภารกิจต่างๆ
นาฬิกาอะตอมอวกาศถือเป็นสิ่งจำเป็น เนื่องจากในห้วงลึกของอวกาศนั้นนักบินอวกาศต้องเผชิญกับปรากฏการณ์และทุกสิ่งที่มีขนาดใหญ่มากขึ้น ความผิดพลาดเพียงเล็กน้อยเช่นเวลาอาจส่งผลใหญ่หลวงต่อการคำนวณของระบบคอมพิวเตอร์ และนำไปสู่ความล้มเหลวของภารกิจได้
ยกตัวอย่างภารกิจเดินทางไปดาวอังคาร ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากเวลาที่ผิดเพี้ยนไปเพียง 1 ในหลายพันล้านวินาที อาจนำไปสู่การลงจอดผิดพลาดบนดาวเคราะห์ดังกล่าว หรืออาจทำให้ยานอวกาศนั้นผ่านเลยจุดหมายไปเลยก็ได้
นาซ่า อธิบายว่า โดยทั่วไปแล้วดาวเทียมระบุพิกัด หรือจีพีเอส ที่โคจรรอบดาวเคราะห์โลกปัจจุบันใช้ตัวกลางบอกเวลาจาก นาฬิกาอะตอม ซึ่งมีความเที่ยงตรงสูงมาก แต่ในห้วงลึกอวกาศนั้นกระบวนการทำงานของนาฬิกาอะตอมอาจถูกรบกวนได้จากปรากฏการณ์ต่างๆ ทำให้เกิดความคลาดเคลื่อน
สาเหตุมาจากกระบวนการของนาฬิกาอะตอมที่ใช้ “อะตอม” ซึ่งมีประจุไฟฟ้าที่เป็นกลาง จึงสามารถถูกรบกวนได้หากมีการเปลี่ยนของอุณหภูมิและความกดอากาศแบบสุดขั้ว ขณะที่นาฬิกาอะตอมอวกาศนั้นจะมีความเที่ยงตรงมากกว่าเป็น 50 เท่า
Cr. khaosod.co.th
อาดิดาส ประกาศร่วมมือกับ ห้องปฏิบัติการแห่งชาติของสหรัฐ
อาดิดาส ประกาศความร่วมมือกับ ห้องปฏิบัติการแห่งชาติของสหรัฐ ประจำสถานีอวกาศนานาชาติ เพื่อค้นหาและขยายขอบเขตแห่งนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์ ศักยภาพของมนุษย์ และความยั่งยืน ด้วยความที่ทั้ง อาดิดาส และ ห้องปฏิบัติการแห่งชาติของสหรัฐ ประจำสถานีอวกาศนานาชาติ ต่างก็ถือเป็นผู้นำในด้านวิทยาการของตนเองด้วยกันทั้งสองฝ่าย ความร่วมมือกันในครั้งนี้จึงเกิดขึ้นเพื่อต่อยอดและพัฒนาผลิตภัณฑ์แห่งอนาคตและนักกีฬาที่อาศัยอยู่บนโลกและในอวกาศ
นับเป็นครั้งแรกที่จะมีการนำนวัตกรรมที่ใช้กับรองเท้าไปทดสอบในอวกาศ มีการทดสอบการเคลื่อนที่ในอากาศของลูกฟุตบอลอาดิดาสในสภาวะไร้น้ำหนักที่ห้องปฏิบัติการแห่งชาติของสหรัฐ ประจำสถานีอวกาศนานาชาติ เมื่อเดือนตุลาคม 2019
และในปี 2020 จะมีการนำเทคโนโลยีบูสท์ไปยังห้องปฏิบัติการแห่งชาติของสหรัฐ ประจำสถานีอวกาศนานาชาติ เพื่อทำการทดสอบในภารกิจสเปซเอ็กซ์โดยนาซ่า
ในระยะแรกนั้นจะมุ่งเน้นไปที่นวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์เป็นหลัก และด้วยการสนับสนุนจากห้องปฏิบัติการฯ และเทคโนโลยีที่คิดค้นขึ้นโดยนาซ่า (NASA) จึงทำให้ อาดิดาส จะได้ทำการทดสอบนวัตกรรมที่ใช้กับรองเท้าในอวกาศเป็นแบรนด์แรก ซึ่งทางอาดิดาสได้มีกำหนดการทดสอบเทคโนโลยีบูสท์ (Boost) ในสภาวะไร้แรงโน้มถ่วง ที่อาจมีผลต่อคุณสมบัติความนุ่มสบายและประสิทธิภาพในการใช้งานของผลิตภัณฑ์รุ่นปัจจุบัน และอาจเกิดการต่อยอดเทคโนโลยีสำหรับผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ในอนาคตอีกด้วย
ส่วนลูกฟุตบอลของอาดิดาสที่ถูกนำขึ้นไปใช้ในภารกิจสเปซเอ็กซ์ ซีอาร์เอส-18 (SpaceX CRS-18) ในช่วงก่อนหน้านี้ ก็ได้มีการนำไปทดลองไปแล้วหลายครั้ง โดยวัตถุประสงค์ของการทดสอบนี้ก็เพื่อศึกษาการเคลื่อนที่ในอากาศที่มากกว่าการทดลองในอุโมงค์ลมบนพื้นโลก ซึ่งจากหลักการของอากาศพลศาสตร์หรือการศึกษาการเคลื่อนที่ของอากาศในรูปแบบทรงกลมอาจทำให้การออกแบบลูกฟุตบอลมีอิสระมากขึ้นในด้านของรูปทรงและพื้นผิว
Cr.ryt9.com/
นาซา ส่งชิ้นส่วนรถยนต์-เตาอบขนม ขึ้นไปสถานีอวกาศนานาชาติ
(0GK / DOUBLETREE เตาอบอวกาศและตัวอย่างคุกกี้อวกาศที่ใช้สูตรและวัตถุดิบจากร้านขนมของเครือโรงแรมฮิลตัน)
จรวดของบริษัท นอร์ทรอป กรัมแมน นำยานอวกาศ ซิกนัส ทะยานออกจากฐานปล่อยบนเกาะวอลลอปส์ (Wallops) ในรัฐเวอร์จิเนีย เมื่อวานนี้ เพื่อขนสัมภาระหนัก 3,700 กิโลกรัม ที่ประกอบชิ้นส่วนรถยนต์, เตาอบขนม และเสื้อที่ใช้สำหรับป้องกันกัมมันตภาพรังสี ตลอดทั้งสัมภาระอื่น ๆ โดยสัมภาระเหล่านี้จะเดินทางถึงสถานีอวกาศนานาชาติในวันพรุ่งนี้
ซึ่งนักบินอวกาศจะทำการทดสอบระบบเตาอบขนม ด้วยการอบคุกกี้รสช็อกโกแลตชิป และทดสอบเสื้อป้องกันกัมมันตรังสีรุ่นใหม่ เพื่อประเมินความสะดวกสบายในการสวมใส่ ซึ่งการทดลองทั้ง 2 รายการนี้ ถือเป็นการทดลองนำร่อง ก่อนจะนำไปใช้ในการเดินทางไปยังดวงจันทร์และดาวอังคารในอนาคต นอกจากนี้ นักบินอวกาศของนาซา จะใช้เครื่องมือชนิดอื่น ๆ ที่ถูกส่งขึ้นไปพร้อมกับยานลำนี้ เพื่อทดลองทางด้านวิทยาศาสตร์อีกหลายอย่างระหว่างออกไปเดินในอวกาศปลายเดือนนี้ ( พ.ย. 2562)
Cr.news.ch7.com/
สตาร์ทอัพอิสราเอลปลูกเนื้อวัวบนอวกาศได้สำเร็จ
เนื้อวัวชั้นเลิศราคากิโลกรัมละหลายหมื่นหรือเนื้อวัวชื่อดังที่ว่าเด็ดก็ยังไม่เท่า “เนื้อวัวจากอวกาศ” แน่นอนว่านี่ไม่ใช่เนื้อวัวเอเลี่ยนจากดาวอังคารแต่อย่างใด แต่เป็นการ “ปลูกเนื้อวัว” ในห้องแล็บบนอวกาศ ที่อิสราเอลทำได้สำเร็จเป็นครั้งแรกของโลก
Aleph Farms สตาร์ทอัพสัญชาติอิสราเอลได้ปลูกเนื้อวัวในห้องแล็บที่อยู่บนสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) ซึ่งอยู่ห่างจากโลกประมาณ 339 กิโลเมตร ทีมนักวิทยาศาตร์นำเซลล์ของวัวขึ้นไปบนอวกาศ และปลูกไว้ในเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อขนาดเล็ก โดยใช้เทคโนโลยีการพิมพ์ชีวภาพ 3 มิติ และอาศัยกระบวนการสร้างเนื้อเยื่อตามธรรมชาติของวัว
จุดประสงค์แรกเริ่มของโครงการคือต้องการให้นักบินที่อาศัยอยู่บนสถานีอวกาศมีอาหารรับประทานได้แบบเดียวกับที่มีบนโลกมนุษย์ แต่ความสำเร็จในครั้งนี้ ถือว่าได้ผลดีเกินคาด ไม่ใช่เพียงด้านการพัฒนาวงการวิทยาศาสตร์และการสำรวจทางอวกาศ แต่ยังให้ผลดีด้านความมั่นคงทางอาหารของมนุษย์ เพราะอุตสาหกรรมอาหารสามารถผลิตเนื้อสัตว์เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ โดยผลิตขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลา ที่สำคัญ ไม่ต้องอาศัยการปศุสัตว์แบบเข้มข้นและไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
อย่างไรก็ตาม ซีอีโอของสตาร์ทอัพดังกล่าวเปิดเผยว่ากระบวนการปลูกเนื้อวัวบนอวกาศติดปัญหาตรงที่ต้องใช้น้ำปริมาณมากกว่าจะได้เนื้อวัว 1 กิโลกรัม คือใช้ประมาณ 10,000 – 15,000 ลิตร ทางทีมนักวิทยาศาสตร์จึงกำลังเร่งพัฒนากระบวนการที่จะสามารถลดปริมาณน้ำมากกว่านี้ และไม่แน่ว่า เราอาจจะได้ลองชิมเนื้อวัวจากอวกาศในอนาคตอันใกล้
Cr.springnews.co.th/
‘ออสการ์’ นวัตกรรมคืนระบบนิเวศให้ชั้นบรรยากาศนอกโลก
ในปี 2562 นี้ มีรายงานการคิดค้น ‘ออสการ์’ ดาวเทียมกำจัดขยะอวกาศ ได้สำเร็จ โดยทีมวิจัยทางด้านวิศวกรรมนำโดย ศาสตราจารย์ เคิร์ท แอนเดอร์สัน อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล อวกาศยาน และนิวเคลียร์ สถาบันเรนส์เซลเลอร์ โพลีเทคนิค ในนครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ที่เปิดเผยถึงโครงการพัฒนานวัตกรรมกำจัดขยะอวกาศชิ้นล่าสุดว่า
“ชื่อของ ออสการ์ มาจากคำย่อของชื่อโครงการในภาษาอังกฤษว่า Obsolete Spacecraft Capture and Removal-OSCaR โดยได้รับการออกแบบมาให้เป็นดาวเทียมขนาดเล็ก หรือ ชนิดที่เรียกกันในวงการว่า ‘ทรียู คิวบ์แซท’ (3U Cubesat) ซึ่งคิดค้นขึ้นมาสำหรับใช้เป็นดาวเทียมเพื่อกำจัดขยะอวกาศในวงโคจรใกล้โลก มีจุดเด่นที่ต้นทุนต่ำ สามารถทำงานได้เองโดยอัตโนมัติ ไม่จำเป็นต้องมีเจ้าหน้าที่ภาคพื้นดินคอยควบคุมบังคับแต่อย่างใด”
“ตัวดาวเทียมจะมีความกว้าง 10 เซนติเมตร และหนา 10 เซนติเมตร พร้อมด้วยศักยภาพเกินตัว ด้วยการติดตั้งอุปกรณ์นำร่อง อุปกรณ์สื่อสาร เครื่องยนต์ จรวดขับเคลื่อน และระบบเทอร์มัล-คอนโทรล รวมไปถึงอุปกรณ์สำคัญ คือ ปืนยิงตาข่าย 4 กระบอก สำหรับใช้ยิงตาข่ายเพื่อดักจับขยะอวกาศให้ได้ 4 ชิ้น และเมื่อปฏิบัติภารกิจดังกล่าวแล้วเสร็จ ออสการ์ก็จะนำตัวเองออกจากวงโคจรพร้อมกับขยะอวกาศ จากนั้นจะถูกทำลายในชั้นบรรยากาศของโลกได้เอง”
Cr.salika.co/
เปิดสถานีอวกาศ ISSให้รองรับนักท่องเที่ยว
(nasa-opens-iss-to-tourists-and-commercial)
องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกาหรือนาซ่าประกาศแก้ไขกฏข้อบังคับให้สถานีอวกาศนานาชาติสามารถรองรับนักท่องเที่ยวอวกาศ โรงแรมอวกาศ รวมไปถึงภารกิจในเชิงพาณิชย์โดยบริษัทเอกชน เพื่อนำรายได้มาใช้บริหารจัดการสถานีอวกาศนานาชาติ ISS และสามารถแบ่งสัดส่วนงบประมาณปกติที่ได้จากรัฐบาลไปใช้ในภารกิจส่งมนุษย์กลับไปดวงจันทร์ในปี 2024
การเปิดสถานีอวกาศนานาชาติ ISS เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวและใช้งานในเชิงพาณิชย์คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 5% ของของทรัพยากรต่าง ๆ ที่ใช้บนสถานีอวกาศนานาชาติ ISS นักท่องเที่ยวอวกาศมีค่าใช้จ่ายพื้นฐาน เช่น อาหาร น้ำ อากาศ ค่ารักษาพยาบาล ห้องน้ำและอื่น ๆ ประมาณ 1,120,000 บาทต่อวัน ค่าอินเทอร์เน็ตส่งข้อมูลกลับโลก 1,562 บาทต่อ 1 กิกะไบต์ ยังไม่รวมค่าเดินทางด้วยจรวดขึ้นสถานีอวกาศนานาชาติอีกหลายร้อยล้านบาท
โดยนาซ่าเปิดให้มีจำนวนเที่ยวบินสำหรับนักท่องเที่ยวอวกาศ 2 ครั้งต่อปีสามารถอาศัยบนสถานีอวกาศสูงสุดได้ 30 วัน คาดว่านักท่องเที่ยวอวกาศจะเดินทางไปยังสถานีอวกาศนานาชาติ ISS ภายในปี ค.ศ. 2020
ยานอวกาศที่สามารถส่งนักท่องเที่ยวขึ้นสู่สถานีอวกาศนานาชาติ
ยาน Crew Dragon จากบริษัท SpaceX
หรือยาน Dragon 2 พัฒนาจากยาน Dragon 1 นี้มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4 เมตร ความสูงประมาณ 8.1 เมตร รองรับนักบินอวกาศได้สูงสุด 7 คน เชื่อมต่อสถานีอวกาศได้นาน 210 วัน เดินทางขึ้นสู่อวกาศโดยใช้จรวด Falcon 9 และ Falcon Heavy ซึ่งเป็นจรวดรุ่นหลักของบริษัท SpaceX ขณะนี้ยาน Dragon 2 อยู่ในระหว่างการทดสอบการขึ้นสู่อวกาศพร้อมนักบินในช่วงปี ค.ศ. 2019
ยาน CST-100 Starliner จากบริษัท Boeing
พัฒนาโดยบริษัท Boeing มีลักษณะเล็กกว่ายาน Crew Dragon เล็กน้อย มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4.5 เมตร ความสูงประมาณ 5 เมตร รองรับนักบินอวกาศได้สูงสุด 7 คน เชื่อมต่อสถานีอวกาศได้นาน 210 วัน เดินทางขึ้นสู่อวกาศโดยใช้จรวด Atlas V ที่พัฒนาโดยบริษัท United Launch Alliance ขณะนี้ยาน CST-100 Starliner อยู่ในระหว่างการทดสอบส่งขึ้นสู่อวกาศพร้อมนักบินในช่วงปี ค.ศ. 2019 เช่นเดียวกับยาน Crew Dragon
ยาน Orion จากบริษัท Lockheed Martin และ Airbus
พัฒนาโดยความร่วมมือระหว่างบริษัท Lockheed Martin และ Airbus มีลักษณะภายนอกเหมือนยาน Apollo ที่เคยนำมนุษย์ไปสำรวจดวงจันทร์ในอดีต มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4.1 เมตร ความสูงประมาณ 5 เมตร รองรับนักบินอวกาศได้สูงสุด 6 คน เดินทางขึ้นสู่อวกาศโดยใช้จรวด SLS นอกจากเชื่อมต่อสถานีอวกาศนานาชาติ ISS ยาน Orion ยังถูกออกแบบให้สามารถปฏิบัติภารกิจส่งมนุษย์ไปดวงจันทร์และดาวอังคารในอนาคต ขณะนี้ยาน Orion อยู่ในระหว่างการทดสอบเพื่อเตรียมส่งขึ้นสู่อวกาศแบบไร้นักบินในช่วงปี ค.ศ. 2020 เพื่อทำภารกิจโคจรรอบดวงจันทร์
ยาน Dream Chaser จากบริษัท Sierra Nevada
จากบริษัท Sierra Naveda มีลักษณะคล้ายกระสวยอวกาศขนาดย่อส่วนแต่มีขีดความสามารถไม่เล็กตามขนาดของตัวยาน รองรับนักบินอวกาศได้สูงสุด 7 คนหลังจากทำภารกิจเสร็จสิ้นตัวยานเดินทางกลับโลกด้วยการร่อนลงจอดบนสถานีบินคล้ายกระสวยอวกาศ ขณะนี้ยาน Dream Chaser อยู่ในระหว่างการพัฒนาและเตรียมทดสอบส่งขึ้นสู่อวกาศแบบไร้นักบินอวกาศเพื่อเชื่อมต่อกับสถานีอวกาศ ISS ในปี ค.ศ. 2020