EP26 ได้คืบเอาศอก (เฉ่กง เว่ยอ๋อง โจโฉ)
เนื้อหายาวไป มีคลิปเสียงเล่าให้ฟังครับ
https://youtu.be/aBMd9CgKedQ
ในตอนที่แล้วเราพูดถึงโจโฉหลังศึกเซ็กเพ็ก ได้เปิดศึกอีกสามครั้ง แต่ก็เป็นการทำศึกเพียงครึ่งๆกลางๆเท่านั้น ไม่มีผลตัดสินแพ้ชนะถึงขั้นเด็ดขาดแต่อย่างใด แล้วเหตุใดการกระทำของโจโฉจึงเป็นเช่นนี้
หากเล่าย้อนกลับไปถึง วิธีการเริ่มต้นสร้างอำนาจของโจโฉ ก็คือการ “เชิดชูฮ่องเต้ บัญชาขุนนาง” ด้วยวิธีการนี้ โจโฉออกคำสั่งของตนเอง โดยอ้างฮ่องเต้บังหน้า ใช้อำนาจรัฐบีบเหล่าขุนนางและขุนศึกต่างๆให้ยอมจำนน ทำให้มีขุนนางเดิมในราชสำนักฮั่นจำนวนมากไม่ได้เข้ามารับใช้โจโฉอย่างจริงใจทั้งหมด และพร้อมที่ต่อต้านโจโฉได้ตลอดเวลา ดังนั้นโจโฉเองนอกจากจะทำศึกภายนอกกับขุนศึกในดินแดนต่างๆ ยังต้องรับมือกับการเมืองภายในของตนเองอีกด้วย เรียกได้ว่า “ศึกนอกก็ยาก ศึกในก็ลำบาก”
อ.อี้จงเทียนอธิบายเพิ่มเติมในตอนนี้ว่า สถานการณ์ของโจโฉ ก่อนศึกเซ็กเพ็กและหลังพ่ายแพ้ที่เซ็กเพ็กนั้น มีความแตกต่างกัน ก็คือ ก่อนเปิดศึกที่เซ็กเพ็กนั้น ในการทำศึกในแต่ละครั้งของโจโฉนั้นได้ชัยมาโดยตลอด และโจโฉก็ยังมีใจคิดฟื้นฟูราชวงศ์ฮั่นอยู่ ยังเป็นจอมคนที่คิดที่จะสยบความวุ่นวาย รวบรวมแผ่นดินให้เป็นหนึ่ง จึงทำให้มีคนออกมาโจมตีและต่อต้านโจโฉไม่มีมากนัก หรือหากมีก็ไม่สามารถที่จะแสดงการต่อต้านได้อย่างชัดเจน
แต่หลังจากพ่ายแพ้ที่เซ็กเพ็กแล้ว ทุกคนก็ได้รู้ว่า “คนอย่างโจโฉนั้นก็พ่ายแพ้เป็น” เช่นกัน จึงเป็นเหตุให้มีการโจมตี ทางการเมืองภายในต่อโจโฉเป็นอย่างมาก และมีผู้ที่กล้าลุกขึ้นมาต่อต้านโจโฉ ดังนั้นในปีเจี้ยนอันศกที่ 15(คศ.210) หลังศึกเซ็กเพ็กสองปี โจโฉออกคำแถลงการณ์ เรียกว่า “คำแถลงแจงเหตุคืนอำเภอ” เพื่อแสดงความภักดี ซึ่ง“คำแถลงแจงเหตุคืนอำเภอ”นี้ ก็คือการคืนส่วยที่ดินจำนวน 3 อำเภอ กับ สองหมื่นครัวเรือนที่ฮ่องเต้ประทานให้มา กลับคืนไปให้กับราชสำนัก
เนื้อหา ก็คือ
“ข้า โจโฉ จริงๆแล้วไม่มีความเห่อหืม ทะยานอยากอะไร เพราะข้ารู้ดีว่า ชาติกำเนิดข้าไม่ดี ข้าไม่ใช่จำพวกสูงส่ง โด่งดังมีชื่อเสียง ดังนั้นความฝันที่ข้ามี ก็คือ เป็นผู้ปกครองเขตซักเขต ดูแลบริหาร ดูแลเขตที่ปกครองอยู่ให้ดี ให้ทุกคนได้รู้ว่า ข้าโจโฉ แม้ว่าชาติกำเนิดไม่ดี แต่ก็ยังมีความสามารถ
ภายหลังประเทศชาติต้องพบกับความวุ่นวาย ข้าคิดว่าในฐานะลูกผู้ชาย ควรตอบแทนบ้านเมือง ตั้งตัวขึ้นมานำทัพออกศึก ในตอนนั้น ข้าก็ไม่ได้ขออะไรมาก ข้าอยากจะเป็นแค่แม่ทัพปราบตะวันตก เมื่อข้าตายไปแล้ว สามารถจารึกไว้ที่ป้ายหลุมศพ เขียนคำพูดซักแถวว่า “สุสานแม่ทัพปราบตะวันตก - โจโฉ” แค่นั้น ข้าก็พอใจเป็นที่สุดแล้ว
แต่ว่าหลังจาก ตั๋งโต๊ะสร้างความวุ่นวายขุนศึกต่างๆ เข้ารบพุ่ง ในตอนนั้น จำต้องก้าวออกมาปกป้องบ้านเมือง ปกป้องราชบัลลังก์ ถึงขนาดเวลานั้น ข้าก็ยังไม่อยากมีทัพใหญ่โต ดังนั้นเมื่อข้ารบชนะแต่ล่ะครั้ง ทัพของข้าใหญ่โตขึ้น ข้าต้องลดทหารลง เพราะเมื่อ กำลังข้ายิ่งมาก ศัตรูก็มากขึ้นเป็นเงาตามตัว พวกนั้นก็อยากจะยกทัพมาตีข้า ข้าก็คงจะรักษาตัวเองไว้ไม่ได้ ดังนั้นเมื่อข้าชนะหนึ่งครั้ง ก็ลดกำลังทหารลงหนึ่งครั้ง แสดงให้เห็นว่า ปณิธานข้ามีขอบเขต แต่ว่าข้าก็คิดไม่ถึง ว่าในวันนี้ ข้าจะมาได้ถึงขนาดนี้ ถึงตอนนี้ ความทะยานอยากของข้ามีมากขึ้นหน่อย ข้าอยากเป็นแค่ ฉีหวนกง จิ้นเหวินกง เพราะบ้านเมืองปั่นป่วน พระยาต่างๆ แย่งยึดพื้นที่ ข้าขอแค่เป็นผู้มีอิทธิพล ไม่คิดเป็นฮ่องเต้
ในตอนนี้ ข้าได้เป็นสมุหนายกแห่งราชวงศ์ฮั่น พูดถึงยศฐาบรรดาศักดิ์ ถึงจุดสูงสุดแล้ว ข้ายินดีพอใจ ไม่คิดหวังอื่นใดแล้ว แต่ว่าข้าจำเป็นต้องนั่งอยู่ในตำแหน่งนี้ต่อไป “หากบ้านเมืองไร้ซึ่งข้า มิรู้กี่คน ตั้งตนเป็นฮ่องเต้ กี่คนเป็นอ๋อง” ไม่ใช่เพราะข้าโจโฉหรอกหรือ อยู่ในตำแหน่งนี้ยันไว้ ซุนกวน เล่าปี่ ไอ้พวกนั้นทั้งหลาย ป่านนี้ตั้งตัวเป็นฮ่องเต้ไปแล้ว คำพูดของข้าพวกนี้ ไม่ใช้แค่พูดให้ ทุกท่านได้ฟัง ข้ายังพูดให้กับลูกเมียของข้าได้ฟังบ่อยๆ ถึงขนาดที่ข้าบอกต่อเมียและบรรดานางบำเรอของข้าว่า เมื่อข้าตายไป พวกเจ้าต้องไปแต่งงานใหม่ เพื่อที่ให้คำพูดของข้า เผยแพร่ออกไป
แต่ตอนนี้มีคนพูดไว้ว่า ข้าโจโฉ ควรจะถอนตัวออกจากตำแหน่งแล้ว ข้าควรกลับไป ใช้ชีวิต บั้นปลาย ในแผ่นดินที่ได้รับตามศักดิ์ได้แล้ว ข้าควรจะถ่ายโอนตำแหน่ง และอำนาจที่ข้ามีได้แล้ว ข้าขออภัย ทำไม่ได้ ตำแหน่งนี้ข้าไม่ขอลง อำนาจข้าไม่โอนให้ เพราะว่า ตอนนี้ข้ามีกำลังทหารอยู่ในมือ ถึงได้มี อำนาจบัญชาการต่างๆ หากข้าถ่ายอำนาจโอนทหารออกไป พวกเจ้าจะไม่ทำร้ายข้ารึ พวกเจ้าย่อมต้องลุกขึ้นมาทำร้ายข้า แล้วลูกเมียข้า ข้าจะปกป้องได้อย่างไร แถมฮ่องเต้ก็จะไม่ปลอดภัย ดังนั้นข้าไม่ถ่ายโอนอำนาจเด็ดขาด สำหรับที่ดินที่ฮ่องเต้พระราชทานให้ นั่นไม่จำเป็นเลย อันนี้ ข้าให้ได้ ข้ายอมยกของภายนอกให้ได้ สิ่งที่เป็นของจริงให้ไม่ได้ อำนาจทางการทหารข้าไม่คืน”
อ.อี้จงเทียน วิจารณ์เรื่องคำแถลงการณ์นี้ของโจโฉว่า เป็นละครที่โจโฉนั้น แต่งเอง กำกับเองและแสดงเองอีกด้วย เพื่อทำให้ตัวเองนั้นดูดี แล้วจึงค่อยเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ทีหลัง ก็คือ แม้ว่าโจโฉนั้น จะคืนที่ดินและส่วย สองหมื่นครัวเรือนให้จริง แต่ตอนหลังก็แต่งตั้งให้ลูกชายของตนเอง สามคนไปดูแลคนละอำเภอเพื่อรักษาฐานอำนาจไว้ โดยทั้งสามคนได้ดูแล ส่วยคนละห้าพันครัวเรือน ดังนั้นแท้จริงแล้ว โจโฉจึงเสียไปแค่ หนึ่งในสี่เท่านั้นเอง และแต่ละอำเภอที่ลูกชายของโจโฉได้ดูแล ล้วนแล้วแต่ต่างก็เป็นชัยภูมิที่สำคัญทั้งนั้น แล้วอย่างนี้โจโฉกำไรหรือขาดทุนกันแน่ นี่คือข้อแรก
ข้อที่สอง หากโจโฉมีใจคิดคืนอำเภอให้จริงๆ เหตุใดจึงใช้ “คำแถลงการณ์” ประกาศต่อผู้ใต้บังคับบัญชา แทนที่จะ “ถวายฎีกา” ต่อฮ่องเต้ ซึ่งสิ่งที่โจโฉทำก็คือ “ไม่ยอมถวายฎีกาต่อเบื้องบน แต่กับใช้คำแถลงการณ์ให้แก่เบื้องล่าง” แสดงให้เห็นว่า นี่เป็นเพียงการสร้างกระบอกเสียง สร้างภาพลักษณ์ให้กับตัวเองเท่านั้น และจุดประสงค์หลักของ “คำแถลงการณ์นี้” ก็คือ ต้องการให้ทุกคนในใต้หล้า นั้นหุบปาก “หมดคำพูด” เลิกวิพากษ์วิจารณ์ตัวเอง
แต่แม้ว่า การแถลงการณ์ครั้งนี้ จะเสแสร้งมีความใน แต่ก็แฝงไปด้วยคำจริงจากปากของโจโฉ ก็คือ การที่โจโฉพูดชัดเจนว่า อำนาจการปกครอง อำนาจทางการทหาร ไม่มีทางคืนให้แน่ คำเหล่านี้ล้วนแล้ว เป็นความจริงที่ปฏิเสธไม่ได้ ดังนั้น “คำแถลงการณ์แจ้งเหตุคืนอำเภอ” ของโจโฉนี้ จึงเรียกได้ว่า “คืนอำเภอ คือเสแสร้ง แต่คำเสแสร้งนั้นกลับพูดจริง แสดงคำจริงแต่โกหก ทั้งจริงทั้งหลอก เดี๋ยวจริงเดี๋ยวเท็จ” และนี่ก็คือความหลักแหลมและเสน่ห์ความเป็นโจโฉ แต่ผลกลับไม่เป็นอย่างที่คิด ยิ่งทำให้มีคนวิพากษ์วิจารณ์ต่ออีกมากมาย และไม่หยุดหย่อน ดังนั้นจึงทำให้โจโฉไม่อาจห่างจากศูนย์กลางของอำนาจไปได้นานนัก ก็ต้องรีบถอยทัพกลับ โดยสงครามสองครั้งแรกใช้เวลาแค่ 7 เดือน และครั้งหลังใช้อีกแค่ หนึ่งปีเท่านั้นเอง
โจโฉออกศึกสามครั้ง ถอยกลับสามครั้ง แม้ว่าความสำเร็จจะมีน้อย แต่ความทะเยอทะยานของโจโฉกลับมีมากขึ้น อ.อี้จงเทียน อธิบายในตอนนี้ว่า ในแต่ละครั้งหลังจากการทำศึกนั้น โจโฉได้เกียรติยศมากเพิ่มขึ้นทุกครั้ง
หลังศึกม้าเฉียวกับหันซุย โจโฉได้รับอนุญาติให้ “พกกระบี่สวมรองเท้าเข้าเฝ้าได้” เหมือนดั่ง “เล่าปัง” ให้เกียรติ “เซียวเหอ”
หลังจากรบกับซุนกวนได้รับแต่งตั้งเป็น “อัครเสนาบดี(เว่ยกง)”
หลังจากปราบเตียวฬ่อได้กลายเป็น “เว่ยอ๋อง” ตำแหน่งจึงเหนือกว่าเหล่าขุนศึกขุนนางต่างๆโดยทั่วไป โดยเดิมที่นั้น “เล่าปัง” ผู้ก่อตั้งราชวงศ์ฮั่นนั้น ได้ตั้งกฎสำคัญไว้ว่า “แซ่ต่างห้ามเป็นอ๋อง” ก็คือตำแหน่งอ๋องนั้น ห้ามคนแซ่อื่นเป็นเด็ดขาด แต่โจโฉกลับเป็นคนแรกที่บุกเบิกแหกกฏนี้
ดังนั้น เจี้ยนอันศกปีที่ 22 เกียรติยศของโจโฉก็ถึงจุดสูงสุด แม้ว่าจะไม่ได้ชื่อว่าเป็นฮ่องเต้ แต่การกระทำก็เป็นเหมือนฮ่องเต้ทุกกระเบียดนิ้ว เมื่อสถานการณ์เป็นเช่นนี้ แล้วทำไมโจโฉจึงไม่ตั้งตัวเป็นฮ่องเต้ ในเชิงอรรถสามก๊ก ของ “เผยซงจือ” ว่าไว้ว่า เจี้ยนอันศกปีที่ 24 ตันกุ๋น หวนแก และแฮหัวตุ้น เป็นตัวแทนขุนนางกลุ่มนึงเสนอให้โจโฉขึ้นเป็นฮ่องเต้ แต่โจโฉกลับปฏิสธ ไม่ยอมรับ และหากย้อนไปเจี้ยนอันศกปีที่ 14 ซุนกวนส่งจดหมายเกลี้ยกล่อมให้โจโฉตั้งตนเองขึ้นเป็นฮ่องเต้ ซึ่งเมื่อโจโฉได้รับจดหมายของซุนกวน ต่างก็ให้เหล่าที่ปรึกษาได้เห็นกันเป็นทั่วหน้า และพูดต่อหน้าทุกคนว่า “ไอ้เด็กน้อยซุนกวน มันริอ่านจะโยนข้าเข้ากองไฟรึ”
อ.อี้จงเทียน แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมว่า เหตุที่โจโฉไม่ยอมขึ้นเป็นฮ่องเต้นั้น มีอยู่ สี่อย่าง ก็คือ
ข้อแรก คือ หากกล่าวถึงมีครั้งความผิดของ จอมอำมหิตทั้งสาม (EP6 ผิดแล้วผิดเล่า) ก็คือ ตั๋งโต๊ะถอดถอน อ้วนเสี้ยวตั้งซ้อนและอ้วนสุดแต่งตั้งตนเอง ซึ่งโจโฉนั้นไม่เห็นด้วยกับการปฎิบัติต่อฮ่องเต้แบบนี้ โดยโจโฉมองกว่า การเปลี่ยนฮ่องเต้ตามใจชอบนั้นเป็นเรื่องอัปมงคล ซึ่งแนวคิดนี้ในตอนนั้น ก็ยังคงอยู่มาจนถึงทุกวันนี้สำหรับโจโฉ
ข้อสอง โจโฉนั้นได้รับความเมตตา ได้รับพระกรุณาธิคุณจากราชวงศ์ฮั่นมาทุกรุ่นหลายชั่วคนในตระกูล ซึ่งความคิดในการแทนคุณชาติก็ยังคงมีอยู่ ก็คงจะทำใจไม่ได้ที่จะลงมือชิงราชสมบัติ
ข้อสาม โจโฉนั้นพูดตลอดมาว่า ตัวเองนั้นอยากจะเป็นเหมือน “ฉีหวนกง” หรือ “จิ้นเหวินกง” ช่วยชาติบ้านเมือง ไม่มีทางชิงราชสมบัติ และก็สาบานหลายต่อหลายครั้ง ดังนั้นจะตบปากตัวเอง คืนคำพูดก็คงกระไรอยู่
ข้อสี่ โจโฉได้คิดคำนวนแล้วว่า การที่จะเป็นฮ่องเต้นั้นคงจะไม่คุ้มแน่ เพราะหากโจโฉตั้งตัวเป็นฮ่องเต้ก่อนแล้ว เล่าปี่กับซุนกวน ก็พร้อมที่จะตั้งตัวเองเป็นฮ่องเต้ตาม และโจโฉก็จะกลายโจรปล้นฮั่น ส่วนเล่าปี่กับซุนกวนก็จะอ้างผู้นำช่วยชาติไป และได้เป็นฮ่องเต้แบบไร้ข้อกังขา แต่หากตอนนี้นั้น โจโฉเป็นเหมือนดั่งผู้นำในราชสำนักใช้คำสั่งฮ่องเต้บังหน้า มีความได้เปรียบทางการเมืองมากกว่าเล่าปี่กับซุนกวน แล้วจะตั้งตัวเป็นฮ่องแต้ไปทำไม
แต่การที่โจโฉไม่ยอมเป็นฮ่องเต้นั้น ไม่ได้หมายความว่าโจโฉจะหยุดเพียงแค่อำนาจที่มีอยู่ไว้เท่านี้ การก้าวเข้าสู่อำนาจสู่สุดในตำแหน่ง “เว่ยอ๋อง” นั้น แสดงให้เห็นถึงความทะเยอทะยานของโจโฉได้เป็นอย่างดี ซึ่งกับการกระทำของโจโฉในครั้งนี้ มีจุดพลิกผันเริ่มต้นก็คือ การแต่งตั้งตัวเองเป็น “เว่ยกง” หากมองแค่ผิวเผิน ก็เป็นเพียงการเลื่อนขั้น เลื่อนตำแหน่งตามปกติ โดยเดิมโจโฉนั้นมีตำแหน่งเป็น พระยา(โหว) และเลื่อนเป็น เสนาบดี(กง)
อ.อี้จงเทียนนั้น ได้อธิบายเพิ่มเติมว่า ที่จริงแล้วทั้งสองตำแหน่งนี้นั้น มีความต่างกัน ก็คือ ตำแหน่ง”โหว”นั้น อย่างมากก็ได้แค่ศักดินา และมีแค่ดินแดนเท่านั้น แต่สำหรับ ตำแหน่ง “กง” นั้น สามารถตั้งก๊กอิสระ เป็นเอกเทศได้ ซึ่งกับคนที่ถวายฎีกาเสนอให้โจโฉเป็น “เว่ยกง” ก็คือ “ตังเจียว(ต่งจาว)” ซึ่งก็อาจจะคาดได้ว่าเป็นคำสั่งของโจโฉ โดยฏีกาฉบับนี้นั้น เสนอให้โจโฉได้รับตำแหน่ง “เว่ยกง” ควบคู่กับตำแหน่ง “สมุหนายก” อีกด้วย แต่เมื่อมีคำสั่งมาถึง โจโฉกลับไม่รับและปฏิเสธการแต่งตั้งครั้งนี้ ถึงสามครั้งจึงจะยอมรับตำแหน่ง
ดังนั้นเมื่อโจโฉได้รับตำแหน่งเป็น “เว่ยกง”แล้ว ก็จะได้เกียรติยศเพิ่มขึ้น ได้ 9 เครื่องราช และสามารถตั้งศาลบรรพชน สร้างหอบูชาก๊กของตนเองเป็นเอกเทศได้ ซึ่งสำหรับสิ่งเหล่านี้ ศักดิ์และสิทธิ์ไม่ต่างจากฮ่องเต้ และก็ถือได้ว่าเป็นการล่วงเกินต่อฮ่องเต้ เป็นเหมือนสัญลักษณ์ที่พร้อมจะแย่งชิงราชสมบัติ จึงทำให้มีผู้ออกมาคัดค้านเป็นจำนวนมาก และคนที่เป็นผู้นำในการคัดค้านเรื่องนี้ก็คือ คนที่โจโฉให้ความเคารพมากที่สุด คนที่คอยติดตาม วางแผนกลยุทธให้กับโจโฉตลอดม
เรื่องเล่าสามก๊ก EP26 ได้คืบเอาศอก (เฉากง เว่ยอ๋อง โจโฉ)
เนื้อหายาวไป มีคลิปเสียงเล่าให้ฟังครับ
https://youtu.be/aBMd9CgKedQ
ในตอนที่แล้วเราพูดถึงโจโฉหลังศึกเซ็กเพ็ก ได้เปิดศึกอีกสามครั้ง แต่ก็เป็นการทำศึกเพียงครึ่งๆกลางๆเท่านั้น ไม่มีผลตัดสินแพ้ชนะถึงขั้นเด็ดขาดแต่อย่างใด แล้วเหตุใดการกระทำของโจโฉจึงเป็นเช่นนี้
หากเล่าย้อนกลับไปถึง วิธีการเริ่มต้นสร้างอำนาจของโจโฉ ก็คือการ “เชิดชูฮ่องเต้ บัญชาขุนนาง” ด้วยวิธีการนี้ โจโฉออกคำสั่งของตนเอง โดยอ้างฮ่องเต้บังหน้า ใช้อำนาจรัฐบีบเหล่าขุนนางและขุนศึกต่างๆให้ยอมจำนน ทำให้มีขุนนางเดิมในราชสำนักฮั่นจำนวนมากไม่ได้เข้ามารับใช้โจโฉอย่างจริงใจทั้งหมด และพร้อมที่ต่อต้านโจโฉได้ตลอดเวลา ดังนั้นโจโฉเองนอกจากจะทำศึกภายนอกกับขุนศึกในดินแดนต่างๆ ยังต้องรับมือกับการเมืองภายในของตนเองอีกด้วย เรียกได้ว่า “ศึกนอกก็ยาก ศึกในก็ลำบาก”
อ.อี้จงเทียนอธิบายเพิ่มเติมในตอนนี้ว่า สถานการณ์ของโจโฉ ก่อนศึกเซ็กเพ็กและหลังพ่ายแพ้ที่เซ็กเพ็กนั้น มีความแตกต่างกัน ก็คือ ก่อนเปิดศึกที่เซ็กเพ็กนั้น ในการทำศึกในแต่ละครั้งของโจโฉนั้นได้ชัยมาโดยตลอด และโจโฉก็ยังมีใจคิดฟื้นฟูราชวงศ์ฮั่นอยู่ ยังเป็นจอมคนที่คิดที่จะสยบความวุ่นวาย รวบรวมแผ่นดินให้เป็นหนึ่ง จึงทำให้มีคนออกมาโจมตีและต่อต้านโจโฉไม่มีมากนัก หรือหากมีก็ไม่สามารถที่จะแสดงการต่อต้านได้อย่างชัดเจน
แต่หลังจากพ่ายแพ้ที่เซ็กเพ็กแล้ว ทุกคนก็ได้รู้ว่า “คนอย่างโจโฉนั้นก็พ่ายแพ้เป็น” เช่นกัน จึงเป็นเหตุให้มีการโจมตี ทางการเมืองภายในต่อโจโฉเป็นอย่างมาก และมีผู้ที่กล้าลุกขึ้นมาต่อต้านโจโฉ ดังนั้นในปีเจี้ยนอันศกที่ 15(คศ.210) หลังศึกเซ็กเพ็กสองปี โจโฉออกคำแถลงการณ์ เรียกว่า “คำแถลงแจงเหตุคืนอำเภอ” เพื่อแสดงความภักดี ซึ่ง“คำแถลงแจงเหตุคืนอำเภอ”นี้ ก็คือการคืนส่วยที่ดินจำนวน 3 อำเภอ กับ สองหมื่นครัวเรือนที่ฮ่องเต้ประทานให้มา กลับคืนไปให้กับราชสำนัก
เนื้อหา ก็คือ
“ข้า โจโฉ จริงๆแล้วไม่มีความเห่อหืม ทะยานอยากอะไร เพราะข้ารู้ดีว่า ชาติกำเนิดข้าไม่ดี ข้าไม่ใช่จำพวกสูงส่ง โด่งดังมีชื่อเสียง ดังนั้นความฝันที่ข้ามี ก็คือ เป็นผู้ปกครองเขตซักเขต ดูแลบริหาร ดูแลเขตที่ปกครองอยู่ให้ดี ให้ทุกคนได้รู้ว่า ข้าโจโฉ แม้ว่าชาติกำเนิดไม่ดี แต่ก็ยังมีความสามารถ
ภายหลังประเทศชาติต้องพบกับความวุ่นวาย ข้าคิดว่าในฐานะลูกผู้ชาย ควรตอบแทนบ้านเมือง ตั้งตัวขึ้นมานำทัพออกศึก ในตอนนั้น ข้าก็ไม่ได้ขออะไรมาก ข้าอยากจะเป็นแค่แม่ทัพปราบตะวันตก เมื่อข้าตายไปแล้ว สามารถจารึกไว้ที่ป้ายหลุมศพ เขียนคำพูดซักแถวว่า “สุสานแม่ทัพปราบตะวันตก - โจโฉ” แค่นั้น ข้าก็พอใจเป็นที่สุดแล้ว
แต่ว่าหลังจาก ตั๋งโต๊ะสร้างความวุ่นวายขุนศึกต่างๆ เข้ารบพุ่ง ในตอนนั้น จำต้องก้าวออกมาปกป้องบ้านเมือง ปกป้องราชบัลลังก์ ถึงขนาดเวลานั้น ข้าก็ยังไม่อยากมีทัพใหญ่โต ดังนั้นเมื่อข้ารบชนะแต่ล่ะครั้ง ทัพของข้าใหญ่โตขึ้น ข้าต้องลดทหารลง เพราะเมื่อ กำลังข้ายิ่งมาก ศัตรูก็มากขึ้นเป็นเงาตามตัว พวกนั้นก็อยากจะยกทัพมาตีข้า ข้าก็คงจะรักษาตัวเองไว้ไม่ได้ ดังนั้นเมื่อข้าชนะหนึ่งครั้ง ก็ลดกำลังทหารลงหนึ่งครั้ง แสดงให้เห็นว่า ปณิธานข้ามีขอบเขต แต่ว่าข้าก็คิดไม่ถึง ว่าในวันนี้ ข้าจะมาได้ถึงขนาดนี้ ถึงตอนนี้ ความทะยานอยากของข้ามีมากขึ้นหน่อย ข้าอยากเป็นแค่ ฉีหวนกง จิ้นเหวินกง เพราะบ้านเมืองปั่นป่วน พระยาต่างๆ แย่งยึดพื้นที่ ข้าขอแค่เป็นผู้มีอิทธิพล ไม่คิดเป็นฮ่องเต้
ในตอนนี้ ข้าได้เป็นสมุหนายกแห่งราชวงศ์ฮั่น พูดถึงยศฐาบรรดาศักดิ์ ถึงจุดสูงสุดแล้ว ข้ายินดีพอใจ ไม่คิดหวังอื่นใดแล้ว แต่ว่าข้าจำเป็นต้องนั่งอยู่ในตำแหน่งนี้ต่อไป “หากบ้านเมืองไร้ซึ่งข้า มิรู้กี่คน ตั้งตนเป็นฮ่องเต้ กี่คนเป็นอ๋อง” ไม่ใช่เพราะข้าโจโฉหรอกหรือ อยู่ในตำแหน่งนี้ยันไว้ ซุนกวน เล่าปี่ ไอ้พวกนั้นทั้งหลาย ป่านนี้ตั้งตัวเป็นฮ่องเต้ไปแล้ว คำพูดของข้าพวกนี้ ไม่ใช้แค่พูดให้ ทุกท่านได้ฟัง ข้ายังพูดให้กับลูกเมียของข้าได้ฟังบ่อยๆ ถึงขนาดที่ข้าบอกต่อเมียและบรรดานางบำเรอของข้าว่า เมื่อข้าตายไป พวกเจ้าต้องไปแต่งงานใหม่ เพื่อที่ให้คำพูดของข้า เผยแพร่ออกไป
แต่ตอนนี้มีคนพูดไว้ว่า ข้าโจโฉ ควรจะถอนตัวออกจากตำแหน่งแล้ว ข้าควรกลับไป ใช้ชีวิต บั้นปลาย ในแผ่นดินที่ได้รับตามศักดิ์ได้แล้ว ข้าควรจะถ่ายโอนตำแหน่ง และอำนาจที่ข้ามีได้แล้ว ข้าขออภัย ทำไม่ได้ ตำแหน่งนี้ข้าไม่ขอลง อำนาจข้าไม่โอนให้ เพราะว่า ตอนนี้ข้ามีกำลังทหารอยู่ในมือ ถึงได้มี อำนาจบัญชาการต่างๆ หากข้าถ่ายอำนาจโอนทหารออกไป พวกเจ้าจะไม่ทำร้ายข้ารึ พวกเจ้าย่อมต้องลุกขึ้นมาทำร้ายข้า แล้วลูกเมียข้า ข้าจะปกป้องได้อย่างไร แถมฮ่องเต้ก็จะไม่ปลอดภัย ดังนั้นข้าไม่ถ่ายโอนอำนาจเด็ดขาด สำหรับที่ดินที่ฮ่องเต้พระราชทานให้ นั่นไม่จำเป็นเลย อันนี้ ข้าให้ได้ ข้ายอมยกของภายนอกให้ได้ สิ่งที่เป็นของจริงให้ไม่ได้ อำนาจทางการทหารข้าไม่คืน”
อ.อี้จงเทียน วิจารณ์เรื่องคำแถลงการณ์นี้ของโจโฉว่า เป็นละครที่โจโฉนั้น แต่งเอง กำกับเองและแสดงเองอีกด้วย เพื่อทำให้ตัวเองนั้นดูดี แล้วจึงค่อยเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ทีหลัง ก็คือ แม้ว่าโจโฉนั้น จะคืนที่ดินและส่วย สองหมื่นครัวเรือนให้จริง แต่ตอนหลังก็แต่งตั้งให้ลูกชายของตนเอง สามคนไปดูแลคนละอำเภอเพื่อรักษาฐานอำนาจไว้ โดยทั้งสามคนได้ดูแล ส่วยคนละห้าพันครัวเรือน ดังนั้นแท้จริงแล้ว โจโฉจึงเสียไปแค่ หนึ่งในสี่เท่านั้นเอง และแต่ละอำเภอที่ลูกชายของโจโฉได้ดูแล ล้วนแล้วแต่ต่างก็เป็นชัยภูมิที่สำคัญทั้งนั้น แล้วอย่างนี้โจโฉกำไรหรือขาดทุนกันแน่ นี่คือข้อแรก
ข้อที่สอง หากโจโฉมีใจคิดคืนอำเภอให้จริงๆ เหตุใดจึงใช้ “คำแถลงการณ์” ประกาศต่อผู้ใต้บังคับบัญชา แทนที่จะ “ถวายฎีกา” ต่อฮ่องเต้ ซึ่งสิ่งที่โจโฉทำก็คือ “ไม่ยอมถวายฎีกาต่อเบื้องบน แต่กับใช้คำแถลงการณ์ให้แก่เบื้องล่าง” แสดงให้เห็นว่า นี่เป็นเพียงการสร้างกระบอกเสียง สร้างภาพลักษณ์ให้กับตัวเองเท่านั้น และจุดประสงค์หลักของ “คำแถลงการณ์นี้” ก็คือ ต้องการให้ทุกคนในใต้หล้า นั้นหุบปาก “หมดคำพูด” เลิกวิพากษ์วิจารณ์ตัวเอง
แต่แม้ว่า การแถลงการณ์ครั้งนี้ จะเสแสร้งมีความใน แต่ก็แฝงไปด้วยคำจริงจากปากของโจโฉ ก็คือ การที่โจโฉพูดชัดเจนว่า อำนาจการปกครอง อำนาจทางการทหาร ไม่มีทางคืนให้แน่ คำเหล่านี้ล้วนแล้ว เป็นความจริงที่ปฏิเสธไม่ได้ ดังนั้น “คำแถลงการณ์แจ้งเหตุคืนอำเภอ” ของโจโฉนี้ จึงเรียกได้ว่า “คืนอำเภอ คือเสแสร้ง แต่คำเสแสร้งนั้นกลับพูดจริง แสดงคำจริงแต่โกหก ทั้งจริงทั้งหลอก เดี๋ยวจริงเดี๋ยวเท็จ” และนี่ก็คือความหลักแหลมและเสน่ห์ความเป็นโจโฉ แต่ผลกลับไม่เป็นอย่างที่คิด ยิ่งทำให้มีคนวิพากษ์วิจารณ์ต่ออีกมากมาย และไม่หยุดหย่อน ดังนั้นจึงทำให้โจโฉไม่อาจห่างจากศูนย์กลางของอำนาจไปได้นานนัก ก็ต้องรีบถอยทัพกลับ โดยสงครามสองครั้งแรกใช้เวลาแค่ 7 เดือน และครั้งหลังใช้อีกแค่ หนึ่งปีเท่านั้นเอง
โจโฉออกศึกสามครั้ง ถอยกลับสามครั้ง แม้ว่าความสำเร็จจะมีน้อย แต่ความทะเยอทะยานของโจโฉกลับมีมากขึ้น อ.อี้จงเทียน อธิบายในตอนนี้ว่า ในแต่ละครั้งหลังจากการทำศึกนั้น โจโฉได้เกียรติยศมากเพิ่มขึ้นทุกครั้ง
หลังศึกม้าเฉียวกับหันซุย โจโฉได้รับอนุญาติให้ “พกกระบี่สวมรองเท้าเข้าเฝ้าได้” เหมือนดั่ง “เล่าปัง” ให้เกียรติ “เซียวเหอ”
หลังจากรบกับซุนกวนได้รับแต่งตั้งเป็น “อัครเสนาบดี(เว่ยกง)”
หลังจากปราบเตียวฬ่อได้กลายเป็น “เว่ยอ๋อง” ตำแหน่งจึงเหนือกว่าเหล่าขุนศึกขุนนางต่างๆโดยทั่วไป โดยเดิมที่นั้น “เล่าปัง” ผู้ก่อตั้งราชวงศ์ฮั่นนั้น ได้ตั้งกฎสำคัญไว้ว่า “แซ่ต่างห้ามเป็นอ๋อง” ก็คือตำแหน่งอ๋องนั้น ห้ามคนแซ่อื่นเป็นเด็ดขาด แต่โจโฉกลับเป็นคนแรกที่บุกเบิกแหกกฏนี้
ดังนั้น เจี้ยนอันศกปีที่ 22 เกียรติยศของโจโฉก็ถึงจุดสูงสุด แม้ว่าจะไม่ได้ชื่อว่าเป็นฮ่องเต้ แต่การกระทำก็เป็นเหมือนฮ่องเต้ทุกกระเบียดนิ้ว เมื่อสถานการณ์เป็นเช่นนี้ แล้วทำไมโจโฉจึงไม่ตั้งตัวเป็นฮ่องเต้ ในเชิงอรรถสามก๊ก ของ “เผยซงจือ” ว่าไว้ว่า เจี้ยนอันศกปีที่ 24 ตันกุ๋น หวนแก และแฮหัวตุ้น เป็นตัวแทนขุนนางกลุ่มนึงเสนอให้โจโฉขึ้นเป็นฮ่องเต้ แต่โจโฉกลับปฏิสธ ไม่ยอมรับ และหากย้อนไปเจี้ยนอันศกปีที่ 14 ซุนกวนส่งจดหมายเกลี้ยกล่อมให้โจโฉตั้งตนเองขึ้นเป็นฮ่องเต้ ซึ่งเมื่อโจโฉได้รับจดหมายของซุนกวน ต่างก็ให้เหล่าที่ปรึกษาได้เห็นกันเป็นทั่วหน้า และพูดต่อหน้าทุกคนว่า “ไอ้เด็กน้อยซุนกวน มันริอ่านจะโยนข้าเข้ากองไฟรึ”
อ.อี้จงเทียน แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมว่า เหตุที่โจโฉไม่ยอมขึ้นเป็นฮ่องเต้นั้น มีอยู่ สี่อย่าง ก็คือ
ข้อแรก คือ หากกล่าวถึงมีครั้งความผิดของ จอมอำมหิตทั้งสาม (EP6 ผิดแล้วผิดเล่า) ก็คือ ตั๋งโต๊ะถอดถอน อ้วนเสี้ยวตั้งซ้อนและอ้วนสุดแต่งตั้งตนเอง ซึ่งโจโฉนั้นไม่เห็นด้วยกับการปฎิบัติต่อฮ่องเต้แบบนี้ โดยโจโฉมองกว่า การเปลี่ยนฮ่องเต้ตามใจชอบนั้นเป็นเรื่องอัปมงคล ซึ่งแนวคิดนี้ในตอนนั้น ก็ยังคงอยู่มาจนถึงทุกวันนี้สำหรับโจโฉ
ข้อสอง โจโฉนั้นได้รับความเมตตา ได้รับพระกรุณาธิคุณจากราชวงศ์ฮั่นมาทุกรุ่นหลายชั่วคนในตระกูล ซึ่งความคิดในการแทนคุณชาติก็ยังคงมีอยู่ ก็คงจะทำใจไม่ได้ที่จะลงมือชิงราชสมบัติ
ข้อสาม โจโฉนั้นพูดตลอดมาว่า ตัวเองนั้นอยากจะเป็นเหมือน “ฉีหวนกง” หรือ “จิ้นเหวินกง” ช่วยชาติบ้านเมือง ไม่มีทางชิงราชสมบัติ และก็สาบานหลายต่อหลายครั้ง ดังนั้นจะตบปากตัวเอง คืนคำพูดก็คงกระไรอยู่
ข้อสี่ โจโฉได้คิดคำนวนแล้วว่า การที่จะเป็นฮ่องเต้นั้นคงจะไม่คุ้มแน่ เพราะหากโจโฉตั้งตัวเป็นฮ่องเต้ก่อนแล้ว เล่าปี่กับซุนกวน ก็พร้อมที่จะตั้งตัวเองเป็นฮ่องเต้ตาม และโจโฉก็จะกลายโจรปล้นฮั่น ส่วนเล่าปี่กับซุนกวนก็จะอ้างผู้นำช่วยชาติไป และได้เป็นฮ่องเต้แบบไร้ข้อกังขา แต่หากตอนนี้นั้น โจโฉเป็นเหมือนดั่งผู้นำในราชสำนักใช้คำสั่งฮ่องเต้บังหน้า มีความได้เปรียบทางการเมืองมากกว่าเล่าปี่กับซุนกวน แล้วจะตั้งตัวเป็นฮ่องแต้ไปทำไม
แต่การที่โจโฉไม่ยอมเป็นฮ่องเต้นั้น ไม่ได้หมายความว่าโจโฉจะหยุดเพียงแค่อำนาจที่มีอยู่ไว้เท่านี้ การก้าวเข้าสู่อำนาจสู่สุดในตำแหน่ง “เว่ยอ๋อง” นั้น แสดงให้เห็นถึงความทะเยอทะยานของโจโฉได้เป็นอย่างดี ซึ่งกับการกระทำของโจโฉในครั้งนี้ มีจุดพลิกผันเริ่มต้นก็คือ การแต่งตั้งตัวเองเป็น “เว่ยกง” หากมองแค่ผิวเผิน ก็เป็นเพียงการเลื่อนขั้น เลื่อนตำแหน่งตามปกติ โดยเดิมโจโฉนั้นมีตำแหน่งเป็น พระยา(โหว) และเลื่อนเป็น เสนาบดี(กง)
อ.อี้จงเทียนนั้น ได้อธิบายเพิ่มเติมว่า ที่จริงแล้วทั้งสองตำแหน่งนี้นั้น มีความต่างกัน ก็คือ ตำแหน่ง”โหว”นั้น อย่างมากก็ได้แค่ศักดินา และมีแค่ดินแดนเท่านั้น แต่สำหรับ ตำแหน่ง “กง” นั้น สามารถตั้งก๊กอิสระ เป็นเอกเทศได้ ซึ่งกับคนที่ถวายฎีกาเสนอให้โจโฉเป็น “เว่ยกง” ก็คือ “ตังเจียว(ต่งจาว)” ซึ่งก็อาจจะคาดได้ว่าเป็นคำสั่งของโจโฉ โดยฏีกาฉบับนี้นั้น เสนอให้โจโฉได้รับตำแหน่ง “เว่ยกง” ควบคู่กับตำแหน่ง “สมุหนายก” อีกด้วย แต่เมื่อมีคำสั่งมาถึง โจโฉกลับไม่รับและปฏิเสธการแต่งตั้งครั้งนี้ ถึงสามครั้งจึงจะยอมรับตำแหน่ง
ดังนั้นเมื่อโจโฉได้รับตำแหน่งเป็น “เว่ยกง”แล้ว ก็จะได้เกียรติยศเพิ่มขึ้น ได้ 9 เครื่องราช และสามารถตั้งศาลบรรพชน สร้างหอบูชาก๊กของตนเองเป็นเอกเทศได้ ซึ่งสำหรับสิ่งเหล่านี้ ศักดิ์และสิทธิ์ไม่ต่างจากฮ่องเต้ และก็ถือได้ว่าเป็นการล่วงเกินต่อฮ่องเต้ เป็นเหมือนสัญลักษณ์ที่พร้อมจะแย่งชิงราชสมบัติ จึงทำให้มีผู้ออกมาคัดค้านเป็นจำนวนมาก และคนที่เป็นผู้นำในการคัดค้านเรื่องนี้ก็คือ คนที่โจโฉให้ความเคารพมากที่สุด คนที่คอยติดตาม วางแผนกลยุทธให้กับโจโฉตลอดม