สร้างเลนส์ประกอบใช้แรงบันดาลใจจากตายุง
(Credit : American Chemical Society)
ความสามารถที่โดดเด่นของแมลงก็คือการบินหลีกหนีอันตรายได้รวดเร็ว เนื่องจากดวงตาของมันมีมุมมองที่กว้างเมื่อเร็วๆนี้มีรายงานวิจัยในวารสารเคมีอเมริกันด้านวัสดุศาสตร์ประยุกต์และการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ว่ามีกลุ่มนักวิจัยได้พัฒนาสร้างเลนส์ประกอบแบบใหม่ โดยได้แรงบันดาลใจมาจากดวงตาของยุง
สัตว์ขาปล้องส่วนใหญ่นั้นดวงตาของมันจะประกอบด้วยเลนส์ขนาดเล็กจำนวนมากจัดเรียงเป็นแนวโค้ง และเลนส์แต่ละชิ้นจะจับภาพเฉพาะทีละภาพ จากนั้นสมองของยุงจะรวมภาพทั้งหมดเพื่อให้ได้ภาพที่มองเห็นได้โดยไม่ต้องเคลื่อนไหวศีรษะหรือดวงตา ซึ่งการสร้างเลนส์จิ๋วหรือไมโครเลนส์ (microlens) แต่ละตัว
นักวิจัยได้พัฒนากระบวนการผลิตของเหลวเพื่อทำหยดน้ำมันที่ล้อมรอบด้วยอนุภาคนาโนของซิลิกา และจัดระเบียบไมโครเลนส์จำนวนมากเหล่านี้ลงในแถวใกล้ๆกับหยดน้ำมันที่มีขนาดใหญ่กว่า เมื่อรวมโครงสร้างด้วยแสงอัลตราไวโอเลต ก็จะได้เลนส์มุมกว้างขนาด 149 องศา ที่ใกล้เคียงกับดวงตาของยุง อนุภาคนาโนของซิลิกาที่เคลือบเลนส์จิ๋วแต่ละชิ้นจะมีคุณสมบัติกันฝ้า ทำให้ประสิทธิภาพการมองดียิ่งขึ้น
การทำงานที่ผสมผสานกันอย่างเรียบง่ายของเลนส์ประกอบในดวงตายุง นับเป็นตัวอย่างอันยอดเยี่ยมที่นักวิจัยจะนำมาสร้างระบบการมองเห็นขนาดเล็ก โดยจะใช้กับการทำงานในยานพาหนะขับเคลื่อนอัตโนมัติ เช่น โดรน หรือหุ่นยนต์เพื่อให้สิ่งประดิษฐ์เหล่านี้มองภาพรอบๆตัวได้ดีและรวดเร็ว.
Cr.thairath.co.th/
"แมลงกุดจี่ยักษ์" ใช้แสงจากดวงดาวนำทางกลับรัง
ทีมนักวิจัยที่มหาวิทยาลัย Lund University ในสวีเดนเปิดเผยว่า ตัวด้วงมูลสัตว์หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า "เเมลงกุดจี่ยักษ์" ใช้เเสงจากดวงดาวต่างๆ ในกาแลคซี่ทางช้างเผือกเป็นตัวช่วยนำทาง
ทีมนักวิจัยในสวีเดนชี้ว่า ตัวด้วงมูลสัตว์ใช้แสงและจุดที่ตั้งของกลุ่มดวงดาวในจักรวาลที่ตัวด้วงจดจำเอาไว้ในสมอง เป็นตัวช่วยนำทางขณะกลิ้งก้อนมูลสัตว์กลับรังของมัน
นักวิจัยบอกว่า สัตว์และแมลงชนิดอื่นๆ หลายชนิดก็ใช้จุดที่ตั้งของกลุ่มดวงดาวช่วยเป็นตัวนำทาง แต่ตัวด้วงมูลสัตว์มีความพิเศษออกไปเพราะเป็นแมลงเพียงชนิดเดียวที่จะจดจำภาพของแสงและที่ตั้งของกลุ่มดวงดาวเอาไว้ในสมอง เพื่อใช้นำทางขณะกลิ้งมูลสัตว์กลับรัง
การศึกษาครั้งนี้จัดทำในแอฟริกาใต้ ในห้องทดลองที่ใช้ท้องฟ้าเทียมในการวิจัย เพื่อช่วยให้นักวิจัยสามารถปรับระดับเเสงและที่ตั้งของ พระอาทิตย์ พระจันทร์ และกลุ่มดวงดาวต่างๆ ได้ตามต้องการ เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมของตัวด้วงในการเปลี่ยนทิศทางการเดินทางของมัน ทุกครั้งที่นักวิจัยปรับจุดที่ตั้งของพระอาทิตย์หรือพระจันทร์เทียม
ทีมนักวิจัยพบว่า ตัวด้วงมูลสัตว์สามารถมองเห็นเเสงบางลักษณะที่คนเรามองไม่เห็น เช่นหากมีกลุ่มเมฆมาบดบังพระอาทิตย์ ด้วงมูลสัตว์จะหลงทางทันที นี่ทำให้ตัวด้วงต้องใช้ข้อมูลของแสงของกลุ่มดวงดาวอื่นๆ มาประกอบด้วยเพื่อใช้ให้มันกลับรังได้ถูกทาง
คุณ el Jundi กล่าวปิดท้ายรายงานของวีโอเอว่า ผลการศึกษาครั้งนี้อาจจะนำไปสู่การพัฒนาระบบนำทางสำหรับรถยนต์แบบไร้คนขับในอนาคตได้
Cr.voathai.com/
สลอธถึงจะช้าแต่ไม่ได้โง่
เราทุกคนรู้ดีว่า”สลอธ”นั้นเชื่องช้า ในฐานะของสัตว์นักปีนต้นไม้ที่ไม่ได้จำศีลผู้มีอัตราการเผาผลาญต่ำที่สุดในโลก สลอธมีถิ่นอาศัยอยู่ในภูมิภาคอเมริกากลางและอเมริกาใต้
แต่รู้หรือไม่ว่าสลอธนั้นเคลื่อนไหวได้รวดเร็วเป็นสามเท่าจากปกติเมื่ออยู่ในน้ำ รายงานจาก Becky Cliffe นักสัตววิทยาและผู้ก่อตั้งมูลนิธิอนุรักษ์สลอธในคอสตาริกา และเมื่ออยู่ในน้ำพวกมันมักจะลอยตุ๊บป่อง “30% ของน้ำหนักตัวมันคือระบบย่อยอาหาร ที่ทำหน้าที่จัดการกับใบไม้ปริมาณมาก” Cliffe กล่าว “นั่นหมายความว่าในตัวของมันจะมีแก๊สที่เกิดจากการหมัก สลอธเปรียบเสมือนลูกบอลเป่าลมที่มีแขนขายื่นออกมาค่ะ”
มันสามารถห้อยโหนกลับหัวอยู่บนกิ่งไม้ได้ทั้งวัน ในทุกวัน หกสายพันธุ์ของสลอธ พวกมันวิวัฒนาการให้มีกรงเล็บยาวที่ใช้แทนตะขอเกี่ยวและเส้นเอ็นที่มีความแข็งแรงอย่างมาก สลอธยังมีเครือข่ายของเส้นเลือดที่ไหลเวียนผ่านแขนของพวกมัน เพื่อช่วยลดความร้อนให้กล้ามเนื้อและช่วยให้การปีนป่ายใช้พลังงานน้อยลง
นอกจากนั้นสลอธยังเป็นสัตว์ที่มีความแข็งแรงอย่างน่าประหลาด แม้ว่ามวลกล้ามเนื้อทั้งหมดจะน้อยกว่า 30% เมื่อเทียบกับสัตว์ที่มีขนาดตัวเท่ากัน แต่กล้ามเนื้อของพวกมันเป็นกล้ามเนื้อแบบ Slow Twitch ซึ่งเหมาะสำหรับการใช้แรงน้อยๆ ในเวลานานๆ เช่นการวิ่งมาราธอนเป็นต้น
"พวกมันคือสัตว์สุดยอดที่สามารถปรับตัวเพื่อเอาชีวิตรอดได้อย่างน่าทึ่ง” เธอกล่าว
และด้วยความที่เป็นสัตว์ที่มีระดับการเผาผลาญพลังงานต่ำมาก ดังนั้นพวกมันจึงต้องนอนรับแสงอุ่นๆ จากดวงอาทิตย์เพื่อช่วยกระตุ้นการเผาผลาญในร่างกาย เช่นเดียวกับสัตว์เลื้อยคลาน ที่ว่าระบบการเผาผลาญของมันต่ำเพียงใด Cliffe เปรียบเทียบให้ฟังว่าอาจต้องใช้เวลาถึง 30 วัน สำหรับกระบรวนการย่อยสลายใบไม้เพียงหนึ่งใบ
Cr.ngthai.com/
‘หมึกยักษ์’ สุดยอด
มันสมองแห่งท้องทะเล
หมึกยักษ์ (Octopuses) และหนวดอันพะรุงพะรังของมัน คืออัจฉริยะแห่งท้องทะเลที่ไม่มีใครเทียบติด มันเป็นสิ่งมีชีวิตสุดพิลึกที่ล้ำหน้ากว่าสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังใดๆ และมีวิวัฒนาการอันยอดเยี่ยม
‘นิวรอน’ หรือ เซลล์ระบบประสาทของหมึก อยู่ในหนวดทั้ง 8 เส้น ทำให้หนวดแต่ละเส้นสามารถตัดสินใจได้เอง โดยปราศจากการประมวลผลของสมอง การเคลื่อนไหวทั้งการแหวกว่ายและการสังหารเหยื่อจึงเป็นอิสระต่อกันอย่างสิ้นเชิง ความน่าอัศจรรย์ของมันสมองหมึก ทำให้เราไม่สามารถเอาแนวคิดสมองของสัตว์มีกระดูกสันหลังไปตีความได้ มันมีทั้งความทรงจำระยะสั้นและความทรงจำระยะยาว ที่สำคัญมันยังสามารถจดจำใบหน้าคุณได้
พวกมันมีพัฒนาการทางสติปัญญาที่ก้าวกระโดด มีสร้างโครงข่ายเซลล์ประสาทที่ซับซ้อน มีเซลล์ประสาทหมึกอยู่ทั่วทั้งร่างกายราว 500 ล้านนิวรอน (มนุษย์มีมากกว่าที่ 1,000 ล้านนิวรอน) ปริมาณนิวรอนอันมหาศาลทำให้มันมีเซลล์ประสาทใกล้เคียงกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (Mammals) หรือใกล้เคียงกับสุนัขเลยทีเดียว
Cr.thematter.co/
‘กินมูล’เพื่อความอยู่รอดของสัตว์
ไบรอัน อามารัล นักบริบาลสัตว์อาวุโส จากสวนสัตว์สมิธโซเนียนแห่งชาติสหรัฐ อธิบายว่า พฤติกรรมการกินมูลในสัตว์ หรือที่เรียกกันว่า คอปโรเฟเชีย เป็นเรื่องค่อนข้างปกติ ที่พบได้ในสัตว์หลายชนิด และช่วยให้สัตว์ได้รับสารอาหารที่ร่างกายย่อยไม่ได้ในตอนแรก
ตัวอย่างสำหรับเรื่องนี้ รวมถึงข้อมูลจากวารสารเดอะ คอร์แนล เวเทอริแนเรียนที่ระบุว่า พฤติกรรมการกินมูลพบได้ในสัตว์ตระกูลกระต่าย สัตว์ฟันแทะ สุนัข บีเวอร์ภูเขา ลูกช้าง ลูกฮิปโปโปเตมัส และสัตว์ตระกูลวานร
ขณะที่ ซินเธีย อัลบาราโด สัตวแพทย์ระดับคลินิก จากแจ็คสัน แลบอราทอรี ในเมืองบาร์ฮาเบอร์ รัฐเมน สหรัฐ ระบุว่า การกินมูลเป็นพฤติกรรมตามธรรมชาติ และมีความสำคัญต่อการกินอาหารของกระต่าย
สัตว์ในตระกูลกระต่าย จะมีกระบวนการหมักอาหารในลำไส้ กล่าวคือ หลังจากที่อาหารผ่านกระเพาะอาหารและลำไส้แล้ว จะตรงเข้าสู่ลำไส้ใหญ่ โดยมีแบคทีเรียเป็นตัวทำให้เกิดกระบวนการหมักขึ้นมา เพื่อสลายพืชผักที่ย่อยยาก ตามปกติแล้ว การดูดซึมสารอาหารจะเกิดขึ้นภายในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กของกระต่าย ก่อนที่จะเกิดกระบวนการย่อยขึ้นมา แต่กระต่ายค้นพบวิธีการข้ามผ่านกระบวนการเหล่านี้ได้โดยการถ่ายออกมาเป็น “มูลพวงองุ่น” ที่มีสารอาหารหลากชนิด เมื่อมันกินมูลเข้าไป มันจะย่อยสารอาหารเหล่านี้เป็นรอบที่ 2
นอกจากกระต่าย ลูกสัตว์อีกจำนวนไม่น้อย รวมถึงช้างและฮิปโป กินมูลของแม่ หรือสมาชิกในฝูง ในช่วงที่เริ่มหย่านมแม่และหันมากินอาหารที่มีลักษณะแข็ง และในสัตว์กินพืชชนิดอื่น ๆ การกินมูลยังช่วยสร้างสารอาหารและแร่ธาตุจำนวนมากอีกด้วย
อัลบาราโดบอกว่า การหาอาหารในป่านั้นหายาก การกินมูลจึงกลายมาเป็นกลไกที่ช่วยให้สัตว์ได้รับประโยชน์จากอาหารสูงสุด โดยการกินและผ่านทางเดินอาหารเป็นครั้งที่ 2 อีกทั้งสัตว์บางชนิดต้องพึ่งพาพฤติกรรมกินมูล เพื่อให้ได้สารอาหารบางชนิดที่จุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหารผลิตขึ้น
นอกจากนี้ สัตว์ที่กินมูลเป็นปกติมักไม่เจ็บป่วย หากมูลที่ย่อยแล้วไม่ได้ประกอบด้วยจุลชีพก่อโรค อย่างไรก็ดี นักวิทยาศาสตร์ยังไม่รู้สาเหตุชัดเจน ที่สุนัข ซึ่งเป็นสัตว์กินเนื้อ กินมูลของตัวเองในบ่งครั้ง แต่สันนิษฐานว่า อาจเป็นเหตุผลในด้านโภชนาการ จากความเบื่อหน่าย หรือแม้กระทั่งเป็นพฤติกรรมเลียนแบบแม่ เนื่องจากแม่สุนัขมักจะกินของเสียที่ลูกสุนัขขับถ่ายออกมา
Cr.komchadluek.net/
กลยุทธ์อันน่าเหลือเชื่อในการเอาตัวรอดจากศัตรูของตัวอ่อนหมึก
เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ยากที่ตัวอ่อนของสัตว์ ซึ่งเป็นส่วนล่างสุดของห่วงโซ่อาหาร จะสามารถหลีกเลี่ยงจากการถูกกินในขณะที่ยังติดอยู่ในไข่ได้ ยกเว้นแต่เจ้าตัวอ่อนของหมึกสายพันธุ์นี้ที่มีทักษะการเอาตัวรอดอันน่าอัศจรรย์
นักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่า ตัวอ่อนของหมึกกระดองลายเสือ หรือ pharaoh cuttlefish (Sepia pharaonis) ขณะที่ยังอยู่ในไข่ จะสามารถมองเห็นและสามารถเปลี่ยนอัตราการหายใจเพื่อหลบหนีจากภัยคุกคามได้ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าพวกมันมีความชาญฉลาดจนสามารถเรียนรู้วิธีการเอาตัวรอดได้ตั้งแต่เป็นเพียงตัวอ่อนเท่านั้น
นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัย Caen Normandy ประเทศฝรั่งเศส และมหาวิทยาลัยแห่งชาติ Tsing Hua ประเทศไต้หวัน ได้ศึกษาจนกระทั่งพบว่าตัวอ่อนไม่เพียงแค่มองเห็นเท่านั้น แต่พวกมันยังสามารถใช้ประสาทสัมผัสเพื่อระบุและตอบสนองต่อภัยคุกคามได้อีกด้วย
Cr.realmetro.com/
กลิ่น "มด" กลิ่นมหัศจรรย์
มดมีกลิ่นพิเศษเฉพาะตัวที่ผลิตขึ้นมาเอง ในทางวิทยาศาสตร์บอกว่ากลิ่นนั้นเป็นสารเคมีของฮอร์โมนชนิดหนึ่งเรียกว่า "ฟีโรโมน" ฟีโรโมนเป็นสารเคมีที่สุดใช้ในการติดต่อสื่อสาร และบอกทางกัน เมื่อมดตัวหนึ่งพบอาหาร มันจะปล่อยกลิ่นออกมาจากปลายท้อง และระหว่างที่เดินกลับรังก็จะใช้ส่วนท้องแตะทางเดินไปตลอดทาง เพื่อแจ้งข่าวให้เพื่อนมดด้วยกันรู้ถึงแหล่งอาหาร เมื่อมดตัวอื่น ๆ ได้กลิ่น ก็จะเดินตามกันเป็นแถวเพื่อกิน และขนอาหารกลับรัง ถ้ายังมีอาหารเหลืออยู่ ในระหว่างขนอาหารกลับ ก็จะปล่อยฟีโรโมนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แต่ถ้าอาหารหมดแล้ว มดก็จะไม่กลับไปที่แหล่งอาหารนั่นอีก
นอกจากนี้ มดยังปล่อยฟีโรโมน เพื่อเตือนภัยกับสมาชิกในกลุ่ม เมื่อได้รับอันตราย มดก็จะปล่อยฟีโรโมนออกมา สมาชิกมดก็จะมาอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม และมีปฏิกิริยาโต้ตอบกับผู้บุกรุกทันที
มดคันไฟสามารถเกาะตัวกันเป็นแพ เมื่อเกิดน้ำท่วมขึ้น มดบางส่วนจะเสียสละตัวเองทำตัวเป็นแพมีชีวิต ให้ มด บางตัวขึ้นไปอยู่ด้านบน เพื่อหนีภัยน้ำท่วม ถึงแม้ตัวเองจะต้องจมน้ำตาย
มดสร้างแพโดยใช้ขากรรไกรและขายึดเกาะกันไว้ "แพมด" มีลักษณะคล้ายแพนเค้ก ฐานล่างของแพประกอบด้วยมดประมาณครึ่งหนึ่งของทั้งรัง ซึ่งพวกมันจะจมอยู่ใต้น้ำและจะเกาะตัวกันอย่างหนาแน่น เพื่อพยุงน้ำหนักของมดตัวอื่นๆที่อยู่ด้านบน บางรังมีประชากรหลายแสนตัว อาจสร้างแพได้ใหญ่กว่าครึ่งเมตร และสามารถลอยบนน้ำอยู่ได้หลายอาทิตย์หรือเป็นเดือน จนกว่าจะเจอแผ่นดินที่สร้างมารถสร้างรังใหม่ได้
แพของมด ปรับเปลี่ยนได้ตามสถาณการณ์ มดทุกตัวสามารถสลับที่กันได้ มดที่อยู่ด้านล่างอาจขึ้นไปด้านบน และมดด้านบนก็สามารถลงไปด้านล่างได้อย่างรวดเร็ว ในกรณีที่สมาชิกสูญหายไปกับกระแสน้ำหรือถูกปลากิน
Cr.scimath.org/
ความสามารถในการอยู่รอดบนโลกของสัตว์
(Credit : American Chemical Society)
ความสามารถที่โดดเด่นของแมลงก็คือการบินหลีกหนีอันตรายได้รวดเร็ว เนื่องจากดวงตาของมันมีมุมมองที่กว้างเมื่อเร็วๆนี้มีรายงานวิจัยในวารสารเคมีอเมริกันด้านวัสดุศาสตร์ประยุกต์และการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ว่ามีกลุ่มนักวิจัยได้พัฒนาสร้างเลนส์ประกอบแบบใหม่ โดยได้แรงบันดาลใจมาจากดวงตาของยุง
สัตว์ขาปล้องส่วนใหญ่นั้นดวงตาของมันจะประกอบด้วยเลนส์ขนาดเล็กจำนวนมากจัดเรียงเป็นแนวโค้ง และเลนส์แต่ละชิ้นจะจับภาพเฉพาะทีละภาพ จากนั้นสมองของยุงจะรวมภาพทั้งหมดเพื่อให้ได้ภาพที่มองเห็นได้โดยไม่ต้องเคลื่อนไหวศีรษะหรือดวงตา ซึ่งการสร้างเลนส์จิ๋วหรือไมโครเลนส์ (microlens) แต่ละตัว
นักวิจัยได้พัฒนากระบวนการผลิตของเหลวเพื่อทำหยดน้ำมันที่ล้อมรอบด้วยอนุภาคนาโนของซิลิกา และจัดระเบียบไมโครเลนส์จำนวนมากเหล่านี้ลงในแถวใกล้ๆกับหยดน้ำมันที่มีขนาดใหญ่กว่า เมื่อรวมโครงสร้างด้วยแสงอัลตราไวโอเลต ก็จะได้เลนส์มุมกว้างขนาด 149 องศา ที่ใกล้เคียงกับดวงตาของยุง อนุภาคนาโนของซิลิกาที่เคลือบเลนส์จิ๋วแต่ละชิ้นจะมีคุณสมบัติกันฝ้า ทำให้ประสิทธิภาพการมองดียิ่งขึ้น
การทำงานที่ผสมผสานกันอย่างเรียบง่ายของเลนส์ประกอบในดวงตายุง นับเป็นตัวอย่างอันยอดเยี่ยมที่นักวิจัยจะนำมาสร้างระบบการมองเห็นขนาดเล็ก โดยจะใช้กับการทำงานในยานพาหนะขับเคลื่อนอัตโนมัติ เช่น โดรน หรือหุ่นยนต์เพื่อให้สิ่งประดิษฐ์เหล่านี้มองภาพรอบๆตัวได้ดีและรวดเร็ว.
Cr.thairath.co.th/
"แมลงกุดจี่ยักษ์" ใช้แสงจากดวงดาวนำทางกลับรัง
ทีมนักวิจัยที่มหาวิทยาลัย Lund University ในสวีเดนเปิดเผยว่า ตัวด้วงมูลสัตว์หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า "เเมลงกุดจี่ยักษ์" ใช้เเสงจากดวงดาวต่างๆ ในกาแลคซี่ทางช้างเผือกเป็นตัวช่วยนำทาง
ทีมนักวิจัยในสวีเดนชี้ว่า ตัวด้วงมูลสัตว์ใช้แสงและจุดที่ตั้งของกลุ่มดวงดาวในจักรวาลที่ตัวด้วงจดจำเอาไว้ในสมอง เป็นตัวช่วยนำทางขณะกลิ้งก้อนมูลสัตว์กลับรังของมัน
นักวิจัยบอกว่า สัตว์และแมลงชนิดอื่นๆ หลายชนิดก็ใช้จุดที่ตั้งของกลุ่มดวงดาวช่วยเป็นตัวนำทาง แต่ตัวด้วงมูลสัตว์มีความพิเศษออกไปเพราะเป็นแมลงเพียงชนิดเดียวที่จะจดจำภาพของแสงและที่ตั้งของกลุ่มดวงดาวเอาไว้ในสมอง เพื่อใช้นำทางขณะกลิ้งมูลสัตว์กลับรัง
การศึกษาครั้งนี้จัดทำในแอฟริกาใต้ ในห้องทดลองที่ใช้ท้องฟ้าเทียมในการวิจัย เพื่อช่วยให้นักวิจัยสามารถปรับระดับเเสงและที่ตั้งของ พระอาทิตย์ พระจันทร์ และกลุ่มดวงดาวต่างๆ ได้ตามต้องการ เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมของตัวด้วงในการเปลี่ยนทิศทางการเดินทางของมัน ทุกครั้งที่นักวิจัยปรับจุดที่ตั้งของพระอาทิตย์หรือพระจันทร์เทียม
ทีมนักวิจัยพบว่า ตัวด้วงมูลสัตว์สามารถมองเห็นเเสงบางลักษณะที่คนเรามองไม่เห็น เช่นหากมีกลุ่มเมฆมาบดบังพระอาทิตย์ ด้วงมูลสัตว์จะหลงทางทันที นี่ทำให้ตัวด้วงต้องใช้ข้อมูลของแสงของกลุ่มดวงดาวอื่นๆ มาประกอบด้วยเพื่อใช้ให้มันกลับรังได้ถูกทาง
คุณ el Jundi กล่าวปิดท้ายรายงานของวีโอเอว่า ผลการศึกษาครั้งนี้อาจจะนำไปสู่การพัฒนาระบบนำทางสำหรับรถยนต์แบบไร้คนขับในอนาคตได้
Cr.voathai.com/
สลอธถึงจะช้าแต่ไม่ได้โง่
เราทุกคนรู้ดีว่า”สลอธ”นั้นเชื่องช้า ในฐานะของสัตว์นักปีนต้นไม้ที่ไม่ได้จำศีลผู้มีอัตราการเผาผลาญต่ำที่สุดในโลก สลอธมีถิ่นอาศัยอยู่ในภูมิภาคอเมริกากลางและอเมริกาใต้
แต่รู้หรือไม่ว่าสลอธนั้นเคลื่อนไหวได้รวดเร็วเป็นสามเท่าจากปกติเมื่ออยู่ในน้ำ รายงานจาก Becky Cliffe นักสัตววิทยาและผู้ก่อตั้งมูลนิธิอนุรักษ์สลอธในคอสตาริกา และเมื่ออยู่ในน้ำพวกมันมักจะลอยตุ๊บป่อง “30% ของน้ำหนักตัวมันคือระบบย่อยอาหาร ที่ทำหน้าที่จัดการกับใบไม้ปริมาณมาก” Cliffe กล่าว “นั่นหมายความว่าในตัวของมันจะมีแก๊สที่เกิดจากการหมัก สลอธเปรียบเสมือนลูกบอลเป่าลมที่มีแขนขายื่นออกมาค่ะ”
มันสามารถห้อยโหนกลับหัวอยู่บนกิ่งไม้ได้ทั้งวัน ในทุกวัน หกสายพันธุ์ของสลอธ พวกมันวิวัฒนาการให้มีกรงเล็บยาวที่ใช้แทนตะขอเกี่ยวและเส้นเอ็นที่มีความแข็งแรงอย่างมาก สลอธยังมีเครือข่ายของเส้นเลือดที่ไหลเวียนผ่านแขนของพวกมัน เพื่อช่วยลดความร้อนให้กล้ามเนื้อและช่วยให้การปีนป่ายใช้พลังงานน้อยลง
นอกจากนั้นสลอธยังเป็นสัตว์ที่มีความแข็งแรงอย่างน่าประหลาด แม้ว่ามวลกล้ามเนื้อทั้งหมดจะน้อยกว่า 30% เมื่อเทียบกับสัตว์ที่มีขนาดตัวเท่ากัน แต่กล้ามเนื้อของพวกมันเป็นกล้ามเนื้อแบบ Slow Twitch ซึ่งเหมาะสำหรับการใช้แรงน้อยๆ ในเวลานานๆ เช่นการวิ่งมาราธอนเป็นต้น
"พวกมันคือสัตว์สุดยอดที่สามารถปรับตัวเพื่อเอาชีวิตรอดได้อย่างน่าทึ่ง” เธอกล่าว
และด้วยความที่เป็นสัตว์ที่มีระดับการเผาผลาญพลังงานต่ำมาก ดังนั้นพวกมันจึงต้องนอนรับแสงอุ่นๆ จากดวงอาทิตย์เพื่อช่วยกระตุ้นการเผาผลาญในร่างกาย เช่นเดียวกับสัตว์เลื้อยคลาน ที่ว่าระบบการเผาผลาญของมันต่ำเพียงใด Cliffe เปรียบเทียบให้ฟังว่าอาจต้องใช้เวลาถึง 30 วัน สำหรับกระบรวนการย่อยสลายใบไม้เพียงหนึ่งใบ
Cr.ngthai.com/
‘หมึกยักษ์’ สุดยอดมันสมองแห่งท้องทะเล
หมึกยักษ์ (Octopuses) และหนวดอันพะรุงพะรังของมัน คืออัจฉริยะแห่งท้องทะเลที่ไม่มีใครเทียบติด มันเป็นสิ่งมีชีวิตสุดพิลึกที่ล้ำหน้ากว่าสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังใดๆ และมีวิวัฒนาการอันยอดเยี่ยม
‘นิวรอน’ หรือ เซลล์ระบบประสาทของหมึก อยู่ในหนวดทั้ง 8 เส้น ทำให้หนวดแต่ละเส้นสามารถตัดสินใจได้เอง โดยปราศจากการประมวลผลของสมอง การเคลื่อนไหวทั้งการแหวกว่ายและการสังหารเหยื่อจึงเป็นอิสระต่อกันอย่างสิ้นเชิง ความน่าอัศจรรย์ของมันสมองหมึก ทำให้เราไม่สามารถเอาแนวคิดสมองของสัตว์มีกระดูกสันหลังไปตีความได้ มันมีทั้งความทรงจำระยะสั้นและความทรงจำระยะยาว ที่สำคัญมันยังสามารถจดจำใบหน้าคุณได้
‘กินมูล’เพื่อความอยู่รอดของสัตว์
ไบรอัน อามารัล นักบริบาลสัตว์อาวุโส จากสวนสัตว์สมิธโซเนียนแห่งชาติสหรัฐ อธิบายว่า พฤติกรรมการกินมูลในสัตว์ หรือที่เรียกกันว่า คอปโรเฟเชีย เป็นเรื่องค่อนข้างปกติ ที่พบได้ในสัตว์หลายชนิด และช่วยให้สัตว์ได้รับสารอาหารที่ร่างกายย่อยไม่ได้ในตอนแรก
ตัวอย่างสำหรับเรื่องนี้ รวมถึงข้อมูลจากวารสารเดอะ คอร์แนล เวเทอริแนเรียนที่ระบุว่า พฤติกรรมการกินมูลพบได้ในสัตว์ตระกูลกระต่าย สัตว์ฟันแทะ สุนัข บีเวอร์ภูเขา ลูกช้าง ลูกฮิปโปโปเตมัส และสัตว์ตระกูลวานร
ขณะที่ ซินเธีย อัลบาราโด สัตวแพทย์ระดับคลินิก จากแจ็คสัน แลบอราทอรี ในเมืองบาร์ฮาเบอร์ รัฐเมน สหรัฐ ระบุว่า การกินมูลเป็นพฤติกรรมตามธรรมชาติ และมีความสำคัญต่อการกินอาหารของกระต่าย
สัตว์ในตระกูลกระต่าย จะมีกระบวนการหมักอาหารในลำไส้ กล่าวคือ หลังจากที่อาหารผ่านกระเพาะอาหารและลำไส้แล้ว จะตรงเข้าสู่ลำไส้ใหญ่ โดยมีแบคทีเรียเป็นตัวทำให้เกิดกระบวนการหมักขึ้นมา เพื่อสลายพืชผักที่ย่อยยาก ตามปกติแล้ว การดูดซึมสารอาหารจะเกิดขึ้นภายในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กของกระต่าย ก่อนที่จะเกิดกระบวนการย่อยขึ้นมา แต่กระต่ายค้นพบวิธีการข้ามผ่านกระบวนการเหล่านี้ได้โดยการถ่ายออกมาเป็น “มูลพวงองุ่น” ที่มีสารอาหารหลากชนิด เมื่อมันกินมูลเข้าไป มันจะย่อยสารอาหารเหล่านี้เป็นรอบที่ 2
นอกจากกระต่าย ลูกสัตว์อีกจำนวนไม่น้อย รวมถึงช้างและฮิปโป กินมูลของแม่ หรือสมาชิกในฝูง ในช่วงที่เริ่มหย่านมแม่และหันมากินอาหารที่มีลักษณะแข็ง และในสัตว์กินพืชชนิดอื่น ๆ การกินมูลยังช่วยสร้างสารอาหารและแร่ธาตุจำนวนมากอีกด้วย
อัลบาราโดบอกว่า การหาอาหารในป่านั้นหายาก การกินมูลจึงกลายมาเป็นกลไกที่ช่วยให้สัตว์ได้รับประโยชน์จากอาหารสูงสุด โดยการกินและผ่านทางเดินอาหารเป็นครั้งที่ 2 อีกทั้งสัตว์บางชนิดต้องพึ่งพาพฤติกรรมกินมูล เพื่อให้ได้สารอาหารบางชนิดที่จุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหารผลิตขึ้น
นอกจากนี้ สัตว์ที่กินมูลเป็นปกติมักไม่เจ็บป่วย หากมูลที่ย่อยแล้วไม่ได้ประกอบด้วยจุลชีพก่อโรค อย่างไรก็ดี นักวิทยาศาสตร์ยังไม่รู้สาเหตุชัดเจน ที่สุนัข ซึ่งเป็นสัตว์กินเนื้อ กินมูลของตัวเองในบ่งครั้ง แต่สันนิษฐานว่า อาจเป็นเหตุผลในด้านโภชนาการ จากความเบื่อหน่าย หรือแม้กระทั่งเป็นพฤติกรรมเลียนแบบแม่ เนื่องจากแม่สุนัขมักจะกินของเสียที่ลูกสุนัขขับถ่ายออกมา
Cr.komchadluek.net/
กลยุทธ์อันน่าเหลือเชื่อในการเอาตัวรอดจากศัตรูของตัวอ่อนหมึก
เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ยากที่ตัวอ่อนของสัตว์ ซึ่งเป็นส่วนล่างสุดของห่วงโซ่อาหาร จะสามารถหลีกเลี่ยงจากการถูกกินในขณะที่ยังติดอยู่ในไข่ได้ ยกเว้นแต่เจ้าตัวอ่อนของหมึกสายพันธุ์นี้ที่มีทักษะการเอาตัวรอดอันน่าอัศจรรย์
นักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่า ตัวอ่อนของหมึกกระดองลายเสือ หรือ pharaoh cuttlefish (Sepia pharaonis) ขณะที่ยังอยู่ในไข่ จะสามารถมองเห็นและสามารถเปลี่ยนอัตราการหายใจเพื่อหลบหนีจากภัยคุกคามได้ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าพวกมันมีความชาญฉลาดจนสามารถเรียนรู้วิธีการเอาตัวรอดได้ตั้งแต่เป็นเพียงตัวอ่อนเท่านั้น
นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัย Caen Normandy ประเทศฝรั่งเศส และมหาวิทยาลัยแห่งชาติ Tsing Hua ประเทศไต้หวัน ได้ศึกษาจนกระทั่งพบว่าตัวอ่อนไม่เพียงแค่มองเห็นเท่านั้น แต่พวกมันยังสามารถใช้ประสาทสัมผัสเพื่อระบุและตอบสนองต่อภัยคุกคามได้อีกด้วย
Cr.realmetro.com/
กลิ่น "มด" กลิ่นมหัศจรรย์
มดมีกลิ่นพิเศษเฉพาะตัวที่ผลิตขึ้นมาเอง ในทางวิทยาศาสตร์บอกว่ากลิ่นนั้นเป็นสารเคมีของฮอร์โมนชนิดหนึ่งเรียกว่า "ฟีโรโมน" ฟีโรโมนเป็นสารเคมีที่สุดใช้ในการติดต่อสื่อสาร และบอกทางกัน เมื่อมดตัวหนึ่งพบอาหาร มันจะปล่อยกลิ่นออกมาจากปลายท้อง และระหว่างที่เดินกลับรังก็จะใช้ส่วนท้องแตะทางเดินไปตลอดทาง เพื่อแจ้งข่าวให้เพื่อนมดด้วยกันรู้ถึงแหล่งอาหาร เมื่อมดตัวอื่น ๆ ได้กลิ่น ก็จะเดินตามกันเป็นแถวเพื่อกิน และขนอาหารกลับรัง ถ้ายังมีอาหารเหลืออยู่ ในระหว่างขนอาหารกลับ ก็จะปล่อยฟีโรโมนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แต่ถ้าอาหารหมดแล้ว มดก็จะไม่กลับไปที่แหล่งอาหารนั่นอีก
นอกจากนี้ มดยังปล่อยฟีโรโมน เพื่อเตือนภัยกับสมาชิกในกลุ่ม เมื่อได้รับอันตราย มดก็จะปล่อยฟีโรโมนออกมา สมาชิกมดก็จะมาอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม และมีปฏิกิริยาโต้ตอบกับผู้บุกรุกทันที
มดคันไฟสามารถเกาะตัวกันเป็นแพ เมื่อเกิดน้ำท่วมขึ้น มดบางส่วนจะเสียสละตัวเองทำตัวเป็นแพมีชีวิต ให้ มด บางตัวขึ้นไปอยู่ด้านบน เพื่อหนีภัยน้ำท่วม ถึงแม้ตัวเองจะต้องจมน้ำตาย
มดสร้างแพโดยใช้ขากรรไกรและขายึดเกาะกันไว้ "แพมด" มีลักษณะคล้ายแพนเค้ก ฐานล่างของแพประกอบด้วยมดประมาณครึ่งหนึ่งของทั้งรัง ซึ่งพวกมันจะจมอยู่ใต้น้ำและจะเกาะตัวกันอย่างหนาแน่น เพื่อพยุงน้ำหนักของมดตัวอื่นๆที่อยู่ด้านบน บางรังมีประชากรหลายแสนตัว อาจสร้างแพได้ใหญ่กว่าครึ่งเมตร และสามารถลอยบนน้ำอยู่ได้หลายอาทิตย์หรือเป็นเดือน จนกว่าจะเจอแผ่นดินที่สร้างมารถสร้างรังใหม่ได้
แพของมด ปรับเปลี่ยนได้ตามสถาณการณ์ มดทุกตัวสามารถสลับที่กันได้ มดที่อยู่ด้านล่างอาจขึ้นไปด้านบน และมดด้านบนก็สามารถลงไปด้านล่างได้อย่างรวดเร็ว ในกรณีที่สมาชิกสูญหายไปกับกระแสน้ำหรือถูกปลากิน
Cr.scimath.org/