ผมเป็นคนหนึ่งที่เติบโตมาจากหลักสูตร ค.บ. ของ มหาวิทยาลัยราชภัฏ (หรือ มรภ.) ซึ่งสมัยนั้นยังเป็นสถาบันและมีการเรียนการสอนทั้งสิ้น 4 ปี (เรียน 3.5 ปี ฝึกสอน 0.5 ปี)
ต่อมาได้มีการปรับปรุงหลักสูตรให้เป็น 5 ปี โดยกำหนดให้มีการเรียน 4 ปี และฝึกสอนจำนวน 1 ปี การปรับปรุงนี้มีพร้อม ๆ กับการเปลี่ยนคำนำหน้าจากสถาบันไปเป็นมหาวิทยาลัย
การปรับปรุงหลักสูตร ค.บ. จากเดิม 4 ปี เป็น 5 ปี ทำให้ นศ. มีหน่วยกิจที่ต้องเรียนเพิ่มขึ้น มีวิชาครูที่เพิ่มมากขึ้น และระยะเวลาในการฝึกสอนนั้นก็เพิ่มขึ้น ซึ่งระยะเวลาที่เพิ่มนี่เองทำให้ผู้ที่เรียนหลักสูตร ค.บ. มีความแตกต่างจากหลักสูตรอื่น ๆ ส่วนใหญ่ที่เรียนเพียง 4 ปี
ถึงจะมองว่าเป็นการเสียเวลาเพิ่มไป 1 ปี แต่หากมีการจัดการที่ดีจะพบว่าได้อะไรมามากกว่าเดิมมาก เช่น การฝึกสอนที่เพิ่มขึ้นหากมีการติดตามอย่างเข้มข้นก็น่าจะทำให้ นศ. ที่จบออกไปมีทักษะของความเป็นครูเป็นอย่างดี เวลาเรียนที่ได้มาเพิ่มขึ้น ก็สามารถเรียนวิชาต่าง ๆ เพิ่มเติมได้อีก 1 ภาคการศึกษา
อย่างไรก็ตาม ในปีการศึกษา 2562 ที่ผ่านมา มรภ. (และ ม.อื่น ๆ ที่มีหลักสูตรครู) เริ่มมีการปรับไปใช้หลักสูตร 4 ปี อีกครั้ง
ซึ่งเมื่อพิจารณาจากโครงสร้างหลักสูตรครู 4 ปี โดยเฉพาะของ มรภ. อันใหม่นี้ จะพบว่า ยังคงให้มีการออกฝึกสอน 1 ปีตามเดิม แต่ลดเวลาเรียนเหลือ 3 ปี และมีการปรับกระบวนการเรียนสอนใหม่ โดยเน้นทักษะของความเป็นครูมากขึ้น ลดจำนวนของวิชาเอกเฉพาะลง เพราะอาจจะคิดว่าการเรียนวิชาเอกที่สูงเกินไปเมื่อจบไปแล้วกลับไม่ได้นำไปใช้ประโยชน์
ก็ยังไม่มีใครรู้ว่าแนวคิดนี้ถูกหรือผิด จนกว่าจะมีนักศึกษาเหล่านี้จบไปและได้มีโอกาสทำงานจริง ๆ
ส่วนตัวผู้เขียนมองว่าไม่ต่างกัน แต่คิดว่าคงไม่เกิดประโยชน์ในการพัฒนาอย่างแน่นอน
เพราะตัวหลักสูตรเป็นเพียงปัจจัยหนึ่ง จากหลายปัจจัยที่สำคัญ ปัจจัยที่สำคัญและยังเป็นปัญหาของหลักสูตรครู มรภ. น่าจะมี 2 เรื่องหลัก ๆ คือ
1. เรื่องของคน
1.1 การคัดเลือก นศ. ที่ไม่ดีพอ ต้องคัดเลือกคนเก่งในวิชาการเอกมาเรียนครู เก่งในที่นี้ไม่ได้หมายความว่าจะต้องเก่งแบบอัฉริยะ แต่อย่างน้อยต้องสามารถคิด วิเคราะห์ ในเนื้อหาวิชาเอกได้ มีมุมมองหรือเจตคติที่ดีต่อวิชาเอกและวิชาชีพของตนเอง พูดง่าย ๆ ว่าต้องเป็นทั้งคนเก่งและคนดี เป็นคนที่เปิดรับสิ่งใหม่ ๆ เข้ามาได้ โดยต้องวิเคราะห์ได้ว่าสิ่งที่เข้ามานั้นดีหรือไม่ดี และสามารถนำไปประยุกต์ได้
1.2 ประสบการณ์และความรู้ของอาจารย์ผู้สอน หรืออาจารย์ของนักศึกษานั่นเอง บ่อยครั้งที่เราจะพบว่า มรภ. ไม่มีระบบการคัดเลือกบุคลากรที่ดีพอ ซึ่งจะเห็นได้จากที่มีอาจารย์บางท่านยังมี IQ, EQ และอื่น ๆ ที่ควรจะมี อยู่ในระดับต่ำ ซึ่งชี้ให้เห็นถึงความผิดพลาดของระบบการคัดเลือกอาจารย์ แต่ที่แย่ไปกว่านั้นคือระบบตรวจสอบที่ยังไม่ชัดเจน จนทำให้ยังมีบุคลากรที่น่าผิดหวังเหล่านี้อยู่ใน มรภ. เรื่อย ๆ
2. เรื่องของการเรียนการสอน
2.1 การเรียนการสอนวิชาครู หรือทักษะความเป็นครูนั้นสำคัญ แต่ที่สำคัญกว่าคือวิชาเอก เพราะตราบใดก็ตามที่ นศ. ครูที่จบไปไม่มีความรู้ในวิชาเอกของตนเองอย่างเพียงพอ ยิ่งนำไปประกอบกับปัญหาในข้อ 1.1 คือเดิมก็ไม่ได้ถนัดหรือชอบในวิชาเอกอยู่แล้ว ในจุดนี้ต่อให้มีทักษะกระบวนการสอนที่ดีอย่างไรก็ไม่สามารถสอนในความถูกต้องของวิชาเอกได้
ในทางกลับกัน หาก นศ. มีความรู้ในวิชาเอกอย่างถ่องแท้ องค์ความรู้นั้นจะอยู่ติดตัวเขาไปอีกหลายร้อยปี ต่างกับทฤษฎีการสอนที่มีการปรับเปลี่ยนตลอดเวลา ซึ่งเมื่อมีการปรับเปลี่ยนหรือเมื่อเกิดปัญหา ผู้ที่มีความรู้ด้านวิชาเอกมากกว่าจะสามารถปรับตัวให้เข้ากับสถาณการณ์ได้ดีกว่าอย่างแน่นอน
2.2 การบูรณาการและจุดเน้นที่ผิดพลาด คล้ายกับข้อ 2.1 ซึ่งจะเห็นได้จากหลาย ๆ หลักสูตร เพิ่มรายวิชาด้านการสอนเข้าไปเยอะมากแต่ลดจำนวนรายวิชาเอก ซึ่งเป็นการเอาความรู้ระดับประถม-มัธยมมาวิเคราะห์โดยเน้นที่ทักษะการสอนเป็นหลัก แต่จะดีกว่าหรือไม่ หากเปลี่ยนเป็นการยึดเอาวิชาเอกเป็นที่ตั้ง แล้วจึงสอดแทรกทักษะการสอนต่าง ๆ เข้าไป
ซึ่งหากพิจารณาอย่างถี่ถ้วนจะพบว่าวิชาเอกเฉพาะทั้งหลายล้วนมีพื้นฐานมาจากระดับประถม-มัธยม หลาย ๆ เรื่องมาบูรณาการและต่อยอด การเรียนวิชาเอกจึงจะทำให้ นศ. ได้มองเห็นภาพในวิชาเฉพาะของตนเองทั้งในมุมลึกและกว้าง มากกว่าที่จะให้เขาได้เรียนเพียงเนื้อหาระดับประถม-มัธยม
ในมุมมองของผู้เขียน มองหลักสูตรครูในปัจจุบันว่ามีลักษณะเหมือนกราฟดังนี้
หลักสูตรปัจจุบัน คือ กราฟที่มีพฤติกรรมแบบ ln x (ในรูปคือ y = ln(x) + 3) คือเรียนแล้วก็ได้ความรู้แต่จะเห็นชัดในกลุ่มที่มีความรู้พื้นฐานน้อย แต่กลุ่มที่มีพื้นฐานดีอยู่แล้วกลับไม่ได้พัฒนามากเท่าที่ควร
หลักสูตรที่ควรจะเป็น คือ กราฟที่มีพฤติกรรมแบบ ex (ในรูปคือ y = ex-3) คือยิ่งเรียนยิ่งได้รับความรู้มาก กลุ่มที่มีพื้นฐานดีอยู่จะได้รับการพัฒนามากไปเรื่อย ๆ ส่วนกลุ่มที่มีความรู้พื้นฐานน้อย เริ่มต้นจะเรียนรู้ได้ช้ามาก แต่หากมีความอดทน/ตั้งใจเรียนรู้ไปเรื่อย ๆ อาจใช้เวลามากกว่าปกติ ก็จะได้ความรู้ที่มากขึ้นได้เช่นกัน
อาจจะมองได้อีกแบบว่าหลักสูตรนี้กำลังจะจำกัดศักยภาพของ นศ. โดยการดึงเขาเข้ามาอยู่ในจุดศูนย์กลาง มากกว่าที่จะพัฒนาให้ก้าวหน้าขึ้นไปอยู่หรือไม่
บทสรุป
จริงอยู่ว่าอะไรที่มันมากไปก็ไม่ดี น้อยไปมันก็ไม่ดี ดังนั้นวิชาเอกหากเรียนมากไปจนเทียบเท่ากับหลักสูตรเฉพาะเลยเช่น วศ.บ. , วท.บ. หรือ ศศ.บ. แต่ไม่เน้นเรื่องการสอนเลยก็คงไม่ใช่เรื่องที่ดี แต่ถ้าเรียนวิชาเอกน้อยจนเกินไป สุดท้ายครูไทยก็จะกลายเป็นคนที่ไม่เก่งหรือพัฒนาไปได้ไม่สุดทางอยู่ในโลกทัศน์ทางวิชาการที่แคบกันต่อไป
หมายเหตุ บทความนี้เป็นเพียงความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้น
หลักสูตร ค.บ. ในมหาวิทยาลัยราชภัฏที่เปลี่ยนไป ?
ต่อมาได้มีการปรับปรุงหลักสูตรให้เป็น 5 ปี โดยกำหนดให้มีการเรียน 4 ปี และฝึกสอนจำนวน 1 ปี การปรับปรุงนี้มีพร้อม ๆ กับการเปลี่ยนคำนำหน้าจากสถาบันไปเป็นมหาวิทยาลัย
การปรับปรุงหลักสูตร ค.บ. จากเดิม 4 ปี เป็น 5 ปี ทำให้ นศ. มีหน่วยกิจที่ต้องเรียนเพิ่มขึ้น มีวิชาครูที่เพิ่มมากขึ้น และระยะเวลาในการฝึกสอนนั้นก็เพิ่มขึ้น ซึ่งระยะเวลาที่เพิ่มนี่เองทำให้ผู้ที่เรียนหลักสูตร ค.บ. มีความแตกต่างจากหลักสูตรอื่น ๆ ส่วนใหญ่ที่เรียนเพียง 4 ปี
ถึงจะมองว่าเป็นการเสียเวลาเพิ่มไป 1 ปี แต่หากมีการจัดการที่ดีจะพบว่าได้อะไรมามากกว่าเดิมมาก เช่น การฝึกสอนที่เพิ่มขึ้นหากมีการติดตามอย่างเข้มข้นก็น่าจะทำให้ นศ. ที่จบออกไปมีทักษะของความเป็นครูเป็นอย่างดี เวลาเรียนที่ได้มาเพิ่มขึ้น ก็สามารถเรียนวิชาต่าง ๆ เพิ่มเติมได้อีก 1 ภาคการศึกษา
อย่างไรก็ตาม ในปีการศึกษา 2562 ที่ผ่านมา มรภ. (และ ม.อื่น ๆ ที่มีหลักสูตรครู) เริ่มมีการปรับไปใช้หลักสูตร 4 ปี อีกครั้ง
ซึ่งเมื่อพิจารณาจากโครงสร้างหลักสูตรครู 4 ปี โดยเฉพาะของ มรภ. อันใหม่นี้ จะพบว่า ยังคงให้มีการออกฝึกสอน 1 ปีตามเดิม แต่ลดเวลาเรียนเหลือ 3 ปี และมีการปรับกระบวนการเรียนสอนใหม่ โดยเน้นทักษะของความเป็นครูมากขึ้น ลดจำนวนของวิชาเอกเฉพาะลง เพราะอาจจะคิดว่าการเรียนวิชาเอกที่สูงเกินไปเมื่อจบไปแล้วกลับไม่ได้นำไปใช้ประโยชน์
เพราะตัวหลักสูตรเป็นเพียงปัจจัยหนึ่ง จากหลายปัจจัยที่สำคัญ ปัจจัยที่สำคัญและยังเป็นปัญหาของหลักสูตรครู มรภ. น่าจะมี 2 เรื่องหลัก ๆ คือ
1. เรื่องของคน
1.1 การคัดเลือก นศ. ที่ไม่ดีพอ ต้องคัดเลือกคนเก่งในวิชาการเอกมาเรียนครู เก่งในที่นี้ไม่ได้หมายความว่าจะต้องเก่งแบบอัฉริยะ แต่อย่างน้อยต้องสามารถคิด วิเคราะห์ ในเนื้อหาวิชาเอกได้ มีมุมมองหรือเจตคติที่ดีต่อวิชาเอกและวิชาชีพของตนเอง พูดง่าย ๆ ว่าต้องเป็นทั้งคนเก่งและคนดี เป็นคนที่เปิดรับสิ่งใหม่ ๆ เข้ามาได้ โดยต้องวิเคราะห์ได้ว่าสิ่งที่เข้ามานั้นดีหรือไม่ดี และสามารถนำไปประยุกต์ได้
1.2 ประสบการณ์และความรู้ของอาจารย์ผู้สอน หรืออาจารย์ของนักศึกษานั่นเอง บ่อยครั้งที่เราจะพบว่า มรภ. ไม่มีระบบการคัดเลือกบุคลากรที่ดีพอ ซึ่งจะเห็นได้จากที่มีอาจารย์บางท่านยังมี IQ, EQ และอื่น ๆ ที่ควรจะมี อยู่ในระดับต่ำ ซึ่งชี้ให้เห็นถึงความผิดพลาดของระบบการคัดเลือกอาจารย์ แต่ที่แย่ไปกว่านั้นคือระบบตรวจสอบที่ยังไม่ชัดเจน จนทำให้ยังมีบุคลากรที่น่าผิดหวังเหล่านี้อยู่ใน มรภ. เรื่อย ๆ
2. เรื่องของการเรียนการสอน
2.1 การเรียนการสอนวิชาครู หรือทักษะความเป็นครูนั้นสำคัญ แต่ที่สำคัญกว่าคือวิชาเอก เพราะตราบใดก็ตามที่ นศ. ครูที่จบไปไม่มีความรู้ในวิชาเอกของตนเองอย่างเพียงพอ ยิ่งนำไปประกอบกับปัญหาในข้อ 1.1 คือเดิมก็ไม่ได้ถนัดหรือชอบในวิชาเอกอยู่แล้ว ในจุดนี้ต่อให้มีทักษะกระบวนการสอนที่ดีอย่างไรก็ไม่สามารถสอนในความถูกต้องของวิชาเอกได้ ในทางกลับกัน หาก นศ. มีความรู้ในวิชาเอกอย่างถ่องแท้ องค์ความรู้นั้นจะอยู่ติดตัวเขาไปอีกหลายร้อยปี ต่างกับทฤษฎีการสอนที่มีการปรับเปลี่ยนตลอดเวลา ซึ่งเมื่อมีการปรับเปลี่ยนหรือเมื่อเกิดปัญหา ผู้ที่มีความรู้ด้านวิชาเอกมากกว่าจะสามารถปรับตัวให้เข้ากับสถาณการณ์ได้ดีกว่าอย่างแน่นอน
2.2 การบูรณาการและจุดเน้นที่ผิดพลาด คล้ายกับข้อ 2.1 ซึ่งจะเห็นได้จากหลาย ๆ หลักสูตร เพิ่มรายวิชาด้านการสอนเข้าไปเยอะมากแต่ลดจำนวนรายวิชาเอก ซึ่งเป็นการเอาความรู้ระดับประถม-มัธยมมาวิเคราะห์โดยเน้นที่ทักษะการสอนเป็นหลัก แต่จะดีกว่าหรือไม่ หากเปลี่ยนเป็นการยึดเอาวิชาเอกเป็นที่ตั้ง แล้วจึงสอดแทรกทักษะการสอนต่าง ๆ เข้าไป ซึ่งหากพิจารณาอย่างถี่ถ้วนจะพบว่าวิชาเอกเฉพาะทั้งหลายล้วนมีพื้นฐานมาจากระดับประถม-มัธยม หลาย ๆ เรื่องมาบูรณาการและต่อยอด การเรียนวิชาเอกจึงจะทำให้ นศ. ได้มองเห็นภาพในวิชาเฉพาะของตนเองทั้งในมุมลึกและกว้าง มากกว่าที่จะให้เขาได้เรียนเพียงเนื้อหาระดับประถม-มัธยม
ในมุมมองของผู้เขียน มองหลักสูตรครูในปัจจุบันว่ามีลักษณะเหมือนกราฟดังนี้
หลักสูตรปัจจุบัน คือ กราฟที่มีพฤติกรรมแบบ ln x (ในรูปคือ y = ln(x) + 3) คือเรียนแล้วก็ได้ความรู้แต่จะเห็นชัดในกลุ่มที่มีความรู้พื้นฐานน้อย แต่กลุ่มที่มีพื้นฐานดีอยู่แล้วกลับไม่ได้พัฒนามากเท่าที่ควร
หลักสูตรที่ควรจะเป็น คือ กราฟที่มีพฤติกรรมแบบ ex (ในรูปคือ y = ex-3) คือยิ่งเรียนยิ่งได้รับความรู้มาก กลุ่มที่มีพื้นฐานดีอยู่จะได้รับการพัฒนามากไปเรื่อย ๆ ส่วนกลุ่มที่มีความรู้พื้นฐานน้อย เริ่มต้นจะเรียนรู้ได้ช้ามาก แต่หากมีความอดทน/ตั้งใจเรียนรู้ไปเรื่อย ๆ อาจใช้เวลามากกว่าปกติ ก็จะได้ความรู้ที่มากขึ้นได้เช่นกัน
อาจจะมองได้อีกแบบว่าหลักสูตรนี้กำลังจะจำกัดศักยภาพของ นศ. โดยการดึงเขาเข้ามาอยู่ในจุดศูนย์กลาง มากกว่าที่จะพัฒนาให้ก้าวหน้าขึ้นไปอยู่หรือไม่
หมายเหตุ บทความนี้เป็นเพียงความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้น