ว่าด้วยเรื่อง "ธรณีสูบ" (การตายของรวี)

       "หลายคนอาจจะสงสัยว่า เรื่องธรณีสูบเกิดขึ้นจริงไหม และคนที่ประพฤติเช่นใดที่ต้องเผชิญยถากรรมแบบนี้
       ซึ่งหากไปย้อนดูสมัยโบราณจะเห็นจุดร่วมสำคัญว่า ผู้นั้นจะต้องทำบาปหนัก จนไม่อาจให้อภัยได้ เพราะให้อภัยให้แล้วแต่ยังก่อกรรมที่หนักขึ้นอีก เป็นผู้มีจิตใจต่ำทราม แม้แต่ธรณียังไม่อาจรับน้ำหนักของบาปกรรมไหว จนต้องสูบลงสู่ห้วงนรกอเวจี ไม่ได้เกิดชั่วกัปชั่วกัลป์
       ซึ่งตามประวัติศาสตร์ของพระพุทธศาสนา มีผู้ที่ถูกธรณีสูบมากถึง 5 ชีวิตเลยทีเดียว (พระเทวทัต, พระเจ้าสุปปพุทธะ, นันทมานพ, นางจิญจมาณวิกา และนันทยักษ์ (ไปอ่านเพิ่มเติมได้ที่ลิงค์ท้ายบทความ)

       อย่างไรก็ตาม นั่นอาจจะเป็นเพียงแค่ตำนานที่ไม่ใครกล้ายืนยัน แต่ถ้าถามว่า โอกาสที่ธรณีสูบจะเกิดขึ้นหรือไม่นั้น ตอบได้เลยว่า 'เป็นไปได้' และ 'เป็นไปแล้ว'
       ดร.พีรนันท์ โตวชิราภรณ์ หัวหน้าแผนกวิเคราะห์ความเสี่ยงภัยพิบัติ องค์กรเตรียมภัยพิบัติแห่งเอเชีย อธิบายว่า ธรณีสูบตามหลักธรณีวิทยา แบ่งได้เป็น 2 แบบ คือการที่พื้นดินยุบลงไป กับการเลื่อนของพื้นดิน

       ซึ่งไม่ว่าจะเป็นแบบไหนก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยและกลไกหลายอย่าง ตรงนั้นอาจจะเคยเกิดแผ่นดินไหวมาก่อน หรือฝนตกหนักมาก ทำให้เกิดช่องว่างลงในชั้นพื้นดิน ตามเนินเขาต่างๆ ก็เช่นกัน โดยเฉพาะที่เป็นดินร่วนหรือดินเหนียว หากมีความชื้นหรือความอิ่มตัวของน้ำมากเกินไปก็มีสิทธิ์เลื่อนตัวได้
       "หลุมพวกนี้ไม่ได้เกิดขึ้นทันที แต่เป็นการสะสมมาเรื่อยๆ เพราะมันไม่ได้เกิดขึ้นตอนแรกที่ชั้นดิน แต่เกิดในจุดที่ลึกกว่านั้น โดยจะมาในรูปของช่องว่างหรือช่องอากาศที่เกิดขึ้นใต้ดิน หรือไม่ก็เกิดจากการไหลเลื่อนของดินทรายที่อยู่ในชั้นใต้ดิน จากจุดหนึ่งไปสู่อีกจุดหนึ่ง และหากเกิดแรงสั่นสะเทือนหรือมีน้ำเข้ามามากๆ แล้วทำให้ชั้นดินรับน้ำหนักไม่ไหว ก็จะเกิดการยุบตัวเป็นหลุมในที่สุด ซึ่งบางประเทศยุบได้เป็นสิบๆ เมตรเลย"

       ตัวอย่างที่โด่งดังสุด ก็คือกรุงกัวเตมาลา ประเทศกัวเตมาลา ที่เกิดธรณีสูบถึง 2 ครั้ง ครั้งแรกในปี 2550 ซึ่งจู่ๆ ก็มีหลุมขนาดยักษ์ถึง 100 เมตร มีผู้เสียชีวิตถึง 3 คน อีกครั้งในปี 2553 คราวนี้ลึก 60 เมตร กว้าง 20 เมตร กลืนกินสี่แยกและตึก 3 ชั้น แถมคร่าชีวิตผู้เคราะห์ร้ายมากถึง 15 ราย
       ส่วนประเทศไทย ยังไม่เคยมีเหตุการณ์ใหญ่ๆ เลยแม้แต่ครั้งเดียว
       อย่างไรก็ตาม โอกาสที่จะรู้ก่อนว่าตรงนี้จะเกิดธรณีสูบหรือไม่นั้น ก็ยากไม่ใช่เล่น เพราะต้องมีการตรวจใต้ชั้นดิน ซึ่งจะทำเฉพาะเวลาสร้างอาคารสูง หรือทำอุโมงค์ใต้ดินเท่านั้น แต่อย่างดีที่เรื่องพวกนี้ไม่ได้เกิดขึ้นง่ายๆ
       "ประเทศที่มีโอกาสเสี่ยงก็คือ ประเทศที่มีแผ่นดินไหวเยอะ อย่างญี่ปุ่น ผมเคยเห็นว่าช่วงแผ่นดินไหว บ้านเขายุบตัวลงไป ในดินเพราะดินมันสูญเสียกำลังจะรับน้ำหนักแล้ว" ดร.พีรนันท์กล่าวทิ้งท้าย"

ข้อมูลและภาพจาก: http://www.kunkroo.com/catalog.php?idp=76


แถม "ว่าด้วยเรื่องการตายของอุทธิ"
...ถ้าลองคิดว่าไฟฟ้าในบ่อนเกิดลัดวงจร แล้วเกิดระเบิดขึ้นมาล่ะ?
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

      
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่