“คุณคิดใช่ไหม...ว่าความเชื่อ และความงมงาย
มันเป็นเรื่องไม่จริง
ถ้าผมบอกว่ามันมีอยู่จริง...และวนเวียนอยู่รอบตัวเรา
คุณจะเชื่อผมไหม?”
อาราธนา
‘ความเชื่อ’ ...สิ่งที่ฝังอยู่ในตัวทุกคน ไม่ว่าจะเป็นวิทยาศาสตร์ที่เชื่อมั่นในสิ่งที่พิสูจนได้ หรือมนุษยนิยมซึ่งเชื่อมั่นในศักยภาพของมนุษย์
ซึ่งความเชื่อก็ไม่ใช่สิ่งที่มีอยู่แค่ในประเทศใดประเทศหนึ่ง หากมันยังปกคลุมไปทั่วทั้งโลกไม่ต่างจากผืนเมฆที่แม้เบาบาง แต่เราก็ย่อมรู้ว่ามันมีอยู่จริง โดยเฉพาะ ‘ความเชื่อเรื่องเหนือธรรมชาติ’ ไม่เพียงมีแต่ในประเทศไทยเท่านั้น เพราะขณะเดียวกัน ความเชื่อเรื่องเหนือธรรมชาติสำหรับประเทศอื่นๆ แล้วก็มีเช่นกัน เพียงแต่บางความเชื่อนั้นผู้นับถือกลับเลือกที่จะซ่อนตัวอยู่แค่ในเงามืด ปลีกวิเวกจากความวุ่นวายและกิเลสของโลกภายนอก
แต่บางความเชื่อก็รุ่งเรืองและแข็งแกร่งจากการศรัทธาของผู้คนที่คอยหล่อเลี้ยงมันจนยิ่งใหญ่ไม่ต่างจากศาสนา
และในครั้งนี้
DHZ: Deva Hellblazer จะขอพาทุกท่านมาร่วมเดินทางไปสำรวจความเชื่อเรื่องเหนือธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกับ
‘ชื่อเรียก และสรรพวิชาต่างๆ ของ ‘จอมขมังเวทย์’ ทั่วมุมโลก’ กันครับ
นมัสการ
แม้ว่าคนทั่วไปจะมองโดยภาพรวมว่าจอมขมังเวทย์นั้นคือกลุ่มแม่มด - หมอผีที่ต่างก็ประสิทธิ์ประสาทศาสตร์อันแสนลึกล้ำเหมือนกัน แต่แท้จริงแล้ว เหล่าจอมขมังเวทย์ทั่วโลกได้ถูกแบ่งออกเป็นสามกลุ่มใหญ่ๆ
และกลุ่มแรกที่ทุกท่านจะได้พบก็คือ...
“เหล่าผู้ร่ายมนตราเหนือจินตนาการ ท่ามกลางกลิ่นอายแห่งความลึกลับอันแสนทรงเสน่ห์”
คำว่า
‘Witch’ ในภาษาอังกฤษนั้นอันที่จริงแล้วใช้ได้ทั้งชายและหญิง เพราะไม่ว่าจะเพศใด ต่างก็ร่ำเรียนในศาสตร์เดียวกัน ส่วนคำว่า
‘แม่มด’ ในภาษาไทยนั้นคือการแผลงมาจากคำว่า
‘มม๊วต’ (อ่านว่า มะ-ม้วด) ในภาษาเขมร โดยหากจะหาคำไทยใดๆ ที่มีรูปแบบและความหมายใกล้เคียงกับมม๊วต ก็คงไม่พ้น
‘แม่หมอ’
โดยศาสตร์แห่งแม่มดนั้นมีรากฐานมาตั้งแต่ยุคกรีกโบราณ เล่าถึงเหล่าหญิงสาวผู้มีความสามารถในการเสกสรรค์สิ่งต่างๆ หรือแม้แต่คำสาปแก่ผู้คน อาทิ ‘เฮคาที’ เทพีแห่งดวงจันทร์ข้างแรม ศาสตร์มืด และมายากล ผู้สถิตอยู่ ณ ทางสามแพร่งและนำพาหญิงสาวที่ตนหมายตามาถ่ายทอดศาสตร์แห่งแม่มด เรียกได้ว่าเป็นมารดาแห่งแม่มดทั้งมวลก็ว่าได้ นอกจากนี้ยังมี ‘ดีโน’ ‘เอนโย’ และ ‘เพมเฟรโด’ สามพี่น้องแม่มดผู้หยั่งรู้อดดีต ปัจจุบัน อนาคต พร้อมกำหนดชะตาชีวิตผู้คนผ่านเส้นด้าย และ ‘เซอร์ซี’ แม่มดแห่งท้องทะเล ธิดาแห่งเฮคาที ผู้ช่ำชองในคำสาปเปลี่ยนคนเป็นสัตว์ ก่อนจะมาถึงตำนานสุดคลาสสิกแห่งเหล่าแม่มดอย่าง ‘เมอร์ลิน’ จากยุคกษัตริย์อาร์เธอร์กับอัศวินโต๊ะกลม
อำนาจของเหล่าแม่มดนั้นถูกเล่าขานออกไปหลากหลายรูปแบบ จากความสามารถในการสร้างสิ่งอัศจรรย์ได้ราวกับเป็นผู้ควบคุมปาฏิหาริย์ จนใครที่ได้เห็นก็อยากจะเรียนรู้และครอบครองไว้ซึ่งพลังของแม่มดไว้บ้าง แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นที่พรั่นพรึง ร้ายที่สุดคือถูกเหยียดว่าเป็นสิ่งต่ำทรามซึ่งซาตานมอบไว้เพื่อล่อลวงให้มนุษย์ตกอยู่ใต้ความลุ่มหลง มัวเมาในอำนาจ โดยเฉพาะในยุคกลางซึ่งเหล่า ‘คนดี’ ใช้มุมมองดังกล่าวเป็นข้ออ้างในการกำจัดผู้ที่ตนรังเกียจ ริษยา หรือมีรูปแบบความคิดแตกต่างจากพรรคพวกของตน
ทว่าแท้จริงแล้วพลังเวทย์ของเหล่าแม่มดนั้นไม่เคยเป็นสิ่งที่ดีหรือเลวอย่างใดอย่างหนึ่งเสมอไป ในทางกลับกันมันเป็นเพียงพลังงานชนิดหนึ่งที่แปรสภาพไปตามเจตนารมณ์ของผู้ใช้ว่าจะถูกใช้ไปในทางไหน ไม่ต่างอะไรจากอาถรรพ์ของไทยซึ่งผันแปรไปในสองทางคือพุทธคุณกับไสยคุณ ขณะเดียวกันเหล่าแม่มดนั้นก็จะถูกแบ่งออกไปอีกเป็นสองสายเช่นกัน
“ธรรมชาติ ทวยเทพ วิญญาณนักบุญ...คือขุมพลังสู่การปกปักษ์รักษาผู้คน”
เมื่อพูดถึงคำว่า
‘แม่มด’ แล้ว การร่ายเวทย์เพื่อสร้างคำสาปให้ผู้คนต้องยำเกรงมักเป็นสิ่งที่ผุดขึ้นมาเป็นอันดับแรกๆ จนมองข้ามวิถีของ
‘แม่มดขาว’ ซึ่งเลือกที่จะผสานพลังชีวิตของตนเข้ากับพลังของทวยเทพผู้สถิตในธรรมชาติอย่างขุนเขา ต้นไม้ ลำธาร หรือแม้กระทั่งวิญญาณของนักบุญ เพื่อแปรเปลี่ยนให้เป็นเวทมนต์ในการรักษาผู้คน และป้องกันอาณาเขตของตนเอง อีกทั้งยังอยู่อาศัยอย่างปลีกวิเวกจากผู้คนเพราะต้องคอยผสานจิตของตนให้เป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติตลอดเวลา
ด้วยความใฝ่ดีและสมถะนี้เองจึงทำให้แม่มดขาวได้รับความเคารพ และถูกอัญเชิญให้เป็นที่ปรึกษาอย่างลับๆ ของบุคคลสำคัญมากมาย ไม่ว่าจะเป็นกษัตริย์ นักปราชญ์ หรือหมอยา ก่อนที่อารยธรรมของแม่มดขาวจะล่มสลายไปพร้อมแม่มดดำเพราะการล่าแม่มดในช่วงยุคกลาง
“ความเจ็บปวด ความเกลียดชัง และความตาย...คือขุมพลังอันไร้เทียมทาน และสร้างความเริงรมย์อย่างหาเปรียบมิได้”
เจ้าของตำนานคำสาปต่างๆ ซึ่งถูกกล่าวขวัญในนิทานและคืนวันฮาโลวีน ผู้เป็นดั่งสื่อกลางสำแดงอำนาจแห่งปิศาจที่หมายครองโลกและนำศรัทธาของมวลมนุษย์ให้ดำดิ่งสู่ความมืดมิด อีกทั้งบางคนยังได้ครอบครองศาสตร์แห่งอายุวัฒนะ มีชีวิตอยู่ยืนยาวนับร้อยปีโดยไม่เสื่อมรูปโฉมอันงดงามเลย
แต่แน่นอนว่าการจะได้มาซึ่งฤทธานุภาพอันทรงพลัง ย่อมต้องแลกมาด้วยค่าตอบแทนมหาศาล เช่นการไม่สามารถมีทายาทไว้สืบสกุลได้ เพราะร่างกายและวิญญาณส่วนหนึ่งได้ตกไปเป็นของปิศาจที่ตนประกอบพิธีบูชาไปเสียแล้ว ทว่าอย่างไรก็ตาม แม่มดดำย่อมมีวิธีการขยายประชากรของตน
เพราะหากไม่ได้ด้วยการสืบทายาท ก็ย่อมได้โดยการสานต่อแนวคิด
ในขณะที่แม่มดขาวเลือกที่จะปลีกวิเวกจากสังคมมนุษย์ แม่มดดำกลับเลือกที่จะแฝงตัว แสดงอิทธิฤทธิ์เล็กน้อยเพื่อให้มนุษย์สักคนเกิดความหลงใหล ก่อนจะล่อลวงมาเผยแพร่วิชา และแนวคิดแห่งแม่มด ซึ่งกว่าเหยื่อจะรู้ตัว ก็ถลำลึกสู่ความลุ่มหลงอันแสนมืดมัวไปเสียแล้ว ในทางกลับกัน การแฝงตัวอยู่ร่วมกับสังคมมนุษย์ก็ทำให้แม่มดดำได้เรียนรู้ถึงแนวคิด และเทคโนโลยีอันร่วมสมัย เพื่อปรับปรุงทักษะการโน้มน้าวจิตใจไปตามกาลเวลาที่ผันแปร
ดังนั้น... แม้ว่าวิถีในส่วนที่เป็นรูปธรรมของกลุ่มแม่มดจะล่มสลายตั้งแต่ยุคกลาง ทว่าแนวคิดหรือสิ่งอันเป็นนามธรรมนั้นสามารถส่งต่อกันได้ เหล่าแม่มดทั้งดำและขาวจึงยังมีโอกาสได้สานต่อศาสตร์อันแสนลึกลับที่มีเสน่ห์นี้จวบจนมาถึงยุคปัจจุบัน ท่ามกลางสังคมของมนุษย์ที่เต็มไปด้วยกิเลส หวังสนองความปรารถนาในทางลัด
แต่หากจะพูดถึงกลุ่มจอมขมังเวทย์ที่มีผู้ศรัทธาอย่างแรงกล้าจำนวนมากมายมหาศาลจนรุ่งโรจน์โดยมิต้องอาศัยอยู่เพียงแค่ในเงามืดแล้ว เราคงต้องเดินทางลงไปยังทวีปหนึ่งซึ่งอยู่ใจกลางระหว่างอเมริกา ยุโรป และเอเชีย
แอฟริกา...ดินแดนอันเป็นที่สถิตของความเชื่อหนึ่งที่เจริญงอกงาม และแข็งแกร่งจนกลายเป็นวัฒนธรรมประจำฝั่งตะวันตกของทวีป
และจอมขมังเวทย์ในกลุ่มที่สองที่ทุกท่านจะได้พบก็คือ...
“ศพคืนชีพ...ตุ๊กตาคำสาป...การเปลี่ยนเลือดเนื้อของศัตรูให้กลายเป็นขุมพลัง
นี่คือกลุ่มจอมขมังเวทย์ที่บิดเบือนได้แม้วัฏจักรแห่งกรรม”
‘วูดู’ นั้นมีถิ่นกำเนิดมาจากแอฟริกา อีกทั้งยังเป็นความเชื่อที่มีอิทธิพลต่อชีวิตประจำวันทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นประเพณี กิจวัตรประจำวัน หรือแม้แต่ศิลปะ โดยจอมขมังเวทย์ในกลุ่มนี้เรียกได้โดยง่ายว่า
‘หมอผีวูดู’
หลักการร่ายเวทย์ของวูดูนั้นจะเป็นการอัญเชิญพลังจากธรรมชาติมาดลบันดาลให้เกิดสิ่งต่างๆ...แม้จะดูคล้ายแม่มด แต่กลไกในการเสกสรรค์สิ่งต่างๆ ให้เกิดขึ้นนั้นต่างกัน เพราะในขณะที่แม่มดนั้นใช้พลังชีวิตของตนเองเป็นหลัก โดยมีพลังจากทวยเทพ วิญญาณ หรือธรรมชาติคอยสนับสนุน วูดูนั้นใช้พลังจากธรรมชาติและทวยเทพเป็นหลัก ส่วนพิธีกรรมต่างๆ ที่ตนได้ประกอบขึ้นเป็นเพียงสื่อกลางในการนำพลังจากภพหนึ่งข้ามมาสู่อีกภพหนึ่งเท่านั้น
ทว่าผลลัพธ์จากอาถรรพ์ของวูดูบางครั้งกลับทรงพลังกว่าของแม่มดมากนัก โดยเฉพาะพิธีกรรมหนึ่งที่ถูกกล่าวขวัญไปทั่วโลก...
‘ซอมบี้’
โดยคำว่า
‘ซอมบี้’ นั้นมีความหมายว่า
‘วิญญาณ’ หรือ
‘ดวงจิต’ จากความเชื่อของวูดูที่ว่านอกจากกายหยาบแล้ว มนุษย์นั้นมีกายละเอียดอีกสองภาค หนึ่งคือลมหายใจและเงา สองคือวิญญาณหรือดวงจิตที่จะวนเวียนอยู่ใกล้ร่างของผู้ล่วงลับเป็นเวลาเจ็ดวันก่อนคืนเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ และภายในเจ็ดวันนี้เองคือเวลาที่หมอผีวูดูจะต้อง
“จับซอมบี้กลับเข้าร่างให้ได้” แล้วทำการปลุกให้คืนชีพจากความตายเพื่อนำมาสร้างผีดิบ หรือศพเดินดินอันเป็นบริวารของตนต่อไป ซึ่งผีดิบของวูดูนั้นถือว่าขึ้นชื่อในเรื่องน้ำอดน้ำทนมาก เพราะหลังจากทำหน้าที่บริวารอย่างการเป็นลูกมือทางการเกษตร หรือเฝ้าบ้านเฝ้าเรือนแทนสัตว์เลี้ยงแล้ว ผีดิบไม่จำเป็นต้องกินหรือนอน แต่ผีดิบของวูดูก็สามารถคืนสู่ความตายได้อยู่ดีหากถูกเกลือสาดใส่
อีกหนึ่งในสิ่งที่ถูกกล่าวขวัญของวูดูนั้นก็คือ
‘ตุ๊กตาตัวแทน’ ตุ๊กตาซึ่งถักทอจากฟางหรือดินปั้น โดยใช้เลือด เล็บ หรือเส้นผม อย่างใดอย่างหนึ่งของเหยื่อมามัดกับตุ๊กตาไว้ด้วยเส้นด้าย ก่อนจะบริกรรมคาถากำกับแล้วใช้เข็มแทง หรือตอกตะปูลงไปบนตัวตุ๊กตา...
ยิ่งมีจิตอาฆาตมากเท่าไร ผลลัพธ์ก็จะยิ่งร้ายแรงมากขึ้นเท่านั้น
แต่แท้จริงแล้ว วูดูยังมีอีกหนึ่งสายย่อยออกมานั่นก็คือ
‘ฮูดู’ ซึ่งดูภายนอกก็จะคล้ายกับวูดูเสียส่วนใหญ่ ทว่าศาสตร์ของฮูดูนั้นจะเน้นการรักษา หรือเสริมสร้างโชคลาภ ในขณะที่วูดูนั้นจะเป็นการสาปแช่งหรือพิฆาตศัตรู ซึ่งจอมขมังเวทย์ในกลุ่มวูดูบางคนก็สามารถใช้ศาสตร์ได้ทั้งสองสาย ขึ้นอยู่กับเจตนารมณ์ว่าต้องการจะสร้างสรรค์หรือทำลาย
ความเชื่อเกี่ยวกับวูดูนั้นนอกจากจะแข็งแกร่งในแอฟริกาแล้ว ยังแพร่หลายมากขึ้นอีกเมื่อปีคริสตศักราช 1500 เป็นต้นมา เมื่อชาวแอฟริกันจำนวนมากถูกชนชาติจากประเทศมหาอำนาจจับไปเป็นทาส ทำงานรับใช้ และถูกซื้อขายกันไม่ต่างจากสัตว์เลี้ยง จนกระทั่งถูกปลดแอกในสมัยของประธานาธิบดี อับราฮัม ลินคอล์น ชาวแอฟริกันที่ถูกจับมาบางส่วนจึงแปรเปลี่ยนไปเป็น ‘ชาวอเมริกันผิวสี’ ก่อนจะตั้งรกรากใหม่ในเมืองนิวออร์ลีนส์...โดยที่ไม่ลืมศาสตร์แห่งวูดู
ชื่อเรียก..และสรรพวิชาต่างๆ ของ 'จอมขมังเวทย์' ทั่วมุมโลก | DEVA HELLBLAZER
อาราธนา
‘ความเชื่อ’ ...สิ่งที่ฝังอยู่ในตัวทุกคน ไม่ว่าจะเป็นวิทยาศาสตร์ที่เชื่อมั่นในสิ่งที่พิสูจนได้ หรือมนุษยนิยมซึ่งเชื่อมั่นในศักยภาพของมนุษย์
ซึ่งความเชื่อก็ไม่ใช่สิ่งที่มีอยู่แค่ในประเทศใดประเทศหนึ่ง หากมันยังปกคลุมไปทั่วทั้งโลกไม่ต่างจากผืนเมฆที่แม้เบาบาง แต่เราก็ย่อมรู้ว่ามันมีอยู่จริง โดยเฉพาะ ‘ความเชื่อเรื่องเหนือธรรมชาติ’ ไม่เพียงมีแต่ในประเทศไทยเท่านั้น เพราะขณะเดียวกัน ความเชื่อเรื่องเหนือธรรมชาติสำหรับประเทศอื่นๆ แล้วก็มีเช่นกัน เพียงแต่บางความเชื่อนั้นผู้นับถือกลับเลือกที่จะซ่อนตัวอยู่แค่ในเงามืด ปลีกวิเวกจากความวุ่นวายและกิเลสของโลกภายนอก
แต่บางความเชื่อก็รุ่งเรืองและแข็งแกร่งจากการศรัทธาของผู้คนที่คอยหล่อเลี้ยงมันจนยิ่งใหญ่ไม่ต่างจากศาสนา
และในครั้งนี้ DHZ: Deva Hellblazer จะขอพาทุกท่านมาร่วมเดินทางไปสำรวจความเชื่อเรื่องเหนือธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกับ ‘ชื่อเรียก และสรรพวิชาต่างๆ ของ ‘จอมขมังเวทย์’ ทั่วมุมโลก’ กันครับ
นมัสการ
แม้ว่าคนทั่วไปจะมองโดยภาพรวมว่าจอมขมังเวทย์นั้นคือกลุ่มแม่มด - หมอผีที่ต่างก็ประสิทธิ์ประสาทศาสตร์อันแสนลึกล้ำเหมือนกัน แต่แท้จริงแล้ว เหล่าจอมขมังเวทย์ทั่วโลกได้ถูกแบ่งออกเป็นสามกลุ่มใหญ่ๆ
และกลุ่มแรกที่ทุกท่านจะได้พบก็คือ...
โดยศาสตร์แห่งแม่มดนั้นมีรากฐานมาตั้งแต่ยุคกรีกโบราณ เล่าถึงเหล่าหญิงสาวผู้มีความสามารถในการเสกสรรค์สิ่งต่างๆ หรือแม้แต่คำสาปแก่ผู้คน อาทิ ‘เฮคาที’ เทพีแห่งดวงจันทร์ข้างแรม ศาสตร์มืด และมายากล ผู้สถิตอยู่ ณ ทางสามแพร่งและนำพาหญิงสาวที่ตนหมายตามาถ่ายทอดศาสตร์แห่งแม่มด เรียกได้ว่าเป็นมารดาแห่งแม่มดทั้งมวลก็ว่าได้ นอกจากนี้ยังมี ‘ดีโน’ ‘เอนโย’ และ ‘เพมเฟรโด’ สามพี่น้องแม่มดผู้หยั่งรู้อดดีต ปัจจุบัน อนาคต พร้อมกำหนดชะตาชีวิตผู้คนผ่านเส้นด้าย และ ‘เซอร์ซี’ แม่มดแห่งท้องทะเล ธิดาแห่งเฮคาที ผู้ช่ำชองในคำสาปเปลี่ยนคนเป็นสัตว์ ก่อนจะมาถึงตำนานสุดคลาสสิกแห่งเหล่าแม่มดอย่าง ‘เมอร์ลิน’ จากยุคกษัตริย์อาร์เธอร์กับอัศวินโต๊ะกลม
อำนาจของเหล่าแม่มดนั้นถูกเล่าขานออกไปหลากหลายรูปแบบ จากความสามารถในการสร้างสิ่งอัศจรรย์ได้ราวกับเป็นผู้ควบคุมปาฏิหาริย์ จนใครที่ได้เห็นก็อยากจะเรียนรู้และครอบครองไว้ซึ่งพลังของแม่มดไว้บ้าง แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นที่พรั่นพรึง ร้ายที่สุดคือถูกเหยียดว่าเป็นสิ่งต่ำทรามซึ่งซาตานมอบไว้เพื่อล่อลวงให้มนุษย์ตกอยู่ใต้ความลุ่มหลง มัวเมาในอำนาจ โดยเฉพาะในยุคกลางซึ่งเหล่า ‘คนดี’ ใช้มุมมองดังกล่าวเป็นข้ออ้างในการกำจัดผู้ที่ตนรังเกียจ ริษยา หรือมีรูปแบบความคิดแตกต่างจากพรรคพวกของตน
ทว่าแท้จริงแล้วพลังเวทย์ของเหล่าแม่มดนั้นไม่เคยเป็นสิ่งที่ดีหรือเลวอย่างใดอย่างหนึ่งเสมอไป ในทางกลับกันมันเป็นเพียงพลังงานชนิดหนึ่งที่แปรสภาพไปตามเจตนารมณ์ของผู้ใช้ว่าจะถูกใช้ไปในทางไหน ไม่ต่างอะไรจากอาถรรพ์ของไทยซึ่งผันแปรไปในสองทางคือพุทธคุณกับไสยคุณ ขณะเดียวกันเหล่าแม่มดนั้นก็จะถูกแบ่งออกไปอีกเป็นสองสายเช่นกัน
ด้วยความใฝ่ดีและสมถะนี้เองจึงทำให้แม่มดขาวได้รับความเคารพ และถูกอัญเชิญให้เป็นที่ปรึกษาอย่างลับๆ ของบุคคลสำคัญมากมาย ไม่ว่าจะเป็นกษัตริย์ นักปราชญ์ หรือหมอยา ก่อนที่อารยธรรมของแม่มดขาวจะล่มสลายไปพร้อมแม่มดดำเพราะการล่าแม่มดในช่วงยุคกลาง
แต่แน่นอนว่าการจะได้มาซึ่งฤทธานุภาพอันทรงพลัง ย่อมต้องแลกมาด้วยค่าตอบแทนมหาศาล เช่นการไม่สามารถมีทายาทไว้สืบสกุลได้ เพราะร่างกายและวิญญาณส่วนหนึ่งได้ตกไปเป็นของปิศาจที่ตนประกอบพิธีบูชาไปเสียแล้ว ทว่าอย่างไรก็ตาม แม่มดดำย่อมมีวิธีการขยายประชากรของตน
เพราะหากไม่ได้ด้วยการสืบทายาท ก็ย่อมได้โดยการสานต่อแนวคิด
ในขณะที่แม่มดขาวเลือกที่จะปลีกวิเวกจากสังคมมนุษย์ แม่มดดำกลับเลือกที่จะแฝงตัว แสดงอิทธิฤทธิ์เล็กน้อยเพื่อให้มนุษย์สักคนเกิดความหลงใหล ก่อนจะล่อลวงมาเผยแพร่วิชา และแนวคิดแห่งแม่มด ซึ่งกว่าเหยื่อจะรู้ตัว ก็ถลำลึกสู่ความลุ่มหลงอันแสนมืดมัวไปเสียแล้ว ในทางกลับกัน การแฝงตัวอยู่ร่วมกับสังคมมนุษย์ก็ทำให้แม่มดดำได้เรียนรู้ถึงแนวคิด และเทคโนโลยีอันร่วมสมัย เพื่อปรับปรุงทักษะการโน้มน้าวจิตใจไปตามกาลเวลาที่ผันแปร
ดังนั้น... แม้ว่าวิถีในส่วนที่เป็นรูปธรรมของกลุ่มแม่มดจะล่มสลายตั้งแต่ยุคกลาง ทว่าแนวคิดหรือสิ่งอันเป็นนามธรรมนั้นสามารถส่งต่อกันได้ เหล่าแม่มดทั้งดำและขาวจึงยังมีโอกาสได้สานต่อศาสตร์อันแสนลึกลับที่มีเสน่ห์นี้จวบจนมาถึงยุคปัจจุบัน ท่ามกลางสังคมของมนุษย์ที่เต็มไปด้วยกิเลส หวังสนองความปรารถนาในทางลัด
แต่หากจะพูดถึงกลุ่มจอมขมังเวทย์ที่มีผู้ศรัทธาอย่างแรงกล้าจำนวนมากมายมหาศาลจนรุ่งโรจน์โดยมิต้องอาศัยอยู่เพียงแค่ในเงามืดแล้ว เราคงต้องเดินทางลงไปยังทวีปหนึ่งซึ่งอยู่ใจกลางระหว่างอเมริกา ยุโรป และเอเชีย
แอฟริกา...ดินแดนอันเป็นที่สถิตของความเชื่อหนึ่งที่เจริญงอกงาม และแข็งแกร่งจนกลายเป็นวัฒนธรรมประจำฝั่งตะวันตกของทวีป
และจอมขมังเวทย์ในกลุ่มที่สองที่ทุกท่านจะได้พบก็คือ...
‘วูดู’ นั้นมีถิ่นกำเนิดมาจากแอฟริกา อีกทั้งยังเป็นความเชื่อที่มีอิทธิพลต่อชีวิตประจำวันทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นประเพณี กิจวัตรประจำวัน หรือแม้แต่ศิลปะ โดยจอมขมังเวทย์ในกลุ่มนี้เรียกได้โดยง่ายว่า ‘หมอผีวูดู’
หลักการร่ายเวทย์ของวูดูนั้นจะเป็นการอัญเชิญพลังจากธรรมชาติมาดลบันดาลให้เกิดสิ่งต่างๆ...แม้จะดูคล้ายแม่มด แต่กลไกในการเสกสรรค์สิ่งต่างๆ ให้เกิดขึ้นนั้นต่างกัน เพราะในขณะที่แม่มดนั้นใช้พลังชีวิตของตนเองเป็นหลัก โดยมีพลังจากทวยเทพ วิญญาณ หรือธรรมชาติคอยสนับสนุน วูดูนั้นใช้พลังจากธรรมชาติและทวยเทพเป็นหลัก ส่วนพิธีกรรมต่างๆ ที่ตนได้ประกอบขึ้นเป็นเพียงสื่อกลางในการนำพลังจากภพหนึ่งข้ามมาสู่อีกภพหนึ่งเท่านั้น
ทว่าผลลัพธ์จากอาถรรพ์ของวูดูบางครั้งกลับทรงพลังกว่าของแม่มดมากนัก โดยเฉพาะพิธีกรรมหนึ่งที่ถูกกล่าวขวัญไปทั่วโลก... ‘ซอมบี้’
โดยคำว่า ‘ซอมบี้’ นั้นมีความหมายว่า ‘วิญญาณ’ หรือ ‘ดวงจิต’ จากความเชื่อของวูดูที่ว่านอกจากกายหยาบแล้ว มนุษย์นั้นมีกายละเอียดอีกสองภาค หนึ่งคือลมหายใจและเงา สองคือวิญญาณหรือดวงจิตที่จะวนเวียนอยู่ใกล้ร่างของผู้ล่วงลับเป็นเวลาเจ็ดวันก่อนคืนเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ และภายในเจ็ดวันนี้เองคือเวลาที่หมอผีวูดูจะต้อง “จับซอมบี้กลับเข้าร่างให้ได้” แล้วทำการปลุกให้คืนชีพจากความตายเพื่อนำมาสร้างผีดิบ หรือศพเดินดินอันเป็นบริวารของตนต่อไป ซึ่งผีดิบของวูดูนั้นถือว่าขึ้นชื่อในเรื่องน้ำอดน้ำทนมาก เพราะหลังจากทำหน้าที่บริวารอย่างการเป็นลูกมือทางการเกษตร หรือเฝ้าบ้านเฝ้าเรือนแทนสัตว์เลี้ยงแล้ว ผีดิบไม่จำเป็นต้องกินหรือนอน แต่ผีดิบของวูดูก็สามารถคืนสู่ความตายได้อยู่ดีหากถูกเกลือสาดใส่
อีกหนึ่งในสิ่งที่ถูกกล่าวขวัญของวูดูนั้นก็คือ ‘ตุ๊กตาตัวแทน’ ตุ๊กตาซึ่งถักทอจากฟางหรือดินปั้น โดยใช้เลือด เล็บ หรือเส้นผม อย่างใดอย่างหนึ่งของเหยื่อมามัดกับตุ๊กตาไว้ด้วยเส้นด้าย ก่อนจะบริกรรมคาถากำกับแล้วใช้เข็มแทง หรือตอกตะปูลงไปบนตัวตุ๊กตา...
ยิ่งมีจิตอาฆาตมากเท่าไร ผลลัพธ์ก็จะยิ่งร้ายแรงมากขึ้นเท่านั้น
แต่แท้จริงแล้ว วูดูยังมีอีกหนึ่งสายย่อยออกมานั่นก็คือ ‘ฮูดู’ ซึ่งดูภายนอกก็จะคล้ายกับวูดูเสียส่วนใหญ่ ทว่าศาสตร์ของฮูดูนั้นจะเน้นการรักษา หรือเสริมสร้างโชคลาภ ในขณะที่วูดูนั้นจะเป็นการสาปแช่งหรือพิฆาตศัตรู ซึ่งจอมขมังเวทย์ในกลุ่มวูดูบางคนก็สามารถใช้ศาสตร์ได้ทั้งสองสาย ขึ้นอยู่กับเจตนารมณ์ว่าต้องการจะสร้างสรรค์หรือทำลาย
ความเชื่อเกี่ยวกับวูดูนั้นนอกจากจะแข็งแกร่งในแอฟริกาแล้ว ยังแพร่หลายมากขึ้นอีกเมื่อปีคริสตศักราช 1500 เป็นต้นมา เมื่อชาวแอฟริกันจำนวนมากถูกชนชาติจากประเทศมหาอำนาจจับไปเป็นทาส ทำงานรับใช้ และถูกซื้อขายกันไม่ต่างจากสัตว์เลี้ยง จนกระทั่งถูกปลดแอกในสมัยของประธานาธิบดี อับราฮัม ลินคอล์น ชาวแอฟริกันที่ถูกจับมาบางส่วนจึงแปรเปลี่ยนไปเป็น ‘ชาวอเมริกันผิวสี’ ก่อนจะตั้งรกรากใหม่ในเมืองนิวออร์ลีนส์...โดยที่ไม่ลืมศาสตร์แห่งวูดู