“หอยลิ้น”
หอยลิ้น บางคนเรียกหอยเอเลี่ยน จะเกาะติดอยู่กับโขดหิน ถ้าเจอตัวหนึ่งก็จะเจออีกหลายตัวเพราะมันจะอยู่เป็นกลุ่ม มันมีลักษณะประหลาดคล้ายกับ ไตรโรไบ หรือแมงดาทะเลดึกดำบรรพ์ ตรงกลางลำตัวเป็นเกล็ดสีขาวเรียงซ้อนกัน 8-10 เกล็ด ตรงขอบรอบตัวมองไปเหมือนหนามสั้นๆ แต่ไม่คม นิ่มๆ หน่อยมีสีดำ สีจะกลมกลืนกับโขดหิน เกาะติดหนึบไม่สามารถใช้มือแกะออกได้ เป็นสัญชาตญาณการป้องกันตัวของมัน ต้องใช้เหล็กแหลมที่เป็นตะขอ หรือมีดแซะออกมาก็จะม้วนตัวจนกลมทีเดียว
หอยลิ่นสามารถปรุงได้หลากหลายเมนู ส่วนเคล็ดไม่ลับของการทำหอยลิ่นคือ ต้องนำไปต้มก่อนจนเนื้อของหอยเปลี่ยนสี จากนั้นนำหอยมาใส่ถุงอวนที่ทำขึ้นเอง ก่อนนำไปฟัดกับต้นไม้ใหญ่เพื่อให้เปลือกหอยที่แข็งและหนาหลุดออกเหลือแต่เนื้อ จากนั้นนำไปล้างน้ำแล้วนำมาต้มอีกครั้งให้เนื้อนิ่ม (ปกติเนื้อหอยลิ่นจะเหนียว) และนำมาปรุงอาหารได้เลย
Cr.mgronline.com/
หอยติดปีก (Sea butterfly)
Sea Butterfly ผีเสื้อทะเล เป็นสัตว์ในกลุ่มทากทะเล แต่สิ่งที่ให้พวกมันดูแปลกตาที่สุดก็คือ พวกมันเหมือนหอยที่มีปีก โบยบินอยู่ในทะเล
มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Helicina อยู่ในสกุล หอยทากนักล่า ในวงศ์(Family) Limacinidae อาศัยอยู่ในทะเลบริเวณ Pelagic(บริเวณของน้ำทะเลที่ไม่ติดกับพื้นทะเล)
พวกมันว่ายน้ำโดยอาศัยการ โบก อวัยวะที่เรียกว่า Parapodia(ซึ่งเป็นคำที่มาจากภาษากรีก สองคำคือ para ที่แปลว่าด้านข้าง + feetที่แปลว่าเท้า) และนั้นเป็นเหตุที่มาของชื่อ ผีเสื้อทะเล พวกมันมีเปลือกที่วิวัฒนาการอย่างดี มีลักษณะวนซ้าย ไม่มีสี ขนาดและความหนาแต่ต่างกันไปในแต่ละสายพันธุ์แต่ก็ใหญ่เพียงพอให้ตัวทากเข้าไปหลบภายในได้
พวกสายพันธุ์ที่อยู่ในน้ำเย็นบริเวณอาร์ติกเช่น operculum จะมีขนาดเปลือกใหญ่ได้ถึง 15 มิลลิเมตร แต่พวกในเขตน้ำอุ่นจะมีขนาดเปลือกประมาณ 1-3 มิลลิเมตรเท่านั้น พวกมันจะต้องกระพือปีกอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา เนื่องจากเปลือกที่หนักจะทำให้พวกมันจมสู่ก้นทะเล ในช่วงเวลากลางวันพวกมันจะอาศัยอยู่ในน้ำที่ลึก(แต่ไม่เกิน 100 เมตร)
เห็นรูปร่างหน้าตา ติ๋มๆ เช่นนี้แต่พวกมันเป็นนักล่าตัวยง กินทั้ง แพลงก์ตอน แบคทีเรีย ครัสเตเชียขนาดเล็ก ตัวอ่อนหอยทาก และล่าเหยื่อโดยการ ปล่อย ใยเมือก ที่อาจจะยาวได้ถึง 5 เซ็นติเมตร ใช้จับเหยื่อ
Cr. wowboom.blogspot.com/
หอยมือเสือ Giant clams
เป็นหอยสองฝาที่อาศัยอยู่ตามแนวปะการังในทะเลเขตอบอุ่น ลักษณะโดดเด่นเฉพาะคือมีลำตัวและฝาขนาดใหญ่ รวมไปถึงวิธีการหาอาหารที่ไม่เหมือนหอยสองฝาชนิดอื่น
หอยมือเสือที่มีขนาดใหญ่ที่สุดคือชนิด Tridacna gigas ซึ่งมีขนาดความยาวของเปลือกถึง 1.3 เมตร และหนักกว่า 500 กิโลกรัม ในขณะที่หอยมือเสือชนิดอื่นๆ มีขนาดเฉลี่ยประมาณ 40-50 เซนติเมตร หอยมือเสือจัดว่ามีขนาดลำตัวเฉลี่ยใหญ่กว่าหอยสองฝาที่พบโดยทั่วไป เช่น หอยนางรม หอยแมลงภู่ และสแกลลอป
ลักษณะพิเศษอีกอย่างหนึ่งที่เป็นลักษณะร่วมของหอยมือเสือทุกชนิดคือ แมนเทิลที่พัฒนาขึ้นมาจนมีขนาดใหญ่ โดยพบทั้งสองข้างของฝาหอย เพื่อสัมผัสกับแสงอาทิตย์ แมนเทิลคืออวัยวะที่เด่นชัดที่สุดของหอยมือเสือซึ่งมีสีสันสวยงามออกมา ลวดลายบนแมนเทิลของหอยแต่ละตัวจะไม่เหมือนกัน
ส่วนที่เปลือกประกบกันอยู่เป็นบานพับเปลือกต่อจากบานพับเปลือกออกมาจะมีส่วนที่ลักษณะเป็นช่องสำหรับให้เส้นใยเนื้อ เยื่อที่เรียกว่าบิสซัส (Byssus) ทำหน้าที่เชื่อมยึดตัวหอยให้เกาะติดกับหินหรือวัสดุใต้น้ำ หอยจะมีน้ำหนักได้ถึง 200 กิโลกรัม กว้าง 120 เซนติเมตร มีชีวิตยืนยาวได้ถึง 100 ปีหรือมากกว่า
หอยมือเสือวิวัฒน์มาเพื่ออาศัยอยู่ในแหล่งอาศัยที่มีปริมาณสารอาหารน้อย เนื้อเยื่อแมนเทิลของหอยมือเสือที่สัมผัสกับแสงอาทิตย์ประกอบด้วยสาหร่ายเซลล์เดียวที่รู้จักกันในชื่อ ซูแซนเทลลา (Zooxanthellae) ซึ่งเป็นสาหร่ายในสกุลเดียวกันที่อาศัยอยู่ในปะการัง และมีการอยู่ร่วมกันแบบพึ่งพาอาศัย ซึ่งสาหร่ายใช้สารอินทรีย์บางชนิดจากหอยมือเสือในกระบวนการสังเคราะห์แสง และหอยมือเสือก็ได้รับอาหารจากสาหร่ายเป็นการตอบแทน
หอยชนิดนี้มีศัตรูทีสำคัญคือมนุษย์เพราะเนื้อของหอยถือว่าเป็นอาการอันโอชะในประเทศญี่ปุ่น ที่รูปจักกันในนาม Himejako เปลือกของมันก็เป็นที่ต้องการทางการตลาด
Cr.ngthai.com/
หอยสังข์แตร Triton trumpet
หอยสังข์แตรเป็นผู้ล่าตามธรรมชาติของดาวมงกุฎหนาม
ในน่านน้ำไทยจัดว่าเป็นหอยฝาเดียวที่มีขนาดใหญ่ที่สุด อาจยาวถึง 12 นิ้ว อาศัยอยู่ในแนวปะการังที่ระดับความลึกถึง 30 เมตร พบทั้งอ่าวไทยและอันดามัน กินอาหารจำพวกปลิงทะเล และดาวทะเล โดยเฉพาะดาวมงกุฏหนาม ซึ่งเป็นสัตว์ที่กินปะการัง จึงจัดได้ว่าหอยสังข์แตรเป็นตัวควบคุมตามธรรมชาติ ถือเป็นสัตว์ทะเลหายาก ปัจจุบัน กรมประมงเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์และปล่อยกลับคืนสู่ธรรมชาติ เพื่อรักษาจำนวนประชากรในธรรมชาติให้อยู่ในระดับสมดุล
Cr.ngthai.com/
หอยกีบกี้
หรือ หอยกาบ ชื่อวิทยาศาสตร์: Phylloda foliacea ชื่อวงศ์: Foliated Tellin
มีลักษณะสีดำคล้ำ เปลือกด้นนอกแข็งมีขนาดใหญ่ รูปร่างเป็นกึ่งรูปไข่(semi oval) เปลือกหนา ฝาทั้ง 2 ข้างมีขนาดเท่ากัน เปลือกทางด้านหน้า(anterior) และด้านหลัง(posterior) มีขนาดไม่เท่ากัน โดยเปลือกด้านหน้าจะโค้งแคบกว่า เปลือกทางด้านหลังจะมีลักษณะเป็นปีกหรือแง่(posterior wing) เห็นชัดเจน
ลักษณะของเปลือกด้านใน เป็นเปลือกชั้นในสุดเรียกว่าเนเครียส (nacreous) ซึ่งมีความแวววาวมากกว่าเปลือกด้านนอก และทางด้านหน้าของเปลือกจะมีความแวววาวน้อยกว่าทางด้านหลัง เปลือกทางด้านบนตรงบริเวณด้านบนของฟันแลเทอรัล(lateral teeth) และฟันซูโดคาร์ดินัล(pseudocardinal teeth) ลักษณะแบนไม่มีรวดลายเป็นหอยที่มีสมาชิกมากรองจากหอยกาบเดี่ยว เปลือกมีสองชิ้นยึดติดกันด้วยกล้ามเนื้อ คล้ายบานพับ ส่วนหัวไม่ค่อยเจริญ บางพวกมีกาบ ด้านหนึ่งยึดติดกับพื้นและไม่เคลื่อนที่ และ บางพวกเคลื่อนที่ได้โดยเท้าชอนไชคืบ คลานได้อย่างช้า
พบได้ในแหล่งน้ำจืด ใช้เป็นอาหาร โดยแกะเปลือกออก นำเนื้อ มาเป็นอาหาร ตามความชอบ ปิ้ง ย่าง เผา ลวก ผัด
Cr.facebook.com/LMClab1
หอยงวงช้างมุก Chambered nautilus
เป็นสัตว์ที่มีชีวิตอยู่มาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับพวกหมึก แต่เป็นหมึกที่มีเปลือกแข็งหุ้มรอบตัว จึงเรียกเป็นหอย ขณะที่หมึกชนิดอื่นๆ ไม่มีเปลือก เปลือกหอยงวงช้างมีขนาดค่อนข้างใหญ่ หนา และแข็ง เปลือกเป็นชิ้นเดียวโดยม้วนเป็นวงในแนวราบแทนการยกขึ้นสูงในแนวตั้ง วงเกลียวสุดท้ายของเปลือกคลุมวงเกลียวที่เกิดมาก่อนไว้ทั้งหมด
ผิวเปลือกค่อนข้างเรียบ มีลายเป็นแถบสีน้ำตาลอมแดง พาดอยู่บนพื้นสีครีม ด้านในของเปลือกมีชั้นมุก เมื่อโตเต็มวัยภายในเปลือกจะมีแผ่นกั้นตามขวางทำให้แบ่งเป็นห้องๆ ตัวหอยอาศัยในห้องเปลือกด้านนอกสุด ซึ่งมีขนาดใหญ่สุดและติดต่อกับภายนอก ส่วนห้องเปลือกด้านในอาจใช้บรรจุน้ำหรืออากาศ เพื่อควบคุมการลอยตัว และการจมตัวของหอย
ตัวหอยงวงช้างมุกประกอบด้วยส่วนหัวและลำตัว หัวมีขนาดใหญ่ ที่หัวมีตา ๑ คู่ บริเวณปากมีหนวดประมาณ ๕๐ คู่ เรียงเป็นวงรอบปาก ๒ วง ส่วนด้านล่างของหัวมีท่อน้ำใหญ่ เหนือหัวมีแผ่นเนื้อเป็นกะบัง สำหรับใช้ปิดช่องเปลือกขณะหอยหดตัวและหัวเข้าไปในเปลือก หอยงวงช้างอาศัยในทะเลที่ลึกมากกว่า ๖๐ เมตร ถึงระดับลึกมาก ปกติจะคืบคลานอยู่ตามพื้นทะเล หรือซ่อนตัวอยู่ตามซอกหิน
ออกหาอาหารในเวลากลางคืน โดยเคลื่อนตัวขึ้นมาที่ผิวน้ำ และกลับลงสู่ที่ลึกในเวลากลางคืน อาหารเป็นสัตว์ขนาดเล็ก เช่น กุ้ง หอย ปู ปลา รวมถึงเศษซากตามพื้นทะเล โดยใช้หนวดจับ เคลื่อนตัวและว่ายน้ำได้ดีในลักษณะถอยหลัง เพศผู้มีขนาดเล็กกว่าเพศเมีย หอยงวงช้างมุกเพศเมียวางไข่ติดไว้ตามก้อนหิน หรือวัตถุอื่นๆ ใต้น้ำ เมื่อฟักออกจากไข่ ลูกหอยมีลักษณะคล้ายตัวเต็มวัย และว่ายน้ำได้ หอยงวงช้างมุกมีอายุขัยประมาณ ๒๐ ปี
Cr.saranukromthai.or.th/
หอยงวงช้างกระดาษ Paper nautilus, Argonauts
จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับพวกหมึก เฉพาะเพศเมียเท่านั้น ที่มีเปลือกหุ้มตัว เพื่อใช้เป็นที่สำหรับวางไข่และฟักไข่ เพศผู้มีขนาดเล็กกว่าเพศเมียมาก และไม่มีเปลือกหุ้มตัว
เปลือกหอยงวงช้างกระดาษมีลักษณะบาง เบา เปราะ แตกหักง่าย ม้วนเป็นวงในแนวราบ วงเกลียวแรกๆ เป็นสีน้ำตาลเข้มและค่อยๆ จางลงเป็นสีขาวหม่น หรือสีครีมในวงเกลียวสุดท้าย วงเกลียวสุดท้ายจะคลุมวงเกลียวแรกๆ ไว้ทั้งหมด ผิวเปลือกมีร่องตามขวางและสันหยัก ทำให้เห็นเป็นลอนตื้นจากจุดยอด ออกไปในแนวรัศมี ตามสันเปลือกมีปมเรียงเป็นแถว
หอยงวงช้างกระดาษประกอบด้วยส่วนหัวและลำตัว ที่หัวมีตาขนาดใหญ่ ๑ คู่ รอบปากมีหนวดหรือแขน ๘ อัน ลำตัวไม่มีครีบ เพศเมียมีลำตัวคล้ายถุงรูปรี หัวเล็กเมื่อเทียบกับขนาดของลำตัว ปลายหนวดคู่แรกมีลักษณะแบน และมีต่อมที่ผลิตสารสำหรับสร้างเปลือก เพศผู้มีลำตัวกลมคล้ายถุง หัวใหญ่ การผสมพันธุ์มีการจับคู่กัน เพศเมียวางไข่ไว้ในเปลือก ไข่มีลักษณะเป็นไข่เดี่ยว ไข่แต่ละฟองมีตัวอ่อนเพียงตัวเดียว ตัวอ่อนที่ฟักออกมาจากไข่ มีลักษณะคล้ายตัวเต็มวัยแต่มีหนวดสั้น
หอยงวงช้างกระดาษอาศัยในทะเลที่ห่างฝั่ง ตั้งแต่ระดับผิวน้ำไปจนถึงระดับน้ำลึกประมาณ ๑๐๐ เมตร ว่ายน้ำได้ดี แต่มักจะเคลื่อนตัวไปตามกระแสน้ำมากกว่าว่ายไปเอง บางชนิดเพศเมียอาจยึดเกาะกับวัตถุในน้ำ หรือเกาะกันเองเป็นสายจำนวน ๒๐ - ๓๐ ตัว มักออกหาอาหารในเวลากลางวัน อาหารคือ สัตว์น้ำขนาดเล็ก ทั่วโลกพบหอยงวงช้างกระดาษ ๗ ชนิด ในทะเลไทยมีการสำรวจพบ ๓ ชนิด เปลือกมีความสวยงามแปลกตา จึงมักนำมาเป็นของตกแต่งบ้าน บางประเทศนำตัวหอยมาเป็นอาหาร
Cr.Cr.saranukromthai.or.th/
rumphii entemnotrochus
ผู้เชี่ยวชาญด้านสัตว์น้ำของไต้หวัน เปิดเผยว่า มันคือหอย rumphii entemnotrochus ถือเป็นสิ่งมีชีวิตโบราณ มักจะอาศัยอยู่ในระดับน้ำ 200 - 600 เมตร ตามตะเข็บแนวปะการังใต้ทะเลลึก
มีลักษณะคล้ายๆกับหอย "วงศ์หอยนมสาวน้ำลึก-หอยนมสาวปากร่อง" ซึ่งเป็นหอยที่จัดอยู่ในอันดับต้นๆ ที่หายากและมีความนิยมในหมู่นักสะสมรุ่นใหญ่ เนื่องจากหอยชนิดนี้จะอาศัยอยู่ใต้ทะเลลึกตั้งแต่ระดับหลายร้อยเมตรลงไปถึงพื้นมหาสมุทร มีจุดเด่นอยู่ตรงที่ช่องเปิดด้านข้างปากของเปลือกที่คาดว่าอาจเป็นช่องระบายของเสีย รวมถึงใช้เป็นกลไกในการป้องกันตัว
ทั้งนี้ หอยที่อยู่ใน "วงศ์หอยนมสาวน้ำลึก-หอยนมสาวปากร่อง" ได้จัดแสดงไว้ใน "พิพิธภัณฑ์เปลือกหอย กรุงเทพฯ" (Bangkok Seashell Museum) เพื่อชมความมหัศจรรย์และความสวยงามของเปลือกหอยหายากหลากชนิด รวมไปถึงฟอสซิสเปลือกหอย ที่มีอายุกว่า 350 ล้านปีก่อน ภายหลังถึงได้ทราบว่ามีคนนำไปตั้งราคาของหอยตัวนี้ด้วย ซึ่งมีราคาถึงหลักล้านเลยทีเดียว
Cr.tsood.com/
หอยใหญ่แปลกๆที่ควรรักษา
หอยลิ้น บางคนเรียกหอยเอเลี่ยน จะเกาะติดอยู่กับโขดหิน ถ้าเจอตัวหนึ่งก็จะเจออีกหลายตัวเพราะมันจะอยู่เป็นกลุ่ม มันมีลักษณะประหลาดคล้ายกับ ไตรโรไบ หรือแมงดาทะเลดึกดำบรรพ์ ตรงกลางลำตัวเป็นเกล็ดสีขาวเรียงซ้อนกัน 8-10 เกล็ด ตรงขอบรอบตัวมองไปเหมือนหนามสั้นๆ แต่ไม่คม นิ่มๆ หน่อยมีสีดำ สีจะกลมกลืนกับโขดหิน เกาะติดหนึบไม่สามารถใช้มือแกะออกได้ เป็นสัญชาตญาณการป้องกันตัวของมัน ต้องใช้เหล็กแหลมที่เป็นตะขอ หรือมีดแซะออกมาก็จะม้วนตัวจนกลมทีเดียว
หอยลิ่นสามารถปรุงได้หลากหลายเมนู ส่วนเคล็ดไม่ลับของการทำหอยลิ่นคือ ต้องนำไปต้มก่อนจนเนื้อของหอยเปลี่ยนสี จากนั้นนำหอยมาใส่ถุงอวนที่ทำขึ้นเอง ก่อนนำไปฟัดกับต้นไม้ใหญ่เพื่อให้เปลือกหอยที่แข็งและหนาหลุดออกเหลือแต่เนื้อ จากนั้นนำไปล้างน้ำแล้วนำมาต้มอีกครั้งให้เนื้อนิ่ม (ปกติเนื้อหอยลิ่นจะเหนียว) และนำมาปรุงอาหารได้เลย
Cr.mgronline.com/
หอยติดปีก (Sea butterfly)
Sea Butterfly ผีเสื้อทะเล เป็นสัตว์ในกลุ่มทากทะเล แต่สิ่งที่ให้พวกมันดูแปลกตาที่สุดก็คือ พวกมันเหมือนหอยที่มีปีก โบยบินอยู่ในทะเล
มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Helicina อยู่ในสกุล หอยทากนักล่า ในวงศ์(Family) Limacinidae อาศัยอยู่ในทะเลบริเวณ Pelagic(บริเวณของน้ำทะเลที่ไม่ติดกับพื้นทะเล)
พวกมันว่ายน้ำโดยอาศัยการ โบก อวัยวะที่เรียกว่า Parapodia(ซึ่งเป็นคำที่มาจากภาษากรีก สองคำคือ para ที่แปลว่าด้านข้าง + feetที่แปลว่าเท้า) และนั้นเป็นเหตุที่มาของชื่อ ผีเสื้อทะเล พวกมันมีเปลือกที่วิวัฒนาการอย่างดี มีลักษณะวนซ้าย ไม่มีสี ขนาดและความหนาแต่ต่างกันไปในแต่ละสายพันธุ์แต่ก็ใหญ่เพียงพอให้ตัวทากเข้าไปหลบภายในได้
พวกสายพันธุ์ที่อยู่ในน้ำเย็นบริเวณอาร์ติกเช่น operculum จะมีขนาดเปลือกใหญ่ได้ถึง 15 มิลลิเมตร แต่พวกในเขตน้ำอุ่นจะมีขนาดเปลือกประมาณ 1-3 มิลลิเมตรเท่านั้น พวกมันจะต้องกระพือปีกอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา เนื่องจากเปลือกที่หนักจะทำให้พวกมันจมสู่ก้นทะเล ในช่วงเวลากลางวันพวกมันจะอาศัยอยู่ในน้ำที่ลึก(แต่ไม่เกิน 100 เมตร)
เห็นรูปร่างหน้าตา ติ๋มๆ เช่นนี้แต่พวกมันเป็นนักล่าตัวยง กินทั้ง แพลงก์ตอน แบคทีเรีย ครัสเตเชียขนาดเล็ก ตัวอ่อนหอยทาก และล่าเหยื่อโดยการ ปล่อย ใยเมือก ที่อาจจะยาวได้ถึง 5 เซ็นติเมตร ใช้จับเหยื่อ
Cr. wowboom.blogspot.com/
หอยมือเสือ Giant clams
เป็นหอยสองฝาที่อาศัยอยู่ตามแนวปะการังในทะเลเขตอบอุ่น ลักษณะโดดเด่นเฉพาะคือมีลำตัวและฝาขนาดใหญ่ รวมไปถึงวิธีการหาอาหารที่ไม่เหมือนหอยสองฝาชนิดอื่น
หอยมือเสือที่มีขนาดใหญ่ที่สุดคือชนิด Tridacna gigas ซึ่งมีขนาดความยาวของเปลือกถึง 1.3 เมตร และหนักกว่า 500 กิโลกรัม ในขณะที่หอยมือเสือชนิดอื่นๆ มีขนาดเฉลี่ยประมาณ 40-50 เซนติเมตร หอยมือเสือจัดว่ามีขนาดลำตัวเฉลี่ยใหญ่กว่าหอยสองฝาที่พบโดยทั่วไป เช่น หอยนางรม หอยแมลงภู่ และสแกลลอป
ลักษณะพิเศษอีกอย่างหนึ่งที่เป็นลักษณะร่วมของหอยมือเสือทุกชนิดคือ แมนเทิลที่พัฒนาขึ้นมาจนมีขนาดใหญ่ โดยพบทั้งสองข้างของฝาหอย เพื่อสัมผัสกับแสงอาทิตย์ แมนเทิลคืออวัยวะที่เด่นชัดที่สุดของหอยมือเสือซึ่งมีสีสันสวยงามออกมา ลวดลายบนแมนเทิลของหอยแต่ละตัวจะไม่เหมือนกัน
ส่วนที่เปลือกประกบกันอยู่เป็นบานพับเปลือกต่อจากบานพับเปลือกออกมาจะมีส่วนที่ลักษณะเป็นช่องสำหรับให้เส้นใยเนื้อ เยื่อที่เรียกว่าบิสซัส (Byssus) ทำหน้าที่เชื่อมยึดตัวหอยให้เกาะติดกับหินหรือวัสดุใต้น้ำ หอยจะมีน้ำหนักได้ถึง 200 กิโลกรัม กว้าง 120 เซนติเมตร มีชีวิตยืนยาวได้ถึง 100 ปีหรือมากกว่า
หอยมือเสือวิวัฒน์มาเพื่ออาศัยอยู่ในแหล่งอาศัยที่มีปริมาณสารอาหารน้อย เนื้อเยื่อแมนเทิลของหอยมือเสือที่สัมผัสกับแสงอาทิตย์ประกอบด้วยสาหร่ายเซลล์เดียวที่รู้จักกันในชื่อ ซูแซนเทลลา (Zooxanthellae) ซึ่งเป็นสาหร่ายในสกุลเดียวกันที่อาศัยอยู่ในปะการัง และมีการอยู่ร่วมกันแบบพึ่งพาอาศัย ซึ่งสาหร่ายใช้สารอินทรีย์บางชนิดจากหอยมือเสือในกระบวนการสังเคราะห์แสง และหอยมือเสือก็ได้รับอาหารจากสาหร่ายเป็นการตอบแทน
หอยชนิดนี้มีศัตรูทีสำคัญคือมนุษย์เพราะเนื้อของหอยถือว่าเป็นอาการอันโอชะในประเทศญี่ปุ่น ที่รูปจักกันในนาม Himejako เปลือกของมันก็เป็นที่ต้องการทางการตลาด
Cr.ngthai.com/
หอยสังข์แตร Triton trumpet
หอยสังข์แตรเป็นผู้ล่าตามธรรมชาติของดาวมงกุฎหนาม
ในน่านน้ำไทยจัดว่าเป็นหอยฝาเดียวที่มีขนาดใหญ่ที่สุด อาจยาวถึง 12 นิ้ว อาศัยอยู่ในแนวปะการังที่ระดับความลึกถึง 30 เมตร พบทั้งอ่าวไทยและอันดามัน กินอาหารจำพวกปลิงทะเล และดาวทะเล โดยเฉพาะดาวมงกุฏหนาม ซึ่งเป็นสัตว์ที่กินปะการัง จึงจัดได้ว่าหอยสังข์แตรเป็นตัวควบคุมตามธรรมชาติ ถือเป็นสัตว์ทะเลหายาก ปัจจุบัน กรมประมงเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์และปล่อยกลับคืนสู่ธรรมชาติ เพื่อรักษาจำนวนประชากรในธรรมชาติให้อยู่ในระดับสมดุล
Cr.ngthai.com/
หอยกีบกี้
หรือ หอยกาบ ชื่อวิทยาศาสตร์: Phylloda foliacea ชื่อวงศ์: Foliated Tellin
มีลักษณะสีดำคล้ำ เปลือกด้นนอกแข็งมีขนาดใหญ่ รูปร่างเป็นกึ่งรูปไข่(semi oval) เปลือกหนา ฝาทั้ง 2 ข้างมีขนาดเท่ากัน เปลือกทางด้านหน้า(anterior) และด้านหลัง(posterior) มีขนาดไม่เท่ากัน โดยเปลือกด้านหน้าจะโค้งแคบกว่า เปลือกทางด้านหลังจะมีลักษณะเป็นปีกหรือแง่(posterior wing) เห็นชัดเจน
ลักษณะของเปลือกด้านใน เป็นเปลือกชั้นในสุดเรียกว่าเนเครียส (nacreous) ซึ่งมีความแวววาวมากกว่าเปลือกด้านนอก และทางด้านหน้าของเปลือกจะมีความแวววาวน้อยกว่าทางด้านหลัง เปลือกทางด้านบนตรงบริเวณด้านบนของฟันแลเทอรัล(lateral teeth) และฟันซูโดคาร์ดินัล(pseudocardinal teeth) ลักษณะแบนไม่มีรวดลายเป็นหอยที่มีสมาชิกมากรองจากหอยกาบเดี่ยว เปลือกมีสองชิ้นยึดติดกันด้วยกล้ามเนื้อ คล้ายบานพับ ส่วนหัวไม่ค่อยเจริญ บางพวกมีกาบ ด้านหนึ่งยึดติดกับพื้นและไม่เคลื่อนที่ และ บางพวกเคลื่อนที่ได้โดยเท้าชอนไชคืบ คลานได้อย่างช้า
พบได้ในแหล่งน้ำจืด ใช้เป็นอาหาร โดยแกะเปลือกออก นำเนื้อ มาเป็นอาหาร ตามความชอบ ปิ้ง ย่าง เผา ลวก ผัด
Cr.facebook.com/LMClab1
หอยงวงช้างมุก Chambered nautilus
เป็นสัตว์ที่มีชีวิตอยู่มาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับพวกหมึก แต่เป็นหมึกที่มีเปลือกแข็งหุ้มรอบตัว จึงเรียกเป็นหอย ขณะที่หมึกชนิดอื่นๆ ไม่มีเปลือก เปลือกหอยงวงช้างมีขนาดค่อนข้างใหญ่ หนา และแข็ง เปลือกเป็นชิ้นเดียวโดยม้วนเป็นวงในแนวราบแทนการยกขึ้นสูงในแนวตั้ง วงเกลียวสุดท้ายของเปลือกคลุมวงเกลียวที่เกิดมาก่อนไว้ทั้งหมด
ผิวเปลือกค่อนข้างเรียบ มีลายเป็นแถบสีน้ำตาลอมแดง พาดอยู่บนพื้นสีครีม ด้านในของเปลือกมีชั้นมุก เมื่อโตเต็มวัยภายในเปลือกจะมีแผ่นกั้นตามขวางทำให้แบ่งเป็นห้องๆ ตัวหอยอาศัยในห้องเปลือกด้านนอกสุด ซึ่งมีขนาดใหญ่สุดและติดต่อกับภายนอก ส่วนห้องเปลือกด้านในอาจใช้บรรจุน้ำหรืออากาศ เพื่อควบคุมการลอยตัว และการจมตัวของหอย
ตัวหอยงวงช้างมุกประกอบด้วยส่วนหัวและลำตัว หัวมีขนาดใหญ่ ที่หัวมีตา ๑ คู่ บริเวณปากมีหนวดประมาณ ๕๐ คู่ เรียงเป็นวงรอบปาก ๒ วง ส่วนด้านล่างของหัวมีท่อน้ำใหญ่ เหนือหัวมีแผ่นเนื้อเป็นกะบัง สำหรับใช้ปิดช่องเปลือกขณะหอยหดตัวและหัวเข้าไปในเปลือก หอยงวงช้างอาศัยในทะเลที่ลึกมากกว่า ๖๐ เมตร ถึงระดับลึกมาก ปกติจะคืบคลานอยู่ตามพื้นทะเล หรือซ่อนตัวอยู่ตามซอกหิน
ออกหาอาหารในเวลากลางคืน โดยเคลื่อนตัวขึ้นมาที่ผิวน้ำ และกลับลงสู่ที่ลึกในเวลากลางคืน อาหารเป็นสัตว์ขนาดเล็ก เช่น กุ้ง หอย ปู ปลา รวมถึงเศษซากตามพื้นทะเล โดยใช้หนวดจับ เคลื่อนตัวและว่ายน้ำได้ดีในลักษณะถอยหลัง เพศผู้มีขนาดเล็กกว่าเพศเมีย หอยงวงช้างมุกเพศเมียวางไข่ติดไว้ตามก้อนหิน หรือวัตถุอื่นๆ ใต้น้ำ เมื่อฟักออกจากไข่ ลูกหอยมีลักษณะคล้ายตัวเต็มวัย และว่ายน้ำได้ หอยงวงช้างมุกมีอายุขัยประมาณ ๒๐ ปี
Cr.saranukromthai.or.th/
หอยงวงช้างกระดาษ Paper nautilus, Argonauts
จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับพวกหมึก เฉพาะเพศเมียเท่านั้น ที่มีเปลือกหุ้มตัว เพื่อใช้เป็นที่สำหรับวางไข่และฟักไข่ เพศผู้มีขนาดเล็กกว่าเพศเมียมาก และไม่มีเปลือกหุ้มตัว
เปลือกหอยงวงช้างกระดาษมีลักษณะบาง เบา เปราะ แตกหักง่าย ม้วนเป็นวงในแนวราบ วงเกลียวแรกๆ เป็นสีน้ำตาลเข้มและค่อยๆ จางลงเป็นสีขาวหม่น หรือสีครีมในวงเกลียวสุดท้าย วงเกลียวสุดท้ายจะคลุมวงเกลียวแรกๆ ไว้ทั้งหมด ผิวเปลือกมีร่องตามขวางและสันหยัก ทำให้เห็นเป็นลอนตื้นจากจุดยอด ออกไปในแนวรัศมี ตามสันเปลือกมีปมเรียงเป็นแถว
หอยงวงช้างกระดาษประกอบด้วยส่วนหัวและลำตัว ที่หัวมีตาขนาดใหญ่ ๑ คู่ รอบปากมีหนวดหรือแขน ๘ อัน ลำตัวไม่มีครีบ เพศเมียมีลำตัวคล้ายถุงรูปรี หัวเล็กเมื่อเทียบกับขนาดของลำตัว ปลายหนวดคู่แรกมีลักษณะแบน และมีต่อมที่ผลิตสารสำหรับสร้างเปลือก เพศผู้มีลำตัวกลมคล้ายถุง หัวใหญ่ การผสมพันธุ์มีการจับคู่กัน เพศเมียวางไข่ไว้ในเปลือก ไข่มีลักษณะเป็นไข่เดี่ยว ไข่แต่ละฟองมีตัวอ่อนเพียงตัวเดียว ตัวอ่อนที่ฟักออกมาจากไข่ มีลักษณะคล้ายตัวเต็มวัยแต่มีหนวดสั้น
หอยงวงช้างกระดาษอาศัยในทะเลที่ห่างฝั่ง ตั้งแต่ระดับผิวน้ำไปจนถึงระดับน้ำลึกประมาณ ๑๐๐ เมตร ว่ายน้ำได้ดี แต่มักจะเคลื่อนตัวไปตามกระแสน้ำมากกว่าว่ายไปเอง บางชนิดเพศเมียอาจยึดเกาะกับวัตถุในน้ำ หรือเกาะกันเองเป็นสายจำนวน ๒๐ - ๓๐ ตัว มักออกหาอาหารในเวลากลางวัน อาหารคือ สัตว์น้ำขนาดเล็ก ทั่วโลกพบหอยงวงช้างกระดาษ ๗ ชนิด ในทะเลไทยมีการสำรวจพบ ๓ ชนิด เปลือกมีความสวยงามแปลกตา จึงมักนำมาเป็นของตกแต่งบ้าน บางประเทศนำตัวหอยมาเป็นอาหาร
Cr.Cr.saranukromthai.or.th/
rumphii entemnotrochus
ผู้เชี่ยวชาญด้านสัตว์น้ำของไต้หวัน เปิดเผยว่า มันคือหอย rumphii entemnotrochus ถือเป็นสิ่งมีชีวิตโบราณ มักจะอาศัยอยู่ในระดับน้ำ 200 - 600 เมตร ตามตะเข็บแนวปะการังใต้ทะเลลึก
มีลักษณะคล้ายๆกับหอย "วงศ์หอยนมสาวน้ำลึก-หอยนมสาวปากร่อง" ซึ่งเป็นหอยที่จัดอยู่ในอันดับต้นๆ ที่หายากและมีความนิยมในหมู่นักสะสมรุ่นใหญ่ เนื่องจากหอยชนิดนี้จะอาศัยอยู่ใต้ทะเลลึกตั้งแต่ระดับหลายร้อยเมตรลงไปถึงพื้นมหาสมุทร มีจุดเด่นอยู่ตรงที่ช่องเปิดด้านข้างปากของเปลือกที่คาดว่าอาจเป็นช่องระบายของเสีย รวมถึงใช้เป็นกลไกในการป้องกันตัว
ทั้งนี้ หอยที่อยู่ใน "วงศ์หอยนมสาวน้ำลึก-หอยนมสาวปากร่อง" ได้จัดแสดงไว้ใน "พิพิธภัณฑ์เปลือกหอย กรุงเทพฯ" (Bangkok Seashell Museum) เพื่อชมความมหัศจรรย์และความสวยงามของเปลือกหอยหายากหลากชนิด รวมไปถึงฟอสซิสเปลือกหอย ที่มีอายุกว่า 350 ล้านปีก่อน ภายหลังถึงได้ทราบว่ามีคนนำไปตั้งราคาของหอยตัวนี้ด้วย ซึ่งมีราคาถึงหลักล้านเลยทีเดียว
Cr.tsood.com/