ตอนเขียนเรื่อง
30 ปี Seacrest (เพิ่งทราบว่าได้ของที่ระลึกจาก Pantip pick on page “พันทิปนานุกรม” ขอบคุณคร๊าบบบบ) บังเอิญไปผ่านตาเหตุการณ์หนึ่ง ที่เป็นหายนะครั้งใหญ่(อีกครั้ง)ของวงการปิโตรเลียมนอกชายฝั่งเป็นเหตุการแท่นเจาะฯ
semisubmersible (ขอย่อๆว่า ss ล่ะกันครับ) พลิกคว่ำที่ทะเลเหนือ เสียชีวิต 123 รอดชีวิต 89 ทะเลเหนือ
ที่มาของข้อมูลและภาพประกอบทั้งหมด …
1.
https://en.wikipedia.org/wiki/Alexander_L._Kielland_(platform)
2.
https://en.wikipedia.org/wiki/Alexander_L._Kielland_(platform)
3.
The Alexander L. Kielland accident, Report of a Norwegian public commission appointed by royal decree of March 28, 1980, presented to the Ministry of Justice and Police March, 1981 ISBN B0000ED27N
เช่นเคยครับ ผมจะไม่แปลแบบคำต่อคำ พยายามย่อยสรุปเป็นภาษาบ้านๆให้ผู้คนวงกว้างเข้าใจได้ง่ายที่สุด ศัพท์เฉพาะเลี่ยงได้ก็เลี่ยง แปลได้ก็แปล เลิ่ยงไม่ได้แปลไม่ได้ก็ทับศัพท์ไป ไม่รู้ก็บอกไม่รู้ ความเห็นที่ไม่ไปกระทบใคร ออกอากาศได้ ไม่เดือดร้อนเจ้าของพื้นที่ (พันทิป) ผมก็คงไว้ตามต้นฉบับ แต่ความเห็นไหนที่หวาดเสียวจะไประคายเคืองต่อมดราม่าใคร ผมก็จะสงวนไว้ในพื้นที่ส่วนตัว ก็จะใส่สัญลักษณ์
[...] เอาไว้ในนี้ ถ้าไม่รังเกียจก็คลิ๊กสัญลักษณ์ [...] แวะไปเยี่ยมเยียนกันได้
ย้อนรอยวันที่เธอจากไป กรณีศึกษา และ บทเรียน แท่นขุดเจาะฯ Alexander L Kielland ทะเลเหนือ เสียชีวิต 123 รอดชีวิต 89
ไปดูกันครับว่า เกิดอะไรขึ้นกับเธอ
Alexander L Kielland
แท่นเจาะ Alexander L. Kielland เป็นของบ.ชื่อ Stavanger Drilling Company of Norway ตอนเกิดเหตุ บ.อเมริกชื่อ Phillips Petroleum เช่าเอาไปใช้งานที่แท่นผลิต Ekofisk Edda ซึ่งตั้งอยู่ในทะเลเหนือ อยู่ห่างจากเมือง Dundee ของ สก๊อตแลนด์ไปทางตะวันออก 320 กม.
ใครนึกหน้าตาแท่นเจาะแบบ ss ไม่ออกก็นึกถึง
Deepwater Horizon แบบนั้นเลย มีทุ่นจมอยู่ในน้ำชุดหนึ่ง แล้วมีโคร้างสร้างเหล็กต่อขึ้นมาจากทุ่นเหล่านั้น แล้วตัวแท่นก็วางอยู่บนโครงเหล็กนั่นอีกที อารมณ์ประมาณรูปข้างล่างนี้แหละครับ
โดย ss นี้มีทั้งแบบมีเครื่องยนต์เคลื่อนที่เองได้ หรือ ไม่มีเครื่องยนต์ ต้องใช้เรือลาก หรือ แบกไป ส่วนวิธีที่จะให้อยู่นิ่งๆก็มี 2 วิธี วิธีแรกเลยก็แบบดั้งเดิม คือวางสมอเอา ส่วนสมัยใหม่ก็จะใช้ระบบคอมพิวเตอร์กับใบพัดที่ติดตั้งไว้ที่ใต้ทุ่น เรียกว่า Truster
วิธีนี้เรียกว่า ระบบ Dynamic Positioning หรือ ย่อๆว่า DP แล้วตามด้วยตัวเลขรุ่น ตัวเลขยิ่งเยอะก็แปลว่าระบบใหม่ ดีกว่า แม่นกว่า และ แพงกว่า ถ้าผมจำไม่ผิดปัจจุบันอยู่ที่ DP6
เอาล่ะอารัมภบทมาเยอะแล้ว เข้าเรื่องกันดีกว่า
Alexander L. Kielland เป็น ss ที่ถูกสร้างมาเป็นแท่นขุดเจาะ แต่ไม่เคยได้ขุดเจาะแม้แต่หลุมเดียว อ้าว … งงล่ะซิ ผมเองก็งงครับ มาดูกันว่าเธอเป็นไงมาไง
บ้านเกิดของเธอ
เธอถูกออกแบบมาให้เป็นแท่นขุดเจาะอย่างที่เกริ่นไปแล้ว เธอเป็นแท่น ss แบบ 5 ขา วางอยู่บนทุ่นขนาดใหญ่ที่จมอยู่ใต้น้ำ เธอถูกสร้างที่อู่ชื่อ CFEM (Compagnie Francaise d’Enterprises Metalliques) ใน ฝรั่งเศษ ระหว่างปี 1969 – 1977 (สร้างอยู่ 8 ปี)
ชื่อของเธอ Alexander Lange Kielland เป็นชื่อนักประพันธ์ชาวนอร์เวย์ (น่าจะมีชื่อเสียงมากๆ ถ้าบ้านเราก็คง สุนทรภู่ หรือ ศรีปราชญ์กระมัง)
(18 February 1849 – 6 April 1906)
ลำดับเหตุการณ์ (time line)
1969 – 1977 สร้างอยู่ที่อยู่ต่อเรือที่ฝรั่งเศษ CFEM (Compagnie Francaise d’Enterprises Metalliques) อย่างที่ว่ามา
กรกฎาคม 1976 ส่งมอบให้นอร์เวย์ (เจ้าของ) ส่งมอบก่อนเสร็จ เข้าใจว่าส่งมอบกันที่อู่นั่นแหละ
1978 เพิ่มขนาดความจุลูกเรือจาก 80 คน เป็น 348 คน (เพิ่มไปทำไม … อดใจนิดติดตามต่อไปครับ)
กันยายน 1979 เธอผ่านการตรวจสอบประจำปี มีการตรวจสอบระบบทุ่น และ เสาหลัก 5 เสา เธอผ่านการตรวจสอบเรียบร้อยดี (แต่มีส่วนหนึ่งที่ไม่ได้ตรวจสอบ อุ๊บไว้ก่อน ติดตามๆ)
เธอถูกลากไปจอดข้างๆ แท่นผลิต Ekofisk Edda สรุปคือ เธอไม่ได้ไปเจาะหลุมอะไรที่ไหน เธอโดนเปลี่ยนเป็น accomodation barge หรือ โรงแรม ที่เรียกกันว่า floatel ให้แท่นผลิตน่ะครับ นั่นคือเหตุผลที่เธอโดนโม (modify) เพิ่มความจุลูกเรือดังที่ได้กล่าวไปแล้ว
Photo Credit: Norwegian Petroleum Museum
27 มีนาคม 1980
ฝนกำลังตก ลมประมาณ 40 knot (74 กม.ต่อชม.) คลื่น 12 ม. มีลูกเรือ 200 คนออกกะอยู่ในส่วนพักอาศัยบน Alexander L. Kielland เธอเพิ่งจะโดนลากออกมาห่างจาก แท่นผลิต Ekofisk Edda (แปลว่าเธอมีกว้านดึงสายเคเบิ้ลสมอ เข้าๆออกๆจากแท่นผลิตฯได้)
1830 น. ลูกเรือได้ยินเสียงดังเหมือนวัตถุปริ เสียดสี แตก หรือ หัก แล้วก็มีเสียงสั่นๆตามมา ทันใดนั้นแท่นฯก็เอียงไปมากกว่า 30 องศา แล้วก็นิ่ง (หยุดเอียง) สายเคเบิ้ลสมอ 5 จาก 6 เส้น ขนาด เส้นที่เหลือดึงแท่นฯเอาไว้ไม่ให้พลิกคว่ำ จากนั้นเรือเริ่มจะเอียงมากขึ้นๆ
1853 น. สายเคเบิ้ลสมอที่เหลืออยู่เส้นเดียวขาด เรือพลิกคว่ำ
วีดีโอข้างล่างนี้เป็นภาพจำลองการพลิกคว่ำครับ
เธอก็พลิกคว่ำลงประมาณนี้ครับ
ความพยายามของลูกเรือ
มีลูกเรือ 130 คนอยู่ในโรงอาหารและห้องดูภาพยนต์ แท่นฯมีเรือชูชีพขนาด 50 คน อยู่ 7 ลำ และมี แพชูชีพขนาด 20 คน อยู่ 20 แพ
ลูกเรือพยายามเอาเรือชูชีพ 4 ลำลงน้ำ แต่เอาลงไปได้ลำเดียว เรือลำที่ 5 (ไม่รู้มาจากไหน ผมก็งงๆ) พลิกคว่ำลอยมา ลูกเรือที่อยู่ข้างในพลิกมันกลับ แล้วช่วยลูกเรือ 19 คนที่ลอยคออยู่ในทะเล (19 คน)
แพ 2 ลำถูกปล่อยหลุมออกมาจากแท่น มีคน 3 คนอยู่แพ 2 ลำนั้น (19+3 = 22)
แท่นผลิต Ekofisk Edda โยนแพขนาด 12 คน ลงมาให้ลูกเรือ 13 คนที่ลอยลอยอยู่ (22+13=35)
เรือสนับสนุนของแท่นผลิต Ekofisk Edda ที่อยู่ใกล้ๆ ช่วยลูกเรือขึ้นมาได้อีก 7 (35+7=42)
ลูกเรืออีก 7 คน ว่ายน้ำไปเกาะขาแท่นผลิต Ekofisk Edda รอดอีก 7 คน (42+7=49)
ผมแกะจากรายงานได้ประมาณนี้ แต่สรุปท้ายรายงานบอกว่า รอด 89 เสียชีวิต 123 ก็ตามนั้นครับ
เกิดอะไรขึ้นกับโครงสร้างที่รองรับแท่นฯ
1. มีรอยปริแยกที่ขยายมากขึ้นที่เสาค้ำยันหมายเลข D6 รอยแยกนี้เกิดที่รอยเชื่อมเพื่อติดตั้ง hydrophone (เครื่องวัดเสียงชนิดหนึ่ง) กับ เสาค้ำยันหมายเลข D6 ที่ไม่สมบูรณ์
งงล่ะสิ ดูรูปๆ
2. ในที่สุดเมื่อรอยแยกปริออกมากขึ้น เสาค้ำยันหมายเลย D6 ก็หัก
3. เสาค้ำยันอีก 5 เสา ก็เลยหักตามไปด้วย
เกิดอะไรขึ้นกับรอยเชื่อม
เสาค้ำยันหมายเลข D6 และ กล่อง hydrophone ทำด้วยวัสดุเดียวกันคือ C-Mn (คาร์บอนผสมแมงกานีส) ที่มีความทนแรงดึง (yield)ได้ถึง 335 นิวตันต่อต.ร.มิลลิเมตร เสาค้ำยันนี้ทำด้วยท่อขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.6 ม. และ หนา 26 มม. (โอ้ววว แม่เจ้า)
ส่วนเจ้ากล่อง hydrophone เส้นผ่าศูนย์กลาง 32.5 ซม. และ หนา 20 มม. (เล็กกว่าเสาค้ำยันเยอะ แค่บางกว่านิดเดียว) กล่อง hydrophone ถูกติดกับเสาค้ำยันโดยการฝังผ่านผนังเสาค้ำยันลงไป แล้วก็เชื่อม 2 ที่ (ภายนอก และ ภายใน เสาค้ำยัน)
เมื่อตรวจสอบรอยเชื่อมแล้วพบว่า กล่อง hydrophone ไม่ได้ถูกเชื่อมดีนัก และ รูปร่างรอยเชื่อมก็ไม่ถูกต้องอย่างที่ควรจะเป็น รอยปริเมื่อตรวจสอบจากรอยสีที่ทาเสาค้ำยัน พบว่าแตกและมีขนาดใหญอย่างมีนัยสำคัญนี้เกิดขึ้นตั้งแต่ตอนสร้างแท่นนี้ (ที่ฝรั่งเศษ CFEM (Compagnie Francaise d’Enterprises Metalliques)
(on display in the Norwegian Petroleum Museum)
(มีต่อครับ)
ย้อนรอยวันที่เธอจากไป กรณีศึกษา และ บทเรียน แท่นขุดเจาะฯ Alexander L Kielland ทะเลเหนือ เสียชีวิต 123 รอดชีวิต 89
ที่มาของข้อมูลและภาพประกอบทั้งหมด …
1. https://en.wikipedia.org/wiki/Alexander_L._Kielland_(platform)
2. https://en.wikipedia.org/wiki/Alexander_L._Kielland_(platform)
3. The Alexander L. Kielland accident, Report of a Norwegian public commission appointed by royal decree of March 28, 1980, presented to the Ministry of Justice and Police March, 1981 ISBN B0000ED27N
เช่นเคยครับ ผมจะไม่แปลแบบคำต่อคำ พยายามย่อยสรุปเป็นภาษาบ้านๆให้ผู้คนวงกว้างเข้าใจได้ง่ายที่สุด ศัพท์เฉพาะเลี่ยงได้ก็เลี่ยง แปลได้ก็แปล เลิ่ยงไม่ได้แปลไม่ได้ก็ทับศัพท์ไป ไม่รู้ก็บอกไม่รู้ ความเห็นที่ไม่ไปกระทบใคร ออกอากาศได้ ไม่เดือดร้อนเจ้าของพื้นที่ (พันทิป) ผมก็คงไว้ตามต้นฉบับ แต่ความเห็นไหนที่หวาดเสียวจะไประคายเคืองต่อมดราม่าใคร ผมก็จะสงวนไว้ในพื้นที่ส่วนตัว ก็จะใส่สัญลักษณ์ [...] เอาไว้ในนี้ ถ้าไม่รังเกียจก็คลิ๊กสัญลักษณ์ [...] แวะไปเยี่ยมเยียนกันได้
ย้อนรอยวันที่เธอจากไป กรณีศึกษา และ บทเรียน แท่นขุดเจาะฯ Alexander L Kielland ทะเลเหนือ เสียชีวิต 123 รอดชีวิต 89
แท่นเจาะ Alexander L. Kielland เป็นของบ.ชื่อ Stavanger Drilling Company of Norway ตอนเกิดเหตุ บ.อเมริกชื่อ Phillips Petroleum เช่าเอาไปใช้งานที่แท่นผลิต Ekofisk Edda ซึ่งตั้งอยู่ในทะเลเหนือ อยู่ห่างจากเมือง Dundee ของ สก๊อตแลนด์ไปทางตะวันออก 320 กม.
วิธีนี้เรียกว่า ระบบ Dynamic Positioning หรือ ย่อๆว่า DP แล้วตามด้วยตัวเลขรุ่น ตัวเลขยิ่งเยอะก็แปลว่าระบบใหม่ ดีกว่า แม่นกว่า และ แพงกว่า ถ้าผมจำไม่ผิดปัจจุบันอยู่ที่ DP6
เอาล่ะอารัมภบทมาเยอะแล้ว เข้าเรื่องกันดีกว่า
Alexander L. Kielland เป็น ss ที่ถูกสร้างมาเป็นแท่นขุดเจาะ แต่ไม่เคยได้ขุดเจาะแม้แต่หลุมเดียว อ้าว … งงล่ะซิ ผมเองก็งงครับ มาดูกันว่าเธอเป็นไงมาไง
บ้านเกิดของเธอ
เธอถูกออกแบบมาให้เป็นแท่นขุดเจาะอย่างที่เกริ่นไปแล้ว เธอเป็นแท่น ss แบบ 5 ขา วางอยู่บนทุ่นขนาดใหญ่ที่จมอยู่ใต้น้ำ เธอถูกสร้างที่อู่ชื่อ CFEM (Compagnie Francaise d’Enterprises Metalliques) ใน ฝรั่งเศษ ระหว่างปี 1969 – 1977 (สร้างอยู่ 8 ปี)
ชื่อของเธอ Alexander Lange Kielland เป็นชื่อนักประพันธ์ชาวนอร์เวย์ (น่าจะมีชื่อเสียงมากๆ ถ้าบ้านเราก็คง สุนทรภู่ หรือ ศรีปราชญ์กระมัง)
1969 – 1977 สร้างอยู่ที่อยู่ต่อเรือที่ฝรั่งเศษ CFEM (Compagnie Francaise d’Enterprises Metalliques) อย่างที่ว่ามา
กรกฎาคม 1976 ส่งมอบให้นอร์เวย์ (เจ้าของ) ส่งมอบก่อนเสร็จ เข้าใจว่าส่งมอบกันที่อู่นั่นแหละ
1978 เพิ่มขนาดความจุลูกเรือจาก 80 คน เป็น 348 คน (เพิ่มไปทำไม … อดใจนิดติดตามต่อไปครับ)
กันยายน 1979 เธอผ่านการตรวจสอบประจำปี มีการตรวจสอบระบบทุ่น และ เสาหลัก 5 เสา เธอผ่านการตรวจสอบเรียบร้อยดี (แต่มีส่วนหนึ่งที่ไม่ได้ตรวจสอบ อุ๊บไว้ก่อน ติดตามๆ)
เธอถูกลากไปจอดข้างๆ แท่นผลิต Ekofisk Edda สรุปคือ เธอไม่ได้ไปเจาะหลุมอะไรที่ไหน เธอโดนเปลี่ยนเป็น accomodation barge หรือ โรงแรม ที่เรียกกันว่า floatel ให้แท่นผลิตน่ะครับ นั่นคือเหตุผลที่เธอโดนโม (modify) เพิ่มความจุลูกเรือดังที่ได้กล่าวไปแล้ว
ฝนกำลังตก ลมประมาณ 40 knot (74 กม.ต่อชม.) คลื่น 12 ม. มีลูกเรือ 200 คนออกกะอยู่ในส่วนพักอาศัยบน Alexander L. Kielland เธอเพิ่งจะโดนลากออกมาห่างจาก แท่นผลิต Ekofisk Edda (แปลว่าเธอมีกว้านดึงสายเคเบิ้ลสมอ เข้าๆออกๆจากแท่นผลิตฯได้)
1830 น. ลูกเรือได้ยินเสียงดังเหมือนวัตถุปริ เสียดสี แตก หรือ หัก แล้วก็มีเสียงสั่นๆตามมา ทันใดนั้นแท่นฯก็เอียงไปมากกว่า 30 องศา แล้วก็นิ่ง (หยุดเอียง) สายเคเบิ้ลสมอ 5 จาก 6 เส้น ขนาด เส้นที่เหลือดึงแท่นฯเอาไว้ไม่ให้พลิกคว่ำ จากนั้นเรือเริ่มจะเอียงมากขึ้นๆ
1853 น. สายเคเบิ้ลสมอที่เหลืออยู่เส้นเดียวขาด เรือพลิกคว่ำ
มีลูกเรือ 130 คนอยู่ในโรงอาหารและห้องดูภาพยนต์ แท่นฯมีเรือชูชีพขนาด 50 คน อยู่ 7 ลำ และมี แพชูชีพขนาด 20 คน อยู่ 20 แพ
ลูกเรือพยายามเอาเรือชูชีพ 4 ลำลงน้ำ แต่เอาลงไปได้ลำเดียว เรือลำที่ 5 (ไม่รู้มาจากไหน ผมก็งงๆ) พลิกคว่ำลอยมา ลูกเรือที่อยู่ข้างในพลิกมันกลับ แล้วช่วยลูกเรือ 19 คนที่ลอยคออยู่ในทะเล (19 คน)
แพ 2 ลำถูกปล่อยหลุมออกมาจากแท่น มีคน 3 คนอยู่แพ 2 ลำนั้น (19+3 = 22)
แท่นผลิต Ekofisk Edda โยนแพขนาด 12 คน ลงมาให้ลูกเรือ 13 คนที่ลอยลอยอยู่ (22+13=35)
เรือสนับสนุนของแท่นผลิต Ekofisk Edda ที่อยู่ใกล้ๆ ช่วยลูกเรือขึ้นมาได้อีก 7 (35+7=42)
ลูกเรืออีก 7 คน ว่ายน้ำไปเกาะขาแท่นผลิต Ekofisk Edda รอดอีก 7 คน (42+7=49)
ผมแกะจากรายงานได้ประมาณนี้ แต่สรุปท้ายรายงานบอกว่า รอด 89 เสียชีวิต 123 ก็ตามนั้นครับ
เกิดอะไรขึ้นกับโครงสร้างที่รองรับแท่นฯ
1. มีรอยปริแยกที่ขยายมากขึ้นที่เสาค้ำยันหมายเลข D6 รอยแยกนี้เกิดที่รอยเชื่อมเพื่อติดตั้ง hydrophone (เครื่องวัดเสียงชนิดหนึ่ง) กับ เสาค้ำยันหมายเลข D6 ที่ไม่สมบูรณ์
งงล่ะสิ ดูรูปๆ
2. ในที่สุดเมื่อรอยแยกปริออกมากขึ้น เสาค้ำยันหมายเลย D6 ก็หัก
3. เสาค้ำยันอีก 5 เสา ก็เลยหักตามไปด้วย
เกิดอะไรขึ้นกับรอยเชื่อม
เสาค้ำยันหมายเลข D6 และ กล่อง hydrophone ทำด้วยวัสดุเดียวกันคือ C-Mn (คาร์บอนผสมแมงกานีส) ที่มีความทนแรงดึง (yield)ได้ถึง 335 นิวตันต่อต.ร.มิลลิเมตร เสาค้ำยันนี้ทำด้วยท่อขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.6 ม. และ หนา 26 มม. (โอ้ววว แม่เจ้า)
ส่วนเจ้ากล่อง hydrophone เส้นผ่าศูนย์กลาง 32.5 ซม. และ หนา 20 มม. (เล็กกว่าเสาค้ำยันเยอะ แค่บางกว่านิดเดียว) กล่อง hydrophone ถูกติดกับเสาค้ำยันโดยการฝังผ่านผนังเสาค้ำยันลงไป แล้วก็เชื่อม 2 ที่ (ภายนอก และ ภายใน เสาค้ำยัน)
เมื่อตรวจสอบรอยเชื่อมแล้วพบว่า กล่อง hydrophone ไม่ได้ถูกเชื่อมดีนัก และ รูปร่างรอยเชื่อมก็ไม่ถูกต้องอย่างที่ควรจะเป็น รอยปริเมื่อตรวจสอบจากรอยสีที่ทาเสาค้ำยัน พบว่าแตกและมีขนาดใหญอย่างมีนัยสำคัญนี้เกิดขึ้นตั้งแต่ตอนสร้างแท่นนี้ (ที่ฝรั่งเศษ CFEM (Compagnie Francaise d’Enterprises Metalliques)