อนุสาวรีย์พระญาพรหมโวหาร หน้าวัดสวนดอก เชียงใหม่
หลายๆ คนที่ได้มีโอกาสเข้าวัดสวนดอกจังหวัดเชียงใหม่
คงได้สังเกต หรือแปลกใจกันอยู่บ้างว่า ทางเข้าหน้าวัด ทำไมมีอนุสาวรีย์ และเป็นอนุสาวรีย์ของใคร สำคัญอย่างไร แล้วทำไมต้องมาตั้งอยู่ตรงนี้
คำตอบที่ได้ยังไม่ครอบคลุมสักเท่าใดนะครับ เพราะใช้เวลาค้นคว้านานพอสมควร ได้เพียงบางส่วน ดังนี้
..........ผู้แต่งคร่าวสี่บท หรือ คร่าวร่ำนางชม (อ่าน "ค่าวฮ่ำนางจม") คร่าวศรีชม หรือ คร่าวนางชม นี้
คือพระญาพรหมโวหาร ชื่อเดิมว่า "พรหมินท์"
พระญาพรหมโวหารเกิดเมื่อ พ.ศ.2345 ที่จังหวัดลำปาง
บิดาชื่อแสนเมืองมา มีตำแหน่งเป็นผู้รักษากุญแจคลังของเจ้านครลำปาง มารดาชื่อเป็ง
เคยบวชที่วัดสิงห์ชัย จังหวัดลำปาง และเคยเล่าเรียนที่วัดสุกเข้าหมิ้นซึ่งติดกับวัดเจดีย์หลวง จังหวัดเชียงใหม่
ลาสิกขาบทประมาณ พ.ศ.2371 แล้วรับจ้างเขียนคำร้องที่ศาลาลูกขุนและรับจ้างเขียน "คร่าวใช้" หรือ "เพลงยาว" ไปด้วย
ต่อมาแสนเมืองมา ผู้เป็นบิดาจึงนำเอาพระญาพรหมโวหารไปฝากทำงานกับพระญาโลมาวิสัย
และรับราชการเป็นมหาดเล็กของเจ้าหลวงวรญาณรังสีในนครลำปาง
ต่อมาได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระญาพรหมโวหาร
ภายหลังพระญาพรหมโวหารเอาเงินที่เจ้าหลวงฯ มอบให้ไปซื้อช้าง ไปเล่นการพนันจนหมดแล้วจึงหนีไปอยู่ที่เมืองแพร่
และที่เมืองแพร่นี้พระญาพรหมก็ได้กับนางชมหรือศรีชม
ต่อมาพระญาพรหมโวหารถูกจับขังคุก เพราะถูกกล่าวหาว่าไปเป็นชู้กับนางจันทร์ซึ่งเป็นสนมของเจ้าหลวงวิชัยราชาแห่งเมืองแพร่
เมื่อพระญาพรหมโวหารหนีออกจากคุกนั้น ก็ได้พานางชมไปอยู่ที่บ้านสันคอกควาย เมืองลับแล (อำเภอลับแล) อุตรดิตถ์
.........ต่อมาครั้งหนึ่งเมื่อพระญาพรหมโวหารไปทวงหนี้ที่บ้านท่าเสา
ก็ได้มีคนนำเอาจดหมายเรียกตัวนางชมให้กลับไปเมืองแพร่
เมื่อพระญาพรหมโวหารไม่อาจตามไปหานางชมที่เมืองแพร่ได้ จึงเขียน "คร่าวใช้" คือ เพลงยาวขึ้น 4 บท
เพื่ออาศัยเสน่ห์ของกวีนิพนธ์นั้นนำนางชมกลับไปหาตน
แต่ไม่ปรากฏว่าผลในครั้งนั้นเป็นอย่างไร คร่าวของพระญาพรหมโวหารนี้ เป็นที่จดจำกันได้มากและสืบทอดกันสืบมา
คร่าวสี่บทนั้นมีชื่อเฉพาะบทดังนี้
1. รอมถนัด
2. เจตนา
3. ดวงสลิด
4. มโนเมือง
การที่แต่ละบทได้ชื่อดังนั้นก็เพราะคำแรกของบทขึ้นต้นด้วยคำดังกล่าว
ส่วนใจความของคร่าวยาวมากมายครับ
เชียงใหม่ - นำชมอนุสาวรีย์พระญาพรหมโวหาร หน้าวัดสวนดอก
หลายๆ คนที่ได้มีโอกาสเข้าวัดสวนดอกจังหวัดเชียงใหม่
คงได้สังเกต หรือแปลกใจกันอยู่บ้างว่า ทางเข้าหน้าวัด ทำไมมีอนุสาวรีย์ และเป็นอนุสาวรีย์ของใคร สำคัญอย่างไร แล้วทำไมต้องมาตั้งอยู่ตรงนี้
คำตอบที่ได้ยังไม่ครอบคลุมสักเท่าใดนะครับ เพราะใช้เวลาค้นคว้านานพอสมควร ได้เพียงบางส่วน ดังนี้
..........ผู้แต่งคร่าวสี่บท หรือ คร่าวร่ำนางชม (อ่าน "ค่าวฮ่ำนางจม") คร่าวศรีชม หรือ คร่าวนางชม นี้
คือพระญาพรหมโวหาร ชื่อเดิมว่า "พรหมินท์"
พระญาพรหมโวหารเกิดเมื่อ พ.ศ.2345 ที่จังหวัดลำปาง
บิดาชื่อแสนเมืองมา มีตำแหน่งเป็นผู้รักษากุญแจคลังของเจ้านครลำปาง มารดาชื่อเป็ง
เคยบวชที่วัดสิงห์ชัย จังหวัดลำปาง และเคยเล่าเรียนที่วัดสุกเข้าหมิ้นซึ่งติดกับวัดเจดีย์หลวง จังหวัดเชียงใหม่
ลาสิกขาบทประมาณ พ.ศ.2371 แล้วรับจ้างเขียนคำร้องที่ศาลาลูกขุนและรับจ้างเขียน "คร่าวใช้" หรือ "เพลงยาว" ไปด้วย
ต่อมาแสนเมืองมา ผู้เป็นบิดาจึงนำเอาพระญาพรหมโวหารไปฝากทำงานกับพระญาโลมาวิสัย
และรับราชการเป็นมหาดเล็กของเจ้าหลวงวรญาณรังสีในนครลำปาง
ต่อมาได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระญาพรหมโวหาร
ภายหลังพระญาพรหมโวหารเอาเงินที่เจ้าหลวงฯ มอบให้ไปซื้อช้าง ไปเล่นการพนันจนหมดแล้วจึงหนีไปอยู่ที่เมืองแพร่
และที่เมืองแพร่นี้พระญาพรหมก็ได้กับนางชมหรือศรีชม
ต่อมาพระญาพรหมโวหารถูกจับขังคุก เพราะถูกกล่าวหาว่าไปเป็นชู้กับนางจันทร์ซึ่งเป็นสนมของเจ้าหลวงวิชัยราชาแห่งเมืองแพร่
เมื่อพระญาพรหมโวหารหนีออกจากคุกนั้น ก็ได้พานางชมไปอยู่ที่บ้านสันคอกควาย เมืองลับแล (อำเภอลับแล) อุตรดิตถ์
.........ต่อมาครั้งหนึ่งเมื่อพระญาพรหมโวหารไปทวงหนี้ที่บ้านท่าเสา
ก็ได้มีคนนำเอาจดหมายเรียกตัวนางชมให้กลับไปเมืองแพร่
เมื่อพระญาพรหมโวหารไม่อาจตามไปหานางชมที่เมืองแพร่ได้ จึงเขียน "คร่าวใช้" คือ เพลงยาวขึ้น 4 บท
เพื่ออาศัยเสน่ห์ของกวีนิพนธ์นั้นนำนางชมกลับไปหาตน
แต่ไม่ปรากฏว่าผลในครั้งนั้นเป็นอย่างไร คร่าวของพระญาพรหมโวหารนี้ เป็นที่จดจำกันได้มากและสืบทอดกันสืบมา
คร่าวสี่บทนั้นมีชื่อเฉพาะบทดังนี้
1. รอมถนัด
2. เจตนา
3. ดวงสลิด
4. มโนเมือง
การที่แต่ละบทได้ชื่อดังนั้นก็เพราะคำแรกของบทขึ้นต้นด้วยคำดังกล่าว
ส่วนใจความของคร่าวยาวมากมายครับ