โดเรมอน ลายข้าวของเครื่องใช้ ยังสามารถจับสิขสิทธิ์ได้อยู่ไหม
เรื่องนี้เราเล่าได้เฉพาะส่วนที่น้องเล่าให้ฟัง เราไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์ทำงานอยู่ที่อื่น
เมื่อปลายเดือนที่ผ่านมา น้องที่รู้จักกันรับปฏิทินโดเรมอนมาจากทางอินเตอร์เนต(เว็บไซต์ชื่อดัง) แล้วมาขายต่อผ่านทางหน้าFacebook โดยตัวแทนมีการล่อซื้อหน้าวิทยาลัยแห่งนึงที่เป็นสถานศึกษาที่น้องเรียนอยู่ คนที่มาจับมีตัวแทนลิขสิทธิ์และตำรวจท้องที่
ย้ายมาที่โรงพัก น้องเล่าว่ามีเอกสารปึกใหญ่ของตัวแทน ซึ่งน้องก็ไม่ทราบว่าเอกสารเป็นเอกสารจริงไหม แต่ในขณะนั้นน้องมั่นใจว่าทุกอย่างเป็นความจริง เพราะอยู่ต่อหน้าตำรวจ และในขณะนั้นก็มีคนที่โดนจับลักษณะคล้ายกันอีกหลายคน มีทั้งจับกระทง เสื้อผ้า ในวันเดียวกัน
เรื่องราวจบตรงที่ตัวแทนเสนอให้น้องจ่ายค่าเสียหาย 15,000บาท แลกกับการถอนแจ้งความ และไม่ฟ้องต่อ น้องได้เซนเอกสารยอมรับให้กับตัวแทน เอกสารนี้เป็นเอกสารที่ตัวแทนพิมพ์ขึ้นมาเองมี2หน้า หน้าแรกกล่าวถึงความผิดของน้อง ที่ขายปฏิทินลายลิขสิทธิ์จำนวน10เล่ม และชื่อของตัวแทน ว่ามาจากบริษํทอะไร และทางน้องได้ให้พี่สาวรวบรวมเงินทางบ้านและจ่ายเป็นเงินสดไปให้กับตัวแทน
สิ่งที่เรารู้สึกไม่ชอบมาพากลคือ เมื่อเสร็จสิ้นทุกอย่าง น้องและพี่สาวไม่ได้เอกสารอะไรกลับมาเลย ในใบถอนแจ้งความ ก็ไม่ได้ลงจำนวนเงินไว้ เหมือนให้ไปเฉยๆ
เราได้ยินจากน้อง เราโทรไปที่สายด่วน กรมทรัพย์สินทางปัญญาว่า บริษัทที่จดทะเบียนลิขสิทธิ์โดเรมอนเป็นของบริษัทไหน พอได้ชื่อบริษัท เราค้นเบอร์ทางเนตและโทรเข้าไปที่ฝ่ายกฏหมาย ก็มีชื่อคนจับคนนี้จริง และเราได้ถามต่อไปว่า วิธีการจ่ายเงินสดและไม่มีใบรับรองอะไรเลย ใบถอนแจ้งความก็ไม่มียอดเงินที่จ่ายแบบนี้ถูกต้องหรือไม่ ทางแอดมินฝ่ายกฏหมายก็แจ้งว่า ปกติเป็นแบบนี้อยู่แล้ว
จนถึงวันนี้เราเสพข่าวทางช่องทางต่างๆมาพอสมควร
จนสรุปได้ว่า ลิขสิทธิ์โดเรมอน เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อ 1 ธันวาคม 2512
1.ลิขสิทธิ์แบบศิลปะประยุกต์ เช่น เค้ก หรือ กระทงที่เป็นข่าวจะเข้าเคสนี้ มีอายุ25ปี ซึ่งหมดไปตั้งแต่ปี 2517
2.ลิขสิทธิ์แบบศิลปกรรม โดยในใบที่น้องเซนยอมรับไป บอกว่า ปฏิทินที่น้องรับมาขายเป็นประเภทศิลปกรรม ลักษะงานจิตรกรรม ด้วยการทำซ้ำ ดัดแปลง ลอกเลียนแบบ ตรงนี้จัดเป็นงานศิลปกรรมจริงหรือไม่ โดยจากที่อ่านข้อมูลในเนต ส่วนนี้จะมีอายุ50ปี หมดปลายปีนี้พอดี
สิ่งที่สงสัยในตอนนี้คือ
1.การจ่ายเป็นเงินสด แล้วไม่มีสำเนายืนยันการจ่ายเงิน ไม่มีเอกสารอะไรกลับมาเลย แบบนี้ถูกต้องหรือไม่
2.การที่น้องรับปฏิทินมาขาย ไม่ได้ผลิตเอง มีใบเสร็จประวัติการซื้อจากเว็บไซต์ชื่อดังชัดเจน ตรงนี้ทำไมในใบแจ้งว่า ด้วยการทำซ้ำ ดัดแปลง ลอกเลียนแบบ เหมือนน้องเป็นผู้ผลิตขึ้นมาเอง
3.ตัวปฏิทินจัดเป็นงานศิลปกรรมจริงหรือไม่ ปกติค่าเสียหาย เค้าเรียกกันเป็นหมื่นๆแบบนี้จริงหรือเปล่า กับของกลางราคาหลักร้อย
โดเรมอน ลายข้าวของเครื่องใช้ ยังสามารถจับสิขสิทธิ์ได้อยู่ไหม
เรื่องนี้เราเล่าได้เฉพาะส่วนที่น้องเล่าให้ฟัง เราไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์ทำงานอยู่ที่อื่น
เมื่อปลายเดือนที่ผ่านมา น้องที่รู้จักกันรับปฏิทินโดเรมอนมาจากทางอินเตอร์เนต(เว็บไซต์ชื่อดัง) แล้วมาขายต่อผ่านทางหน้าFacebook โดยตัวแทนมีการล่อซื้อหน้าวิทยาลัยแห่งนึงที่เป็นสถานศึกษาที่น้องเรียนอยู่ คนที่มาจับมีตัวแทนลิขสิทธิ์และตำรวจท้องที่
ย้ายมาที่โรงพัก น้องเล่าว่ามีเอกสารปึกใหญ่ของตัวแทน ซึ่งน้องก็ไม่ทราบว่าเอกสารเป็นเอกสารจริงไหม แต่ในขณะนั้นน้องมั่นใจว่าทุกอย่างเป็นความจริง เพราะอยู่ต่อหน้าตำรวจ และในขณะนั้นก็มีคนที่โดนจับลักษณะคล้ายกันอีกหลายคน มีทั้งจับกระทง เสื้อผ้า ในวันเดียวกัน
เรื่องราวจบตรงที่ตัวแทนเสนอให้น้องจ่ายค่าเสียหาย 15,000บาท แลกกับการถอนแจ้งความ และไม่ฟ้องต่อ น้องได้เซนเอกสารยอมรับให้กับตัวแทน เอกสารนี้เป็นเอกสารที่ตัวแทนพิมพ์ขึ้นมาเองมี2หน้า หน้าแรกกล่าวถึงความผิดของน้อง ที่ขายปฏิทินลายลิขสิทธิ์จำนวน10เล่ม และชื่อของตัวแทน ว่ามาจากบริษํทอะไร และทางน้องได้ให้พี่สาวรวบรวมเงินทางบ้านและจ่ายเป็นเงินสดไปให้กับตัวแทน
สิ่งที่เรารู้สึกไม่ชอบมาพากลคือ เมื่อเสร็จสิ้นทุกอย่าง น้องและพี่สาวไม่ได้เอกสารอะไรกลับมาเลย ในใบถอนแจ้งความ ก็ไม่ได้ลงจำนวนเงินไว้ เหมือนให้ไปเฉยๆ
เราได้ยินจากน้อง เราโทรไปที่สายด่วน กรมทรัพย์สินทางปัญญาว่า บริษัทที่จดทะเบียนลิขสิทธิ์โดเรมอนเป็นของบริษัทไหน พอได้ชื่อบริษัท เราค้นเบอร์ทางเนตและโทรเข้าไปที่ฝ่ายกฏหมาย ก็มีชื่อคนจับคนนี้จริง และเราได้ถามต่อไปว่า วิธีการจ่ายเงินสดและไม่มีใบรับรองอะไรเลย ใบถอนแจ้งความก็ไม่มียอดเงินที่จ่ายแบบนี้ถูกต้องหรือไม่ ทางแอดมินฝ่ายกฏหมายก็แจ้งว่า ปกติเป็นแบบนี้อยู่แล้ว
จนถึงวันนี้เราเสพข่าวทางช่องทางต่างๆมาพอสมควร
จนสรุปได้ว่า ลิขสิทธิ์โดเรมอน เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อ 1 ธันวาคม 2512
1.ลิขสิทธิ์แบบศิลปะประยุกต์ เช่น เค้ก หรือ กระทงที่เป็นข่าวจะเข้าเคสนี้ มีอายุ25ปี ซึ่งหมดไปตั้งแต่ปี 2517
2.ลิขสิทธิ์แบบศิลปกรรม โดยในใบที่น้องเซนยอมรับไป บอกว่า ปฏิทินที่น้องรับมาขายเป็นประเภทศิลปกรรม ลักษะงานจิตรกรรม ด้วยการทำซ้ำ ดัดแปลง ลอกเลียนแบบ ตรงนี้จัดเป็นงานศิลปกรรมจริงหรือไม่ โดยจากที่อ่านข้อมูลในเนต ส่วนนี้จะมีอายุ50ปี หมดปลายปีนี้พอดี
สิ่งที่สงสัยในตอนนี้คือ
1.การจ่ายเป็นเงินสด แล้วไม่มีสำเนายืนยันการจ่ายเงิน ไม่มีเอกสารอะไรกลับมาเลย แบบนี้ถูกต้องหรือไม่
2.การที่น้องรับปฏิทินมาขาย ไม่ได้ผลิตเอง มีใบเสร็จประวัติการซื้อจากเว็บไซต์ชื่อดังชัดเจน ตรงนี้ทำไมในใบแจ้งว่า ด้วยการทำซ้ำ ดัดแปลง ลอกเลียนแบบ เหมือนน้องเป็นผู้ผลิตขึ้นมาเอง
3.ตัวปฏิทินจัดเป็นงานศิลปกรรมจริงหรือไม่ ปกติค่าเสียหาย เค้าเรียกกันเป็นหมื่นๆแบบนี้จริงหรือเปล่า กับของกลางราคาหลักร้อย