รอบโลกรอบสอง 158 วัน 5 ทวีป - บทนำ

บทนำ อยู่กระทู้นี้
ตอน 1 อินโดนีเซีย                                   https://ppantip.com/topic/39379007
ตอน 2 ออสเตรเลีย                                  https://ppantip.com/topic/39379698
ตอน 3 นิวซีแลนด์                                    https://ppantip.com/topic/39381419
ตอน 4 อเมริกา เม็กซิโก คิวบา                  https://ppantip.com/topic/39383730 
ตอน 5 เบลิซ กัวเตมาลา เอลซาลวาดอร์ ฮอนดูรัส นิคารากัว คอสตาริกา ปานามา โคลอมเบีย        https://ppantip.com/topic/39391058
ตอน 6 เอควาดอร์ เปรู โบลิเวีย                   https://ppantip.com/topic/39394737
ตอน 7 ชิลี อาร์เจนติน่า                            https://ppantip.com/topic/39595845
ตอน 8 บราซิล อาฟริกาใต้                        https://ppantip.com/topic/39605399
 

รอบโลกรอบแรก http://ppantip.com/topic/35663589


 

รอบโลกรอบสอง 158 วัน 5 ทวีป


 
 
29/08/2016 เรากลับจากการเดินทางรอบแรก

2017 ไปเที่ยวเอเซียใต้ ศรีลังกา อินเดีย เนปาล 2 เดือน
2018 มีช่วงเวลาเหมาะที่จะออกเดินทางทริปนี้ปีละครั้งเดียว
 
แนวทางท่องเที่ยว
เลือกมรดกโลกเป็นหลัก ปักหมุดมรดกโลกทั้งหมดไว้ในแผนที่ ค่อยๆเที่ยวเก็บไปเรื่อยๆ อยากเขียนให้นักเดินทางคนอื่นไว้หาข้อมูล
 

 World Heritage / มรดกโลก  ภาษาสเปนเรียกว่า Patrimonio Mundial
 
อยากไปที่ๆไม่เคยไป ชอบดูเมือง ดูวัฒนธรรม ดูมรดกโลก ดูความเป็นอยู่ของผู้คน
ไปช้าๆ เที่ยวรักษ์โลก สร้างขยะน้อยน้อย  ไม่เน้นกิน อาหารส่วนใหญ่จะทำกินเองเรียกพวกมากินกันทั้งโรงแรม มุกอาหารไทยยังใช้ได้ผลเสมอ
ใช้เวลา 2 นาทีเก็บที่นอนทุกเช้า อาบน้ำเช้าเย็น เราใส่เสื้อผ้าสะอาดทุกวัน ชื่นชมทุกอย่างตรงหน้า ชื่นชมทุกคน ชื่นชมทุกประเทศ
 
ออกเดินทาง 15 ตุลาคม 2561 น้ำหนัก 89 กก อายุ 58 ปึ 6 เดือน
กลับ 21 มีนาคม 2562 158 วัน น้ำหนัก 74 กก อายุ 58 ปี 11 เดิอน

เป้หลัง 1 ใบชนาดกลาง 65 ลิตร ใส่เสื้อผ้าไม่เต็ม น้ำหนัก 6-7 กก มีเสื้อที่ไม่ได้หยิบมาใช้เลย 1-2 ตัว
เป้หน้า 1 ใบ ไว้ใส่ของใช้เล็กๆน้อยๆ ไม้เซลฟี่, Power Bank, สมุดบันทึก
ถุงผ้าใส่อาหาร 1 ถุง 
จักรยาน 1 คัน
โทรศัพท์มือถือ 1 เครื่อง ซึ่งไม่เคยซื้อ Sim Card  ฉะนั้นก่อนออกเดินทางวันรุ่งขึ้น ข้อมูลต้องครบ

รองเท้า อันนี้ก็สำคัญ รองเท้ายางสีสวย เบาหวิว และรองเท้าสาน ทนมาก ทั้ง 2 คู่ไม่ซับความเหม็น ใส่ถุงพลาสติก ใส่เป้ได้ ล้าง สะบัดๆๆ เช็ดนิด ใส่ต่อได้เลย
 
 
  
App ที่ใช้ประจำ
นอกจาก กล้องถ่ายรูป นาฬิกา ปฏิธิน โน๊ต ก็มี App 
-Maps.me เป็น Offline Map มีรายละเอียดสำหรับนักเดินทาง เช่นโรงแรม ราคา เกรด ลิงค์กับBooking.com มีสถานีรถ มีร้านอาหาร ซูเปอร์มาเก็ต
-Line, Skype ไว้สื่อสาร
-Google Translate โหลดภาษาไว้ใช้ Offline 
-Booking ไว้เช็คโรงแรม
-Dropbox ไว้แบ๊คอัปข้อมูล
-Trip Advisor  ไว้หาสถานที่เที่ยว
-Skyscanner เอาไว้หาตั๋วเครื่องบิน
-Weather ไว้เช็คอากาศ
-xe.com เอาไว้เช็คอัตราแลกเปลี่ยน ไปหลายปนะเทศงงมาก จำไม่ได้ โง่ไปหลายครั้ง
-แน่นอน ppantip.com เอาไว้หาข้อมูล


web site
-Busbud  เอาไว้หาข้อมูลรถบัสพอเป็นไอเดีย ไปที่สถานีรถจะมีมากกว่า ราคาถูกกว่า
 
 
Visa
-ขอVisa ออสเตรเลีย ได้มา 3 ปี 
-ขอVisa นิวซีแลนด์ ได้มา 2 ปี
-คิวบา ไปซื้อ Tourist Card จากเคาน์เตอร์สายการบินที่จะไปคิวบาที่ Mexico ราวๆ 600 กว่าบาท ไม่มีคำถาม
-โบลิเวีย ไปยื่น E-visa ที่สถานกงสุลโบลิเวียที่ไหนก็ได้ เราขอทีเมือง Cusco ประเทศ Peru ใช้เวลาเตรียมข้อมูล 1 ชมใช้เวลายื่น 5 นาทีเสร็จ ไม่มีค่าใช้จ่าย ไม่มีคำถาม
-กลุ่มประเทศอเมริกากลางและโคลอมเบีย ใช้ visa อเมริกาที่มีอยู่แล้ว
-นอกนั้น Passport ไทยเข้าได้เลย
 
วัคซีน
เป็นกฎหมายระหว่างประเทศว่า การเดินทางไปไปทวีปอเมริกาใต้ ต้องไปฉีดวัคซีนป้องกันไข้เหลือง
เราไปฉีดที่โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน ใกล้โรงพยาบาลราชวิถี จะได้สมุดใบรับรองการฉีดวัคซีน

กลับมาก็เยินหน่อย

ตั๋วขาออก
หลายประเทศเริ่มกำหนดว่า ถ้าเข้าประเทศโดยเครื่องบินต้องมีตั๋วขาออก ตั๋วรถ เรือก็ได้  เม็กซิโก คิวบา โคลอมเบีย รวมถึงประเทศไทย บางประเทศก็เข้มงวด เตรียมตั๋วขาออกไว้ก็ดี
มี web site ขายตั๋วจริง แบบหลอกๆหลายแห่ง ได้มาจาก Backpacker ด้วยกัน เป็นตั๋วจอง ตั๋วจริง มีอายุสั้น แค่ 24-48 ชม แล้วยกเลิกไปอัตโมมัตื เราใช้ Bestonwardticket.com ทาง web site จะส่งตั๋วทาง e-mail ถึงเราภายใน 3 ชม ราคา 12 Usd
 
-ช่วงเวลาเดินทาง
ช่วงเวลาอื่นไม่เหมาะกับเรา เดินทางตุลาคม ถึง มีนาคม ซีกโลกใต้เป็นฤดูร้อน อุณหภูมิประมาณ 10-25 c ต้องเริ่มออกเดินทาง ราวตุลาคม ถ้าเร็วกว่านั้นช่วงแรกจะหนาวเกิน ถ้าช้ากว่านั้นอาจจะเจอฝน ถ้าไม่ออกเดินทางช่วงนี้ก็ต้องเลื่อนไปอึก 1 ปี
 
-เส้นทางค่อนข้างบังคับ
ในส่วนอเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ เดินทางถ้าจะไปให้ครบประเทศ บวกกับเงื่อนไขเวลา, ทิศทางการเดินทาง, Passport และ Visa ที่มีอยู่ เส้นทางหลักก็ต้องอยู่ในแนวนี้ ปรับเปลี่ยนได้นิดหน่อย
นักท่องเที่ยวที่เจอส่วนใหญ่ก็เดินทางเส้นทางนี้ อาจเป็นทิศทางเดียวกันหรือทิศทางสวนกัน
 
 
ช่วงเอเซีย
จากกรุงเทพบินไป จาการ์ต้า นั่งรถไฟไปจนจบเกาะชวา ข้ามไปเกาะบาหลี


  
ออสเตรเลีย
บินไปบริสเบน นั่งรถไล่ลงไปโกลด์โคสท์ ซิดนีย์ แคนเบอร่า เมลเบอร์น


 
นิวซีแลนด์
ข้ามไปไครสต์เชิร์ช เที่ยวเกาะใต้ นั่งเรือไปเกาะเหนือ
 

อเมริกาเหนือ
ไปฮูสตันโดยอุบัติเหตุ นั่งรถต่อไป เม๊กซิโก คิวบา กลับไป เม๊กซิโก เบลิซ กัวเตมาลา ซาน ซาลวาดอร์ ฮอนดูรัส นิคารากัว คอสตาริกา ปานามา

 

อเมริกาใต้ตอนบน
โคลอมเบีย เอกัวดอร์ เปรู
 

  
อเมริกาใต้ตอนล่าง
โบลิเวีย ชิลึ อาร์เจนติน่า บราซิล
 

  
อาฟริกาใต้
 

 
รถโดยสารสาธารณะของแต่ละประเทศ

รถโดยสารทั่วโลก ส่วนใหญ่จะมาตราฐานขั้นต่ำประมาณนี้ขันไป เดินทางต่อนช้างสะดวกมาก
เมืองใหญ่จะมีสถานีขนส่งหลายแห่ง ถามที่โรงแรมได้ว่าต้องไปขึ้นรถที่สถานีไหน

 
-อินโดนีเซีย เดินทางสะดวก ใช้รถไฟใช้ App Traveloga
-ออสเตรเลีย เดินทางสะดวก สถานีรถบัสอยู่ใกล้ สถานีรถไฟ ข้อมูลหาได้ไม่ยาก
-นิวซีแลนด์ เดินทางสะดวก เราเช่ารถขับ แต่ใช้รถบัสก็สะดวกมากไม่จำเป็นต้องขับรถ ใช้ App Intercity 
-USA เดินทางสะดวก ใช้ Greyhound ใช้ App Greyhound เช็คตั๋ว เช็คตำแหน่งสถานี
-เม็กซิโก เดินทางสะดวก มีรถบัส ADO (คิดว่าอ่านว่า เอดิโอ) เป็นยี่ห้อใหญ่ ครอบคุมทุกเมืองทั้งประเทศ
-คิวบา มีรถบัส Viazul วิอาซูล แต่ช่วงทืไปเป็นฤดูท่องเที่ยว รถแน่นมาก ต้องซื้อตั๋วล่วงหน้า 4-5 วัน เลยใช้แต่ Taxi Collectivo วิ่งระหว่างเมือง
แพงกว่านิดหน่อย รับถึงรร ก็สะดวก
-กลุ่มประเทศ อเมริกากลาง ยากนิดหน่อย ก็พอได้ สถานีรถจะเป็นของแต่ละบริษัทกระจายกันไป ถามรายระเอียดที่โรงแรม มีบริษัทใหญ่ก็คือ Tica bus
-อเมริกาใต้ เดินทางสะดวก คนเดินทางเยอะมาก สถานีรถจะมีบริษัทรถเยอะมาก หรือ บางเมืองจะเป็นสถานีของแต่ละบริษัทแต่จะอยู่กันเป็นกลุ่มใกล้ๆกัน ราคาต่างกันเท่าตัว แล้วแต่บริการ ความสะดวกสบาย ก็ต้องเช็คราคากันเอา
-ประเทศอาฟริกาใต้ เดินทางสะดวก สถานีขนส่งจะอยู่บริเวณเดียวกัน หรือมีสถานีขนส่งกลาง มีบริษัทใหญ่คือ Intercape และ Greyhound
 
รถทุกประเทศจะขับตามความเร็วที่กำหนด 80-90 กม/ชม ปลอดภัยมาก รถที่ใช้เวลาเดินทางนาน ส่วนใหญ่จะมีรถวิ่งกลางคืน
เราหลับง่ายไม่มีปัญหา
 
 
ค่าใช้จ่าย
 
ใช้เงินไป 280,000 บาท
ค่าเครื่องบินประมาณ 100,000 บาท
ค่ารถบัส 60,000 บาท
ค่ากินอยู่ 120,000 บาท
 
(เราใช้รถบัสกลางคืน ประหยัดค่าโรงแรมประมาณ 30 คืน)
ก็ควักเงินจ่ายไปเรื่อยๆไม่ได้คอยคุม ไม่ได้จะต้องประหยัดสุดๆ เลือกจ่ายตามที่ควรจ่าย เศษเหรียญเหลือกลับมาเป็นถุง
ก็ระวังเรื่องกินหน่อย ถือโอกาสลดน้ำหนักด้วย
(ไปเที่ยวรอบแรกก็ลดไป 10 กก เด้งกลับมา 5 กก)
 
ความปลอดภัย
เกือบทุกประเทศค่อนข้างปลอดภัย อยู่ที่เราเลือกไปย่านไหนของเมือง ก็ต้องระวังดูแลตัวเอง เมืองใหญ่อันตรายกว่าแน่นอน..รวมทั้งกรุงเทพ
อย่าไปเชื่อตามคลิปมาก
 
ออกเดินทาง
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่